ศรีสกุล พร้อมพันธุ์
ศรีสกุล พร้อมพันธุ์ | |
---|---|
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดนครราชสีมา | |
ดำรงตำแหน่ง 24 กรกฎาคม พ.ศ. 2531 – 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2534 | |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2498 |
ศาสนา | พุทธ |
พรรคการเมือง | ประชาธิปัตย์ (2519—ปัจจุบัน) |
คู่อาศัย | สุเทพ เทือกสุบรรณ |
คู่สมรส | กฤตย์ รัตนรักษ์ (หย่า) พรเทพ เตชะไพบูลย์ (หย่า) |
ศรีสกุล พร้อมพันธุ์ (เกิด 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2498) ชื่อเล่น ต๊อบ เป็นอดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดนครราชสีมา และเป็นภรรยาคนปัจจุบันของสุเทพ เทือกสุบรรณ อดีตรองนายกรัฐมนตรี
ประวัติ
[แก้]ศรีสกุล พร้อมพันธุ์ เกิดเมื่อวันที่ 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2498[1] เป็นบุตรของประสิทธิ์ กับตุ๊ พร้อมพันธุ์ และเป็นน้องสาวของนิพนธ์ พร้อมพันธุ์ อดีตเลขาธิการนายกรัฐมนตรี สำเร็จการศึกษาจากคณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย[2] ในช่วงศึกษาที่จุฬาฯ เคยเป็นดาวจุฬา
ศรีสกุล พร้อมพันธุ์ สมรสครั้งแรกกับกฤตย์ รัตนรักษ์ อดีตเจ้าของธนาคารกรุงศรีอยุธยา แต่ใช้ชีวิตร่วมกันได้เพียงเดือนเศษก็หย่าร้าง และได้มาสมรสครั้งที่ 2 กับพรเทพ เตชะไพบูลย์ อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดบุรีรัมย์ มีบุตร 3 คน คือ สิทธิพัฒน์ เตชะไพบูลย์ เอกนัฏ พร้อมพันธุ์ และธีราภา พร้อมพันธุ์[3] ต่อมาได้หย่าขาดจากพรเทพ เตชะไพบูลย์โดยต่อมาในปี พ.ศ. 2542 พรเทพได้สมรสใหม่กับปภัสรา เตชะไพบูลย์ นักแสดงชื่อดังชาวไทย จนต่อมมาพรเทพก็มีบุตรมีธิดาอีก 1 คน คือดิสรยา เตชะไพบูลย์ ที่เกิดกับปภัสรา เตชะไพบูลย์ ส่วนศรีสกุล พร้อมพันธุ์ ก็ได้ใช้ชีวิตคู่กับสุเทพ เทือกสุบรรณ เมื่อปี พ.ศ. 2537 โดยไม่ได้จดทะเบียนสมรส ซึ่งขณะนั้นสุเทพและศรีสกุลโดยทั่งตู่ต่างคนต่างก็เป็นม่ายและมีลูกติดสามีและภรรยาเช่นเดียวกัน สรุปแล้วโดยส่วนศรีสกุลและพรเทพภายหลังได้หย่าขาดกันซึ่งทั้งสองก็มีก็มีสามีใหม่และภรรยาใหม่เช่นกัน[1]
การทำงาน
[แก้]ศรีสกุล พร้อมพันธุ์ หรือ ศรีสกุล เตชะไพบูลย์ (ชื่อสกุลขณะนั้น) ได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดนครราชสีมา เขตเลือกตั้งที่ 5 โดยได้รับเลือกตั้งพร้อมกับนิพนธ์ พร้อมพันธุ์ (พี่ชาย) ในนามพรรคประชาธิปัตย์ จากการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2531
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
[แก้]- พ.ศ. 2557 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[4]
- พ.ศ. 2553 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นที่ 1 ประถมาภรณ์ช้างเผือก (ป.ช.)[5]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ 1.0 1.1 สุเทพ เทือกสุบรรณ (แต่ง) อัญชะลี ไพรีรัก ภัทรชัย ภัทรพล ศรศมน บัวจำปา (เรียบเรียง). The Power of Change กำนันสุเทพ เทือกสุบรรณ. กรุงเทพฯ : ลิปส์ พับลิชชิ่ง, 2557. 247 หน้า. หน้า 085. ISBN 978-616-7645-07-0
- ↑ ภาพและประวัติสมาชิกรัฐสภา พ.ศ. 2532. สำนักงานเลขารัฐสภา. 2532
- ↑ บัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สินของนายเอกนัฏ พร้อมพันธุ์[ลิงก์เสีย]
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๕๗ เก็บถาวร 2022-11-24 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๓๑ ตอนที่ ๒๗ ข หน้า ๓๑, ๓ ธันวาคม ๒๕๕๗
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๕๓ เก็บถาวร 2022-11-28 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๗ ตอนที่ ๑๔ ข หน้า ๗๓, ๘ ธันวาคม ๒๕๕๓
- บุคคลที่เกิดในปี พ.ศ. 2498
- บุคคลที่ยังมีชีวิตอยู่
- บุคคลจากจังหวัดนครราชสีมา
- สกุลพร้อมพันธุ์
- สกุลเตชะไพบูลย์
- สกุลเทือกสุบรรณ
- นักธุรกิจชาวไทย
- นักการเมืองสตรีชาวไทย
- สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดนครราชสีมา
- นักการเมืองพรรคประชาธิปัตย์
- นักการเมืองที่เป็นแนวร่วมกปปส.
- นิสิตเก่าคณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ป.ช.
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ว.ม.