ถนนบรมราชชนนี
บทความนี้ไม่มีการอ้างอิงจากแหล่งที่มาใด |
ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 338 | |
---|---|
ถนนบรมราชชนนี | |
ถนนบรมมราชชนนีในแขวงฉิมพลี เขตตลิ่งชัน กรุงเทพมหานคร | |
ข้อมูลของเส้นทาง | |
ส่วนหนึ่งของ (ช่วงตลิ่งชัน–นครชัยศรี) | |
ความยาว | 33.984 กิโลเมตร (21.117 ไมล์) |
มีขึ้นเมื่อ | พ.ศ. 2522, พ.ศ. 2527–ปัจจุบัน |
ทางแยกที่สำคัญ | |
ปลายทางทิศตะวันออก | ถนนจรัญสนิทวงศ์ ใน เขตบางกอกน้อย |
ปลายทางทิศตะวันตก | ถ.เพชรเกษม / ทางหลวงพิเศษหมายเลข 8 ใน อ.นครชัยศรี จ.นครปฐม |
ตำแหน่งที่ตั้ง | |
ประเทศ | ไทย |
ระบบทางหลวง | |
ถนนบรมราชชนนี [บอ-รม-มะ-ราด-ชะ-ชน-นะ-นี] (อักษรโรมัน: Thanon Borommaratchachonnani) หรือ ถนนปิ่นเกล้า–นครชัยศรี เป็นเส้นทางคมนาคมในพื้นที่ฝั่งธนบุรี กรุงเทพมหานคร ระหว่างเขตบางกอกน้อย กรุงเทพมหานคร กับอำเภอนครชัยศรี จังหวัดนครปฐม ระยะทางรวม 33.984 กิโลเมตร เฉพาะส่วนที่อยู่ในความรับผิดชอบของกรมทางหลวงมีฐานะเป็น ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 338 สายอรุณอมรินทร์–นครชัยศรี และมีระยะทาง 31.265 กิโลเมตร
รายละเอียดของเส้นทาง
[แก้]เส้นทางเริ่มต้นที่ทางแยกบรมราชชนนี เขตบางกอกน้อย กรุงเทพมหานคร ไปทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ บรรจบกับถนนสิรินธร (ที่มาจากสะพานกรุงธน) ที่ทางแยกต่างระดับสิรินธร ไปทางทิศตะวันตก ข้ามคลองบางกอกน้อย และมีแนวทางขนานไปกับทางรถไฟสายใต้ ผ่านพื้นที่เขตตลิ่งชัน เขตทวีวัฒนา อำเภอพุทธมณฑล และอำเภอสามพราน ข้ามแม่น้ำท่าจีน ไปบรรจบกับถนนเพชรเกษม (ทางหลวงหมายเลข 4) ที่ทางแยกต่างระดับนครชัยศรี (ท่านา) อำเภอนครชัยศรี จังหวัดนครปฐม รวมระยะทาง 33.984 กิโลเมตร (หรือประมาณ 36 กิโลเมตร หากเริ่มนับกิโลเมตรที่ 0 ที่อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย)
ถนนบรมราชชนนีมีขนาด 8 ช่องจราจรในช่วงตั้งแต่ทางแยกบรมราชชนนีถึงทางแยกต่างระดับสิรินธร จากนั้นจะมีขนาด 12 ช่องจราจรจนถึงจุดสิ้นสุดทางคู่ขนานลอยฟ้าบรมราชชนนี และลดเหลือ 10 ช่องจราจรจนถึงทางแยกต่างระดับนครชัยศรี (ยกเว้นสะพานข้ามแม่น้ำท่าจีนที่มีขนาด 6 ช่องจราจร) เส้นทางมีทั้งช่วงที่อยู่ในความควบคุมของกรุงเทพมหานคร และสำนักทางหลวง 11 (กรุงเทพฯ) กรมทางหลวง
- ช่วงแรก ตั้งแต่ทางแยกบรมราชชนนีจนกระทั่งก่อนถึงทางแยกต่างระดับสิรินธร อยู่ในเขตควบคุมของกรุงเทพมหานคร
- ช่วงที่สอง ตั้งแต่ก่อนถึงทางแยกต่างระดับสิรินธรไปจนกระทั่งสุดเขตกรุงเทพมหานคร อยู่ในเขตควบคุมของหมวดทางหลวงตลิ่งชัน แขวงทางหลวงธนบุรี
- ช่วงที่สาม ตั้งแต่เข้าเขตจังหวัดนครปฐมไปจนถึงทางแยกต่างระดับนครชัยศรี อยู่ในเขตควบคุมของหมวดทางหลวงนครชัยศรี แขวงทางหลวงสมุทรสาคร
