พิไล พูลสวัสดิ์
ศาสตราจารย์เกียรติคุณ พิไล พูลสวัสดิ์ (เกิดเมื่อวันที่ 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2489) เป็นนักวิทยาศาสตร์และนักอนุรักษ์ชาวไทย ที่มีผลงานวิจัยดีเยี่ยมด้านปักษีวิทยา (Ornithology) นิเวศวิทยาสัตว์ป่า (Wildlife Ecology) และปรสิตวิทยา (Parasitology: Avian diseases) เป็นผู้ที่มุ่งมั่นทำวิจัยระยะยาว เพื่อการอนุรักษ์สัตว์ป่าและทรัพยากรธรรมชาติให้คงอยู่อย่างยั่งยืน ทำกิจกรรมเผยเพื่อเผยแพร่ความรู้ในการอนุรักษ์นกเงือกและทรัพยากรธรรมชาติอย่างเข้มแข็ง จนได้รับการขนานนามว่า "มารดาแห่งนกเงือก (GREAT MOTHER OF THE HORNBILLS) เก็บถาวร 2007-09-30 ที่ เวย์แบ็กแมชชีนก่อให้เกิดการขับเคลื่อนทางสังคมเพื่อการคุ้มครอง-อนุรักษ์นกเงือกและธรรมชาติ จนได้เป็นคนไทยคนแรกที่ได้รับรางวัลผู้ทรงเกียรติด้านการอนุรักษ์ธรรมชาติระดับโลก พร้อมกันถึง 2 รางวัล เมื่อปี พ.ศ. 2549 ได้แก่รางวัล The 2006 ROLEX Awards for Enterprises จาก Rolex SA ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ เก็บถาวร 2007-04-14 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน และ The 52nd Annual Chevron Conservation Awards จาก Chevron Corporation ประเทศสหรัฐอเมริกาและได้รับ พระราชทานเหรียญดุษฎีมาลา เข็มศิลปวิทยา สาขาวิทยาศาสตร์ ประจำปี 2550 เก็บถาวร 2008-09-26 ที่ เวย์แบ็กแมชชีนจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุยเดช โดยสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ เป็นผู้แทนพระองค์
ประวัติการศึกษา
[แก้]- ปริญญาตรี ครุศาสตร์บัณฑิต (มัธยมศึกษา) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
- ประกาศนียบัตรชั้นสูง (นิวเคลียร์เทคโนโลยี) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
- ปริญญาโท วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (จุลชีววิทยา) มหาวิทยาลัยมหิดล
- ปริญญาเอก (D. Sc.) สาขาชีววิทยา (Avian Ecology) มหาวิทยาลัยโอซาก้าซิตี้ ประเทศญี่ปุ่น
ประวัติการทำงาน
[แก้]ตำแหน่งวิชาการ
- ศาสตราจารย์เกียรติคุณ: อาจารย์พิเศษ ภาควิชาจุลชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล เก็บถาวร 2007-11-04 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
ตำแหน่งในสมาคมและองค์กรต่างๆ
- พ.ศ. 2528-ปัจจุบัน - ได้รับเลือกเป็นตัวแทนของประเทศไทยเป็นกรรมการใน International Ornithological Committee (IOC committee) แทน นายแพทย์บุญส่ง เลขะกุล
- พ.ศ. 2537-สิงหาคม 2550 - เลขาธิการมูลนิธิศึกษาวิจัยนกเงือก
- พ.ศ. 2539-ปัจจุบัน - ที่ปรึกษากิตติมศักดิ์ ของสมาคมอนุรักษ์นกและธรรมชาติแห่งประเทศไทย
- พ.ศ. 2541-2549 - ได้รับเลือกเป็น Executive Committee ใน IOC committee
- พ.ศ. 2543-2547 - ได้รับเลือกให้เป็น Corresponding Fellow จาก The American Ornithologists’ Union (AOU)
- พ.ศ. 2544-ปัจจุบัน - กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่าแห่งชาติ
- พ.ศ. 2545–ปัจจุบัน - Advisory Board of Ornithological Science, Journal of Ornithological Society of Japan
- พ.ศ. 2545–ปัจจุบัน - กรรมการมูลนิธิพิทักษ์อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่
