คณะสัตวแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
บทความนี้ต้องการการจัดหน้า จัดหมวดหมู่ ใส่ลิงก์ภายใน หรือเก็บกวาดเนื้อหา ให้มีคุณภาพดีขึ้น คุณสามารถปรับปรุงแก้ไขบทความนี้ได้ และนำป้ายออก พิจารณาใช้ป้ายข้อความอื่นเพื่อชี้ชัดข้อบกพร่อง |
บทความนี้ยังต้องการเพิ่มแหล่งอ้างอิงเพื่อพิสูจน์ความถูกต้อง |
Faculty of Veterinary Science, Chulalongkorn University | |
ชื่อเดิม | แผนกอิสระสัตวแพทยศาสตร์ |
---|---|
สถาปนา | 22 เมษายน พ.ศ. 2478 |
สังกัดการศึกษา | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
คณบดี | ศาสตราจารย์ สัตวแพทย์หญิง ดร.สันนิภา สุรทัตต์ |
ที่อยู่ | |
สี | สีฟ้าหม่น |
เว็บไซต์ | www |
คณะสัตวแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นคณะสัตวแพทยศาสตร์แห่งแรกของประเทศไทย ถือกำเนิดขึ้นในปี พ.ศ. 2478 โดยมีพันธกิจหลักในด้านการเรียนการสอน การวิจัยและบริการวิชาการทางด้านสัตวแพทย์ ปัจจุบันคณะสัตวแพทยศาสตร์ เปิดสอน
- หลักสูตรระดับปริญญาบัณฑิต 1 หลักสูตร คือหลักสูตรสัตวแพทยศาสตรบัณฑิต (สพ.บ.)
- หลักสูตรระดับบัณฑิตศึกษา จำนวน 25 หลักสูตร ได้แก่
- 2.1 ประกาศนียบัตรบัณฑิตทางวิทยาศาสตร์ทางสัตวแพทย์คลินิก 7 หลักสูตร ได้แก่ แขนงวิชาคลินกสัตว์เลี้ยงเป็นเพื่อน แขนงวิชาอายุรกรรม แขนงวิชาสูติ-เธนุเวชกรรม แขนงวิชาพยาธิชีววิทยาชันสูตร แขนงวิชาศัลยศาสตร์ แขนงวิชาสัตว์ทดลอง แขนงวิชาศัลยกรรม
- 2.2 ปริญญามหาบัณฑิต 10 สาขาวิชา ได้แก่ สาขาวิชาวิทยาการสืบพันธุ์สัตว์ สาขาสรีรวิทยาการสัตว์ สาขาวิชาสัตวแพทย์สาธารณสุข สาขาวิชาพยาธิชีววิทยาทางสัตวแพทย์ สาขาวิชาอายุรศาสตร์ทางสัตวแพทย์ สาขาวิชาชีวศาสตร์ทางสัตวแพทย์ สาขาสัตวศาสตร์ประยุกต์ สาขาศัลยศาสตร์ทางสัตวแพทย์ สาขาวิชาเภสัชวิทยาทางสัตวแพทย์ สาขาวิชาวิทยาศาสตร์ทางสัตวแพทย์และเทคโนโลยี (หลักสูตรนานาชาติ) ได้แก่
- 2.3 ปริญญาดุษฎีบัณฑิต 6 สาขาวิชา ได้แก่ สาขาวิชาวิทยาการสืบพันธุ์สัตว์ สาขาวิชาสรีรวิทยาการสัตว์ สาขาวิชาสัตวแพทย์สาธารณสุข สาขาวิชาพยาธิชีววิทยาทางสัตวแพทย์ สาขาวิชาอายุรศาสตร์สัตวแพทย์ สาขาวิชาชีวศาสตร์ทางสัตวแพทย์ สาขาวิชาสัตวศาสตร์ประยุกต์ สาขาวิชาวิทยาศาสตร์ทางสัตวแพทย์และเทคโนโลยี (หลักสูตรนานาชาติ)
- คณะสัตวแพทยศาสตร์ ได้ผลิตบุคลากรที่มีความรู้ ความสามารถ และคุณธรรม เพื่อรับใช้สังคมอย่างมีคุณภาพ ตลอดจนผลิตผลงานวิจัยที่ยังประโยชน์ต่อสังคมและประเทศ
ประวัติ
[แก้]แผนกอิสระสัตวแพทยศาสตร์ของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้ถูกโอนย้ายไปสังกัดมหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์ (ปัจจุบันคือมหาวิทยาลัยมหิดล) ในปี พ.ศ. 2486 ก่อนจะถูกโอนย้ายสังกัดอีกครั้งในปี พ.ศ. 2497 เข้าสู่มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ซึ่งได้ปรับปรุงหลักสูตรสัตวแพทยศาสตร์ จาก 5 ปีเป็น 6 ปี โดยศึกษาเตรียมสัตวแพทย์ที่มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ จากนั้นศึกษาระดับปรีคลินิกและคลินิกที่คณะสัตวแพทย์ศาสตร์ ในพื้นที่เดิมของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ต่อมาในปี พ.