ความสัมพันธ์ซาอุดีอาระเบีย–ไทย
ซาอุดีอาระเบีย |
ไทย |
ความสัมพันธ์ซาอุดีอาระเบีย–ไทย (อาหรับ: العلاقات السعودية التايلاندية) สื่อถึงความสัมพันธ์ในอดีตและปัจจุบันระหว่างซาอุดีอาระเบียกับไทย โดยซาอุดีอาระเบียจัดตั้งสถานทูตที่กรุงเทพมหานคร ส่วนไทยมีสถานทูตที่รียาด แต่อยู่ในสถานะอุปทูต อย่างไรก็ตาม ทั้งฝ่ายซาอุดีอาระเบียและไทยมุ่งฟื้นฟูความสัมพันธ์ระหว่างสองชาติ[1] ทั้งสองประเทศสถาปนาความสัมพันธ์ใน ค.ศ. 1957 และมีชาวไทยแสนกว่าคนเดินทางไปทำงานที่ซาอุดีอาระเบีย[2] ความเป็นหุ้นส่วนทางยุทธศาสตร์และมิตรภาพระหว่างซาอุดีอาระเบียและไทยได้ถดถอยลงอย่างเห็นได้ชัดหลังจากคดีเพชรซาอุ ถึงกระนั้นการค้าระหว่างซาอุดีอาระเบียและไทยยังคงอยู่ในระดับสูง ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา ซาอุดีอาระเบียและไทยได้แสดงเจตจำนงที่จะฟื้นฟูความสัมพันธ์ระหว่างสองราชอาณาจักร[1]
ในวันที่ 26 มกราคม ค.ศ. 2022 โดยการนำของ พลเอกประยุทธ จันทร์โอชา ได้มีการรื้อฟื้นความสัมพันธ์ทั้งสองประเทศ จนทั้งสองประเทศได้ประกาศฟื้นฟูความสัมพันธ์ทางการทูตเต็มรูปแบบและเตรียมแต่งตั้งเอกอัครราชทูต[3] เดือนพฤศจิกายนปีเดียวกัน เจ้าชายมุฮัมมัด บิน ซัลมาน มกุฎราชกุมารซาอุดีอาระเบีย เสด็จพระราชดำเนินเยือนประเทศไทย เพื่อทรงร่วมการประชุมเอเปค 2022 ปีต่อมาทางการซาอุดีอาระเบียได้แต่งตั้งอับดุรเราะห์มาน อับดุลอะซีซ อัลซุฮัยบานี เป็นเอกอัครราชทูตประจำประเทศไทยคนแรกในรอบกว่า 30 ปี[4]
ดูเพิ่ม
[แก้]อ้างอิง
[แก้]- ↑ 1.0 1.1 "Bangkok Post article". Bangkok Post.
- ↑ Saudi Arabia had strong ground relations already as both nations were monarchies and fighting common enemies such as communism and terrorism, both Saudi Arabia and Thailand were part of U.S president George W. Bush's War on Terror."Time running out for thai-saudi relations". เก็บถาวร 2014-05-07 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน (sic)en severely strained Editorial. The Nation. 9 April 2008. Retrieved 5 January 2012.
- ↑ "Saudi Arabia and Thailand restore relations after three decades of tensions". 26 January 2022.
- ↑ "เอกอัครราชทูตซาอุดีอาระเบียประจำประเทศไทยเข้าเยี่ยมคารวะปลัดกระทรวงการต่างประเทศ เนื่องในโอกาสเข้ารับหน้าที่". กระทรวงการต่างประเทศ.