เจิมศักดิ์ ปิ่นทอง
เจิมศักดิ์ ปิ่นทอง | |
---|---|
ขณะกำลังจัดรายการเชื่อมั่นประเทศไทยกับนายกฯ อภิสิทธิ์ ทางสทท. | |
เกิด | เจิมศักดิ์ ปิ่นทอง 3 พฤศจิกายน พ.ศ. 2493 อำเภอวิเศษชัยชาญ จังหวัดอ่างทอง |
สัญชาติ | ไทย |
การศึกษา | โรงเรียนอำนวยศิลป์ โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด |
อาชีพ | นักวิชาการ สื่อมวลชน |
มีชื่อเสียงจาก | นักวิชาการ สื่อมวลชน สมาชิกวุฒิสภา |
คู่สมรส | ดร.จิตริยา ปิ่นทอง |
บุตร | น.ส.จารีย์ ปิ่นทอง |
รางวัล | ศาสตราภิชานมหาวิทยาลัยรังสิต |
รองศาสตราจารย์ ดร.เจิมศักดิ์ ปิ่นทอง อาจารย์พิเศษประจำคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, นักจัดรายการวิทยุ โทรทัศน์ สมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ และประธานกรรมการนโยบายขององค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทย
ประวัติ
เจิมศักดิ์ ปิ่นทอง เกิดเมื่อวันที่ 3 พฤศจิกายน พ.ศ. 2493 ที่ตำบลศาลเจ้าโรงทอง อำเภอวิเศษชัยชาญ จังหวัดอ่างทอง จบการศึกษาระดับมัธยมจากโรงเรียนอำนวยศิลป์, โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา (รุ่นเดียวกับนายบุญคลี ปลั่งศิริ)[1] ระดับปริญญาตรีและปริญญาโท (เกียรตินิยมอับดับหนึ่ง) คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และปริญญาเอกด้านเศรษฐศาสตร์การเกษตร มหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด สหรัฐอเมริกา นอกจากนี้ยังได้รับเลือกให้เป็นศิษย์เก่าดีเด่นของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
บทบาทอาจารย์และสื่อมวลชน
เจิมศักดิ์ เคยเป็นอาจารย์ประจำคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ผู้ค้นคว้า วิจัย เชี่ยวชาญ ด้านการตลาดสินค้าเกษตร สินค้าโภคภัณฑ์ และการพัฒนาชนบท เป็นที่รู้จักในบทบาทผู้ดำเนินรายการโทรทัศน์ ประเภทการเมือง เศรษฐกิจ สังคมด้วย เช่น รายการเวทีชาวบ้าน, มองต่างมุม, เหรียญสองด้าน, ตามหาแก่นธรรม ทางช่อง 11, ฃอคิดด้วยฅนและลานบ้านลานเมือง ทางช่อง 9 ปัจจุบันมีรายการที่ออกอากาศ เช่น รายการ "ลงเอย..อย่างไร" และรายการ "คลายปม" ร่วมกับ รศ.ดร.เสรี วงษ์มณฑา และ วันชัย สอนศิริ ทางสถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทย (สทท.) รายการ "มุมมองของเจิมศักดิ์" ทาง F.M. 92.25 และรายการวิทยุ "พูดตรงใจกับ ดร. เจิมศักดิ์ ปิ่นทอง" ทุกวันอาทิตย์เวลา 10.00 - 12.00 น. ทาง F.M. 92.25 รายการ "นักสำรวจ" ทางช่อง 3 ทุกเช้าวันอาทิตย์ เวลา 06.45 น. และเป็นคอลัมนิสต์ประจำหนังสือพิมพ์แนวหน้าและในเว็บไซต์ผู้จัดการแบบไม่ประจำ อีกทั้งมีสำนักพิมพ์ของตนเองคือ สำนักพิมพ์ฃอฅิดด้วยฅน พิมพ์และจัดจำหน่ายหนังสือแนวการเมือง เศรษฐกิจ สังคม มีหนังสือของสำนักพิมพ์ฃอคิดด้วยฅน ที่ได้รับความนิยม เช่น รู้ทันทักษิณ 1-5, แปลงทักษิณเป็นทุน, อยู่กับทักษิณ, การเมืองไทยหลังรัฐประหาร, รู้ทันภาษา รู้ทันการเมือง เป็นต้น ต่อมาในวันที่ 29 กันยายน พ.ศ. 2563 ได้รับการแต่งตั้งเป็นประธานกรรมการนโยบายขององค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทย[2]
การเมือง
