ข้ามไปเนื้อหา

ปฏิบัติการผาลาด

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ยุทธการผาลาด
ส่วนหนึ่งของ สงครามกลางเมืองลาวและสงครามเวียดนาม
วันที่2 เมษายน – 20 สิงหาคม 2514
สถานที่
ชายแดนภาคเหนือของไทยลาว ตามแนวแม่น้ำโขง
ผล ชัยชนะของไทย
ดินแดน
เปลี่ยนแปลง
สามารถก่อตั้งกองพันทหารไทย 3 กองพัน ขึ้นในพื้นที่ตอนใต้ของแม่น้ำโขงในเขตลาว
คู่สงคราม
 ไทย
ลาว
ลาว ปะเทดลาว
พรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย

ปฏิบัติการผาลาด[a] หรือ ยุทธการผาลาด[1][b] (อังกฤษ: Operation Phalat[c]) (2 เมษายน – 20 สิงหาคม พ.ศ. 2514) เป็นปฏิบัติการทางทหารในสงครามกลางเมืองลาวที่มุ่งป้องกันพรมแดนด้านเหนือของราชอาณาจักรไทยกับพระราชอาณาจักรลาวอย่างเข้มงวด ปฏิบัติการนี้ได้รับแรงบันดาลใจจากแนวทางการสร้างถนนจีน (The Chinese Road) และแม้ว่ารัฐบาลลาวจะไม่ให้ความร่วมมือมากนัก แต่กองทัพไทยก็ได้จัดตั้งกองกำลังสามกองพันขึ้นในดินแดนลาวทางใต้ของแม่น้ำโขงเพื่อป้องกันการรุกรานที่อาจเกิดขึ้นจากสาธารณรัฐประชาชนจีน

ภาพรวม

[แก้]

ในเดือนมกราคม พ.ศ. 2505 ในช่วงเริ่มต้นของสงครามกลางเมืองลาว นายกรัฐมนตรีเจ้าสุวรรณภูมา ได้ลงนามในข้อตกลงความช่วยเหลือต่างประเทศกับสาธารณรัฐประชาชนจีน (PRC) ซึ่งคอมมิวนิสต์จีนจะสร้างถนนในลาวตะวันตกเฉียงเหนือแม้ว่าสงครามกลางเมืองลาวจะยังดำเนินอยู่ก็ตาม ในฐานะส่วนหนึ่งของโครงการนี้ หลังจากความพ่ายแพ้ที่น้ำบัคเมื่อวันที่ 14 มกราคม พ.ศ. 2511 วิศวกรจีนได้เริ่มสร้างทางหลวงหมายเลข 46 จากมณฑลยูนนานไปทางใต้ตามหุบเขาน้ำแบงไปยังปากแบ่ง ซึ่งตั้งอยู่บนแม่น้ำโขง เมื่อการก่อสร้างถนนเข้าใกล้ชายแดนไทย ประกอบกับมีกองทหารจีนและปืนต่อสู้อากาศยานติดตั้งอยู่ในโครงการก่อสร้างด้วย รัฐบาลไทยจึงเริ่มกังวลเกี่ยวกับความเป็นไปได้ของการรุกรานจากจีนและการสนับสนุนของจีนต่อพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย[2][3][4]

ประวัติ

[แก้]

กองกำลังป้องกันตนเองของลาว (Auto Defense Choc: ADC) ประจำการอยู่ในหมู่บ้านสองแห่งใกล้กับทางหลวงหมายเลข 46 คือ บ้านหัวยลาวและบ้านม่วง ในช่วงฤดูใบไม้ผลิปี พ.ศ. 2514 กองกำลังของปะเทดลาว ที่ปฏิบัติการร่วมกับการสร้างถนนได้ขับไล่กองกำลังป้องกันตนเองออกจากหมู่บ้านเหล่านี้ ทำให้กองกำลังติดอาวุธดังกล่าวหลบหนีลงใต้ข้ามแม่น้ำโขงและชายแดนไทย ในทางกลับกัน กองทัพอากาศไทยได้บินปฏิบัติภารกิจโจมตีทางอากาศยุทธวิธีเพื่อสนับสนุนการยึดฐานที่มั่นของหมู่บ้านเหล่านั้นคืน[5]

ปฏิบัติการ

[แก้]

ในวันที่ 2 เมษายน พ.ศ. 2514 กองทัพบกไทยได้เริ่มปฏิบัติการรุกทางทหารเป็นเวลา 3 สัปดาห์ตามแนวชายแดนแม่น้ำโขงกับพระราชอาณาจักรลาว กองทัพไทยได้ส่งทหารราบ 1 กรม กองพันพลร่ม 1 กองพัน และกองพันทหารปืนใหญ่ 2 กองพัน โดยได้รับการสนับสนุนจากกำลังทางอากาศยุทธวิธีของกองทัพอากาศไทย เนื่องจากปฏิบัติการผาลาด ถูกกำหนดให้เป็นการฝึกซ้อมร่วม ซึ่งฝั่งลาวจะนำปืนใหญ่ของลาวและกองทัพอากาศลาว (RLAF) มาฝึกร่วมตามคำมั่นจากรัฐบาลพระราชอาณาจักรลาว (RLG) แต่ไม่มีปรากฏให้เห็น กองกำลังป้องกันตนเองของลาวบางส่วนปรากฏตัวที่พรมแดนฝั่งลาว ในเหตุการณ์นั้น กองกำลังของกองทัพไทยได้ทำลายค่ายของพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทยในดินแดนของฝั่งไทยและเปิดเส้นทางแทรกซึมหลายเส้นทางในการข้ามพรมแดน[5]

