ลัทธินิกสัน
หน้าตา
ลัทธินิกสัน (หรืออาจรู้จักในชื่อ ลัทธิกวม) แพร่หลายในการประชุมสื่อในกวมเมื่อวันที่ 25 กรกฎาคม ค.ศ. 1969 โดยประธานาธิบดี ริชาร์ด นิกสัน เขาประกาศว่าสหรัฐอเมริกาจะคาดหวังว่าพันธมิตรของตนจะสามารถดูแลการป้องกันทางทหารของตนเอง ยกเว้นในบางกรณีที่สหรัฐจะช่วยเหลือในการป้องกันเมื่อได้รับการร้องขอ ลัทธิดังกล่าวให้เหตุผลสำหรับการแสวงหาสันติภาพผ่านทางความร่วมมือกับพันธมิตรของสหรัฐ
ในคำพูดของนิกสัน (กล่าวต่อเนชันออนเดอะวอร์ในเวียดนาม 3 พฤศจิกายน ค.ศ. 1969):[1]
- อย่างแรก สหรัฐอเมริกาจะรักษาข้อผูกมัดในสนธิสัญญาที่ตนทำไว้
- อย่างที่สอง เราจะเป็นโล่กำบังให้หากอำนาจนิวเคลียร์คุกคามต่อเสรีภาพของชาติที่เป็นพันธมิตรกับเราหรือชาติซึ่งความอยู่รอดได้รับพิจารณาว่ามีความสำคัญต่อความมั่นคงของเรา
- อย่างที่สาม ในกรณีซึ่งเกี่ยวพันกับการรุกรานรูปแบบอื่น เราจะให้ความช่วยเหลือทางทหารและทางเศรษฐกิจเมื่อได้รับการร้องขอตามข้อผูกมัดของสนธิสัญญาของเรา แต่เราจะมุ่งไปเฉพาะชาติที่ได้รับการคุกคามโดยตรงเพื่อที่จะรับผิดชอบในการเพิ่มกำลังคนให้กับการป้องกันประเทศ
ลัทธิดังกล่าวได้ปรับใช้โดยการบริหารของนิกสันในภูมิภาคอ่าวเปอร์เซีย โดยให้ความช่วยเหลือทางทหารแก่อิหร่านและซาอุดิอาระเบียเพื่อที่ว่าพันธมิตรของสหรัฐเหล่นี้จะยอมรับความรับผิดชอบในการธำรงสันติภาพและเสถียรภาพในภูมิภาค[2]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ Richard M. Nixon (November 3, 1969). "President Nixon's Speech on "Vietnamization"" (reprint).
- ↑ Beinart, Peter (2007-01-04). "Return of the Nixon Doctrine". TIME. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-10-26. สืบค้นเมื่อ 2010-07-25.
ดูเพิ่ม
[แก้]- J. Kimball (2006). "The Nixon Doctrine: A Saga of Misunderstanding". Presidential Studies Quarterly. 36 (1): 59–74. doi:10.1111/j.1741-5705.2006.00287.x.
- H. Meiertöns (2010): The Doctrines of US Security Policy — An Evaluation under International Law, Cambridge University Press, ISBN 9780521766487.