ความแตกแยกระหว่างจีน–โซเวียต
ความแตกแยกระหว่างจีน–โซเวียต | |||
---|---|---|---|
ส่วนหนึ่งของ สงครามเย็น และ ความสัมพันธ์จีน–โซเวียต | |||
เหมา เจ๋อตง และนีกีตา ครุชชอฟในจีน (1958) | |||
วันที่ | 1956–1966[1] | ||
สถานที่ | จีน, สหภาพโซเวียต | ||
สาเหตุ | การล้มล้างอิทธิพลของสตาลินของสหภาพโซเวียต, การปฏิรูป และ ลัทธิเหมา | ||
วิธีการ | สงครามตัวแทน, การโฆษณาชวนเชื่อ และ ความขัดแย้งด้านพรมแดนระหว่างจีน–โซเวียต | ||
ผล | สงครามเย็นสามขั้ว และการแข่งขันสองทางของพันธมิตรกลุ่มตะวันออก | ||
ผู้นำ | |||
ความแตกแยกระหว่างจีน–โซเวียต | |||||||
ชื่อภาษาจีน | |||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|
อักษรจีนตัวเต็ม | 中蘇交惡 | ||||||
อักษรจีนตัวย่อ | 中苏交恶 | ||||||
| |||||||
ชื่อภาษารัสเซีย | |||||||
ภาษารัสเซีย | Советско–китайский раскол | ||||||
อักษรโรมัน | Sovetsko–kitayskiy raskol |
ความแตกแยกระหว่างจีน-โซเวียต (อังกฤษ: Sino-Soviet split; รัสเซีย: Советско-китайский раскол; จีน: 中苏交恶; 1960-1989) เป็นความเสื่อมของความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างสาธารณรัฐประชาชนจีน (PRC) และสหภาพสาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียต (USSR) ซึ่งมีสาเหตุเกิดจากความแตกต่างจากการตีความแตกต่างกันของลัทธิมากซ์-เลนินซึ่งเป็นอิทธิพลในการปกครองของจีนและโซเวียต[2]
โดยทางสหภาพโซเวียต ได้มีผู้นำคนใหม่คือนีกีตา ครุชชอฟ ซึ่งมีนโยบายที่จะกำจัดความคิดแบบสตาลิน โดยการประณามขุดคุ้ยความโหดร้ายของสตาลินในการพูดที่รู้จักในชื่อ "สุนทรพจน์ลับ" และมีความคิดที่จะอยู่ร่วมกันกับกลุ่มชาติตะวันตก ทางด้านจีน เหมา เจ๋อตง ซึ่งยังมีความคิดแบบเดียวกับลัทธิมากซ์-เลนินแบบสตาลิน โดยเฉพาะระบบนารวมและการเผชิญหน้ากับชาติตะวันตก (การปฏิวัติโลก)[2]
สาเหตุ
[แก้]ปี 1958-1959 โดยเหมา เจ๋อตงไม่ไว้ใจสหภาพโซเวียตที่เป็นพันธมิตรของประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน[3] ในปี 1959 ครุชชอฟ พบกับ ไอเซนฮาวร์ (1953-1961) เพื่อลดความตึงเครียดทางการเมืองกับโลกตะวันตก สหภาพโซเวียตได้สละความช่วยเหลือในการพัฒนาอาวุธนิวเคลียร์ของจีนและไม่ได้เข้าข้างประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีนในสงครามจีน-อินเดีย (1962)
