ข้ามไปเนื้อหา

สมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาศักดิพลเสพ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก กรมหมื่นศักดิพลเสพ)
สมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาศักดิพลเสพ
วัดไพชยนต์พลเสพย์ราชวรวิหาร อำเภอพระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ (17).jpg
กรมพระราชวังบวรสถานมงคล
ดำรงพระยศพ.ศ. 2367 - พ.ศ. 2375
รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว
อุปราชาภิเษก13 กันยายน พ.ศ. 2367
ก่อนหน้าสมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาเสนานุรักษ์
ถัดไปพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว
พระราชสมภพ21 ตุลาคม พ.ศ. 2328
สวรรคต1 พฤษภาคม พ.ศ. 2375 (46 พรรษา)
พระชายาพระเจ้าราชวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าดาราวดี
พระราชบุตร20 พระองค์
ราชวงศ์จักรี
พระราชบิดาพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช
พระราชมารดาเจ้าจอมมารดานุ้ยใหญ่ ในรัชกาลที่ 1

กรมพระราชวังบวรมหาศักดิพลเสพ (21 ตุลาคม พ.ศ. 2328[1] - 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2375[2]) เป็นกรมพระราชวังบวรสถานมงคลในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว

พระราชประวัติ

[แก้]

สมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาศักดิพลเสพ มีพระนามเดิมว่า พระองค์เจ้าอรุโณทัย เมื่อทรงพระเยาว์ออกพระนามว่า พระองค์เจ้าช้าง หรือ พระองค์เจ้ากัททลีวัน เป็นพระราชโอรสลำดับที่ 17 ในพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช พระราชสมภพแต่เจ้าจอมมารดานุ้ยใหญ่ ธิดาเจ้าพระยานคร (พัฒน์) [3]

พระองค์เจ้าอรุโณทัยได้ทรงกรมเป็นกรมหมื่นศักดิพลเสพ ในปี พ.ศ. 2350 ทรงกำกับราชการกลาโหมในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย เมื่อ พ.ศ. 2363 มีข่าวพม่าจะยกทัพเข้ามาตีไทย ทรงเป็นแม่ทัพคุมไพร่พลไปตั้งที่เมืองเพชรบุรี ทำศึกร่วมกับกรมหมื่นเจษฎาบดินทร์ซึ่งยกทัพไปตั้งที่เมืองราชบุรี และกาญจนบุรี เมื่อกรมหมื่นเจษฎาบดินทร์ทรงราชาภิเษกเป็นพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อ พ.ศ. 2367 จึงทรงอุปราชาภิเษกกรมหมื่นศักดิพลเสพเป็นพระมหาอุปราชมีพระนามว่ากรมพระราชวังบวรมหาศักดิพลเสพ ต่อมาพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดให้เฉลิมพระนามว่ากรมพระราชวังบวรมหาศักดิพลเสพ และพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดให้เปลี่ยนเป็นสมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาศักดิพลเสพ[4]

สมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาศักดิพลเสพโปรดให้สร้างวัดบวรสถานสุทธาวาส หรือที่เรียกว่าวัดพระแก้ววังหน้า โดยที่พระองค์จะทรงสร้างอาคารใหญ่เป็นแบบพระมหาปราสาทมียอดสูง ความทราบถึงพระเนตรพระกรรณพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว พระองค์ทรงห้ามไว้เนื่องจากไม่มีธรรมเนียมการสร้างอาคารมีเรือนยอดปราสาทในวังหน้ามาแต่ตั้งกรุงศรีอยุธยา นอกจากนี้สมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาศักดิพลเสพยังทรงสร้างวัดบวรนิเวศราชวรวิหาร (บวร หมายถึง วังหน้า, นิเวศ หมายถึง บ้านหรือวัง ความรวมจึงหมายความว่า วัดอันเป็นที่ประทับในวังหน้า นามวัดนี้รัชกาลที่ 3 ทรงพระราชทานใหม่ให้เมื่อคราวรัชกาลที่ 4 ทรงผนวชอยู่เป็นนัยว่า รัชกาลที่ 4 ทรงดำรงอยู่ในสถานะ กรมพระราชวังบวรสถานมงคล) โปรดให้อัญเชิญพระพุทธชินสีห์จากวัดพระศรีรัตนมหาธาตุวรมหาวิหาร ล่องแพมาทางแม่น้ำเจ้าพระยา เมื่อ พ.ศ. 2372 อัญเชิญขึ้นประดิษฐานที่พระอุโบสถวัดบวรนิเวศวิหาร การก่อสร้างวัดบวรนิเวศวิหารยังไม่เสร็จสิ้น

สมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาศักดิพลเสพก็ประชวรพระโรคมานน้ำได้ปีเศษก็สวรรคตเมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2375 สิริพระชนมายุ 46 พรรษา 6 เดือน 14 วัน[5] พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมพระราชทานพระโกศทองใหญ่ทรงพระบรมศพ พระบรมศพสมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาศักดิพลเสพประดิษฐาน ณ พระที่นั่งอิศราวินิจฉัยในพระราชวังบวรสถานมงคล ต่อมาในปีพ.ศ. 2376 เชิญพระบรมศพแห่ออกพระเมรุที่ท้องสนามหลวง จัดให้มีงานมหรสพ พระราชทานเพลิงเมื่อวันแรม 2 ค่ำ เดือน 5 แล้วเชิญพระบรมอัฐิไปประดิษฐานไว้ในพระราชวังบวรสถานมงคล พระบรมอัฐิส่วนหนึ่งถูกอัญเชิญไปประดิษฐานที่ท้ายจรนำวัดชนะสงคราม แต่นั้นมาตำแหน่งกรมพระราชวังบวรสถานมงคลก็ว่างลงถึง 18 ปี

หลังจากสมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาศักดิพลเสพสวรรคต พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวก็ไม่ได้ทรงตั้งผู้ใดเป็นกรมพระราชวังบวรสถานมงคล แต่เดิมทรงหมายมั่นจะสถาปนาพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงรักษ์รณเรศ ซึ่งเป็นพระปิตุลา แต่มีผู้ถวายฎีกาอยู่เสมอว่ากรมหลวงรักษ์รณเรศกระทำการกระด้างกระเดื่อง ทุจริตต่อหน้าที่ รับสินบน อีกทั้งยังมีการส้องสุมกำลังผู้คน เมื่อทรงสอบสวนแล้วเป็นจริง จึงทรงให้ถอดพระยศเป็นหม่อมไกรสร แล้วให้นำสำเร็จโทษเมื่อวันที่ 13 ธันวาคม พ.ศ. 2391

พระราชโอรสธิดา

[แก้]

สมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาศักดิพลเสพมีพระราชโอรสธิดา 20 พระองค์[6] ได้แก่

ประสูติก่อนอุปราชาภิเษก
พระเจ้าราชวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าดาราวดี
  • พระองค์เจ้าหญิงอรุณ (พ.ศ. 2348-2428) ประสูติแต่เจ้าจอมมารดาน้อย
  • พระองค์เจ้าหญิงสำอาง (พ.ศ. 2350-2412) ประสูติแต่เจ้าจอมมารดาคุ้มใหญ่
  • พระองค์เจ้าชายสว่าง (พ.ศ. 2358-2404) ประสูติแต่เจ้าจอมมารดางิ้ว
  • พระองค์เจ้าหญิงอัมพร (พ.ศ. 2358-2360) ประสูติแต่เจ้าจอมมารดาแสง
  • พระองค์เจ้าหญิงสังวาล (พ.ศ. 2359-2423) ประสูติแต่เจ้าจอมมารดาเฟือง
  • พระองค์เจ้าชายกำภู (พ.ศ. 2360-2419) ประสูติแต่เจ้าจอมมารดาคำ ทรงเป็นต้นสกุล กำภู
  • พระองค์เจ้าชายกัมพล (พ.ศ. 2360-2366) ประสูติแต่เจ้าจอมมารดาตานี
  • พระองค์เจ้าชายอุทัย (พ.ศ. 2360-2392) ประสูติแต่เจ้าจอมมารดางิ้ว
  • พระองค์เจ้าชายเกสรา (พ.ศ. 2360-2416) ประสูติแต่เจ้าจอมมารดาคุ้มเล็ก ทรงได้รับสถาปนาเป็นกรมหมื่นอานุภาพพิศาลศักดิ์ เมื่อ พ.ศ. 2408 ในรัชกาลที่ 4 ทรงเป็นต้นสกุล เกสรา
  • พระองค์เจ้าชายเนตร (พ.ศ. 2361-2377) ประสูติแต่เจ้าจอมมารดาเฟือง
  • พระองค์เจ้าชายขจร (พ.ศ. 2363-2377) ประสูติแต่เจ้าจอมมารดานิ่ม
  • พระองค์เจ้าชายอิศราพงศ์ (พ.ศ. 2363-2404) ทรงประสูติในพระองค์เจ้าดาราวดี พระธิดาในสมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาสุรสิงหนาท ทรงได้รับสถาปนาเป็นเจ้าฟ้าอิศราพงศ์ เมื่อ พ.ศ. 2394 ในรัชกาลที่ 4 ทรงเป็นต้นสกุล อิศรศักดิ์
  • พระองค์เจ้าหญิงอัมพา (พ.ศ. 2364-2366) ประสูติแต่เจ้าจอมมารดาฉิมสิงหฬ
  • พระองค์เจ้าชายนุช (พ.ศ. 2364-2417) ประสูติแต่เจ้าจอมมารดาเฟือง ทรงเป็นต้นสกุล อนุชะศักดิ์
  • พระองค์เจ้าชายแฉ่ง (พ.ศ. 2365-2387) ประสูติแต่เจ้าจอมมารดางิ้ว
ประสูติหลังอุปราชาภิเษก

