เพชรา เชาวราษฎร์
เพชรา เชาวราษฎร์ | |
---|---|
เพชรา เชาวราษฎร์ | |
สารนิเทศภูมิหลัง | |
ชื่อเกิด | เอก เชาวราษฎร์ |
ชื่ออื่น | ปัทมา เชาวราษฎร์ |
เกิด | 19 มกราคม พ.ศ. 2485 จังหวัดระยอง ประเทศไทย |
คู่สมรส | ชรินทร์ นันทนาคร (2512 – 2567) (55 ปี) |
บุตร | 1 คน (เสียชีวิต) |
อาชีพ |
|
ปีที่แสดง | พ.ศ. 2505 – 2521 (16 ปี) |
รางวัล | |
ศิลปินแห่งชาติ | สาขาศิลปะการแสดง (ภาพยนตร์) พ.ศ. 2561 |
พระสุรัสวดี | นักแสดงนำหญิงยอดเยี่ยม พ.ศ. 2507 – นกน้อย |
ชมรมวิจารณ์บันเทิง | รางวัลคู่ขวัญดาราทอง พ.ศ. 2508 – เงิน เงิน เงิน |
เพชรา เชาวราษฎร์ (เกิด 19 มกราคม พ.ศ. 2485)[1] หรือชื่อจริงว่า เอก นันทนาคร ชื่อเล่น อี๊ด เป็นนักแสดง และ นักจัดรายการวิทยุชาวไทย เจ้าของฉายา “นางเอกนัยน์ตาหยาดน้ำผึ้ง“ มีผลงานแสดงภาพยนตร์ราว 300 เรื่อง ระหว่าง พ.ศ. 2505 – 2521 บทบาทการแสดงของเธอมีความหลากหลาย ตั้งแต่เป็นเจ้าหญิง เด็กแก่นแก้ว จนกระทั่งแสดงเป็นขอทาน และยังเคยแสดงภาพยนตร์กำลังภายในจีนของประเทศไต้หวัน
เพชรา เชาวราษฎร์ ได้รับการยกย่องเชิดชูเกียรติจากคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติเป็น ศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปะการแสดง (ภาพยนตร์) ประจำปี พ.ศ. 2561[2]
ประวัติ
[แก้]วัยเด็ก
[แก้]เพชรา เชาวราษฎร์ หรือชื่อจริง เอก นันทนาคร เกิดเมื่อวันที่ 19 มกราคม พ.ศ. 2485 ที่ตำบลน้ำคอก อำเภอเมือง จังหวัดระยอง เป็นบุตรคนที่ 4 จากพี่น้องทั้งหมด 7 คน บิดามีเชื้อสายจีนด้วยปู่เป็นจีนอพยพ ส่วนมารดาเป็นคนไทย ครอบครัวประกอบอาชีพค้าขายและทำไร่สวน เบื้องต้นเธอจบการศึกษาชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 จากโรงเรียนเกาะกลอย[3]
เมื่ออายุ 15 ปี ได้เข้าเรียนกวดวิชาที่กรุงเทพมหานครจนจบมัธยมศึกษาปีที่ 3[4] โดยพักอาศัยอยู่กับพี่สาวและพี่เขย และช่วยงานที่ร้านเสริมสวยของน้องสาวพี่เขย เธอได้รับการชักชวนให้เข้าประกวดเทพธิดาเมษาฮาวาย ประจำปี พ.ศ. 2504 จัดโดยสำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาล ใช้ชื่อในการประกวดว่า ปัทมา เชาวราษฎร์ ได้ตำแหน่งชนะเลิศ[5]
เข้าสู่วงการ
[แก้]เธอได้รับการชักชวนจาก ศิริ ศิริจินดา และ ดอกดิน กัญญามาลย์ ให้แสดงภาพยนตร์เรื่องแรกในชีวิต บันทึกรักของพิมพ์ฉวี เมื่อ พ.ศ. 2505 เป็นเรื่องแรกขณะอายุ 19 ปี แสดงคู่กับ มิตร ชัยบัญชา โดย ดอกดิน กัญญามาลย์ เป็นผู้ตั้งชื่อว่า "เพชรา เชาวราษฎร์" โดยให้เหตุผลว่าปัทมาชื่อเก่านั้นเรียบไป[3] ส่วน เจน จำรัสศิลป์ได้ตั้งฉายาให้ว่า "นางเอกสาวนัยน์ตาหยาดน้ำผึ้ง"[6]