เหมาคาดว่าการตอบโต้ในเชิงรุกจาก ครุชชอฟ ในอุบัติการณ์ยู-2 ที่เกิดขึ้นในปี 1960 จะทำให้โซเวียตเลิกคิดที่จะอยู่ร่วมกันกับกลุ่มชาติตะวันตก ครุชชอฟเรียกร้องคำขอโทษอย่างเป็นทางการจากประธานาธิบดีไอเซนฮาวร์ที่ประชุมสุดยอดปารีส 1960 แต่ไอเซนฮาวร์ปฏิเสธ เหมาและครุชชอฟตีความการกระทำเช่นนี้ว่า ไอเซนฮาวร์ปรามาสประเทศสังคมนิยมทั้งหมด จีนตอบโต้ด้วยเรียกร้องให้ ครุชชอฟ ใช้กองกำลังกระทำการต่อต้านการรุกรานของอเมริกา เมื่อ ครุชชอฟ ไม่ตอบสนองก็เกิดถกเถียงกันในที่ประชุมบูคาเรสต์ของโลกคอมมิวนิสต์และภาคีแรงงาน แต่ละฝ่ายต่างโจมตีอุดมการณ์ของอีกฝ่าย เหมาต่อกล่าวว่าเน้น ครุชชอฟ ว่า “คนที่อ่อนแอ” ครุชชอฟ โต้กลับ เหมา โดยกล่าวว่า “เป็นคนบ้าไร้สติ”[4]
ในที่สุด ปี 1962 ประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีนและสหภาพโซเวียตก็ตัดความสัมพันธ์ เหมาวิพากษ์วิจารณ์ครุชชอฟ ในวิกฤตการณ์ขีปนาวุธคิวบา (1962) ครุชชอฟตอบด้วยความโกรธว่าความคิดแบบเหมาจะนำไปสู่สงครามนิวเคลียร์ ในเวลาเดียวกันโซเวียตเข้าข้างอินเดียในสงครามจีน-อินเดีย (1962)
ความแตกแยกระหว่างจีน–โซเวียต ก็เริ่มตั้งแต่ตอนนั้น โดยโซเวียตตอบโต้โดยนำนักวิทยาศาสตร์และช่างเทคนิคโซเวียต 1,400 คนออกจากประเทศจีนที่นำไปสู่การยกเลิกโครงการมากกว่า 200 โครงการในจีน รวมถึงการพัฒนาอาวุธนิวเคลียร์และการอวกาศ การถอนตัวจากประเทศจีนทำให้เกิดความล้มเหลวทางเศรษฐกิจจีน และแผนการก้าวกระโดดไกลไปข้างหน้าล้มเหลว
ภายหลัง
[แก้]หลังจากนั้นจีนก็ได้ปฏิวัติทางวัฒนธรรมกวาดล้างสิ่งที่ทำให้เกิดการหยุดชะงักและส่งผลกระทบต่อประเทศทางเศรษฐกิจและสังคม ต่อมาหลังจากฟื้นตัวขึ้นมา จีนได้แข่งขันความเป็นใหญ่กับโซเวียตในกลุ่มคอมมิวนิสต์สากล เกิดความขัดแย้งจนนำไปสู่สงครามชายแดนระหว่างจีน-โซเวียตซึ่งจบลงด้วยสถานะก่อนเริ่มสงคราม สหรัฐได้เข้ามาเปิดความสัมพันธ์กับสาธารณรัฐประชาชนจีนซึ่งเป็นการถ่วงดุลยุทธศาสตร์กับสหภาพโซเวียต
หลังยุคเหมาไปความสัมพันธ์จากความตึงเครียดก็เริ่มคลายลง ก่อนความสัมพันธ์จะกลับมาอีกครั้งในปี 1989 ในยุคของมีฮาอิล กอร์บาชอฟกับเติ้ง เสี่ยวผิง
อ้างอิง
[แก้]- ↑ Lüthi, Lorenz (2012). "Sino-Soviet Split (1956–1966)". ใน Arnold, James R.; Wiener, Roberta (บ.ก.). Cold War: The Essential Reference Guide. ABC-CLIO. pp. 190–193. ISBN 9781610690041. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 9 May 2021. สืบค้นเมื่อ 19 August 2020.
- ↑ 2.0 2.1 Chambers Dictionary of World History, B.P. Lenman, T. Anderson editors, Chambers: Edinburgh:2000. p. 769.
- ↑ David Wolff (7 July 2011). ""One Finger's Worth of Historical Events": New Russian and Chinese Evidence on the Sino-Soviet Alliance and Split, 1948-1959". Wilson Center. สืบค้นเมื่อ 24 February 2016.
- ↑ Mark, "Ideological radicalization," 49.