ศ. 2507 จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้ทำเรื่องถึงมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เพื่อขอโอนคณะสัตวแพทยศาสตร์ซึ่งยังคงตั้งอยู่ในบริเวณพื้นที่ของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยกลับคืนเช่นเดิม แต่ทางสภามหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ไม่เห็นด้วย จึงเตรียมสร้างอาคารสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เพื่อย้ายออกจากพื้นที่ของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย อย่างไรก็ตาม คณะสัตวแพทยศาสตร์ได้ทำเรื่องไม่ขอย้ายออกจากที่ตั้งเดิม และขอโอนกลับไปสังกัดจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยในปี พ.ศ. 2510 ส่วนมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ได้เปิดหลักสูตรสัตวแพทย์ศาสตร์ขึ้นมาในพื้นที่ที่ได้จัดเตรียมไว้แล้ว และแยกการบริหารกับส่วนที่โอนคืนให้จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย [1]
- พ.ศ. 2478 มีการจัดตั้งแผนกอิสระสัตวแพทยศาสตร์ในจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยมีหลักสูตรสัตวแพทยศาสตรบัณฑิต 4 ปี
- พ.ศ. 2482 จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้ปรับปรุงหลักสูตรขั้นปริญญาสัตวแพทยศาสตรบัณฑิต จาก 4 ปีเป็น 5 ปี
- พ.ศ. 2486 แผนกอิสระสัตวแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ถูกโอนย้ายไปสังกัดมหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์ (มหาวิทยาลัยมหิดลในปัจจุบัน) และจัดตั้งขึ้นเป็นคณะสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์
- พ.ศ. 2497 คณะสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์ โอนย้ายมาอยู่ในสังกัดของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ สังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
- พ.ศ. 2500 คณะสัตวแพทยศาสตร์ได้ปรับปรุงหลักสูตรสัตวแพทยศาสตรบัณฑิตจากเดิม 5 ปีเป็น 6 ปี
- พ.ศ. 2502 คณะสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ได้โอนไปอยู่ในสังกัดสำนักนายกรัฐมนตรี
- พ.ศ. 2510 คณะสัตวแพทยศาสตร์ โอนย้ายมาอยู่ในสังกัดของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สำนักนายกรัฐมนตรี
- พ.ศ. 2515 คณะสัตวแพทยศาสตร์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ก็ได้โอนจากสำนักนายกรัฐมนตรีไปอยู่ในสังกัดทบวงมหาวิทยาลัย
หลักสูตร
[แก้]ระดับปริญญาตรี
[แก้]คณะสัตวแพทยศาสตร์ เปิดสอนหลักสูตรในระดับปริญญาบัณฑิต 1 หลักสูตร ได้แก่
- สัตวแพทยศาสตรบัณฑิต หลักสูตร 6 ปี
ระดับบัณฑิตศึกษา
[แก้]คณะสัตวแพทยศาสตร์ เปิดสอนหลักสูตรในระดับบัณฑิตศึกษา ในสาขาวิชา ดังนี้
- หลักสูตรระดับบัณฑิตศึกษา จำนวน 25 หลักสูตร ได้แก่
