ข้ามไปเนื้อหา

ปฏิบัติการสตาร์ (ลาว)

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ปฏิบัติการสตาร์
ส่วนหนึ่งของ สงครามกลางเมืองลาวและสงครามเวียดนาม
ได้รับการสนับสนุนจากปฏิบัติการโพนีเอกซ์เพรสและปฏิบัติการฮาร์ดโนส
ชนิดแผนการข่าวกรองทางทหาร
ตำแหน่งค่ายไซบีเรีย, แขวงสุวรรณเขต, ประเทศลาว
โดยไทย รัฐบาลไทย
วัตถุประสงค์รวบรวมข้อมูลข่าวกรองทางทหาร; ฝึกอบรมทหารนอกแบบ
วันที่ปลายปี พ.ศ. 2508 ถึงต้นปี พ.ศ. 2510
ผู้ลงมือรัฐบาลสหรัฐ
สำนักข่าวกรองกลาง
รัฐบาลไทย
หน่วยบัญชาการสงครามพิเศษ
หน่วยบัญชาการนาวิกโยธิน
ตำรวจตระเวนชายแดน
ผลลัพธ์ดำเนินการจนถึงต้นปี พ.ศ. 2510 เมื่อถูกผนวกเข้าโดยปฏิบัติการฮาร์ดโนส

ปฏิบัติการสตาร์ (อังกฤษ: Operation Star) เป็นแผนการรวบรวมข่าวกรองทางทหารที่เป็นความลับระดับสูงซึ่งจัดตั้งขึ้นในช่วงปลายปี พ.ศ. 2508 โดยรัฐบาลไทยในช่วงสงครามเวียดนาม โดยตั้งอยู่ในตำแหน่งเดียวกันกับปฏิบัติการฮาร์ดโนสของสำนักข่าวกรองกลางของสหรัฐที่ค่ายไซบีเรีย ซึ่งอยู่ห่างจากสะหวันนะเขต ประเทศลาว ไปทางตะวันออกเฉียงเหนือ 26 กิโลเมตร ปฏิบัติการนี้ก่อตั้งขึ้นแม้ว่าแหล่งข่าวกรองของสหรัฐในพื้นที่ได้แจ้งผลการปฏิบัติการของตนให้ฝ่ายไทยทราบแล้วก็ตาม หน่วยรบพิเศษของไทยที่ได้รับมอบหมายให้เป็นผู้สอนปฏิบัติการฮาร์ดโนสนั้นถูกใช้เป็นชุดลาดตระเวน ในช่วงต้นปี พ.ศ. 2510 ในที่สุด ซีไอเอก็ตัดปฏิบัติการข่าวกรองของไทยออกจากหน้าที่การสอนของกองกำลังทหารนอกกฎหมายของลาว

ประวัติ

[แก้]

ชาวอเมริกันตระหนักถึงความสำคัญของเส้นทางโฮจิมินห์ตั้งแต่เนิ่น ๆ ไม่นานก็ได้ข้อสรุปว่า หากเส้นทางส่งเสบียงทางบกเพียงเส้นทางเดียวผ่านเทือกเขาอันนัมถูกตัดหรือปิดกั้น การก่อกบฏของคอมมิวนิสต์ในเวียดนามใต้ก็จะล้มเหลวเนื่องจากขาดแคลนเสบียง ด้วยเหตุนี้ เส้นทางนี้จึงตกอยู่ภายใต้การเฝ้าระวังทางอากาศและทางพื้นดินโดยหน่วยข่าวกรองของอเมริกา ลาว และไทย[1]

ปฏิบัติการ

[แก้]