เพชรา เชาวราษฎร์ แจ้งเกิดอย่างเต็มตัวจากภาพยนตร์เรื่องที่สอง เรื่อง ดอกแก้ว ตามด้วย หนึ่งในทรวง, อ้อมอกสวรรค์ และได้แสดงคู่กับ มิตร ชัยบัญชา รับบทคู่รักในภาพยนตร์อีกหลายเรื่องจนเป็นที่ชื่นชอบของแฟนภาพยนตร์เรียกว่า คู่ขวัญ มิตร-เพชรา ที่มีชื่อเสียงสูงสุดช่วงปี พ.ศ. 2506-2513[7] ในยุคที่เธอโด่งดังมากที่สุด แต่ละเดือนมีคิวถ่ายหนังประมาณ 12-18 เรื่อง แต่ละวันต้องถ่ายทำภาพยนตร์วันละ 3-4 เรื่อง ในปี พ.ศ. 2508 เพชราเข้ารับพระราชทานรางวัลตุ๊กตาทอง จากพระหัตถ์พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ซึ่งถือเป็นความภาคภูมิใจสูงสุดของเธอ เธอเคยกล่าวไว้ว่า "เป็นความประทับใจ เป็นความภาคภูมิใจที่สุดในชีวิต และจะไม่มีวันลืมตราบที่ยังมีลมหายใจ"[8] จากบทบาทภาพยนตร์เรื่อง นกน้อย
หลังจาก มิตร ชัยบัญชา ประสบอุบัติเหตุเสียชีวิตในการถ่ายภาพยนตร์เรื่อง อินทรีทอง เพชรายังรับบทนางเอกภาพยนตร์ต่อเนื่องมาอีกหลายปี คู่กับ สมบัติ เมทะนี, ไชยา สุริยัน, ลือชัย นฤนาท และพระเอกใหม่ ครรชิต ขวัญประชา, นาท ภูวนัย, ยอดชาย เมฆสุวรรณ, กรุง ศรีวิไล.
เพชราเคยต้องเผชิญกับวิกฤตการเงินครั้งใหญ่เมื่อถูกกรมสรรพากรเล่นงานเรื่องภาษีถึงขั้นฟ้องล้มละลาย จนต้องเลหลังขายบ้าน แต่ในตอนนั้น ชรินทร์ นันทนาคร ทำภาพยนตร์ใหม่เรื่อง เพลงรักดอกไม้บาน นำแสดงโดย นันทิดา แก้วบัวสาย เมื่อหนังออกฉายก็พอมีเงินใช้หนี้ และได้เข้าเจรจากับกรมสรรพากรขอส่งตามที่มี แต่บางครั้งเมื่อขาดส่งทีไรหนังสือพิมพ์ก็มักลงข่าวว่า "เพชราโกงภาษี" ทุกที[9]
โลกแห่งความมืด
[แก้]ประมาณ พ.ศ. 2515 เธอเริ่มมีปัญหาเรื่องสายตา เนื่องจากในการถ่ายภาพยนตร์ต้องใช้แสงไฟสว่างจ้า[4] ใช้เวลารักษาอยู่หลายปี จนกระทั่งตาบอดสนิททั้งสองข้าง เมื่อ พ.ศ. 2521[4] ภาพยนตร์เรื่องสุดท้ายที่เธอแสดงคือเรื่อง ไอ้ขุนทอง ซึ่งเธออำนวยการสร้าง และแสดงเป็นแม่ของพระเอก รับบทโดย สรพงศ์ ชาตรี
สาเหตุของการตาบอดของเพชรา มาจากการไม่ได้พักสายตา ไม่ว่าจะเป็นบทบาทที่ต้องร้องไห้บ่อย การขับรถไปทำงานเอง ประกอบกับสมัยนั้นถ่ายหนังต้องใช้ไฟแรง หรือใช้รีเฟล็กซ์เยอะ ช่วงหลัง ๆ ที่ถ่ายหนังเรื่อง “ไทยใหญ่” เมื่อปี 2513 เริ่มแสบตา แต่เธอก็ยังขับรถไปถ่ายหนังต่างจังหวัดเอง และอดทนแสดงภาพยนตร์จนถึงเรื่องสุดท้ายคือ “ไอ้ขุนทอง” เข้าฉายในปี 2520
เมื่อดวงตาเริ่มมีปัญหาจึงไปหาหมอ แต่ว่าไม่ได้ไปตามนัดโดยสม่ำเสมอ เพราะต้องไปถ่ายหนัง บางวันก็อยู่ต่างจังหวัด พออาการเริ่มหนักขึ้น ถึงขั้นขับรถปีนเกาะกลางถนนหลายครั้ง ช่วงที่อาการหนักมาก ๆ ก็พยายามรักษาทุกวิถีทางครั้นเมื่อแพทย์ให้ยารักษาตามารับประทาน เธอได้แพ้ยาดังกล่าวจนตัวบวม จากเดิมน้ำหนัก 47-48 กิโลกรัม ขึ้นหนัก 60 กว่ากิโลกรัม ต้องซื้อเสื้อผ้าคนท้องมาใส่ ผมร่วงหมดศีรษะ ฝ้าขึ้นดำไปทั้งหน้าทั้งตัว เมื่อตัวบวมมาก ๆ ก็หายใจไม่ออก[10] กลืนน้ำก็ไม่ได้ ต้องเข้าไปนอนรักษาตัวที่โรงพยาบาล การทำงานของไตหยุด พิษยาจึงคั่งค้างทำให้ตัวบวม ต้องรอให้พิษยาลดลง จากที่เคยสวมแว่นดำและนั่งแท็กซี่ไปไหนมาไหนได้เอง ตอนหลังก็มองไม่เห็น ออกไปไหนคนเดียวไม่ได้[11]