- พ.ศ. 2546–ปัจจุบัน - เป็นสมาชิกสามัญมูลนิธิบัณฑิตยสภาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย
- พ.ศ. 2547-ปัจจุบัน - ได้รับเลือกให้เป็น Honorary Fellow จาก The American Ornithologist's Union
- พ.ศ. 2548 - ที่ปรึกษา Singapore Hornbill Project, Palau Ubin (โครงการวิจัยร่วมระหว่าง National Park Boards และ Parks Management Department, Singapore เก็บถาวร 2007-09-28 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- พ.ศ. 2549 - ที่ปรึกษาคณะอนุกรรมาธิการอนุรักษ์นกเงือก และนกตะกรุม เพื่อการท่องเที่ยวเชิงนิเวศอย่างยั่งยืน ของคณะกรรมาธิการการท่องเที่ยว วุฒิสภา
- สิงหาคม พ.ศ. 2550-ปัจจุบัน - คณะกรรมการมูลนิธิศึกษาวิจัยนกเงือก
- สิงหาคม พ.ศ. 2550-ปัจจุบัน - ปฏิบัติงานแทน-รักษาการประธานมูลนิธิศึกษาวิจัยนกเงือก
เกียรติคุณและรางวัล
[แก้]- พ.ศ. 2553 - รางวัลศิษย์เก่าเกียรติยศ ประจำปี พ.ศ. 2553 จากคณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
- พ.ศ. 2550 - รางวัลบุคคลดีเด่นของชาติ ประจำปี พ.ศ. 2550 สาขาอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม จาก คณะกรรมการเอกลักษณ์ของชาติ สำนักนายกรัฐมนตรี รัฐบาลไทย เก็บถาวร 2012-07-22 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- พ.ศ. 2550 - รางวัล BCST Swarovski Award (นักอนุรักษ์นกดีเด่น) จาก สมาคมอนุรักษ์นกและธรรมชาติแห่งประเทศไทย (Bird Conservation Society of Thailandและ Swarovski Optik ประเทศออสเตรีย เก็บถาวร 2007-06-06 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- พ.ศ. 2550 - รางวัลอาจารย์ดีเด่นแห่งชาติ ประจำปี พ.ศ. 2549 เก็บถาวร 2012-07-22 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี จากที่ประชุมประธานสภาอาจารย์มหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทย (ปอมท)
- พ.ศ. 2549 - รางวัลผู้ทรงเกียรติ (คนไทยคนแรก) The 2006 Rolex Awards for Enterprise จาก Rolex SA ประเทศสวิตเซอร์แลนด์
- พ.ศ. 2549 - รางวัล (คนไทยคนแรก) The 52nd Annual Chevron Conservation Awards เก็บถาวร 2007-04-14 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน จาก Chevron Corporation ประเทศสหรัฐอเมริกา
- พ.ศ. 2549 - รับพระราชทานรางวัลมหาวิทยาลัยมหิดล สาขาการวิจัย จากผลงานวิจัยเรื่อง "ชีววิทยาและนิเวศวิทยาของนกเงือก"
- พ.ศ. 2549 - รางวัลอาจารย์ตัวอย่าง ระดับศาสตราจารย์ ประจำปีการศึกษา 2548 จาก สภาอาจารย์คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
- พ.ศ. 2547 - โล่เกียรติยศ ครุศาสตร์ดีเด่น จากสมาคมครุศาสตร์สัมพันธ์ คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
- พ.ศ. 2546 - รางวัลจากโครงการร่วมใจพัฒนาสิ่งแวดล้อมและสังคมไทย เรื่อง โครงการเยาวชนอนุรักษ์นกเงือกเทือกเขาบูโด จาก บริษัทฟอร์ดโอเปอเรชั่นส์ (ประเทศไทย) จำกัด (โครงการต่อเนื่อง)
- พ.ศ. 2545 - รางวัลจากโครงการร่วมใจพัฒนาสิ่งแวดล้อมและสังคมไทย เรื่อง โครงการชุมชนอนุรักษ์นกเงือกเทือกเขาบูโด จาก บริษัทฟอร์ดโอเปอเรชั่นส์ (ประเทศไทย) จำกัด (โครงการต่อเนื่อง)
- พ.ศ. 2544 - รางวัลจากโครงการร่วมใจพัฒนาสิ่งแวดล้อมและสังคมไทย เรื่อง โครงการชุมชนอนุรักษ์นกเงือกเทือกเขาบูโด จาก บริษัทฟอร์ดโอเปอเรชั่นส์ (ประเทศไทย) จำกัด
