สนามศุภชลาศัย
![]() | |
![]() | |
ที่ตั้ง | แขวงวังใหม่ เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร |
---|---|
ขนส่งมวลชน | ![]() |
เจ้าของ | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย[1] |
ผู้ดำเนินการ | กรมพลศึกษา |
ความจุ | 19,793 ที่นั่ง[2] / 35,000 ที่นั่ง (คอนเสิร์ต) |
พื้นผิว | หญ้า |
การก่อสร้าง | |
ก่อสร้าง | 2480 |
เปิดใช้สนาม | 2481 |
ต่อเติม | 2484 |
สถาปนิก | กรมพลศึกษา |
การใช้งาน | |
ฟุตบอลทีมชาติไทย (พ.ศ. 2491–2541) |
สนามศุภชลาศัย (อังกฤษ: Suphachalasai Stadium) เป็นสนามกีฬาแห่งสำคัญในกรุงเทพมหานคร เป็นสนามกีฬาหลักของกลุ่มอาคารกรีฑาสถานแห่งชาติ ใช้สำหรับจัดการแข่งขันกีฬาหลากหลายประเภท เช่น ฟุตบอล กรีฑา รวมถึงใช้จัดคอนเสิร์ตและกิจกรรมอื่น ๆ เป็นบางครั้ง[3]
ประวัติ
[แก้]


การก่อสร้างสนามกีฬาเริ่มขึ้นในปี พ.ศ. 2480 ในพื้นที่เดิมของวังวินด์เซอร์ที่ถูกรื้อถอนในเมื่อสองปีก่อนหน้า[4][5][6] โดยกรมพลศึกษาได้ทำสัญญาเช่าพื้นที่กับจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเป็นระยะเวลา 29 ปี การใช้สนามกีฬาครั้งแรกเกิดขึ้นเมื่อพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทร เสด็จพระราชดำเนินไปทรงเปิดการแข่งขันกรีฑาชาย พ.ศ. 2481 โดยเปลี่ยนสถานที่จัดการแข่งขันจากท้องสนามหลวง[7][8]
สนามกีฬาแห่งนี้ได้รับการตั้งชื่อตามหลวงศุภชลาศัย (บุง ศุภชลาศัย) ซึ่งเป็นบิดาแห่งกีฬาไทย และอธิบดีกรมพลศึกษาคนแรก[9]
สนามศุภชลาศัยถูกใช้เพื่อการจัดการแข่งขันฟุตบอลเป็นส่วนใหญ่ โดยเคยถูกใช้เป็นสนามเหย้าของทีมฟุตบอลทีมชาติไทยมาโดยตลอดก่อนจะย้ายไปใช้สนามราชมังคลากีฬาสถานที่มีความจุมากกว่าตั้งแต่ปี พ.ศ. 2541 รวมถึงสโมสรในไทยลีกบางทีมที่สนามเหย้าของตนไม่ผ่านมาตรฐานของสมาพันธ์ฟุตบอลเอเชีย ก็มักใช้สนามศุภชลาศัยในรายการแข่งขันระดับเอเชียเช่นกัน นอกจากนี้ สนามศุภชลาศัยยังถูกใช้เป็นสนามกีฬาหลักในการแข่งขันเอเชียนเกมส์ใน 3 ครั้งแรกที่ประเทศไทยเป็นเจ้าภาพ ได้แก่ปี 1966, 1970 และ 1978 รวมถึงถูกใช้เป็นสนามแข่งขันในกีฬามหาวิทยาลัยโลกฤดูร้อน 2007 และซีเกมส์ 2025 และยังถูกใช้สำหรับการแข่งขันเอเชียนคัพ 2007 อีกด้วย แต่ใช้สำหรับเกมเดียวเท่านั้น (คือ โอมาน พบ อิรัก ในกลุ่ม เอ) นอกจากนี้สนามศุภชลาศัยยังใช้จัดงานฟุตบอลประเพณีจุฬาฯ–ธรรมศาสตร์ ตั้งแต่การแข่งขันครั้งที่ 5 พ.ศ. 2481 จนถึงปัจจุบัน[10] รวมถึงใช้จัดงานฟุตบอลจตุรมิตรสามัคคี[11] อีกด้วย
