ข้ามไปเนื้อหา

ประเทศไทยในสงครามเวียดนาม

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ประเทศไทยในสงครามเวียดนาม
ส่วนหนึ่งของ สงครามเวียดนาม และสงครามเย็น
พลปืนยิงระเบิดเอ็ม79 ของจงอางศึกในเฟื้อกโท ปี 2510
ชนิดสงคราม
ตำแหน่งประเทศเวียดนามใต้
โดยกองทัพไทย
วัตถุประสงค์เพื่อสนับสนุนเวียดนามใต้จากการโจมตีของคอมมิวนิสต์
วันที่พ.ศ. 2510 – 2515 (5 ปี)
ผู้สูญเสียเสียชีวิต 351 นาย
บาดเจ็บ 1,358 นาย

ประเทศไทยในสงครามเวียดนาม ราชอาณาจักรไทยในสมัยรัฐบาลทหารจอมพล ถนอม กิตติขจร มีบทบาทนำในสงครามเวียดนาม ประเทศไทยเป็นผู้จัดหากำลังภาคพื้นรายใหญ่สุดอันดับ 3 แก่เวียดนามใต้ รองจากสหรัฐและเกาหลีใต้[1]

ชนวนเหตุ

[แก้]

เนื่องจากที่ตั้งใกล้เคียงกับประเทศไทย รัฐบาลไทยจึงเฝ้าติดตามความขัดแย้งของเวียดนามอย่างใกล้ชิด ทั้งนี้ ประเทศไทยยังไม่ได้เข้าร่วมสงครามอย่างเป็นทางการจนสหรัฐมีมติอ่าวตังเกี๋ยซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของการแทรกแซงทางทหารของสหรัฐเพื่อสนับสนุนเวียดนามใต้ในปี พ.ศ. 2506 จากนั้นรัฐบาลไทยอนุญาตให้กองทัพอากาศสหรัฐในประเทศไทยใช้ฐานทัพอากาศและฐานทัพเรือในประเทศ ทหารอเมริกันที่ประจำการในประเทศไทยเพิ่มสูงสุดเกือบ 50,000 นาย[2]

ในเดือนตุลาคม พ.ศ. 2510 มีการส่งกรมทหารอาสาสมัคร (จงอางศึก) ไปยังค่ายเบียร์แคต ณ เบียนฮหว่า เพื่อรบเคียงบ่าเคียงไหล่กับทหารอเมริกัน ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์และเวียดนามใต้ ในปี พ.ศ. 2511 กรมทหารอาสามัคร ถูกแทนด้วยกองพลทหารอาสาสมัคร (กองพลเสือดำ)[3]

กองพลทหารอาสาสมัคร ในปี พ.ศ. 2511

มีทหารไทยรับราชการสงครามในเวียดนามใต้จำนวน 38,173 นาย, เสียชีวิตในการหน้าที่ 351 นาย และอีก 1,358 นาย ที่ได้รับบาดเจ็บจากสงคราม[2][4][5]

มีการถอนกำลังภาคพื้นดินไทยชุดสุดท้ายออกจากเวียดนามใต้เมื่อวันที่ 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2515[1]

หลังจากสิ้นสุด

[แก้]

การมีส่วนร่วมของไทยในสงครามเวียดนามยังเสริมสร้างความสัมพันธ์กับสหรัฐ ตลอดระยะสงคราม สหรัฐเทความช่วยเหลือทางเศรษฐกิจและการทหารรวมมูลค่า 1,100 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ส่วนหน่วยงานเพื่อการพัฒนาระหว่างประเทศสหรัฐ (USAID) เทงบช่วยเหลืออีก 590 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ทั้งช่วยเศรษฐกิจไทยและจ่ายค่าเข้าร่วมสงครามของไทยโดยอ้อม ผู้ประกอบการไทยสร้างโรงแรม ร้านอาหารและบาร์เพื่อต้อนรับทหารอเมริกันที่ประจำการในประเทศ ทำให้เงินตราต่างประเทศไหลเข้าประเทศ เมื่อสงครามยุติ ประเทศไทยได้เก็บยุทธภัณฑ์และโครงสร้างพื้นฐานทั้งหมดที่อเมริกันเหลือไว้ให้ ซึ่งมีส่วนช่วยทำให้ชาติทันสมัย[6]