- พ.ศ. 2539 - โล่เกียรติยศนักอนุรักษ์ดีเด่น สาขาการวิจัยสัตว์ป่า จากคณะวนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และกรมป่าไม้ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
- พ.ศ. 2537 - เกียรติบัตรในด้านความสนใจในการรณรงค์ เพื่อรักษาสภาวะแวดล้อมที่ดีของประเทศไทย จากชมรมสภาวะแวดล้อมสยาม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ผลงานด้านการวิจัยและอนุรักษ์
[แก้]ศาสตราจารย์เกียรติคุณ ดร.พิไล พูลสวัสดิ์ เป็นหัวหน้าโครงการศึกษาชีววิทยาและนิเวศวิทยาของนกเงือกระยะยาวมาตั้งแต่ พ.ศ. 2521 และเมื่อ พ.ศ. 2546-ปัจจุบันเป็นหัวหน้าโครงการวิจัยร่วมจากหลายสถาบันเพื่อศึกษาลักษณะพันธุกรรม ประชากร และสถานภาพของนกเงือกในพื้นที่ผืนป่าและหย่อมป่าในประเทศไทย (โครงการร่วมกับกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืชมหาวิทยาลัยมหิดล มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยและสมาคมอนุรักษ์สัตว์ป่าแห่งประเทศไทย)โดยได้รับทุนสนับสนุนจาก ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ เก็บถาวร 2007-08-18 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน และยังเป็นผู้ริเริ่มโครงการอุปการะครอบครัวนกเงือก ที่นำงานวิทยาศาสตร์มาเป็นสื่อกลางในการกระตุ้นให้คนเมืองเข้ามาสัมผัส และมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติร่วมกับชุมชนในท้องถิ่น เป็นผู้ก่อตั้งมูลนิธิศึกษาวิจัยนกเงือก ซึ่งให้ทุนสนับสนุนงานวิจัยด้านชีววิทยา-นิเวศวิทยาของนกเงือกและนิเวศวิทยาทั่วไป และสร้างนักวิจัยรุ่นใหม่ จัดตั้งศูนย์กลางประสานงานทางวิชาการ งานวิจัยและให้การฝึกอบรม จัดประชุมวิชาการเกี่ยวกับการวิจัยนกเงือกในระดับชาติและนานาชาติ ส่งเสริมนักวิจัยหลากหลายสาขาทั้งในและต่างประเทศ ให้ทำงานเชิงบูรณาการ โดยใช้นกเงือกเป็นสัตว์เป้าหมายในการวิจัย ซึ่งรูปแบบและผลการวิจัยสามารถประยุกต์ใช้ในการจัดการเพื่อการอนุรักษ์นกเงือก ซึ่งเป็น Umbrella และ Keystone species และใกล้สูญพันธุ์อย่างเหมาะสม จนทำให้เป็นโครงการวิจัยด้านอนุรักษ์สัตว์ป่าและทรัพยากรธรรมชาติที่มีศักยภาพในการชี้นำสังคม เป็นที่ยอมรับจากคณะทำงานด้านการท่องเที่ยวและสิ่งแวดล้อม วุฒิสภา ใช้เป็นต้นแบบในการจัดการอนุรักษ์ สัตว์ป่า และสิ่งแวดล้อมในประเทศ เป็นผู้ริเริ่มปลุกจิตสำนึกของพรานล่านกเงือกและชาวบ้านให้หันมาเป็นผู้อนุรักษ์ธรรมชาติและสัตว์ป่า โดยใช้นกเงือกเป็นสื่อจนเกิดความร่วมมือระหว่างชุมชน โรงเรียน เยาวชน และนักวิจัย
ศาสตราจารย์เกียรติคุณ ดร. พิไล พูลสวัสดิ์ มีผลงานวิจัยตีพิมพ์ในวารสารวิชาการระดับนานาชาติ มีบทความที่กล่าวถึงงานวิจัยในวารสารทางวิชาการและนิตยสารชั้นนำ ภาพยนตร์สารคดีในประเทศและต่างประเทศอย่างต่อเนื่อง อาทิเช่น
- Profile: Pilai Poonswad, "Subduing Poachers, Ducking Insurgents to Save a Spendid Bird"
Science 3 August 2007: Vol. 317. no. 5838, pp. 592-593
Science Magazine คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล เก็บถาวร 2007-08-23 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- "Birds as Barometers" SAWASDEE, April 2002: 32-37.