- หลักสูตรประกาศนียบัตรบัณฑิตทางวิทยาศาสตร์ทางสัตวแพทย์คลินิก 7 หลักสูตร ได้แก่ แขนงวิชาคลินกสัตว์เลี้ยงเป็นเพื่อน แขนงวิชาอายุรกรรม แขนงวิชาสูติ–เธนุเวชกรรม แขนงวิชาพยาธิชีววิทยาชันสูตร แขนงวิชาศัลยศาสตร์ แขนงวิชาสัตว์ทดลอง แขนงวิชาศัลยกรรม
- หลักสูตรปริญญามหาบัณฑิต 10 สาขาวิชา ได้แก่ สาขาวิชาวิทยาการสืบพันธุ์สัตว์ สาขาสรีรวิทยาการสัตว์ สาขาวิชาสัตวแพทย์สาธารณสุข สาขาวิชาพยาธิชีววิทยาทางสัตวแพทย์ สาขาวิชาอายุรศาสตร์ทางสัตวแพทย์ สาขาวิชาชีวศาสตร์ทางสัตวแพทย์ สาขาสัตวศาสตร์ประยุกต์ สาขาศัลยศาสตร์ทางสัตวแพทย์ สาขาวิชาเภสัชวิทยาทางสัตวแพทย์ สาขาวิชาวิทยาศาสตร์ทางสัตวแพทย์และเทคโนโลยี (หลักสูตรนานาชาติ) ได้แก่
- หลักสูตรปริญญาดุษฎีบัณฑิต 6 สาขาวิชา ได้แก่ สาขาวิชาวิทยาการสืบพันธุ์สัตว์ สาขาวิชาสรีรวิทยาการสัตว์ สาขาวิชาสัตวแพทย์สาธารณสุข สาขาวิชาพยาธิชีววิทยาทางสัตวแพทย์ สาขาวิชาอายุรศาสตร์สัตวแพทย์ สาขาวิชาชีวศาสตร์ทางสัตวแพทย์ สาขาวิชาสัตวศาสตร์ประยุกต์ สาขาวิชาวิทยาศาสตร์ทางสัตวแพทย์และเทคโนโลยี (หลักสูตรนานาชาติ)
ภาควิชา
[แก้]
|
|
โรงพยาบาลสัตว์
[แก้]คณะสัตวแพทยศาสตร์ จัดให้มีบริการรักษาสัตว์โดยมี
- โรงพยาบาลสัตว์เล็ก ซึ่งตั้งอยู่ ณ คณะสัตวแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ถนนอังรีดูนังต์ กรุงเทพมหานคร
บริการรักษา สุนัข แมว สัตว์ต่างถิ่น สัตว์ป่า สัตว์ชนิดพิเศษ โดยจัดให้มีคลินิกพิเศษ ได้แก่ คลินิกโรคตา คลินิกโรคผิวหนัง คลินิกโรคไต คลินิกโรคหัวใจ คลินิกโรคระบบฮอร์โมนและเมตาบอลิสม คลินิกโรคมะเร็ง คลินิกม้า คลินิกสัตว์น้ำ คลินิกอัลตราซาวนด์ คลินิกศัลยกรรมเนื้อเยื่อ คลินิกศัลยกรรมกระดูกและข้อ คลินิกทันตกรรมและสุขภาพช่องปาก คลินิกสูติกรรม คลินิกฉุกเฉิน และมีหน่วยชันสูตรโรคสัตว์ ให้บริการตรวจวินิจฉัยทางห้องปฏิบัติการ
- โรงพยาบาลปศุสัตว์ ซึ่งตั้งอยู่ ณ ศูนย์ฝึกนิสิต (ไร่ฝึกจารุเสถียร) ณ จังหวัดนครปฐม
ข้างกรมการสัตว์ทหารบก ถนนทหารบก ตำบลบ่อพลับ อำเภอเมืองนครปฐม บริการรักษาโค กระบือ แพะ แกะ สุกร สัตว์ปีก สัตว์น้ำ สัตว์ป่า ทั้งนี้โรงพยาบาลได้จัดตั้ง คลินิกสัตว์เล็ก เพื่อบริการรักษาสุนัข แมวและสัตว์เลี้ยงเป็นเพื่อนทุกชนิด
ซึ่งทั้งสองแห่งใช้เป็นสถานที่ฝึกงานเพื่อเสริมสร้างทักษะในการตรวจรักษาสัตว์ให้กับนิสิตสัตวแพทย์และให้บริการตรวจวินิจฉัย บำบัดรักษาโรคสัตว์ แก่สัตว์เลี้ยงของประชาชนโดยทั่วไป
พิพิธภัณฑ์
[แก้]พิพิธภัณฑสถานปรสิตวิทยาในสัตว์ ตึกเก่ารูปตัวยู คณะสัตวแพทยศาสตร์[2] เก็บรวบรวมตัวอย่างปรสิตภายในและภายนอกของสัตว์ชนิดต่าง ๆ มาเป็นเป็นเวลายาวนานทำให้เก็บตัวอย่างได้หลากหลายและหลายประเภท เช่น หนอนพยาธิ แมลง ไร เห็บ และโปรโตซัว อันมีประโยชน์ต่อการศึกษาด้านสัตวแพทย์
ห้องสมุดและศูนย์เอกสารการสัตว์
