ข้ามไปเนื้อหา

เจ้าจอมมารดาฉิม ในสมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาศักดิพลเสพ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เจ้าจอมมารดาฉิม
คู่สมรสสมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาศักดิพลเสพ
บุตรพระเจ้าราชวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอัมพา
พระเจ้าราชวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าชาย

เจ้าจอมมารดาฉิม หรือ ฉิมสิงหฬ[1] เป็นพระสนมในสมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาศักดิพลเสพ

ประวัติ

[แก้]

เจ้าจอมมารดาฉิม เดิมในสมัยรัชกาลที่ 2 ได้เข้ามารับราชการฝ่ายในพระราชวังบวรสถานมงคลอยู่กับเจ้าจอมมารดาปิ่น ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ 3 ได้เลื่อนมารับตำแหน่งเฝ้าที่ในสมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาศักดิพลเสพ ต่อมาได้เป็นเจ้าจอม และมีพระประสูติกาลพระองค์เจ้า 2 พระองค์คือ

  1. พระเจ้าราชวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอัมพา (19 กรกฎาคม พ.ศ. 2364 - พ.ศ. 2366)
  2. พระเจ้าราชวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าชาย (15 กรกฎาคม พ.ศ. 2368 สิ้นพระชนม์ในวันประสูติ)

ในสมัยรัชกาลที่ 3 ได้เกิดคดีซึ่งอีนวล ได้ยินข่าวที่พระองค์เจ้าเกสรสิ้นพระชนม์ เจ้าจอมมารดาปิ่นเศร้าโศกเสียใจยิ่งนักที่พระองค์เจ้าเกสรสิ้นพระชนม์ จึงได้วางแผนกับอีจั่นหลอกเจ้าจอมมารดาปิ่นและพระองค์เจ้าอำพันว่าดวงพระวิญญาณของพระองค์เจ้าเกสรกลับมาเข้าร่างอีจั่น อีนวลจึงให้อีเลียซึ่งรู้จักกับเจ้าจอมมารดาฉิม บอกให้เจ้าจอมมารดาฉิมพาไปหาเจ้าจอมมารดาปิ่น เจ้าจอมมารดาฉิม เชื่ออีนวลอีเลีย ก็พาอีนวล อีเลียไปหาเจ้าจอมมารดาปิ่น บอกเล่าเรื่องราวอีจั่นว่าเป็นพระองค์เจ้าเกสรมาเข้ารูปอีจั่น ร้องไห้คิดถึงเจ้าจอมมารดา เจ้าจอมมารดาปิ่นหลงเชื่อ และเจ้าจอมมารดาปิ่นจะไปรับตัวอีจั่นมาที่ตำหนัก ความทราบถึงพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงทรงโปรดเกล้าฯ ชำระความผิด ซึ่งเดิมความผิดตามโทษนั้นมีดังนี้[2]

  1. อีจั่น อีนวล อีเลีย ให้รับราชบาตร เอาทรัพย์สินเป็นของหลวง แล้วให้เฆี่ยนคนละ 3 ยก ตระเวนบก 3 วัน เรือ 3 วัน จึงเอาไปประหารชีวิต
  2. เฆี่ยนเจ้าจอมมารดาฉิม 50 ที เจ้าจอมมารดาปิ่น 50 ที

พระราชอาชญาครั้งนี้ พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าฯ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานอภัยโทษจากสถานหนัก เป็นสถานเบา ดังนี้

  1. อีจั่น อีเลีย อีนวล ไม่ต้องรับราชบาตร โทษประหารชีวิต ก็ให้ยกเสีย ให้เฆี่ยน 3 ยก แล้วตระเวนบก 3 วัน เรือ 3 วัน ส่งไปเป็นตะพุ่มหญ้าช้าง
  2. เจ้าจอมมารดาปิ่น ภาคทัณฑ์ไว้ครั้งหนึ่ง
  3. เจ้าจอมมารดาฉิม เฆี่ยน 50 ที

อ้างอิง

[แก้]
  1. กรมศิลปากร. สำนักวรรณกรรมและประวัติศาสตร์ (2554). ราชสกุลวงศ์ (PDF). กรุงเทพฯ: สำนักวรรณกรรมและประวัติศาสตร์ กรมศิลปากร. p. 125. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2017-02-02. สืบค้นเมื่อ 2017-07-14.
  2. เวียงวัง ตอนที่ 161 : ล่วงละเมิดพระราชอาญา