อนึ่ง ถนนบรมราชชนนีฟากเหนือช่วงตั้งแต่ทางแยกบรมราชชนนีถึงสะพานข้ามคลองบางกอกน้อย เป็นเส้นแบ่งเขตการปกครองระหว่างเขตบางกอกน้อยกับเขตบางพลัด
ประวัติ
[แก้]ถนนบรมราชชนนีเริ่มก่อสร้างในเดือนมีนาคม พ.ศ. 2522 เรียกว่า ทางหลวงพิเศษหมายเลข 338 สายบางกอกน้อย–นครชัยศรี เพื่อบรรเทาการจราจรที่แออัด และให้ประชาชนได้รับความสะดวกในการเดินทางสู่จังหวัดปริมณฑลโดยรอบกรุงเทพมหานครและจังหวัดต่าง ๆ ในภาคใต้และภาคตะวันตกมากขึ้น โดยมีแนวเส้นทางเริ่มต้นจากทางแยกบรมราชชนนี ก่อสร้างแล้วเสร็จในปี พ.ศ. 2527
ใน พ.ศ. 2534 กระทรวงมหาดไทยได้กราบบังคมทูลขอพระราชทานชื่อถนนเพื่อเป็นการเทิดพระเกียรติสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี เนื่องในโอกาสเฉลิมพระชนมพรรษา 90 พรรษา ในการนี้พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานชื่อทางหลวงหมายเลข 338 ว่า "ถนนบรมราชชนนี"
ถนนสายนี้ได้รับการกำหนดให้เป็นส่วนหนึ่งของทางหลวงเอเชียหมายเลข 123[1]
ต่อมาใน พ.ศ. 2538 พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ได้พระราชทานพระราชดำริแก้ไขปัญหาการจราจร โดยสร้างทางคู่ขนานยกเชื่อมสะพานข้ามทางแยกอรุณอมรินทร์และสะพานข้ามทางแยกบรมราชชนนีเข้าด้วยกัน เพื่อแก้ไขปัญหาการจราจรบริเวณทางแยกอรุณอมรินทร์และทางแยกบรมราชชนนี พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ได้เสด็จพระราชดำเนินไปทรงวางศิลาฤกษ์โครงการพระราชดำริทางคู่ขนานลอยฟ้า ถนนบรมราชชนนี เมื่อวันที่ 16 เมษายน พ.ศ. 2539 และเสด็จพระราชดำเนินไปทรงเปิด "ทางคู่ขนานลอยฟ้าบรมราชชนนี" เมื่อวันที่ 21 เมษายน พ.ศ. 2541 โดยมีระยะทางทั้งหมด 14 กิโลเมตร
อนึ่ง ใน พ.ศ. 2556 ได้มีประกาศกระทรวงคมนาคมเปลี่ยนประเภทและกำหนดให้ ทางหลวงพิเศษหมายเลข 338 เป็น ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 338 โดยมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2556[2]
ใน พ.ศ. 2561 ได้มีการปรับปรุงทางต่างระดับฉิมพลีและพุทธมณฑล สาย 4 เพื่อแก้ไขปัญหารถติดและขยายทางคู่ขนานลอยฟ้าบรมราชชนนี โดยจะเสร็จประมาณ พ.ศ. 2563[3]
ทางแยกที่สำคัญ
[แก้]จังหวัด | กม.ที่ | ชื่อจุดตัด | ซ้าย | ขวา | |
---|---|---|---|---|---|
ปิ่นเกล้า–นครชัยศรี | |||||
กรุงเทพมหานคร | แยกบรมราชชนนี | เชื่อมต่อจาก: ถนนสมเด็จพระปิ่นเกล้า จากสะพานสมเด็จพระปิ่นเกล้า | |||
ถนนจรัญสนิทวงศ์ ไปแยกไฟฉาย, ท่าพระ | ถนนจรัญสนิทวงศ์ ไปบางพลัด | ||||
0+111 | ต่างระดับสิรินธร | ไม่มี | ถนนสิรินธร ไปบางพลัด | ||
~3+100 | ต่างระดับบรมราชชนนี | ถนนราชพฤกษ์ ไปสะพานสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช | ถนนราชพฤกษ์ ไปถนนนครอินทร์, สะพานพระราม 5 | ||
~4+900 | แยกพุทธมณฑล สาย 1 | ถนนพุทธมณฑล สาย 1 ไปบรรจบถนนเพชรเกษม | ถนนพุทธมณฑล สาย 1 ไปถนนสวนผัก | ||
