ข้ามไปเนื้อหา

อิสสระ สมชัย

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
อิสสระ สมชัย
อิสสระ ในปี พ.ศ. 2553
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคม
และความมั่นคงของมนุษย์
ดำรงตำแหน่ง
10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552 – 9 สิงหาคม พ.ศ. 2554
นายกรัฐมนตรีอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ
ก่อนหน้าวิฑูรย์ นามบุตร
ถัดไปสันติ พร้อมพัฒน์
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด16 ธันวาคม พ.ศ. 2489 (78 ปี)
อำเภอนาจะหลวย จังหวัดอุบลราชธานี
พรรคการเมืองราษฏร (2529–2534)
ความหวังใหม่ (2534–2535)
ประชาธิปัตย์ (2535–2566)
ภูมิใจไทย (2566–ปัจจุบัน)
คู่สมรสนวลนภา สมชัย

อิสสระ สมชัย (เกิด 16 ธันวาคม พ.ศ. 2489) อดีตรองหัวหน้าตามภารกิจ พรรคประชาธิปัตย์ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ อดีตรองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ (ดูแลพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ) อดีต สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดอุบลราชธานีและแบบบัญชีรายชื่อ หลายสมัย และเป็นบิดาของบุณย์ธิดา สมชัย สส.อุบลราชธานี

การศึกษา

[แก้]

อิสสระ สมชัย จบชั้นประถมศึกษาจาก โรงเรียนโพธิ์ศรี จังหวัดอุบลราชธานี จบชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นจาก โรงเรียนมัธยมพิบูลวิทยาลัย จังหวัดอุบลราชธานี สำเร็จการศึกษาระดับเตรียมอุดมศึกษาจาก โรงเรียนสิทธิ์ธรรมศาสตรศิลป์ จังหวัดอุบลราชธานี สำเร็จการศึกษา ปริญญาตรีทางกฎหมาย จาก มหาวิทยาลัยรามคำแหง และสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโท สาขาพัฒนาสังคม จาก สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า)

นอกจากนั้น ได้ผ่านการศึกษาหลักสูตรพิเศษเพิ่มเติม คือ ประกาศนียบัตรชั้นสูง หลักสูตร "การเมืองการปกครองในระบอบประชาธิปไตย สำหรับนักบริหารชั้นสูง" จาก สถาบันพระปกเกล้า (รุ่นที่ 2)

การทำงาน

[แก้]

อิสสระ สมชัย เริ่มทำงานเป็นทนายความตั้งแต่ ปี พ.ศ. 2518 ก่อนจะเข้าสู่แวดวงการเมือง ด้วยการเป็นนักการเมืองท้องถิ่น (สมาชิกสภาจังหวัดอุบลราชธานี 2 สมัย) และเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดอุบลราชธานี 7 สมัย (2529, 2535/1, 2535/2, 2538, 2539, 2548, 2550) เป็น 1 ใน 2 ส.ส.ภาคอีสาน ของพรรคประชาธิปัตย์ ที่สามารถชนะ การเลือกตั้ง เมื่อวันที่ 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2548 โดยได้เป็น ส.ส.อุบลราชธานี เขต 8 (อีกคนคือ วิฑูรย์ นามบุตร รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ที่ชนะเลือกตั้งได้เป็น ส.ส.อุบลราชธานี เขต 3) และในการเลือกตั้ง พ.ศ. 2550 เป็น 1 ใน 5 ส.ส.ของพรรคประชาธิปัตย์ที่ชนะการเลือกตั้งในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนืออีกด้วย (อภิวัฒน์ เงินหมื่น, วุฒิพงษ์ นามบุตร, ศุภชัย ศรีหล้า, อิสสระ สมชัย และณิรัฐกานต์ ศรีลาภ)

ต่อมาได้รับการแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ในรัฐบาลอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ แทนวิฑูรย์ นามบุตร ที่ลาออกจากตำแหน่ง ตั้งแต่วันที่ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552[1] ต่อมาในการเลือกตั้ง พ.ศ. 2554 ได้ลงสมัครรับเลือกตั้งในระบบบัญชีรายชื่อ[2] และได้รับเลือกตั้งเป็น ส.ส.อีกสมัย

ในปี พ.ศ. 2554 เขาได้รับแต่งตั้งเป็นรองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์[3] ต่อมาเขาได้ลาออกจากตำแหน่งรองหัวหน้าพรรค เมื่อวันที่ 30 ตุลาคม พ.ศ. 2556[4] เพื่อเข้าร่วมกิจกรรมทางการเมืองกับกลุ่ม กปปส.

ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2562 เขาได้รับเลือกตั้งเป็น ส.ส.แบบบัญชีรายชื่อ ในสังกัดพรรคประชาธิปัตย์ อีกสมัย[5]

วิกฤตการณ์การเมืองไทย พ.ศ. 2556–2557

[แก้]

ในวิกฤตการณ์การเมืองไทย พ.ศ. 2556–2557 นายอิสสระเป็นหนึ่งใน 9 ส.ส.พรรคประชาธิปัตย์ที่ลาออกจากการเป็นสมาชิกพรรคและกรรมการบริหารพรรค และเข้าเป็นหนึ่งในแกนนำ กปปส. (คณะกรรมการประชาชนเพื่อการเปลี่ยนแปลงประเทศไทยให้เป็นประชาธิปไตยที่สมบูรณ์อันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข) โดยมีบทบาทเป็นแกนนำที่เวทีห้าแยกลาดพร้าว ในการชุมนุมตั้งแต่วันที่ 13 มกราคม พ.ศ. 2557 จนถึงวันที่ 2 กุมภาพันธ์ ปีเดียวกัน เนื่องจากเป็นพื้นที่ ๆ เป็นจุดอันตราย ถูกโจมตีจากอาวุธชนิดต่าง ๆ บ่อยครั้ง [6]

วันที่ 7 มีนาคม 2557 ศาลจังหวัดฉะเชิงเทราอนุมัติหมายจับอิสสระ สมชัย แกนนำ กปปส. ในข้อหาร่วมกันทำร้ายและพยายามฆ่าผู้อื่นโดยไตร่ตรองไว้ก่อน กักขังหน่วงเหนี่ยวผู้อื่นให้ปราศจากเสรีภาพจนได้รับอันตรายสาหัส เนื่องด้วยมีการ์ดกลุ่ม นปช. ถูกคนร้ายอุ้มไปรุมซ้อมแล้วโยนทิ้งแม่น้ำบางปะกงวันที่ 1 มีนาคมของปีเดียวกัน แต่มีคนช่วยชีวิตเอาไว้ได้ โดยมีการรายงานข่าวว่า เหตุดังกล่าวมีความเกี่ยวข้องกับกลุ่มหน่วยรักษาความปลอดภัยของผู้ชุมนุม กปปส.โดยมีคนสั่งการคืออิสสระ สมชัย ซึ่งผู้ถูกทำร้ายได้เห็นหน้าชัดเจนและจำหน้าได้[7]

ในวันที่ 14 พฤษภาคม ปีเดียวกัน จากวิกฤตการณ์การเมืองไทย พ.ศ. 2556–2557 ศาลอาญาอนุมัติหมายจับแกนนำ กปปส. รวม 43 คน ผู้ต้องหาคดีกบฏ และความผิดอื่น รวม 8 ข้อหา เพื่อติดตามตัวมาดำเนินกระบวนการตามกฎหมาย โดยอิสสระเป็นผู้ต้องหาหมายเลขที่ 5[8] [9]

หลังจากนี้ อิสสระก็ได้เข้าอุปสมบทที่วัดธารน้ำไหล จังหวัดสุราษฎร์ธานี เช่นเดียวกับแกนนำและแนวร่วมคนอื่น ๆ ด้วย [10]

วันที่ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2564 ศาลอาญามีคำพิพากษาให้จำคุกอิสสระเป็นเวลา 7 ปี 16 เดือน พร้อมทั้งให้ตัดสิทธิเลือกตั้งเป็นเวลา 5 ปี[11] และหยุดปฏิบัติหน้าที่ ส.ส. จนกว่าศาลรัฐธรรมนูญจะวินิจฉัยสมาชิกภาพของเขา