ครั้นเวลาต่อมาเธอจึงเข้าผ่าตัดดวงตาด้วยหวังใจจะรักษาหาย แต่ผลกลับทำให้ตาที่เห็นเลือนรางกลายเป็นบอดสนิทในที่สุด[10] หลังตาบอดสนิทในกลางปี 2524 หลังจากนั้นเธอก็ไม่ปรากฏตัวที่ไหนอีกเลย
คืนวงการ
[แก้]หลังจากหยุดงานแสดงเพื่อรักษาสุขภาพมาหลายปี เธอทำงานเป็นนักจัดรายการวิทยุคลื่นลูกทุ่งเอฟเอ็ม ตั้งแต่ พ.ศ. 2544-2548 เธอก็ไม่ปรากฏตัวในที่แห่งใดส่วนใหญ่จะอยู่แต่ในบริเวณบ้าน โดยเธอให้เหตุผลว่า "ไม่ค่อยได้ออกไปไหนไม่อยากเป็นภาระคนอื่นเขาเพราะว่าถ้าไปต้องมีคนช่วยดูแลหน้าตาอะไรต่ออะไรรวมทั้งเครื่องแต่งตัวดูว่าพอใช้ได้ใช่มั้ย ไม่ใช่ออกไป โอ้โห แล้วคนเขาจำได้ด้วยไง ถ้าเราแต่งตัวอยู่ในสภาพไม่พร้อมนี่ อยากมุดแผ่นดินหนี แต่เราอยู่ในสภาพที่ดีแล้วยังคุยกันได้ ยังพอรู้เรื่อง"[10]
ในช่วงต้นปี พ.ศ. 2552 เธอให้สัมภาษณ์รายการโทรทัศน์ครั้งแรกในรอบ 30 ปี ในรายการ วู้ดดี้เกิดมาคุย ซึ่งดำเนินรายการโดย วุฒิธร มิลินทจินดา หรือ วู้ดดี้ โดยเข้าไปคุยในบ้านของเธอเองพร้อมพูดเปิดใจและบอกสาเหตุที่เก็บตัวเงียบ ไม่ยอมออกรายการโทรทัศน์ แต่ยังคงไม่เปิดเผยหน้าตา[12]
เมื่อเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2552 เพชราได้รับงานโฆษณาลิปสติกมิสทีน จากการเข้าติดต่อการเจรจาถึง 9 ครั้ง[13] จนครั้งสุดท้ายที่สำเร็จ โดยรายได้จากงานครั้งนี้เพชราจะบริจาคให้องค์กรการกุศลทั้งหมด ส่วนหนึ่งจะมอบให้กับมูลนิธิคนตาบอดแห่งประเทศไทย โฆษณาประชาสัมพันธ์ได้แพร่ภาพเมื่อประมาณกลางเดือนกันยายน โดยตัวแรกที่นำเสนอภาพของเพชราในอดีต และตัวที่สองมีพรีเซนเตอร์ของมิสทีนคนก่อน ๆ มาพูดถึงจุดเด่นของโฆษณาตัวนี้ โฆษณาชุดนี้ถ่ายทำเมื่อวันที่ 16-17 กันยายน และเผยแพร่ครั้งแรกเมื่อวันที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2552 โดยผู้บรรยายโฆษณาคือ นิรุตต์ ศิริจรรยา และผู้ขับร้องเพลง หยาดเพชร เพลงประกอบโฆษณาชิ้นนี้คือ ศุกลวัฒน์ คณารศ นับเป็นโฆษณาทางโทรทัศน์ตัวแรกในรอบกว่า 30 ปีที่เธอยอมให้มีการถ่ายภาพใบหน้าของเธออย่างชัดเจน[14][15][16]
เพชรากลับมาเป็นข่าวอีกครั้ง เมื่อมีผู้นำคลิปงานเลี้ยงวันเกิดเมื่อวันที่ 19 มกราคม พ.ศ. 2559 ซึ่งชรินทร์ สามี ได้ขับร้องเพลง หยาดเพชร ให้แก่เธอมาเผยแพร่ในสังคมออนไลน์[17] โดยก่อนหน้านี้ในวันเกิดเมื่อปี 2558 ศุภชัย ศรีวิจิตร ได้โพสต์ภาพของเพชราลงในบัญชีผู้ใช้อินสตาแกรมของเขา[18] และในเดือนกันยายน พ.ศ. 2559 เพชราได้รับเป็นพรีเซนเตอร์ของศูนย์ความเป็นเลิศทางการแพทย์ด้านโรคตับ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์[19]