สนามกีฬาเป็นโครงสร้างชั้นเดียวซึ่งเปิดโล่งทั้งสามด้าน หลังคาเรียบง่ายแต่ทรงประสิทธิภาพครอบคลุมด้านอัฒจันทร์หลัก ถึงแม้จะมีลู่วิ่ง แต่อัฒจันทร์ก็อยู่ติดกัน ทำให้ผู้ชมอยู่ไม่ห่างจากสนามแข่งขันมากเท่ากับราชมังคลากีฬาสถาน และยังสามารถเดินทางมาได้สะดวกสำหรับผู้ชม เนื่องจากมีรถไฟฟ้าบีทีเอส จอดที่สถานีสนามกีฬาแห่งชาติซึ่งอยู่ติดกัน ถึงแม้จะมิได้มีทางเชื่อมตรงก็ตาม[12]
ในปี พ.ศ. 2550 มีการปรับปรุงสนามศุภชลาศัยด้วยการเพิ่มที่นั่งสีแดงบนขั้นบันไดคอนกรีตเปล่าทั้งสามด้าน[13]
รูปแบบสถาปัตยกรรม
[แก้]สนามศุภชลาศัยมีลักษณะสถาปัตยกรรมแบบอาร์ตเดโค หรือ อลังการศิลป์ ที่เน้นการออกแบบเล่นกับเส้นสายแนวตั้งที่ชัดเจน กันสาดแผ่นบาง ๆ หน้าต่างเข้ามุมอาคาร หรือการออกแบบแนวเสาอิงให้แสดงออกถึงเส้นแนวตั้ง เป็นต้น[14] มีซุ้มประตูทางเข้าใหญ่ที่มีอาคาร เป็นรูปทรงเรขาคณิตหนักแน่นเป็นมวลทึบ มีการตกแต่งอาคารด้วยองค์ประกอบของแท่งตั้งของซุ้มประตูทางเข้าใหญ่ที่มีการซอยเส้นเหมือนการย่อมุมทำให้เกิดเส้นทางตั้งถี่ ๆ และปลายของแท่งทางตั้งที่โค้งน้อย ๆ ตรงปลายที่มีการซอยเส้นตามเส้นกรอบของแต่งตั้งเป็นลักษณะของอาคาร และการใช้องค์ประกอบที่หนักแน่นแต่แฝงรายละเอียดของเส้นลดหลั่นเป็นจังหวะ[15]
กิจกรรม
[แก้]การแข่งขันกีฬา
[แก้]- กีฬาเอเชียนเกมส์
- เอเชียนเกมส์ ครั้งที่ 5 ประจำปี พ.ศ. 2509
- เอเชียนเกมส์ ครั้งที่ 6 ประจำปี พ.ศ. 2513
- เอเชียนเกมส์ ครั้งที่ 8 ประจำปี พ.ศ. 2521
- กีฬาแหลมทอง (ซีเกมส์)
- กีฬาแหลมทอง ครั้งที่ 1 ประจำปี พ.ศ. 2502
- ซีเกมส์ ครั้งที่ 13 ประจำปี พ.ศ. 2528
- ซีเกมส์ ครั้งที่ 33 ประจำปี พ.ศ. 2568
- ฟุตบอลถ้วยพระราชทาน
- ฟุตบอลชิงถ้วยพระราชทานคิงส์คัพ
- ฟุตบอลชิงถ้วยพระราชทานควีนสคัพ
- ฟุตบอลโลกหญิง รอบคัดเลือก โซนเอเชีย ประจำปี พ.ศ. 2550
- ฟุตบอลในกีฬามหาวิทยาลัยโลก ครั้งที่ 24 ประจำปี พ.ศ. 2550
- เอเอฟซี เอเชียนคัพ 2007
- ไทยลีกคัพ (ระหว่างปี พ.ศ. 2553 – 2560)
- ไทยเอฟเอคัพ (ระหว่างปี พ.ศ. 2517 – 2561)