[แก้]คณะสัตวแพทยศาสตร์ได้เริ่มก่อตั้งในจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้ก่อตั้งขึ้นเป็นแห่งแรกในประเทศไทยเมื่อปี พ.ศ. 2478 พัฒนาการของห้องสมุดและศูนย์เอกสารการสัตว์จึงค่อยๆ เริ่มขึ้นตามความจำเป็นเพื่อใช้ประกอบการเรียนการสอน พร้อมการจัดตั้งคณะ ห้องสมุดและศูนย์เอกสารการสัตว์ ได้รับการสนับสนุนจากผู้บริหารคณะทุกสมัย จึงพัฒนาและขยายพื้นที่กว้างขวางขึ้นตามลำดับเพื่อให้เหมาะสมกับทรัพยากรต่างๆ ของห้องสมุดที่เพิ่มขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งจำนวนผู้ใช้บริการเพิ่มขึ้นทุกปี ห้องสมุดและศูนย์เอกสารการสัตว์ เป็นห้องสมุดอ้างอิงเฉพาะทางการสัตว์ ที่ได้เก็บรวบรวมหนังสือวารสารและเอกสารสิ่งพิมพ์ตลอดจนฐานข้อมูล ทั้งของไทย และต่างประเทศด้านการสัตว์ไว้มากที่สุดในประเทศไทย โดยเฉพาะ Collection พิเศษที่ห้องสมุดพยายามเก็บรวบรวม เช่นเอกสารรายงานการประชุมวิชาการด้านการสัตว์ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ งานวิจัยด้านปศุสัตว์ในประเทศไทย เป็นต้น
พัฒนาการของห้องสมุดและศูนย์เอกสารการสัตว์
[แก้]- พ.ศ. 2477 มีพระราชบัญญัติจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พุทธศักราช 2477 จัดตั้งแผนกอิสระชื่อแผนกสัตวแพทยศาสตร์
- พ.ศ. 2478 จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเริ่มมีนิสิตเตรียมสัตวแพทยศาสตร์เป็นครั้งแรก
- พ.ศ. 2481 ห้องสมุดสัตวแพทยศาสตร์ มีพัฒนาการขึ้นมาพร้อมๆกับการต่อตั้งแผนกอิสระสัตวแพทยศาสตร์ ขึ้นในจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยวางโครงการสร้างอาคารสถานศึกษา อย่างทันสมัยของแผนกสัตวแพทย์ขึ้นที่ปลาย ถนนพญาไท ในที่ดินทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ (ปัจจุบันอาคารดังกล่าวได้กลายเป็นส่วนหนึ่งของโรงพยาบาลราชวิถี) โดยในระยะแรกมีลักษณะเป็นเพียงห้องอ่านหนังสือสำหรับอาจารย์ ค่อยๆ ขยับขยายมาเป็นห้องสมุดเมื่อศาสตราจารย์ พ.ท.หลวง ชัยอัศวรักษ์ M.R.C.V.S., สพ.ด. มารับตำแหน่งหัวหน้าแผนกวิชาอิสระแพทย์ ในปี พ.ศ. 2481
- พ.ศ. 2482 ทางแผนกวิชาสัตวแพทย์ ได้ว่าจ้าง Dr.R.P. Jones M.R.C.S. และ Dr.Winther M.R.C.V.S., M.A. ซึ่งเป็นสัตวแพทย์ชาวอังกฤษทั้ง 2 ท่าน มาเป็นอาจารย์ประจำ ซึ่งอาจารย์ทั้งสองมีส่วนอย่างมากในการสนับสนุนการจัดตั้งห้องสมุด ในระยะแรกรวมทั้งการบริจาคหนังสือส่วนตัว เกี่ยวกับสัตวแพทย์หลายเล่มให้แก่ห้องสมุด
- พ.ศ. 2495 ห้องสมุดย้ายมาอยู่ตึกเก่าของคณะสัตวแพทยศาสตร์ ถนนสนามม้า หรือ อังรีดูนังต์ปัจจุบัน
- พ.ศ. 2499 ห้องสมุดคณะสัตวแพทยศาสตร์ ย้ายมาอยู่ที่อาคาร 2 อาคารเก่า (อาคาร 2 ชั้นรูปตัวยู) ของคณะ ที่ถนนสนามม้าหรืออังรีดูนังต์ในปัจจุบัน ห้องสมุดคณะสัตวแพทย์ได้รับการเอาใจใส่ดูแลจากคณบดีเป็นอย่างดีทุกสมัย
- พ.ศ. 2500 ศาสตราจารย์ เตียง ตันสงวนให้ลูกจ้างประจำมาทำงานประจำในห้องสมุดโดยตัวท่านเองทำหน้าที่บรรณารักษ์ เมื่อศาสตราจารย์ ดร.อายุ พิชัยชาญณรงค์ เป็นคณบดีก็ได้รับมอบหมายให้ รองศาสตราจารย์ ระบิล รัตนพานี เลขานุการคณะเป็นผู้รับผิดชอบ