6+669 | ต่างระดับฉิมพลี | ถนนกาญจนาภิเษก (ตะวันตก) ไปบางแค, บางขุนเทียน | ถนนกาญจนาภิเษก (ตะวันตก) ไปบางบัวทอง, สุพรรณบุรี, บางปะอิน | ||
~8+300 | แยกพุทธมณฑล สาย 2 | ถนนพุทธมณฑล สาย 2 ไปบางแค, บรรจบถนนเพชรเกษม | ถนนพุทธมณฑล สาย 2 ไปบรรจบถนนศาลาธรรมสพน์ | ||
~11+740 | แยกพุทธมณฑล สาย 3 | ถนนพุทธมณฑล สาย 3 ไปถนนอุทยาน, หนองแขม | ถนนพุทธมณฑล สาย 3 ไปบรรจบถนนศาลาธรรมสพน์ | ||
นครปฐม | 15+555 | ต่างระดับพุทธมณฑล (แยกพุทธมณฑล สาย 4) | ถนนพุทธมณฑล สาย 4 ไปกระทุ่มแบน, เข้าเมืองสมุทรสาคร, บรรจบ ถนนพระรามที่ 2 | ถนนพุทธมณฑล สาย 4 ไปมหาวิทยาลัยมหิดล, นครชัยศรี, บางเลน | |
18+236 | แยกพุทธมณฑล สาย 5 | ถนนพุทธมณฑล สาย 5 ไปอ้อมน้อย, กระทุ่มแบน, บรรจบถนนเศรษฐกิจ 1 | ถนนพุทธมณฑล สาย 5 ไปนครชัยศรี | ||
24+178 | แยกพุทธมณฑล สาย 6 | ถนนพุทธมณฑล สาย 6 ไปตลาดน้ำดอนหวาย, วัดไร่ขิง, สามพราน | ไม่มี | ||
24+620 | สะพาน ข้ามแม่น้ำท่าจีน | ||||
25+890 | แยกพุทธมณฑล สาย 7 | ถนนพุทธมณฑล สาย 7 ไปสามพราน | ถนนพุทธมณฑล สาย 7 ไปวัดงิ้วราย, นครชัยศรี | ||
~30+000 | แยกพุทธมณฑล สาย 8 | ถนนพุทธมณฑล สาย 8 ไปบรรจบถนนเพชรเกษม | ถนนพุทธมณฑล สาย 8 ไปนครชัยศรี | ||
31+419 | ต่างระดับนครชัยศรี | ถนนเพชรเกษม ไปสามพราน, หนองแขม | ถนนเพชรเกษม ไปเข้าเมืองนครปฐม | ||
ตรงไป: ทางหลวงพิเศษหมายเลข 8 (โครงการ) ไปชะอำ | |||||
สะพาน กำลังก่อสร้างหรือโครงการในอนาคต |
สถานที่สำคัญ
[แก้]- ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน)
- สถานีตำรวจนครบาลตลิ่งชัน
- ศาลจังหวัดตลิ่งชัน
- สถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพ (ถนนบรมราชชนนี)
- โรงพยาบาลธนบุรี 2
- วิทยาลัยทองสุข
- พุทธมณฑล
- มหาวิทยาลัยมหิดล
- สถานีขนส่งสินค้าพุทธมณฑล
- พิพิธภัณฑ์หุ่นขี้ผึ้งไทย
- เซ็นทรัลพลาซา ปิ่นเกล้า
- เซ็นทรัลพลาซา ศาลายา, ไทวัสดุ ศาลายา
- โลตัส ศาลายา
- โลตัส ปิ่นเกล้า
- โฮมโปร ศาลายา
ดูเพิ่ม
[แก้]อ้างอิง
[แก้]- ↑ "การติดตั้งป้ายหมายเลขทางหลวงเอเชีย/อาเซียน (Asian / Asean Highway Route Marker)" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2019-07-13. สืบค้นเมื่อ 2019-10-21.
- ↑ ประกาศกระทรวงคมนาคม เรื่อง เปลี่ยนประเภทและกำหนดให้ทางหลวงพิเศษหมายเลข ๓๓๘ สายบางกอกน้อย - นครชัยศรี เป็นทางหลวงแผ่นดิน.
- ↑ เสร็จปีหน้า! ปรับปรุงทางต่างระดับฉิมพลีและพุทธมณฑลสาย 4 แก้รถติดรับต่อขยายทางคู่ขนานลอยฟ้าบรมราชชนนี
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- แผนที่และภาพถ่ายทางอากาศของ ถนนบรมราชชนนี
- ภาพถ่ายดาวเทียมจากวิกิแมเปีย หรือกูเกิลแมปส์
- แผนที่จากลองดูแมป หรือเฮียวีโก
- ภาพถ่ายทางอากาศจากเทอร์ราเซิร์ฟเวอร์