- งานฟุตบอลประเพณีจุฬาฯ–ธรรมศาสตร์
- งานฟุตบอลประเพณีจตุรมิตรสามัคคี
- กรีฑาชิงแชมป์เอเชีย 2023
- งานมหกรรมฉลองครบรอบ 54 ปี ไทยทีวีสีช่อง 3 วันที่ 23 มีนาคม พ.ศ. 2567
กิจกรรมอื่น
[แก้]- พิธีทบทวนคำปฏิญาณตนและสวนสนาม ของลูกเสือและเนตรนารี เนื่องในโอกาสคล้ายวันสถาปนาคณะลูกเสือแห่งชาติ วันที่ 1 กรกฎาคม ของทุกปี ปัจจุบันจัดที่ ค่ายลูกเสือวชิราวุธ ตำบลบางพระ อำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี
- พิธีมหาบูชามิสซา เนื่องในโอกาสที่ สมเด็จพระสันตะปาปาจอห์น ปอลที่ 2 เสด็จฯ เยือนประเทศไทยอย่างเป็นทางการ วันที่ 10 พฤษภาคม พ.ศ. 2527
- งานสวัสดีใหม่พี่น้องชาวไทย และสวัสดีปีใหม่ทั่วโลก โดยบริษัท อสมท จำกัด (มหาชน) วันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2545 และ พ.ศ. 2546[16]
- งานไชโยปีใหม่ 2549 โดยบริษัท อสมท จำกัด (มหาชน) วันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2548[17]
- ความจริงวันนี้สัญจร ครั้งที่ 3 วันที่ 13 ธันวาคม พ.ศ. 2551
- พิธีปิดโครงการไทยสามัคคี ไทยเข้มแข็ง วันที่ 4 ธันวาคม พ.ศ. 2552 เวลา 18.00 น.
- พิธีมหาบูชามิสซา เนื่องในโอกาสที่สมเด็จพระสันตะปาปาฟรานซิส เสด็จฯ เยือนประเทศไทยอย่างเป็นทางการ วันที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2562
คอนเสิร์ต
[แก้]- คอนเสิร์ต เดนเจอรัสเวิลด์ทัวร์ โดย ไมเคิล แจ็กสัน วันที่ 24 และ 27 สิงหาคม พ.ศ. 2536 จำนวน 2 รอบ ผู้ชมรวม 140,000 คน[18]
- คอนเสิร์ต บอร์นพิงก์เวิลด์ทัวร์ โดย แบล็กพิงก์ วันที่ 7 และ 8 มกราคม พ.ศ. 2566 จำนวน 2 รอบ ผู้ชมรวม 66,211 คน[19]
- Stray Kids World Tour <dominATE BANGKOK> โดย สเตรย์คิดส์ วันที่ 14 ธันวาคม พ.ศ. 2567
อ้างอิง
[แก้]- ↑ "จุฬาฯ ยังคงให้ประชาชนเข้ามาใช้บริการสนามกีฬาแห่งชาติ". 19 April 2019.
- ↑ "สนามกีฬาศุภชลาศัย". SATC. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-12-03. สืบค้นเมื่อ 2017-01-16.
- ↑ "กรมพละหมดสัญญาใช้สนามศุภชลาศัย คืนให้ จุฬาฯ อาจเป็นเวทีคอนเสิร์ตแห่งใหม่". mgronline.com. 2024-11-20. สืบค้นเมื่อ 2025-02-28.
- ↑ "ระบบจองสนาม กรมพลศึกษา". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-12-09. สืบค้นเมื่อ 2025-02-28.
