ธารินทร์ นิมมานเหมินท์
ธารินทร์ นิมมานเหมินท์ | |
---|---|
ธารินทร์ ในปี พ.ศ. 2555 | |
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง | |
ดำรงตำแหน่ง 28 กันยายน พ.ศ. 2535 – 17 กรกฎาคม พ.ศ. 2538 | |
นายกรัฐมนตรี | ชวน หลีกภัย |
ก่อนหน้า | พนัส สิมะเสถียร |
ถัดไป | สุรเกียรติ์ เสถียรไทย |
ดำรงตำแหน่ง 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2540 – 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2544 | |
ก่อนหน้า | โฆษิต ปั้นเปี่ยมรัษฎ์ |
ถัดไป | สมคิด จาตุศรีพิทักษ์ |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 29 ตุลาคม พ.ศ. 2488 อำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่ |
พรรคการเมือง | ประชาธิปัตย์ (2512–ปัจจุบัน) |
คู่สมรส | นกน้อย นิมมานเหมินท์ |
บุตร | วริศร์ นิมมานเหมินท์ |
ลายมือชื่อ | |
ธารินทร์ นิมมานเหมินท์ (เกิด 29 ตุลาคม พ.ศ. 2488) อดีตกรรมการที่ปรึกษาพรรคประชาธิปัตย์ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง และอดีตกรรมการผู้จัดการใหญ่ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน)
ประวัติ
[แก้]ธารินทร์ นิมมานเหมินท์ เกิดวันที่ 29 ตุลาคม พ.ศ. 2488 ที่ตำบลฟ้าฮ่าม อำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่[1] เป็นบุตรของนายไกรศรี นิมมานเหมินท์ และนางจรรยา ศรีอาภรณ์ มีน้องชาย 1 คนคือ นายศิรินทร์ นิมมานเหมินท์ อดีตกรรมการผู้จัดการใหญ่ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) (ถึงแก่อสัญกรรม) ด้านชีวิตครอบครัวสมรสกับนางนกน้อย นิมมานเหมินท์
วงศ์ตระกูล
[แก้]4. กี นิมมานเหมินท์ | ||||||||||||||||
2. ไกรศรี นิมมานเหมินท์ | ||||||||||||||||
10. หลวงอนุสารสุนทร (สุ่นฮี้ ชุติมา) | ||||||||||||||||
5. กิมฮ้อ นิมมานเหมินท์ | ||||||||||||||||
11. คำเที่ยง บุรี | ||||||||||||||||
1. ธารินทร์ นิมมานเหมินท์ | ||||||||||||||||
3. จรรยา ศรีอาภรณ์ | ||||||||||||||||
การศึกษา
[แก้]- ระดับปริญญาตรี รัฐศาสตร์ (เกียรตินิยม) จาก มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด ประเทศสหรัฐอเมริกา
- ระดับปริญญาโทบริหารธุรกิจ (การเงิน) จาก มหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด ประเทศสหรัฐอเมริกา
การทำงาน
[แก้]เป็นผู้มีบทบาทสำคัญในช่วงหลังการลดค่าเงินบาทปี พ.ศ. 2540 ในฐานะรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ของรัฐบาลนายชวน หลีกภัย 2[2]
นายธารินทร์ นิมมานเหมินท์ ได้เข้ามาดำรงตำแหน่ง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังครั้งที่ 2 ในเดือน พฤศจิกายน 2540 ซึ่งในช่วงก่อนหน้านั้น ประเทศไทยได้ประสบปัญหาวิกฤติเศรษฐกิจอย่างรุนแรงยิ่ง เนื่องจากปัญหาความไม่มีเสถียรภาพของระบบการเงินของประเทศ และการที่สูญเสียทุนสำรองระหว่างประเทศไปจนเกือบหมดในการปกป้องค่าเงินบาท จนทำให้รัฐบาล พลเอกชวลิต ยงใจยุทธ ได้ไปพึ่งพากองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) ในการกู้ยืมเงินตราต่างประเทศเพื่อมาหนุนเงินสำรองระหว่างประเทศของไทย ซึ่งในการกู้ยืมดังกล่าวนั้น ประเทศไทยต้องยอมรับเงื่อนไขที่เข้มงวดหลายประการในการแก้ไขวิกฤตเศรษฐกิจของประเทศ นายธารินทร์ ได้พยายามแก้ไขเงื่อนไขดังกล่าวทำให้การเจริญเติบโตของประเทศได้กลับมาเป็นบวกอย่างต่อเนื่อง ระบบการเงินได้รับการแก้ไขเป็นที่ยอมรับของนานาประเทศ ทุนสำรองระหว่างประเทศได้เริ่มกลับเข้ามาสู่ในระดับที่สร้างความมั่นใจ ค่าของเงินบาทมีเสถียรภาพและประเทศไทยได้เริ่มชำระเงินกู้คืนให้กับ IMF ซึ่งเป็นการปลดเงื่อนไขของ IMF ทั้งปวง นายธารินทร์เคยได้รับการวางตัวให้ดำรงตำแหน่งหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ สืบต่อจากนายชวน หลีกภัย
ประวัติการดำรงตำแหน่งทางธุรกิจ
[แก้]- พ.ศ. 2513 - First National City Bank สาขามะนิลา ประเทศฟิลิปปินส์ และสาขานิวยอร์ก ประเทศสหรัฐอเมริกา
- พ.ศ. 2514 - First National City Development Finance Corporation (Thailand) Ltd., สาขากรุงเทพ
- พ.ศ. 2517 - ผู้บริหารธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน)
- พ.ศ. 2527 - พ.ศ. 2535 - กรรมการผู้จัดการใหญ่ ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน)
- พ.ศ. 2542 - พ.ศ. 2543 - ประธานกรรมการ คณะกรรมการพัฒนาธาคารโลก
- พ.ศ. 2546 - ปัจุจบัน - ประธานกรรมการบริษัทสยามพิวรรธน์ จำกัด
- พ.ศ. 2551 - ปัจุจบัน - กรรมการ กรรมการตรวจสอบ และกรรมการบรรษัทภิบาลและสรรหา บริษัท ปูนซิเมนต์ไทย จำกัด (มหาชน)