- พ.ศ. 2514 เมื่อสร้างอาคารใหม่ (อาคาร 5 มักเรียกว่าอาคารหัวโต) ของคณะสัตวแพทยศาสตร์สร้างเสร็จห้องสมุดจึงย้ายอยู่ในส่วนหนึ่งบนชั้น 2 ของสำนักคณบดีด้วย
- พ.ศ. 2517 ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ประจักษ์ พุ่มวิเศษ (ตำแหน่งในขณะนั้น) ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นหัวหน้าห้องสมุดคณะสัตวแพทยศาสตร์ เนื่องจากผู้ช่วยศาสตราจารย์ ประจักษ์ พุ่มวิเศษ เป็นผู้ที่สนใจกิจกรรมห้องสมุดเป็นอย่างมาก ตั้งแต่เมื่อศึกษาอยู่ในต่างประเทศ โดยได้ศึกษาการบริหารงานห้องสมุดของมหาวิทยาลัยและของศูนย์การแพทย์ต่างๆ รวมทั้งห้องสมุดสัตวแพทย์ในประเทศต่างๆ ทั้งในสหราชอาณาจัก ยุโรป แคนาดา และสหรัฐอเมริกา นอกจากนี้ยังได้ศึกษาการปฏิบัติงาน Commonwealth Bureau of Animal Health ซึ่งเป็นสถาบันหนึ่งของ Commonwealth Agricultural Bureaux (CAB) อีกด้วย จึงได้ทำการปรับปรุงกิจการห้องสมุดคณะสัตวแพทยศาสตร์มากมาย
- พ.ศ. 2519 บรรจุบรรณารักษ์ อัตราและตำแหน่งแรกเข้าทำงาน
- พ.ศ. 2540 ห้องสมุดและศูนย์เอกสารการสัตว์ ได้ย้ายจากชั้น 2 อาคาร 5 ชั้น (ตึกหัวโต) มาอยู่ที่ชั้น 9 อาคาร 60 ปี สัตวแพทยศาสตร์ ซึ่งเป็นอาคาร 14 ชั้น สร้างใหม่และได้มีการวางแผนการใช้พื้นที่อาคารชั้น 9 ไว้ตั้งแต่ทำแปลนการก่อสร้างอาคารหลังนี้ ให้พื้นที่ 1,200 ตารางเมตร เป็นห้องสมุดและศูนย์เอกสารการสัตว์ หัวหน้าห้องสมุดได้มีโอกาสให้ข้อมูล ระบุพื้นที่ใช้สอยให้กับสถาปนิกผู้ออกแบบ ทำให้ห้องสมุดมีการจัดสรรพื้นที่ ที่ดูแลโปร่งสบายตา เป็นที่ชื่นชอบของผู้ปฏิบัติงานและผู้มาเยี่ยมชม
- พ.ศ. 2542 ได้รับการคัดเลือกจากสมาคมห้องสมุดแห่งประเทศไทยฯ ให้เป็นห้องสมุดดีเด่น
- พ.ศ. 2544 ได้มีการประกาศจากสมาคมห้องสมุดแห่งประเทศไทย ในพระราชูปถัมภ์ของสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เรื่อง มาตรฐานห้องสมุดเฉพาะ พ.ศ. 2544 โดยที่สมาชิกของสมาคมห้องสมุดแห่งประเทศไทยฯ ควรปรับปรุงแก้ไขมาตรฐานห้องสมุดเฉพาะให้สอดคล้องกับการพัฒนาดังกล่าวตามการเปลี่ยนแปลงของห้องสมุดยุคเทคโนโลยีสารสนเทศ โดยมีการกำหนดโครงสร้างการบริหารห้องสมุดอย่างชัดเจน หน้าที่ความรับผิดชอบ การบริการและความร่วมมือระหว่างห้องสมุด ทรัพยากรสารสนเทศ บุคลากร เป็นต้น[3]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ http://www.vet.chula.ac.th/memorial_hall/history.html[ลิงก์เสีย] หอประวัติและหอเกียรติยศ คณะสัตวแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
- ↑ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. พิพิธภัณฑสถานปรสิตวิทยาในสัตว์. 2558. http://www.chula.ac.th/th/archive/museum/3596 เก็บถาวร 2018-03-12 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน (1 กันยายน 2559 ที่เข้าถึง).
- ↑ http://lib.vet.chula.ac.th/history-th.html เก็บถาวร 2013-02-28 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน ประวัติห้องสมุดและศูนย์เอกสารการสัตว์