- "Hornbills of Asia". WE, March 2001: 42-58.
- "The Shrinking World of Hornbills". NATIONAL GEOGRAPHIC, Vol. 196 (1) , July 1999.
- "Hornbills in Thailand". THAIWAYS Vol. 11 (14) , 1994: 42-48.
- "In Search of the Rufous-necked Hornbil". GARUDA, March 1994: 22-25.
- "A Room With A Narrow View". EARTHWATCH, July 1988: 16-21.
ผลงานที่ได้รับการเผยแพร่เป็นภาพยนตร์สารคดี อาทิเช่น
- NATIONAL GEOGRAPHIC "The 2006 Rolex Awards for Enterprise" (2007)
- TELE IMAGE NATURE "Untamed Asian Jungle" สำหรับ DISCOVERY CHANEL (2000)
- FOX FAMILY STATION. " World Gone Wild" (1999)
- NHK. "Great Nature Special" (1998)
- BBC. "Sir David Attenborough's Life of Bird Series" (1998)
- NHK. "The Family on Earth" (1990)
- THE CHEDO - ANGIER. "State of the World" สำหรับสถานีโทรทัศน์ WGBH เมือง Boston (1988)
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
[แก้]- พ.ศ. 2550 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)[1]
- พ.ศ. 2545 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[2]
- พ.ศ. 2550 – เหรียญดุษฎีมาลา เข็มศิลปวิทยา (ร.ด.ม.(ศ)) สาขาวิทยาศาสตร์[3]
- พ.ศ. 2542 – เหรียญจักรพรรดิมาลา (ร.จ.พ.)[4]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย เก็บถาวร 2010-10-10 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๔ ตอนที่ ๑๘ ข หน้า ๘, ๕ ธันวาคม ๒๕๕๐
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย เก็บถาวร 2022-05-25 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๑๙ ตอนที่ ๒๑ ข หน้า ๒๖, ๔ ธันวาคม ๒๕๔๕
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญดุษฎีมาลา เข็มศิลปวิทยา เก็บถาวร 2009-02-25 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๕ ตอนที่ ๑๑ ข หน้า ๗, ๑๓ มิถุนายน ๒๕๕๑
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญจักรมาลาและเหรียญจักรพรรดิมาลา, เล่ม ๑๑๗ ตอนที่ ๔ ข หน้า ๔๑๓, ๒๒ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๓
รางวัลเกียรติยศ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล เก็บถาวร 2007-06-18 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน Coraciiformes Taxon Advisory Grop
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- บุคคลที่เกิดในปี พ.ศ. 2489
- บุคคลที่ยังมีชีวิตอยู่
- ศาสตราจารย์เกียรติคุณ
- นักวิทยาศาสตร์ชาวไทย
- อาจารย์คณะวิทยาศาสตร์
- ชาวไทยเชื้อสายจีน
- บุคคลจากคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
- นิสิตเก่าคณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ป.ช.
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ว.ม.
- ผู้ได้รับเหรียญ ร.ด.ม.(ศ)
- นักปักษีวิทยาชาวไทย