วันที่ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2564 ศาลรัฐธรรมนูญมีคำวินิจฉัยว่าสมาชิกภาพการเป็น ส.ส. ของอิสสระ ผู้ถูกร้องที่ 3 สิ้นสุดลงตั้งแต่วันที่ 7 เมษายน พ.ศ. 2564[12]

รางวัลและเกียรติยศ

[แก้]

อิสสระ สมชัย ได้รับพระราชทานยศกองอาสารักษาดินแดนเป็น นายกองตรีอิสสระ สมชัย เมื่อ พ.ศ. 2536[13]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. พระบรมราชโองการ ประกาศแต่งตั้งรัฐมนตรี [นายอิสสระ สมชัย]
  2. ประกาศคณะกรรมการการเลือกตั้ง เรื่อง รายชื่อผู้สมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ (พรรคประชาธิปัตย์)
  3. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศนายทะเบียนพรรคการเมือง เรื่อง ตอบรับการเปลี่ยนแปลงคณะกรรมการบริหารพรรคประชาธิปัตย์ (จำนวน ๑๙ คน), เล่ม ๑๒๘ ตอนที่ ๑๕๑ง หน้า ๕๓ วันที่ ๑๓ ตุลาคม ๒๕๕๔
  4. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศนายทะเบียนพรรคการเมือง เรื่อง ตอบรับการเปลี่ยนแปลงกรรมการบริหารพรรคประชาธิปัตย์ (จำนวน ๑๙ ราย), เล่ม ๑๓๑ ตอนที่ ๑ง หน้า ๑๗๗ วันที่ ๒ มกราคม ๒๕๕๗
  5. "ประกาศคณะกรรมการการเลือกต้ง เรื่อง ผลการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 8 พฤษภาคม 2562. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2019-05-08. สืบค้นเมื่อ 2019-05-10.
  6. "กปปส.ยุบเวทีลาดพร้าว-อนุสาวรีย์ชัยฯ หลังถูกป่วนหนัก-แจงผู้ชุมนุมยิงปืนสั้นเพื่อป้องกันตัว". ผู้จัดการออนไลน์. 2 กุมภาพันธ์ 2557. สืบค้นเมื่อ 16 เมษายน 2558. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)[ลิงก์เสีย]
  7. "ศาลอนุมัติหมายจับ'อิสสระ สมชัย'และพวก พยายามฆ่ารปภ.แล้ว". Thairath.co.th. 7 มีนาคม 2557. สืบค้นเมื่อ 7 มีนาคม 2557. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  8. "ศาลอาญาอนุมัติหมายจับ 30 แกนนำ กปปส. ที่เหลือยกคำร้อง". Thairath.co.th. 14 พฤษภาคม 2557. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-05-17. สืบค้นเมื่อ 17 พฤษภาคม 2557. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  9. "ศาลอนุมัติออกหมายจับแกนนำ กปปส. 30 ราย-ยกคำร้อง 13". Posttoday.com. 14 พฤษภาคม 2557. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-06-15. สืบค้นเมื่อ 17 พฤษภาคม 2557. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  10. "'อิสสระ'ลาบวชตามรอย'หลวงลุงกำนัน'". เดลินิวส์. 21 พฤศจิกายน 2557. สืบค้นเมื่อ 17 เมษายน 2558. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  11. "บี-ตั้น-ถาวร" เจอโทษ พ้นรัฐมนตรี 8 กปปส.นอนคุก พร้อมพวกลุงกำนัน
  12. ศาลรัฐธรรมนูญ ชี้ "5 แกนนำ กปปส." พ้นสภาพความเป็นส.ส.
  13. "ได้รับพระราชทานยศกองอาสารักษาดินแดน" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2018-07-10. สืบค้นเมื่อ 2017-03-01.
  14. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย เก็บถาวร 2022-11-28 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๒ ตอนที่ ๒๑ ข หน้า ๒, ๓ ธันวาคม ๒๕๔๘
  15. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย เก็บถาวร 2022-10-08 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๑๗ ตอนที่ ๒๕ ข หน้า ๑๑, ๑ ธันวาคม ๒๕๔๓
ก่อนหน้า อิสสระ สมชัย ถัดไป
วิฑูรย์ นามบุตร
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (ครม. 59)
(10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552 – 9 สิงหาคม พ.ศ. 2554)
สันติ พร้อมพัฒน์