กำลังทหาร

[แก้]

ประเทศไทยได้ส่งกำลังทหารทั้ง 3 เหล่าทัพ ร่วมทั้งหมด 38,173 นาย โดยแบ่งแยกดังนี้

  • กองบัญชาการกองกำลังทหารไทยในสาธารณรัฐเวียดนาม จำนวนทั้งหมด 1,055 นาย ทั้งหมด 5 ผลัด
    • ผลัดที่ 1 : 40 นาย ในครั้งที่ พล.ต. ยศ เทพหัสดิน ณ อยุธยา เป็นผู้บัญชาการ
    • ผลัดที่ 2 : 228 นาย ในครั้งที่ พล.ท. ฉลาด หิรัญศิริ เป็นผู้บัญชาการ
    • ผลัดที่ 3 : 290 นาย ในครั้งที่ พล.ท. เชวง ยังเจริญ เป็นผู้บัญชาการ
    • ผลัดที่ 4 : 289 นาย ในครั้งที่ พล.ท. เสริม ณ นคร เป็นผู้บัญชาการ
    • ผลัดที่ 5 : 208 นาย ในครั้งที่ พล.ท. ทวิช บุญญาวัฒน์ เป็นผู้บัญชาการ
  • สำนักงานผู้ช่วยทูตฝ่ายทหาร ประจำกรุงไซง่อน จำนวนทั้งหมด 38 นาย
  • กองทัพบก จำนวนทั้งหมด 35,959 นาย ดังนี้
    • กรมทหารอาสาสมัคร จำนวน 2,207 นาย จำนวน 1 รุ่น
    • กองพลทหารอาสาสมัคร จำนวน 33,752 นาย ทั้งหมด 3 ผลัด
      • ผลัดที่ 1 : 11,266 นาย ในครั้งที่ พล.ต. ทวี ดำรงหัด เป็นผู้บัญชาการ
      • ผลัดที่ 2 : 11,272 นาย ในครั้งที่ พล.ต. สวัสดิ์ มักการุณ เป็นผู้บัญชาการ
      • ผลัดที่ 3 : 11,214 นาย ในครั้งที่ พล.ต. เอื้อม จิรพงศ์ เป็นผู้บัญชาการ
  • กองทัพเรือ จำนวนทั้งหมด 876 นาย ลำละ 5 ชุด
    • เรือหลวงพงัน : 756 นาย
    • เรือ ต.12 : 120 นาย
  • กองทัพอากาศ จำนวนทั้งหมด 265 นาย ทั้งหมด 7 ชุด

ระเบียบภาพ

[แก้]

ดูเพิ่ม

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. 1.0 1.1 Albert Lau (2012). Southeast Asia and the Cold War. Routledge. pp. 190–. ISBN 978-0-415-68450-7.
  2. 2.0 2.1 Ruth, Richard A (7 November 2017). "Why Thailand Takes Pride in the Vietnam War" (Editorial). New York Times. สืบค้นเมื่อ 8 November 2017.
  3. James F. Dunnigan; Albert A. Nofi (5 May 2000). Dirty Little Secrets of the Vietnam War: Military Information You're Not Supposed to Know. St. Martin's Press. pp. 314–. ISBN 978-0-312-25282-3.
  4. Trauschweizer, Ingo (December 2011). "Forgotten Soldiers in Vietnam" (Book review). H-Net Online. สืบค้นเมื่อ 8 November 2017.
  5. "Thailand Involvement in Vietnam War". The Vietnam War. 29 March 2015. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-12-10. สืบค้นเมื่อ 10 December 2017.
  6. Ruth, Richard. "Why Thailand Takes Pride in the Vietnam War." New York Times. November 8, 2017.