โคเรียนแอร์ไลน์ เที่ยวบินที่ 007
ภาพจำลอง แสดงเครื่องโบอิง 747-230บี | |
สรุปอุบัติการณ์ | |
---|---|
วันที่ | 1 กันยายน 2526 |
สรุป | ถูกยิงตก |
จุดเกิดเหตุ | ใกล้เกาะโมเนรอน ทางตะวันตกของเกาะซาฮาลิน สหภาพโซเวียต 46°34′N 141°17′E / 46.567°N 141.283°E |
ประเภทอากาศยาน | โบอิง 747-230บี |
ดําเนินการโดย | โคเรียนแอร์ไลน์ |
ทะเบียน | HL7442disaster |
ต้นทาง | ท่าอากาศยานนานาชาติจอห์น เอฟ. เคนเนดี ควีนส์ รัฐนิวยอร์ก สหรัฐอเมริกา |
จุดพักสุดท้าย | ท่าอากาศยานนานาชาติเทด สตีเวนส์ แองเคอเรจ รัฐอะแลสกา สหรัฐอเมริกา |
ปลายทาง | ท่าอากาศยานนานาชาติคิมโพ เขตคังซอ โซล ประเทศเกาหลีใต้ |
ผู้โดยสาร | 246 |
ลูกเรือ | 23 |
เสียชีวิต | 269 (ทั้งหมด) |
บาดเจ็บ | 0 |
รอดชีวิต | 0 |
โคเรียนแอร์ไลน์ เที่ยวบินที่ 007 (หรือ KAL 007 หรือ KE 007) เป็นเที่ยวบินของโคเรียนแอร์ไลน์ตามกำหนดการจากนครนิวยอร์กสู่โซล แวะพักที่แองเคอเรจ วันที่ 1 กันยายน 2526 เครื่องบินโดยสารของเที่ยวบินดังกล่าวถูกเครื่องบินสกัดกั้นซู-15 ของสหภาพโซเวียตยิงตกใกล้เกาะโมเนรอน ทางตะวันตกของเกาะซาฮาลิน ในทะเลญี่ปุ่น นักบินของเครื่องบินสกัดกั้นลำนั้น คือ นาวาอากาศตรี เกนนาดี โอซีโปวิช ผู้โดยสารและลูกเรือทั้ง 269 คนบนเครื่องเสียชีวิต รวมทั้งลอว์เรนซ์ แมคโดนัลด์ ผู้แทนรัฐจอร์เจียในสภาผู้แทนราษฎรสหรัฐอเมริกา อากาศยานลำดังกล่าวกำลังอยู่ในเส้นทางจากแองเคอเรจสู่โซลเมื่อบินผ่านน่านฟ้าโซเวียตที่ถูกห้ามในเวลาไล่เลี่ยกับภารกิจสอดแนมของสหรัฐ
ทีแรก สหภาพโซเวียตปฏิเสธรู้เห็นเหตุการณ์ดังกล่าว[1] แต่ภายหลังยอมรับการยิง โดยอ้างว่าอากาศยานดังกล่าวอยู่ระหว่างภารกิจสอดแนม[2] โปลิตบูโรแถลงว่า เหตุการณ์ดังกล่าวเป็นการยั่วยุโดยเจตนาของสหรัฐ[3] เพื่อทดสอบความพร้อมทางทหารของสหภาพโซเวียต หรือกระทั่งยั่วยุให้เกิดสงคราม ทำเนียบขาวกล่าวหาสหภาพโซเวียตว่าขัดขวางปฏิบัติการค้นหาและกู้ภัย[4] กองทัพโซเวียตระงับหลักฐานที่แสวงโดยการสอบสวนขององค์การการบินพลเรือนระหว่างประเทศ ที่เด่นคือ เครื่องบันทึกข้อมูลการบิน[5] ซึ่งสุดท้ายเผยแพร่ 8 ปีให้หลังการล่มสลายของสหภาพโซเวียต[6]
เหตุการณ์ดังกล่าวเป็นขณะที่ตึงเครียดที่สุดขณะหนึ่งของสงครามเย็นและส่งผลให้คติต่อต้านโซเวียตทวีขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสหรัฐ มุมมองตรงข้ามต่อเหตุการณ์ไม่เคยระงับอย่างสมบูรณ์ ต่อมา หลายกลุ่มดำเนินการกับรายงานอย่างเป็นทางการที่พิพาทและเสนอทฤษฎีทางเลือกของเหตุการณ์ การปล่อยใบสำเนาเที่ยวบินและเครื่องบันทึกเที่ยวบิน KAL 007 ภายหลังโดยสหพันธรัฐรัสเซียเปิดเผยรายละเอียดบางอย่าง
ผลของเหตุการณ์ สหรัฐอเมริกาเปลี่ยนวิธีดำเนินการติดตามอากาศยานที่ออกจากรัฐอะแลสกา โปรแกรมต่อประสานนักบินอัตโนมัติที่ใช้บนสายการบินได้รับการออกแบบใหม่ให้การย์ (ergonomic) มากขึ้น[7] นอกเหนือจากนี้ เหตุการณ์ดังกล่าวยังเป็นเหตุการณ์เดี่ยวที่สำคัญที่สุดเหตุการณ์หนึ่งซึ่งทำให้รัฐบาลเรแกนอนุญาตให้ทั่วโลกเข้าถึงระบบ GNSS ของกองทัพสหรัฐ ซึ่งยังเป็นความลับอยู่ในขณะนั้น ปัจจุบัน ระบบดังกล่าวรู้จักกันอย่างกว้างขวางในชื่อ จีพีเอส
รายละเอียดเที่ยวบิน
[แก้]อากาศยานของโคเรียนแอร์ไลน์ เที่ยวบินที่ 007 คือ อากาศยานพาณิชย์โบอิง 747-230บี ส่งมอบเมื่อวันที่ 28 มกราคม 2515 ด้วยเลขทะเบียน CN20559/186 และการจดทะเบียน HL7442 (เดิม D-ABYH ดำเนินการโดยคอนดอร์) เครื่องบินออกจากประตูที่ 15 ของท่าอากาศยานนานาชาติจอห์น เอฟ. เคนเนดี นครนิวยอร์ก เมื่อวันที่ 30 สิงหาคม 2526 มุ่งหน้าสู่ท่าอากาศยานนานาชาติคิมโพ ในเขตคังซอ โซล โดยออกเดินทางช้ากว่ากำหนด 35 นาที จากกำหนดเดิม 23:50 เขตเวลาตะวันออก (03:50 UTC ของวันที่ 31 สิงหาคม) เที่ยวบินนี้บรรทุกผู้โดยสาร 246 คนและลูกเรือ 23 คน หลังจอดเติมน้ำมันที่ท่าอากาศยานนานาชาติแองเคอเรจในแองเคอเรจ รัฐอะแลสกาแล้ว อากาศยานดังกล่าว ซึ่งผู้ขับผลัดนี้คือ กัปตันชุน ช็อน บย็อง-อิน (Chun Byung-in) ออกเดินทางสู่โซลเมื่อเวลา 04:00 ตามเวลาอะแลสกา (13:00 UTC) ของวันที่ 31 สิงหาคม 2526
เที่ยวบินนี้มีสัดส่วนลูกเรือต่อผู้โดยสารสูงผิดปกติ โดยมีลูกเรือที่โดยสารแบบไม่เสียค่าใช้จ่าย (deadheading) หกคนบนเครื่อง ผู้โดยสารสิบสองคนอยู่ในชั้นหนึ่งชั้นบน ขณะที่ที่นั่งชั้นธุรกิจมีผู้โดยสารเกือบทั้ง 24 ที่นั่ง ในชั้นประหยัด ราว 80 ที่นั่งไม่มีผู้โดยสาร บนเครื่องมีเด็กอายุต่ำกว่า 12 ปี 22 คน ผู้โดยสาร 130 คนวางแผนเชื่อมไปยังจุดหมายอื่น เช่น โตเกียว ฮ่องกง และไทเป
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรสหรัฐ ลอว์เรนซ์ แมคโดนัลด์จากรัฐจอร์เจีย ซึ่งขณะนั้นยังเป็นประธานคนที่สองของสมาคมจอห์น เบิร์ช (John Birch Society) อยู่บนเครื่องด้วย โซเวียตยืนยันว่าอดีตประธานาธิบดีสหรัฐ ริชาร์ด นิกสันจะนั่งติดกับแลร์รี แมคโดนัลด์บน KAL 007 แต่ซีไอเอเตือนไม่ให้เขาไป ตามข้อมูลของ นิวยอร์กโพสต์ และสำนักโทรเลขแห่งสหภาพโซเวียต นิกสันปฏิเสธข่าวดังกล่าว
การเบี่ยงเบนจากเส้นทางที่กำหนด