ชีวิตส่วนตัว
[แก้]เพชราเคยมีคู่หมั้นเป็นลูกเศรษฐีเจ้าของอู่ต่อเรือประมงเมื่อตอนอายุ 15 ปี โดยผู้ใหญ่จะตัดสินใจรับหมั้น แต่ด้วยความที่อายุน้อยจึงบ่ายเบี่ยงไปตลอดเกือบ 2 ปี ครั้นเมื่อจวนจะถึงวันสมรสเพชราจึงหนีไปก่อนวันเข้าพิธี 20 วัน[6][20] อันเป็นเหตุที่ทำให้พ่อแม่เธอชดใช้ค่าเสียหายจำนวนมาก[5] และหลังจากนั้นก็มีชายหนุ่มมากหน้าหลายตาแวะเวียนเข้าหาเธอเพื่อหวังสานสัมพันธ์แต่เธอปฏิเสธทั้งหมด[6]
เธอมีความสนิทสนมกับมิตร ชัยบัญชา อย่างมาก หลังรู้จักกันครั้งแรกจากการแสดงภาพยนตร์เรื่อง บันทึกรักของพิมพ์ฉวี ซึ่งถ่ายทำนานราว 3-4 เดือนจนสนิทสนมกัน[7] เพชรากล่าวว่าเธอมองมิตรเป็นพี่ชายที่แสนดีของเธอเพราะเกิดปีเดียวกับพี่ชายคนโตจึงรักและเคารพยิ่ง และมิตรเองได้ทำหน้าที่ปกป้องเพชราหากมีผู้ชายเจ้าชู้เข้ามาใกล้เธอ[6][7] หลังมิตรเสียชีวิต เพชรากล่าวว่าเธอฝันเห็นเขาหลังจากนั้นกว่า 20 ปี[7]
เพชราสมรสกับชรินทร์ นันทนาคร และได้ร่วมแสดงกับชรินทร์ครั้งแรกในภาพยนตร์เรื่อง แพนน้อย พ.ศ. 2506 หลังฝ่ายชายได้เลิกรากับสปัน เธียรประสิทธิ์ ไปก่อนหน้านี้[5] ในปี พ.ศ. 2518 เพชราและชรินทร์จึงตัดสินใจใช้ชีวิตร่วมกัน ทั้งคู่แต่งงานกันเงียบ ๆ เลี้ยงเพื่อนร่วมวงการเพียงไม่กี่คน[21] เพชราและชรินทร์ไม่มีบุตรด้วยกัน เคยตั้งครรภ์ถึง 3 ครั้ง คนที่ 3 อุ้มท้องนาน 6-7 เดือน แต่อยู่วันหนึ่งต้นโกสนถูกลมพัดล้มลงบนพื้น เพชราจึงก้มไปหยิบต้นไม้ตั้งไว้อย่างเดิม แต่เป็นเหตุทำให้ต้องเข้าโรงพยาบาลด่วน ฉีดยาห้ามเลือดอยู่ 1-2 วัน สุดท้ายหมอได้ทำคลอดออกมาเป็นผู้ชายแต่ไม่หายใจแล้ว[22]
เพชรามีหลานสาวเป็นนักแสดง คือ นันทรัตน์ ชาวราษฎร์ (ชื่อเล่น ตรี) ซึ่งเป็นบุตรของจำรัส เชาวราษฎร์ ผู้จัดการออนไลน์ว่าผู้นี้เป็นน้องชายคนหนึ่งของเพชรา[23] ต่อมานันทรัตน์ได้ออกมาระบุว่า ปู่ของเธอเป็นน้องชายของบิดาเพชรา และยืนยันว่าตนเป็นญาติเพชราจริง โดยเพชรามีศักดิ์เป็นป้า[24] ต่อมานันทรัตน์ให้สัมภาษณ์อีกครั้งว่า "เธอกับเพชราเป็นญาติที่ห่างมาก ๆ จนแทบนับญาติกันไม่ได้"[25]
ผลงานภาพยนตร์
[แก้]- บันทึกรักของพิมพ์ฉวี (2505)
- อ้อมอกสวรรค์ (2505)
- ดอกแก้ว (2505)
- หนึ่งในทรวง (2505)
- ใจเพชร (2506)
- อวสานอินทรีแดง (2506)
- เหยี่ยวดำ (2506)
- แพนน้อย (2506)
- รวงแก้ว (2506)
- นกน้อย (2507)
- พรายดำ (2507)
- ตำหนักเพชร (2507)
- พันธุ์ลูกหม้อ (2507)
- ร้อยป่า (2507)
- เลิศชาย (2507)