ปฏิบัติการสตาร์ ประกอบไปด้วยเจ้าหน้าที่เฝ้าระวังบนท้องถนนจำนวน 4 ถึง 6 นาย ปฏิบัติการนี้มักจะแฝงตัวเข้าไปทางช่องเขามู่เจียบนพรมแดนระหว่างลาวและสาธารณรัฐประชาธิปไตยเวียดนาม ในกรณีหนึ่ง ชุดเรดบูลล์แทรกซึมเข้าไปดูแลทางหลวงหมายเลข 912 ของเส้นทางโฮจิมินห์ แต่กลับถูกซุ่มโจมตีและแยกย้ายกันหลบหนี ผู้รอดชีวิตใช้เวลานานถึงหนึ่งเดือนจึงจะโผล่ออกมาจากเทือกเขาอันนัมได้[2]

ในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2509 ปฏิบัติการสตาร์ได้รับเฮลิคอปเตอร์ใหม่จากปฏิบัติการโพนีเอกซ์เพรสสำหรับการแทรกซึมและถอนตัวชุดข่าวกรอง เมื่อปี พ.ศ. 2509 ผ่านไป ปฏิบัติการสตาร์ได้ขยายชุดปฏิบัติการเป็น 10 ชุด ในการปฏิบัติการร่วมกันนี้ ซีไอเอพยายามใช้สายลับไทยเพื่อพยายามข้ามผ่านอุปสรรคด้านภาษาระหว่างชาวอเมริกันและชาวเขาเผ่าลาว คนไทยที่พูดภาษาอังกฤษได้จากหน่วยบัญชาการนาวิกโยธิน ตำรวจตระเวนชายแดน และหน่วยบัญชาการสงครามพิเศษได้รับการฝึกฝนเป็นเวลา 30 วันที่ค่ายโครงการวาปีเก่า 36 กิโลเมตรทางตะวันตกเฉียงเหนือของปากเซ พวกเขาถูกส่งไปใกล้กับพื้นที่เส้นทางโฮจิมินห์ช่วงปลายปี พ.ศ. 2509 พวกเขาแทรกซึมออกโดยไม่ได้ถูกส่งไปที่พื้นที่เป้าหมายคือเส้นทาง จากความล้มเหลวนี้ทำให้พวกเขาถูกยุติภารกิจในเดือนมีนาคม พ.ศ. 2510 นอกจากนี้ยังเป็นแรงผลักดันให้เกิดความพยายามในการพัฒนาวิทยุ ฮาร์ก-1 สำหรับโครงการฮาร์ดโนส[2]

การเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นเมื่อเจ้าหน้าที่ซีไอเอคนใหม่เข้ามาดูแลปฏิบัติการในค่ายไซบีเรียช่วงต้นปี พ.ศ. 2510 ครูฝึกชาวไทยทั้ง 5 คนถูกตัดขาดจากการสนับสนุนปฏิบัติการสตาร์ เพื่อทุ่มเทการสอนทั้งหมดให้กับการฝึกเจ้าหน้าที่เฝ้าระวังถนนในปฏิบัติการฮาร์ดโนส แผนการสร้างอาคารประกอบด้วยห้องเรียนสองห้อง สนามทดสอบกำลังใจ ห้องอาหาร และหลักสูตรการนำทางบนบก นอกจากนี้ยังมีการแทนที่ครูฝึกชาวไทยด้วยชาวลาว ซึ่งสร้างความประหลาดใจให้กับอเมริกาเมื่อชาวลาวทำหน้าที่สอนได้ดีไม่แพ้ชาวไทย[2]

อ้างอิง

[แก้]
  1. Dunnigan, pp. 173, 299.
  2. 2.0 2.1 2.2 Conboy, Morrison, pp. 144-146.

บรรณานุกรม

[แก้]
  • Conboy, Kenneth and James Morrison (1995). Shadow War: The CIA's Secret War in Laos. Paladin Press. ISBN 978-1-58160-535-8.
  • Dunnigan, James F. and Albert A. Nofi (2000). Dirty Little Secrets of the Vietnam War: Military Information You're Not Supposed to Know. St. Martin's Griffin. ISBN 978-0312252823.