[แก้]หลังทะยานขึ้นจากแองเคอเรจ เที่ยวบินได้รับคำสั่งจากการควบคุมจราจรทางอากาศ (ATC) ให้เลี้ยวหันหน้าไป 220 องศา ประมาณ 90 วินาทีต่อมา ATC สั่งให้เที่ยวบิน "มุ่งหน้าตรงสู่เบเธลเมื่อทำได้" เมื่อมาถึงเบเธล รัฐอะแลสกา เที่ยวบินที่ 007 จะเข้าสู่เหนือสุดของเส้นทางการบินกว้าง 80 กิโลเมตร ที่เรียก เส้นทาง NOPAC (แปซิฟิกเหนือ) ซึ่งเชื่อมชายฝั่งอะแลสกากับญี่ปุ่น เส้นทางการบินของ KAL 007 คือ R-20 (โรมีโอ 20) ผ่านห่างจากน่านฟ้าโซเวียตนอกชายฝั่งคัมชัตกาเพียง 28.2 กิโลเมตร
ระบบนักบินอัตโนมัติที่ใช้ในขณะนั้นมีภาวะควบคุมพื้นฐานสี่อย่าง ได้แก่ HEADING, VOR/LOC, ILS, และ INS ภาวะ HEADING รักษาเส้นทางแม่เหล็กคงที่ที่นักบินเลือก ภาวะ VOR/LOC รักษาเครื่องบินให้อยู่ในเส้นทางเฉพาะ ส่งสัญญาณจาก VOR ภาคพื้นดินหรือเครื่องบอกตำแหน่งโลคอลไลเซอร์ (Localizer) ที่นักบินเลือก ภาวะ ILS (ระบบลงจอดด้วยเครื่อง) ทำให้เครื่องบินติดตามทั้งเครื่องบอกตำแหน่งเส้นทางแนวตั้งและแนวข้าง ซึ่งนำไปสู่รันเวย์เจาะจงที่นักบินเลือก ภาวะ INS (ระบบเดินยานเฉื่อย) รักษาเครื่องให้อยู่ในเส้นทางแนวข้างระหว่างพิกัดจุด (waypoint) แผนการบินที่เลือกที่ตั้งโปรแกรมเข้าสู่คอมพิวเตอร์ INS
ดูเพิ่ม
[แก้]- อิหร่านแอร์ เที่ยวบินที่ 655
- โคเรียนแอร์ไลน์ เที่ยวบินที่ 902
- มาเลเซียแอร์ไลน์ เที่ยวบินที่ 17
- ยูเครนอินเตอร์แนชนัลแอร์ไลนส์ เที่ยวบินที่ 752
อ้างอิง
[แก้]- ↑ Young & Launer, pp. xiii,47
- ↑ อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ
<ref>
ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อSputnik
- ↑ Pearson, p. 145
- ↑ Congressional Record, September 20, 1983, pp. S12462-S12464
- ↑ Soviet news magazine, Izvestia #228, October 16, 1992
- ↑ อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ
<ref>
ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อtapes
- ↑ อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ
<ref>
ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อNASA
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- บทสัมภาษณ์นักบินโซเวียตผู้ยิงเครื่อง KAL เก็บถาวร 2006-12-30 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- รายงานของ NASA เกี่ยวกับข้อผิดพลาดของระบบ autopilot เก็บถาวร 2007-09-27 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- อุบัติเหตุทางการบินในประเทศรัสเซีย
- อุบัติเหตุทางการบินในปี พ.ศ. 2526
- แคว้นซาฮาลิน
- เหตุเครื่องบินพาณิชย์ถูกยิงตก
- เหตุอากาศยานถูกยิงตกในคริสต์ศตวรรษที่ 20
- อุบัติเหตุของเครื่องบินโบอิง 747
- อุบัติเหตุที่เกิดขึ้นกับโคเรียนแอร์
- สงครามเย็น
- อุบัติเหตุทางการบินในสหภาพโซเวียต
- ความสัมพันธ์สหภาพโซเวียต–สหรัฐ
- ความสัมพันธ์เกาหลี–สหภาพโซเวียต