- สิงห์ล่าสิงห์ (2507)
- สมิงบ้านไร่ (2507)
- พนาสวรรค์ (2507)
- มังกรคนอง (2507)
- หัวใจเถื่อน (2507)
- เก้ามหากาฬ (2507)
- จ้าวพยัคฆ์ (2507)
- เทพบุตร 12 คม (2507)
- ลมหวน (2508)
- 5 พยัคฆ์ร้าย (2508)
- ชาติเจ้าพระยา (2508)
- เงิน เงิน เงิน (2508)
- จอมใจ (2508)
- ใจฟ้า (2508)
- นกขมิ้น (2508)
- หยกแก้ว (2508)
- วังเสือ (2508)
- ขวัญชวีต (2508)
- ฉัตรดาว (2508)
- ชาติฉกรรจ์ (2508)
- ชื่นชีวา (2508)
- เทพบุตรนักเลง (2508)
- แผ่นดินสวรรค์ (2508)
- อ้อมอกดิน (2508)
- มังกรดำ (2508)
- น้องนุช (2508)
- น้ำผึ้งป่า (2508)
- น้ำเพชร (2508)
- ลูกของแม่ (2508)
- สุภาพบุรุษนักเลง (2508)
- วีระบุรุษเมืองใต้ (2508)
- ถิ่นผู้ดี (2508)
- ทาสผยอง (2508)
- เพชรน้ำผึ้ง (2508)
- ลูกผู้ชายชื่อไอ้แผน (2508)
- เกิดเป็นหงส์ (2509)
- หงส์เหิร (2509)
- ตัวต่อตัว (2509)
- เพชรตัดเพชร (2509)
- สามเกลอเจอล่องหน (2509)
- นกเอี้ยง (2509)
- แสงเทียน (2509)
- เพชรสีเลือด (2509)
- เสือสั่งถ้ำ (2509)
- เหยี่ยวสังหาร (2509)
- ชุมทางรัก (2509)
- เปลวสุริยา (2509)
- นกแก้ว (2509)
- นางนกป่า (2509)
- ลมหนาว (2509)
- เจ้าแม่สร้อยดอกหมากฯ (2509)
- นกยูง (2509)
- พระอภัยมณี (2509)
- พิษพยศ (2509)
- มือปืนสิบทิศ (2509)
- วังไพร (2509)
- สายเลือดกตัญญู (2509)
- เสือเหลือง (2509)
- งูผี (2509)
- 4 สมิง (2509)
- จอมประจัญบาน (2509)
- ชุมทางหาดใหญ่ (2509)
- ดรุณีสีเลือด (2509)
- น้ำค้าง (2509)
- ปีศาจดำ (2509)
- มือนาง (2509)
- แม่ยอดชีวิต (2509)
- ชาติกระทิง (2509)
- ใกล้รุ่ง (2510)
- จันทร์เจ้า (2510)
- ผึ้งหลวง (2510)
- 7 พระกาฬ (2510)
- จุฬาตรีคูณ (2510)
- ปิ่นรัก (2510)
- ปูจ๋า (2510)
- มดแดง (2510)
- นางพรายตานี (2510)
- โป๊ยเซียน (2510)
- สิงห์หนุ่ม (2510)
- ตำหนักแดง (2510)
- 9 เสือ (2510)
- โนรี (2510)
- ฟ้าเพียงดิน (2510)
- ไฟเสน่หา (2510)
- 5 พยัคฆ์สาว (2510)
- แก้วกาหลง (2510)
- ใจนาง (2510)
- ใต้เงาปืน (2510)
- เทพธิดาบ้านไร่ (2510)
- นางนวล (2510)
- สายเปล (2510)
- สาวจ้าวสมิง (2510)
- แสนรัก (2510)
- เหนือเกล้า (2510)
- เทพปืนทอง (2510)
- มนุษย์ทองคำ (2510)
- ตั๊กแตน (2510)
- แมวเหมียว (2510)
- ภูพานอย่าร้องไห้ (2510)
- ทะเลเงิน (2510)
- สุดแผ่นดิน (2510)
- เหนือนักเลง (2510)
- ดอกบัว (2511)
- พรายพิศวาส (2511)
- จักจั่น (2511)
- ไอ้หนึ่ง (2511)
- กบเต้น (2511)
- แสนงอน (2511)
- ดอกอ้อ (2511)
- น้ำอ้อย (2511)
- พระลอ (2511)
- ยอดแก่น (2511)
- รักเอย (2511)
- ลูกชาติเสือ (2511)
- เลือดอาชาไนย (2511)
- เงิน จ๋า เงิน (2511)