เจิมศักดิ์ ปิ่นทอง เคยได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกวุฒิสภา (ส.ว.) กรุงเทพมหานคร เมื่อปี พ.ศ. 2543 ถึง พ.ศ. 2549 โดยได้รับการเลือกตั้งจากการเลือกตั้งสมาชิกวุฒิสภาครั้งแรกของไทย ในวันที่ 4 มีนาคม พ.ศ. 2543 ตามรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2540 ซึ่ง รศ.ดร.เจิมศักดิ์ได้เบอร์ 144 และได้คะแนนไปทั้งหมด 196,897 ถือเป็นลำดับที่ 3 ของกรุงเทพมหานคร[3] และก่อนหน้านั้นก็ได้รับเลือกให้เป็นสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2539 และเป็นหนึ่งในผู้ร่วมการขับไล่ ทักษิณ ชินวัตร ให้ลาออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรีด้วย ได้รับแต่งตั้งเป็นสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2550 ซึ่งในการร่างรัฐธรรมนูญครั้งนี้ มีประเด็นของการเรียกร้องให้มีการบรรจุพุทธศาสนาให้เป็นศาสนาประจำชาติไว้ในรัฐธรรมนูญด้วย ซึ่ง รศ.ดร.เจิมศักดิ์ ไม่เห็นด้วยกับประเด็นนี้ เพราะเกรงว่าจะก่อให้เกิดความแตกแยกกับศาสนาอื่น จึงตกเป็นเป้าโจมตีของกลุ่มผู้เรียกร้อง และเคยได้รับการแต่งตั้งให้เป็น กรรมการและโฆษกประจำคณะกรรมการบริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) (ทอท.) ด้วย
ในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551 รศ.ดร.เจิมศักดิ์ ออกมาเปิดเผยถูกถอดรายการ "มุมมองของเจิมศักดิ์" ที่เคยจัดอยู่ในวิทยุคลื่น 105 F.M.MHz วิสดอมเรดิโอ ในช่วงเช้าวันธรรมดา โดยผู้บริหารบอกให้มีการเปลี่ยนแปลงผังรายการ ซึ่ง รศ.ดร.เจิมศักดิ์ บอกว่า เป็นคำขู่จากนายจักรภพ เพ็ญแข รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี[4]
14 พฤษภาคม พ.ศ. 2557 จากวิกฤตการณ์การเมืองไทย พ.ศ. 2556–2557 ศาลอาญาอนุมัติหมายจับแกนนำ กปปส. รวม 43 คน ผู้ต้องหาคดีกบฏ และความผิดอื่น รวม 8 ข้อหา เพื่อติดตามตัวมาดำเนินกระบวนการตามกฎหมาย ดร.เจิมศักดิ์ เป็นผู้ต้องหาหมายเลขที่ 25[5] [6]
ชีวิตส่วนตัว
ชีวิตส่วนตัวสมรสกับ ดร.จิตริยา ปิ่นทอง อดีตรองปลัดกระทรวงการต่างประเทศ (นามสกุลเดิม ติงศภัทิย์ เป็นบุตรสาวของ ศ.จิตติ ติงศภัทิย์ อดีตองคมนตรีในพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช) มีบุตรสาวหนึ่งคนคือ ดร.จารีย์ ปิ่นทอง เศรษฐกรอาวุโส ธนาคารแห่งประเทศไทย
ในปัจจุบัน รศ.ดร.เจิมศักดิ์ ปิ่นทอง ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นศาสตราภิชาน จากมหาวิทยาลัยรังสิตอีกด้วย [7]
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
- พ.ศ. 2546 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)[8]
- พ.ศ. 2543 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[9]
- พ.ศ. 2558 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่สรรเสริญยิ่งดิเรกคุณาภรณ์ ชั้นที่ 3 ตติยดิเรกคุณาภรณ์ (ต.ภ.)[10]
- พ.ศ. 2540 – เหรียญจักรพรรดิมาลา (ร.จ.พ.)[11]
อ้างอิง
- ↑ รายการคุยตรงใจกับ เจิมศักดิ์ ปิ่นทอง ทาง F.M. 92.25 MHz : วันอังคารที่ 2 มีนาคม พ.ศ. 2553
- ↑ "ราชกิจจาฯ เผยแพร่ประกาศ "แต่งตั้ง 5 กรรมการนโยบายไทยพีบีเอส" วาระ 4 ปี นับตั้งแต่วันที่ 29 ก.ย. 63". Org.thaipbs.or.th. สืบค้นเมื่อ 2021-02-27.