- ↑ "สนามกีฬาแห่งชาติ ศุภชลาศัย".
- ↑ ""อนุทิน-สาธิต" ใช้สบยช.-สนามกีฬาหัวหมาก-นิมิบุตร เป็นศูนย์แรกรับ-ส่งต่อผู้ป่วยโควิดไม่มีเตียง".
- ↑ "2831_2.PDF" (PDF). ratchakitcha.soc.go.th. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2011-11-11.
- ↑ "สนามศุภชลาศัย สนามกีฬาที่อยู่คู่กับวงการกีฬาไทยมากว่า 80 ปีแล้ว".
- ↑ จรัสจรรยาวงศ์, นริศ (2022-10-28). "ความเป็นมาของ 'หลวงศุภชลาศัย' สมาชิกคณะราษฎรที่ถูกนำชื่อมาตั้งเป็น 'สนามศุภชลาศัย'". thepeople (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2024-06-22.
- ↑ "กำเนิดฟุตบอลประเพณี จุฬาฯ-ธรรมศาสตร์". www.sanook.com/campus. 2011-01-25. สืบค้นเมื่อ 2025-02-28.
- ↑ "จตุรมิตรสามัคคี". www.thairath.co.th. 2017-11-06. สืบค้นเมื่อ 2025-02-28.
- ↑ "อาจเหลือแค่ความทรงจำ : 80 ปี ศุภชลาศัย กับอนาคตซึ่งไร้คำตอบ | FourFourTwo". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-08-27.
- ↑ "ส่อง9สนามฟุตบอลหัวเมืองใหญ่ ไทยพร้อมแค่ไหนกับเจ้าภาพบอลโลก". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-08-27.
{{cite web}}
: CS1 maint: unfit URL (ลิงก์) - ↑ "งานสถาปัตยกรรมสมัยโมเดิร์นในประเทศไทย" (PDF). docomomothailand.
- ↑ ปัณฑารีย์ วิรยศิร. "พัฒนาการสถาปัตยกรรมสนามศุภชลาศัย กรีฑาสถานแห่งชาติ ช่วงพุทธศักราช 2477-2509" (PDF). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2022-02-21. สืบค้นเมื่อ 2025-03-05.
- ↑ "งานสวัสดีปีใหม่พี่น้องคนไทย สวัสดีปีใหม่ข้ามโลก 2547". www.sanook.com/travel. 2003-12-30. สืบค้นเมื่อ 2025-02-28.
- ↑ "สีสันบรรยากาศส่งท้ายปีเก่าต้อนรับปีใหม่ในกทม". mgronline.com. 2006-01-01. สืบค้นเมื่อ 2025-02-28.
- ↑ กองบรรณาธิการศิลปวัฒนธรรม (2024-08-24). "ไมเคิล แจ็คสัน โชว์ลูบเป้ากลางสนามกีฬาแห่งชาติ 24 ส.ค. 2536". สืบค้นเมื่อ 2025-02-28.
- ↑ "Blackpink captivate thousands of 'Blinks' at Bangkok's National Stadium". nationthailand (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). 2023-01-08. สืบค้นเมื่อ 2024-06-22.
- CS1 maint: unfit URL
- สิ่งก่อสร้างตั้งแต่ พ.ศ. 2480
- สนามกีฬาที่สร้างเสร็จในปี พ.ศ. 2484
- ก่อตั้งในจังหวัดพระนครในปี พ.ศ. 2484
- สนามกีฬาแห่งชาติ
- สนามกีฬาในเขตปทุมวัน
- สนามฟุตบอลในประเทศไทย
- สนามฟุตบอลไทยลีก
- สนามรักบี้ยูเนียนในประเทศไทย
- สถานที่ที่ตั้งชื่อตามนามของบุคคลสำคัญของไทย
- สนามกีฬาอเนกประสงค์ในประเทศไทย
- สำนักงานจัดการทรัพย์สิน จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
- โบราณสถานในเขตปทุมวัน