- สิงห์ล้างสิงห์ (2511)
- ลูกแมว (2511)
- สกุลกา (2511)
- สมิงดง (2511)
- กำพร้า (2511)
- ขวัญเรือน (2511)
- แท็กซี่ (2511)
- เพชรตะวัน (2511)
- แมวไทย (2511)
- ยอดชีวิต (2511)
- สองฟากฟ้า (2511)
- สัญชาติชาย (2511)
- แสนสงสาร (2511)
- เหนือน้ำใจ (2511)
- เฟื่องฟ้า (2511)
- 16 ปีแห่งความหลัง (2511)
- มรกตแดง (2511)
- ทรามวัยใจเพชร (2511)
- ไก่แก้ว (2512)
- เพชรแท้ (2512)
- เศรษฐีข้างถนน (2512)
- สมิงจ้าวท่า (2512)
- รัก-ยม (2512)
- ปีศาจเสน่หา (2512)
- ลูกเขย (2512)
- ไอ้เปีย (2512)
- ลูกปลา (2512)
- จอมคน (2512)
- อภินิหารอาจารย์ทอง (2512)
- ยอดคนจริง (2512)
- จอมพล (2512)
- ปลาไหลทอง (2512)
- แม่ค้า (2512)
- วิมานไฟ (2512)
- ไพรรัก (2512)
- ขวัญหล้า (2512)
- ยอดคนจริง (2512)
- สอยดาวสาวเดือน (2512)
- ชาติลำชี (2512)
- ปราสาททราย (2512)
- กามเทพลวง (2512)
- ลอยกระทง (2512)
- เทพบุตรสลาตัน (2512)
- ความรักเจ้าขา (2512)
- สวรรค์วันเพ็ญ (2512)
- รอยพราน (2512)
- คฤหาสน์รัก (2512)
- ผีเสื้อ (2512)
- หลั่งเลือดแดนสิงห์ (2512)
- เขี้ยวพยัคฆ์ (2512)
- ไทยน้อย (2512)
- เด็กวัด (2512)
- ลูกสาวพระอาทิตย์ (2512)
- หาดใหญ่ใจสู้ (2512)
- เพลงรักแม่น้ำแคว (2513)
- รักนิรันดร์ (2513)
- ไทยใหญ่ (2513)
- ขุนทาส (2513)
- หวานใจ (2513)
- ไอ้สู้ (2513)
- ท่าจีน (2513)
- เงินจางนางจร (2513)
- มนต์รักลูกทุ่ง (2513)
- เรือมนุษย์ (2513)
- ไอ้เบี้ยว (2513)
- สวรรค์เบี่ยง (2513)
- วิญญาณดอกประดู่ (2513)
- ลูกหนี้ทีเด็ด (2513)
- ม้ามืด (2513)
- จอมโจรมเหศวร (2513)
- เจ้าแม่สไบทอง (2513)
- กำแพงเงินตรา (2513)
- 7 สิงห์คืนถิ่น (2513)
- ชุมทางนักเลง (2513)
- ลำพู (2513)
- รักเธอเสมอ (2513)
- อัศวินดาบกายสิทธิ์ (2513)
- อินทรีทอง (2513)
- บ้านสาวโสด (2513)
- เสน่ห์ลูกทุ่ง (2513)
- ฝนเหนือ (2513)
- ฝนใต้ (2513)
- ไอ้หนุ่มบ้านนา (2514)
- นักบุญทรงกลด (2514)
- ดวงใจสวรรค์ (2514)
- ไอ้ทุย (2514)
- เสือขาว (2514)
- ดาบคู่สะท้านโลกันต์ (2514)
- อรุณรุ่งฟ้า (2514)
- ยั่วรัก (2514)
- เหนือพญายม (2514)
- เขยตีนโต (2514)
- คีรีบูน (2514)
- มนต์รักป่าซาง (2514)
- ทโมนไพร (2514)
- เจ้าจอม (2514)
- เจ้าสาวขี้คุก (2514)
- สื่อกามเทพ (2514)
- วิมานสีทอง (2514)
- ยมบาลเจ้าขา (2514)
- ลำดวน (2514)
- อีรวง (2514)
- พุดตาล (2514)
- ธารรักไทรโยค (2514)
- คนใจบอด (2514)
- ลานพัยพญ้า (2514)
- ไก่นา (2514)
- แม่ศรีไพร (2514)
- มนต์รักจากใจ (2514)
- แม่นม (2514)
- ยอดต่อยอด (2514)
- ทุ่งเศรษฐี (2514)
- รักร้อน (2514)
- ลูกยอด (2514)
- พิษผยอง (2514)