- ↑ "รายชื่อ ส.ว.ภาคกลาง". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-09-11. สืบค้นเมื่อ 2010-07-22.
- ↑ "คำต่อคำ : "เจิมศักดิ์" เปิดใจ ยัน "เพ็ญ" บีบถอดรายการคลื่น 105". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-05. สืบค้นเมื่อ 2008-02-14.
- ↑ "ศาลอาญาอนุมัติหมายจับ 30 แกนนำ กปปส. ที่เหลือยกคำร้อง". Thairath.co.th. 14 พฤษภาคม 2557. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-05-17. สืบค้นเมื่อ 17 พฤษภาคม 2557.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ "ศาลอนุมัติออกหมายจับแกนนำ กปปส. 30 ราย-ยกคำร้อง 13". Posttoday.com. 14 พฤษภาคม 2557. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-06-15. สืบค้นเมื่อ 17 พฤษภาคม 2557.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ ฉากสุดท้ายของ “ทักษิณ” คนดวงแตก จันทร์ดับ[ลิงก์เสีย]
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย เก็บถาวร 2015-09-20 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๐ ตอนที่ ๑๙ ข หน้า ๑, ๑ ธันวาคม ๒๕๔๖
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๑๑๗ ตอนที่ ๒๕ ข หน้า ๑๐, ๑ ธันวาคม ๒๕๔๓
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่สรรเสริญยิ่งดิเรกคุณาภรณ์ ประจำปี ๒๕๕๘ เก็บถาวร 2015-12-23 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๓๒ ตอนที่ ๓๒ ข หน้า ๒๔, ๔ ธันวาคม ๒๕๕๘
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญจักรมาลาและเหรียญจักรพรรดิมาลา, เล่ม ๑๑๕ ตอนที่ ๒ ข หน้า ๗๓๐, ๑๘ มกราคม ๒๕๔๑
แหล่งข้อมูลอื่น
- บุคคลที่เกิดในปี พ.ศ. 2493
- บุคคลที่ยังมีชีวิตอยู่
- สมาชิกวุฒิสภากรุงเทพมหานคร
- สมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญไทย
- พิธีกรชาวไทย
- นักเศรษฐศาสตร์ชาวไทย
- อาจารย์คณะเศรษฐศาสตร์
- รองศาสตราจารย์
- ศาสตราภิชาน
- นักจัดรายการวิทยุ
- การตรวจพิจารณาในประเทศไทย
- การเมืองภาคประชาชน
- สมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ
- พุทธศาสนิกชนชาวไทย
- บุคคลที่เกี่ยวข้องกับเหตุการณ์ 6 ตุลา
- บุคคลที่เกี่ยวข้องกับเหตุการณ์ 14 ตุลา
- บุคคลจากอำเภอวิเศษชัยชาญ
- บุคคลจากโรงเรียนอำนวยศิลป์
- บุคคลจากโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา
- บุคคลจากคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
- บุคคลจากมหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ป.ช.
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ว.ม.
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ต.ภ.
- ผู้ได้รับเหรียญจักรพรรดิมาลา
- ผู้มีชื่อเสียงทางโทรทัศน์ชาวไทย