ประวัติการดำรงตำแหน่งทางการเมือง
[แก้]- พ.ศ. 2534 - พ.ศ. 2535 - สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ
- พ.ศ. 2535 - สมาชิกวุฒิสภา
- พ.ศ. 2539 - พ.ศ. 2548 - สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จากการเลือกตั้ง พรรคประชาธิปัตย์
- พ.ศ. 2535 - พ.ศ. 2538 - รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง รัฐบาลชวน 1[3]
- พ.ศ. 2540 - พ.ศ. 2543 - รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง รัฐบาลชวน 2
ประวัติการดำรงตำแหน่งด้านอื่นๆ
[แก้]- พ.ศ. 2538 - พ.ศ. 2540 - คณะกรรมการการลงทุน สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์
- ประธานคณะกรรมการมูลนิธิหอศิลปะแห่งรัชกาลที่ 9
- รองประธานคณะกรรมการมูลนิธิสมเด็จพระเทพรัตน์
- คณะกรรมการมูลนิธิแพทย์อาสาสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี
- คณะกรรมการมูลนิธิขาเทียม ในสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี
- คณะกรรมการบริหารมูลนิธิเพื่อสถาบันการศึกษาวิชาการจัดการแห่งประเทศไทย
- อดีตคณะกรรมการสภามหาวิทยาลัยศิลปากร
- อดีตคณะกรรมการสภามหาวิทยาลัยเชียงใหม่
- อดีตคณะกรรมการสภามหาวิทยาลัยโยนก
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
[แก้]- พ.ศ. 2537 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)[4]
- พ.ศ. 2536 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[5]
- พ.ศ. 2539 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ชั้นที่ 2 ทุติยจุลจอมเกล้า (ท.จ.) (ฝ่ายหน้า)[6]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ ประวัติผู้สมัคร ส.ส. เก็บถาวร 2012-11-07 ที่ เวย์แบ็กแมชชีนกรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย
- ↑ วิกฤตต้มยำกุ้ง 2 ก.ค. 2540 : ใครเป็นใครใน 5 ตัวละครเอกของวิกฤตเศรษฐกิจแห่งเอเชีย
- ↑ พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งรัฐมนตรี (จำนวน ๔๘ ราย)
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2022-12-03 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๑๑ ตอนที่ ๒๑ ข หน้า ๑, ๓ ธันวาคม ๒๕๓๗
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2022-10-04 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๑๐ ตอนที่ ๒๐๐ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๓, ๓ ธันวาคม ๒๕๓๖
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2022-05-24 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๑๓ ตอนที่ ๗ ข หน้า ๓, ๔ พฤษภาคม ๒๕๓๙
ดูเพิ่ม
[แก้]แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- lannaworld.com --> ประวัติบุคคล : ไกรศรี นิมมานเหมินทร์ เก็บถาวร 2008-04-20 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- ย่านถนนท่าแพ (๖) เก็บถาวร 2005-11-11 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
ก่อนหน้า | ธารินทร์ นิมมานเหมินท์ | ถัดไป | ||
---|---|---|---|---|
พนัส สิมะเสถียร | รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง (ครม.50) (29 กันยายน พ.ศ. 2535 - 18 กรกฎาคม พ.ศ. 2538) |
สุรเกียรติ์ เสถียรไทย | ||
โฆสิต ปั้นเปี่ยมรัษฎ์ | รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง (ครม.53) (14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2540 - 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2544) |
สมคิด จาตุศรีพิทักษ์ |
- บุคคลที่เกิดในปี พ.ศ. 2488
- บุคคลที่ยังมีชีวิตอยู่
- บุคคลจากอำเภอเมืองเชียงใหม่
- ชาวไทยเชื้อสายจีน
- สกุลนิมมานเหมินท์
- สกุลชุติมา
- นักการธนาคารชาวไทย
- นักการเมืองจากจังหวัดเชียงใหม่
- รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังไทย
- สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรกรุงเทพมหานคร
- สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยแบบบัญชีรายชื่อ
- สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ
- นักการเมืองพรรคประชาธิปัตย์
- บุคคลจากโรงเรียนมงฟอร์ตวิทยาลัย
- บุคคลจากมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด
- บุคคลจากมหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ป.ช.
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ว.ม.
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ท.จ. (ฝ่ายหน้า)