- รักจ๋ารัก (2514)
- เชิงชายชาญ (2514)
- มดตะนอย (2514)
- สุดที่รัก (2514)
- แก้วขนเหล็ก (2514)
- เลือดแม่ (2515)
- หัวใจปรารถนา (2515)
- เชียงตุง (2515)
- กว๊านพะเยา (2515)
- ระเริงชล (2515)
- มนต์กากี (2515)
- พ่อปลาไหล (2515)
- กลิ่นร่ำ (2515)
- น้ำผึ้งพระจันทร์ (2515)
- ลานสาวกอด (2515)
- วิวาห์ลูกทุ่ง (2515)
- จันทร์แรม (2515)
- มนต์รักดอกคำใต้ (2515)
- หัวใจป่า (2515)
- สุดสายป่าน (2515)
- แสนทนง (2515)
- รักคืนเรือน (2515)
- หาดทรายแก้ว (2515)
- กล้าสิบทิศ (2515)
- คุ้มนางฟ้า (2515)
- เจ้าสาวเรือพ่วง (2516)
- ไอ้แดง (2516)
- กุหลาบไฟ (2516)
- สายฝน (2516)
- ไม้ป่า (2516)
- พยัคฆ์พันลาย (2516)
- เตะฝุ่น (2516)
- ดอนโขมด (2516)
- เจ้าปลิวสิงห์สุพรรณ (2516)
- หัวใจหิน (2516)
- อีสาน (2517)
- แว่วเสียงลมรัก (2517)
- กังหันสวาท (2517)
- ดอกคูนเสียงแคน (2517)
- แผ่นดินแม่ (2518)
- ชะตาชีวิต (2519)
- ฉันไม่อยากเป็นคุณนาย (2519)
- ลูกเจ้าพระยา (2520)
- ไอ้ขุนทอง (2521)
- พ่อปลาไหล (2524)
รางวัล
[แก้]- รางวัลพระสุรัสวดี จากภาพยนตร์เรื่อง นกน้อย พ.ศ. 2507 ในฐานะนักแสดงนำฝ่ายหญิงยอดเยื่ยม รับพระราชทานจากพระหัตถ์ พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร เมื่อวันที่ 17 เมษายน พ.ศ. 2508 ณ หอประชุมใหญ่ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
- รางวัลคู่ขวัญดาราทอง จากภาพยนตร์เรื่อง เงิน เงิน เงิน พ.ศ. 2508 รับพระราชทานจากพระหัตถ์ พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร
- รางวัลสรรพศาตรศุภกิจ พ.ศ. 2544
- รางวัลกินรีทองคำบุคคลเกียรติยศ เทศกาลภาพยนตร์นานาชาติกรุงเทพ ครั้งที่ 7 30 กันยายน พ.ศ 2552 (ชรินทร์ นันทนาคร รับแทน)
- โล่เกียรติคุณบุคคลแบบอย่างที่ดีในความขยันหมั่นเพียร จากพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลี กรมหมื่นสุทธนารีนาถ (ชรินทร์ นันทนาคร รับแทน)
- รางวัลศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปะการแสดง (ภาพยนตร์) ประจำปี พ.ศ. 2561 จากคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ กระทรวงวัฒนธรรม
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
[แก้]- พ.ศ. 2563 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่สรรเสริญยิ่งดิเรกคุณาภรณ์ ชั้นที่ 4 จตุตถดิเรกคุณาภรณ์ (จ.ภ.)[26]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ วันเกิด เพชรา เชาวราษฎร์[ลิงก์เสีย]
- ↑ ธนกร วงษ์ปัญญา. "ประกาศยกย่อง 12 บุคคล เป็นศิลปินแห่งชาติปี 2561 เพชรา เชาวราษฎร์, ประภาส ชลศรานนท์, แดนอรัญ แสงทอง". เดอะสแตนดาร์ด.
