ฉัฐวัสส์ มุตตามระ
ฉัฐวัสส์ มุตตามระ | |
---|---|
เลขาธิการพรรคเอกภาพ | |
ดำรงตำแหน่ง 29 สิงหาคม พ.ศ. 2538 – 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2539 | |
ก่อนหน้า | ไชยยศ สะสมทรัพย์ |
ถัดไป | เนวิน ชิดชอบ |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 16 พฤษภาคม พ.ศ. 2498 |
พรรคการเมือง | เอกภาพ (2529–2539) ความหวังใหม่ (2539–2543) ชาติไทย (2543–2550) รวมใจไทยชาติพัฒนา (2550–2559) |
คู่สมรส | สะอิ้ง มุตตามระ |
ฉัฐวัสส์ มุตตามระ (เกิด 16 พฤษภาคม พ.ศ. 2498) อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดเชียงราย 4 สมัย และ อดีตเลขาธิการพรรคเอกภาพ เป็นนักการเมืองชาวไทยในกลุ่ม 16 เขาถูกศาลพิพากษาจำคุกในฐานสนับสนุนการยักยอกทรัพย์ธนาคารกรุงเทพฯ พาณิชย์การ ของเกริกเกียรติ ชาลีจันทร์
ประวัติ
[แก้]ฉัฐวัสส์ มุตตามระ (ชื่อเดิม : วีระพล มุตตามระ) เกิดเมื่อวันที่ 16 พฤษภาคม พ.ศ. 2498[1] สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาเอก ด้านบริหารธุรกิจ จากประเทศสหรัฐอเมริกา
งานการเมือง
[แก้]ฉัฐวัสส์ ได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรครั้งแรกใน พ.ศ. 2529 สังกัดพรรครวมไทย และได้รับเลือกเรื่อยมา รวม 4 ครั้ง (2529, 2531, 2538, 2539)
ปี 2544 และ 2548 เขาลงสมัครรับเลือกตั้งในนามพรรคชาติไทย แต่แพ้ให้กับ สฤษฏ์ อึ้งอภินันท์ จากพรรคไทยรักไทย ต่อมาปี พ.ศ. 2550 ฉัฐวัสส์ ลงสมัครรับเลือกตั้ง ในสังกัด พรรครวมใจไทยชาติพัฒนา ในจังหวัดเชียงราย[2] แต่ไม่ได้รับเลือกตั้ง ได้คะแนนเป็นลำดับที่ 6
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
[แก้]ฉัฐวัสส์ มุตตามระ ได้รับการเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรมาแล้ว 4 สมัย คือ
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2529 จังหวัดเชียงราย สังกัดพรรครวมไทย
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2531 จังหวัดเชียงราย สังกัดพรรครวมไทย → พรรคเอกภาพ
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2538 จังหวัดเชียงราย สังกัดพรรคเอกภาพ
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2539 จังหวัดเชียงราย สังกัดพรรคความหวังใหม่
คดีความ
[แก้]ฉัฐวัสส์ มุตตามระ ถูกกล่าวหาในคดีเกี่ยวเนื่องกับการยักยอกทรัพย์ธนาคารกรุงเทพฯ พาณิชย์การ ของเกริกเกียรติ ชาลีจันทร์ โดยเขาถูกศาลตัดสินจำคุก 155 ปี ปรับ 31 ล้านบาท แต่โทษให้จำคุกได้สูงสุดไม่เกิน 20 ปีตามกฎหมาย และให้ชดใช้เงินคืนให้กับโจทก์ร่วมจำนวน 732,982,485.17 บาท[3]
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
[แก้]- พ.ศ. 2542 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นที่ 1 ประถมาภรณ์ช้างเผือก (ป.ช.)[4]
- พ.ศ. 2540 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นที่ 1 ประถมาภรณ์มงกุฎไทย (ป.ม.)[5]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ ประวัติย่อ นายฉัฐวัสส์ มุตตามระ
- ↑ "จังหวัดเชียงราย มีจำนวนเขตเลือกตั้ง 3 เขต เลือกคนที่รักได้ 8 คน". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-04. สืบค้นเมื่อ 2013-08-22.
- ↑ จำคุก 155 ปี “ฉัฐวัสส์ มุตตามระ” คดียักยอกทรัพย์แบงก์บีบีซีกว่า 1,014 ล้าน
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย เก็บถาวร 2022-10-09 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๑๖ ตอนที่ ๒๐ ข หน้า ๓๒, ๒ ธันวาคม ๒๕๔๒
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2022-09-29 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๑๔ ตอนที่ ๒๗ ข หน้า ๕๗, ๓ ธันวาคม ๒๕๔๐