พระเกียรติยศ

[แก้]
ธรรมเนียมพระยศของ
สมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาศักดิพลเสพ
การทูลใต้ฝ่าละอองพระบาท
การแทนตนข้าพระพุทธเจ้า
การขานรับพระพุทธเจ้าข้า/เพคะ

พระอิสริยยศ

[แก้]
  • พระเจ้าลูกยาเธอ พระองค์เจ้าอรุโณทัย
  • พระเจ้าลูกยาเธอ กรมหมื่นศักดิพลเสพ
  • พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหมื่นศักดิพลเสพ
  • กรมพระราชวังบวรสถานมงคล
  • กรมพระราชวังบวรมหาศักดิพลเสพ
  • สมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาศักดิพลเสพ

พงศาวลี

[แก้]

แผนผัง

[แก้]
สมเด็จพระปฐมบรมมหาชนก
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
Monarch (1)
พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช
 
สมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาสุรสิงหนาท
 
สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้ากรมหลวงจักรเจษฎา
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
Monarch(2)
พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย
 
สมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาเสนานุรักษ์
 
สมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาศักดิพลเสพ
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
Monarch(3)
พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว
 
Monarch(4)
พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว
 
สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าอาภรณ์
 
สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ามหามาลา กรมพระยาบำราบปรปักษ์
 
สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าปิ๋ว
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าโสมนัส
 
Monarch(5)
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
 
สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าจาตุรนต์รัศมี กรมพระจักรพรรดิพงษ์
 
สมเด็จพระราชปิตุลา บรมพงศาภิมุข เจ้าฟ้าภาณุรังษีสว่างวงศ์ กรมพระยาภาณุพันธุวงศ์วรเดช
 
สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์
 
กรมพระราชวังบวรวิไชยชาญ
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ สยามมกุฎราชกุมาร
 
สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าอิศริยาลงกรณ์
 
Monarch(6)
พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว
 
สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธุ์ กรมพระนครสวรรค์วรพินิต
 
สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าตรีเพ็ชรุตม์ธำรง
 
สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าสมมติวงศ์วโรทัย กรมขุนศรีธรรมราชธำรงฤทธิ์
 
สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าจักรพงษ์ภูวนาถ กรมหลวงพิษณุโลกประชานาถ
 
สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ายุคลทิฆัมพร กรมหลวงลพบุรีราเมศวร์
 
สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าศิริราชกกุธภัณฑ์
 
สมเด็จพระอนุชาธิราช เจ้าฟ้าอัษฎางค์เดชาวุธ กรมหลวงนครราชสีมา
 
สมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก
 
สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าจุฑาธุชธราดิลก กรมขุนเพ็ชรบูรณ์อินทราไชย
 
Monarch(7)
พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
Monarch(8)
พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทร
 
Monarch(9)
พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
(10)
พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว

อ้างอิง

[แก้]
เชิงอรรถ
  1. ราชสกุลวงศ์, หน้า 13
  2. ราชสกุลวงศ์, หน้า 14
  3. ราชสกุลวงศ์ พระนามเจ้าฟ้าและพระองค์เจ้าในกรุงรัตนโกสินทร์, พระนคร, โรงพิมพ์โสภณพิพรรฒธนากร, 2475
  4. ราชสกุลวงศ์, หน้า 3 (เชิงอรรถ)
  5. พระราชพงศาวดาร กรุงรัตนโกสินทร์ รัชชกาลที่ ๓ : ประดิษฐานพระราชวงศ์
  6. ราชสกุลวงศ์, หน้า 126
บรรณานุกรม
  • เจ้าพระยาทิพากรวงศ์ (ขำ บุนนาค) (11 สิงหาคม 2531). "พระราชพงศาวดารกรุงรัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ ๑". ห้องสมุดดิจิทัลวชิรญาณ. สืบค้นเมื่อ 23 เมษายน 2561. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  • เจ้าพระยาทิพากรวงศ์ (ขำ บุนนาค) (18 กุมภาพันธ์ 2481). "พระราชพงศาวดาร กรุงรัตนโกสินทร์ รัชชกาลที่ ๓". ห้องสมุดดิจิทัลวชิรญาณ. สืบค้นเมื่อ 23 เมษายน 2561. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  • สำนักวรรณกรรมและประวัติศาสตร์ กรมศิลปากร. ราชสกุลวงศ์. กรุงเทพฯ : สำนักวรรณกรรมและประวัติศาสตร์ กรมศิลปากร, 2554. 296 หน้า. ISBN 978-974-417-594-6
ก่อนหน้า สมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาศักดิพลเสพ ถัดไป
สมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาเสนานุรักษ์ กรมพระราชวังบวรสถานมงคล
(พ.ศ. 2367 - 2375)
พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว