ข้ามไปเนื้อหา

การริเริ่มการป้องกันทางยุทธศาสตร์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
องค์กรการริเริ่มการป้องกันทางยุทธศาสตร์
ภาพรวมหน่วยงาน
ก่อตั้ง1984
ยุบเลิก1993 (ถูกเปลี่ยนชื่อ)
หน่วยงานสืบทอด
เขตอำนาจรัฐบาลกลางสหรัฐ

การริเริ่มการป้องกันทางยุทธศาสตร์ (อังกฤษ: Strategic Defense Initiative ย่อคำว่า SDI) มีชื่อเล่นแบบเย้ยหยันว่า "โครงการสตาร์วอร์ส" เป็นระบบป้องกันขีปนาวุธที่ถูกนำเสนอโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อป้องกันสหรัฐจากการโจมตีโดยอาวุธนิวเคลียร์ด้านยุทธศาสตร์แบบขีปนาวุธ(ขีปนาวุธข้ามทวีปและขีปนาวุธทิ้งตัวติดตั้งบนเรือดำน้ำ) แนวคิดนี้ได้ถูกประกาศ เมื่อวันที่ 23 มีนาคม ค.ศ. 1983 โดยประธานาธิบดี โรนัลด์ เรแกน[1] เสียงวิพากษ์วิจารณ์ของลัทธิอำนาจทำลายล้างซึ่งกันและกัน ซึ่งเขาได้อธิบายว่า เป็น"ข้อตกลงกระทำอัตวินิบาตกรรม" เรแกนเรียกร้องให้นักวิทยาศาสตร์และวิศวกรชาวอเมริกันให้พัฒนาระบบที่จะทำให้อาวุธนิวเคลียร์ดูล้าสมัยไป[2]

องค์กรการริเริ่มการป้องกันทางยุทธศาสตร์ (Strategic Defense Initiative Organization, SDIO) ถูกก่อตั้งขึ้นในปี ค.ศ. 1984 ภายในกระทรวงกลาโหมสหรัฐเพื่อควบคุมดูแลการพัฒนา แนวคิดเกี่ยวกับอาวุธแบบล้ำหน้าหลากหลาย รวมทั้งเลเซอร์[3][4] อาวุธลำแสงอนุภาคและระบบขีปนาวุธทางภาคพื้นดินและทางอวกาศได้ถูกศึกษา พร้อมกับเซ็นเซอร์ต่าง ๆ การสั่งการและควบคุม และคอมพิวเตอร์แบบประสิทธิภาพขั้นสูงที่มีความจำเป็นในการควบคุมระบบที่ประกอบไปด้วยศูนย์รบกว่าร้อยแห่งและดาวเทียมที่กระจัดกระจายทั่วโลกและมีส่วนร่วมในการสู้รบระยะเวลาสั้นมาก สหรัฐมีข้อได้เปรียบที่สำคัญในด้านระบบป้องกันขีปนาวุธก้าวล้ำที่ครอบคลุมตลอดหลายช่วงทศวรรษของการวิจัยและการทดสอบอย่างกว้างขวาง จำนวนหนึ่งของแนวคิดเหล่านี้และเทคโนโลยีที่ได้รับและข้อมูลเชิงลึกได้ถูกโอนย้ายไปยังโครงการที่ตามมา[5][6][7][8]

ภายใต้สำนักงานนวัตกรรมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของ SDIO[9][10][11] ซึ่งมีหัวหน้าโดยนักฟิสิกส์และวิศวกร ดร. เจมส์ ไอออนสัน[12][13][14][15] การลงทุนส่วนใหญ่ถูกทำขึ้นในการวิจัยขั้นพื้นฐานในห้องทดลองระดับชาติ ระดับมหาวิทยาลัย และในระดับอุตสาหกรรม โครงการเหล่านี้ยังคงเป็นแหล่งเงินทุนหลักสำหรับนักวิทยาศาสตร์ด้านการวิจัยระดับชั้นนำในด้านฟิสิกส์พลังงานสูง การทำซูเปอร์คอมพิวเตอร์และการคำนวณ วัสดุแร่ที่ล้ำหน้า และด้านวิทยาศาสตร์และด้านวิศวกรรมศาสตร์ที่สำคัญอื่น ๆ อีกมากมาย และการจัดหาเงินทุนซึ่งได้รับสนับสนุนงานวิจัยทางอ้อมโดยนักวิทยาศาสตร์ระดับชั้นนำ

อ้างอิง

[แก้]
  1. Federation of American Scientists. Missile Defense Milestones เก็บถาวร มีนาคม 6, 2016 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน Accessed March 10, 2007.
  2. "Strategic Defense Initiative (SDI)".
  3. Wang, C. P. (Ed.), Proceedings of the International Conference on Lasers '85 (STS, McLean, Va, 1986).
  4. Duarte, F. J. (Ed.), Proceedings of the International Conference on Lasers '87 (STS, McLean, Va, 1988).
  5. http://highfrontier.org/wp-content/uploads/2016/08/What-for-30B_.pdf
  6. https://www.brookings.edu/opinions/the-limits-of-u-s-missile-defense/
  7. http://scienceandglobalsecurity.org/archive/sgs25podvig.pdf
  8. "A New U.S. Missile Defense Test May Have Increased the Risk of Nuclear War".
  9. "SDIO Funds Research". MIT: The Tech. November 5, 1985. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-08-08. สืบค้นเมื่อ 2021-11-21.
  10. "Special-Presentation Innovative Science and Technology Programs". SPIE. June 1988. doi:10.1117/12.947548.
  11. "Star Wars' Inc". Inc Magazine. April 1987.
  12. "Washington Ins & Outs: Ionson and Mense Leave SDIO". Physics Today. June 1988. doi:10.1063/1.2811448.
  13. "Low Profile for SDI Work on Campus". The Scientist Magazine. May 1988.
  14. "Ionson Counters SDI Dispute". MIT: The Tech. November 1985. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-08-08. สืบค้นเมื่อ 2021-11-21.
  15. "Ionson Defends SDI Program". MIT: The Tech. October 1985. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-06-16. สืบค้นเมื่อ 2021-11-21.