แม้ว่าผลลัพธ์จะออกมาน่าพอใจสำหรับฝ่ายไทย แต่พวกเขาก็ยังกระตือรือร้นที่จะขยายเขตป้องกันของตนให้ครอบคลุมถึงชายแดนด้านใต้ของกองทัพแห่งชาติลาวภาค 1 (ทชล.ภาค 1) เนื่องจากไทยมีโครงการปฏิบัติการยูนิตีหรือทหารเสือพรานในการจัดหา "อาสาสมัคร" ทหารรับจ้างเพื่อสนับสนุนกองทัพลาวบนทุ่งไหหินอยู่แล้ว ฝ่ายไทยจึงเสนอให้ส่งทหารบางส่วนไปประจำการที่บริเวณถนนจีนและชายแดนไทย-ลาว เมื่อวันที่ 15 มิถุนายน พ.ศ. 2514 กองพันทหารเสือพราน 3 กองพันได้ประจำการอยู่ที่เชียงลม ประเทศลาว กองพันเหล่านี้ได้รับฉายาว่า หน่วยเฉพาะกิจราทิกุล เนื่องจากอยุ่ในตำแหน่งที่สำคัญ กองพันเหล่านี้จึงมีกำลังพลมาจากการคัดเลือกทหารไทยที่ดีที่สุด และนำโดยบัณฑิตจากเวสต์พอยต์และทหารผ่านศึกที่มากประสบการณ์จากสงครามเวียดนาม[6]

เมื่อวันที่ 20 สิงหาคม พ.ศ. 2514 กองพันคอมมานโด 612 (Bataillion Commando 612: BC 612) เคลื่อนพลไปทางตะวันตกเฉียงเหนือสู่ยอดเขาภูฟิน ห่างจากเชียงลม 19 กิโลเมตร เมื่อไปถึงที่นั่น พวกเขาก็ได้รับบาดเจ็บจากการสู้รบหลังจากเอาชนะ ปัญหาการขาดแคลนกระสุนปืนครกและปืนไรเฟิลไร้แรงสะท้อน[7]

ผลลัพธ์

[แก้]

ปฏิบัติการผาลาดประสบความสำเร็จในการส่งกองพันทหารไทย 3 กองพันไปประจำการในแนวหน้าบนดินแดนลาวที่เชียงลม ในอนาคตอันใกล้ "ผาลาด" จะนำไปสู่ปฏิบัติการที่ตั้งชื่อตามอดีตผู้บัญชาการกรมทหารบก นั่นก็คือ ปฏิบัติการสุรศักดิ์มนตรี[7]

หมายเหตุ

[แก้]
  1. ชื่อตามการแปลภภาษาอังกฤษของ Operation ในวิกิพีเดียไทย จึงใช้ไปในทางเดียวกัน ขณะที่ยุทธการจะใช้กับคำว่า Battle
  2. ชื่อตามการเรียกและการรับรู้โดยทั่วไปของไทย เช่น ในเอกสารของโรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า[1]
  3. ในบันทึกภาษาอังกฤษและในหน้าวิกิภาษาอังกฤษสะกดเป็น สุริศักดิ์มนตรี (Sourisak Montry) แทนที่จะเป็นสุรศักดิ์มนตรี (Surasakmontri) จึงขอยึดเอาตามหลักฐานของฝั่งไทยคือหนังสือของโรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า[1]

อ้างอิง

[แก้]
  1. 1.0 1.1 1.2 การต่อสู้เพื่อเอาชนะคอมมิวนิสต์ในพื้นที่ ทภ.3/กอ.รมน.ภาค 3 (PDF). ส่วนวิชาทหาร โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2024-06-07. สืบค้นเมื่อ 2024-10-07.
  2. Conboy, Morrison, pp. 315-318.
  3. Anthony, Sexton, pp. 238-239.
  4. Stuart-Fox, p. 56.
  5. 5.0 5.1 Conboy, Morrison, p. 318.
  6. Conboy, Morrison, pp. 318-319.
  7. 7.0 7.1 Conboy, Morrison, p. 319.

บรรณานุกรม

[แก้]
  • Anthony, Victor B. and Richard R. Sexton (1993). The War in Northern Laos. Command for Air Force History. OCLC 232549943.
  • Conboy, Kenneth and James Morrison (1995). Shadow War: The CIA's Secret War in Laos. Paladin Press. ISBN 978-1-58160-535-8.
  • Stuart-Fox, Martin (2008) Historical Dictionary of Laos. Scarecrow Press. ISBN 0810864118, ISBN 978-0-81086-411-5.