- ↑ 3.0 3.1 "เสียงจากเพชรา เชาวราษฏร์ เพชรของภาพยนตร์ไทย". มูลนิธิหนังไทย. 9 กรกฎาคม 2547. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-09-27. สืบค้นเมื่อ 24 มกราคม 2559.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ 4.0 4.1 4.2 30ปีแห่งความหลัง"เพชรา เชาวราษฎร์" เก็บถาวร 2009-09-22 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน komchadluek.net
- ↑ 5.0 5.1 5.2 ""เพชรา" ในความทรงจำ (ตอนที่ 1)". ผู้จัดการ. 28 กันยายน 2552. สืบค้นเมื่อ 24 มกราคม 2559.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ 6.0 6.1 6.2 6.3 "เส้นทางรัก...เพชรามาถึงวันนี้ที่มีแต่ "ชรินทร์"". คมชัดลึก. 6 ตุลาคม 2552. สืบค้นเมื่อ 24 มกราคม 2559.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ 7.0 7.1 7.2 7.3 "'ถ้ามีเขาเราคงไม่อ้างว้างอย่างนี้...' เพชรา ถึง มิตร ชัยบัญชา พี่ชายที่แสนดี". ไทยรัฐออนไลน์. 2 มกราคม 2554. สืบค้นเมื่อ 24 มกราคม 2559.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ ย้อนฉากชีวิต 'เพชรา' 'เอก เชาวราษฎร์' dailynews.co.th
- ↑ พิสุทธินี, "ชรินทร์ นันทนาคร", นิตยสารลิปส์ ฉบับปักษ์หลังมกราคม 2553 หน้า 178-185
- ↑ 10.0 10.1 10.2 ภาวิณีย์ เจริญยิ่ง (7 มกราคม 2559). "สิ่งดี ๆ ในโลกมืด จากปาก "เพชรา เชาวราษฎร์"". มติชนออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 24 มกราคม 2559.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ ชีวิตในโลกมืด ของอดีตนางเอกนัยน์ตา หยาดน้ำผึ้งเพชรา เชาวราษฎร์ 14 พ.ค. 49 - 04:24 ไทยรัฐ
- ↑ "วู้ดดี้เกิดมาคุย". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-03-26. สืบค้นเมื่อ 2009-03-23.
- ↑ 30 ปีแห่งความหวังกับวันที่รอคอย[ลิงก์เสีย] dailynews.co.th
- ↑ ฮือฮา!! เพชรา เชาวราษฎร์ รับเป็นพรีเซ็นเตอร์เครื่องสำอางชื่อดัง
- ↑ อดีตดาราดัง เพชรา เชาวราษฎร์ รับพรีเซ็นเตอร์มิสทีน!!
- ↑ เพชรา เชาวราษฎร์ ปัจจุบัน เพชรา เชาวราษฎร์ ถ่ายโฆษณา
- ↑ หวานซึ้ง! ชรินทร์ ครวญเพลง"หยาดเพชร"ในวันเกิด เพชรา
- ↑ "ยลโฉม "เพชรา เชาวราษฎร์" ในวัย 72 ปี". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-01-22. สืบค้นเมื่อ 2016-01-22.
- ↑ เผยโฉมนางเอกตลอดกาล เพชรา เชาวราษฎร์ ปัจจุบันยังสวยเซี้ยะ!
- ↑ "เพชรา เชาวราษฎร์ กับ 30 ปี ที่แฟน ๆ คิดถึง". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-09-28. สืบค้นเมื่อ 2009-10-04.
- ↑ "เพชรา" ในความทรงจำ (ตอนที่ 1) เก็บถาวร 2017-07-03 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน ASTVผู้จัดการออนไลน์
- ↑ พิสุทธินี, "ชรินทร์ นันทนาคร", นิตยสารลิปส์ ฉบับปักษ์หลังมกราคม 2553 หน้า 178-185
- ↑ "ทายาท "เพชรา" มาแล้วจ้า ..."ตรี-นันทรัตน์ ชาวราษฎร์"". ผู้จัดการรายวัน. 16 เมษายน 2553. สืบค้นเมื่อ 22 มกราคม 2559.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help)[ลิงก์เสีย] - ↑ "ตรี ท้าพิสูจน์บัตรประชาชนแอบอ้างเป็นหลาน เพชรา". อาร์วายทีไนน์. 27 กรกฎาคม 2553. สืบค้นเมื่อ 24 มกราคม 2559.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help)[ลิงก์เสีย] - ↑ "'ตรี' สาวเซ็กซี่ไซส์มินิ คบแฟนแก่กว่า 1 รอบ พอใจอึ๋มเล็กพริกขี้หน". บ้านเมือง. 29 กันยายน 2556. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-06-01. สืบค้นเมื่อ 22 มกราคม 2559.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่สรรเสริญยิ่งดิเรกคุณาภรณ์ ประจำปี ๒๕๖๓ เก็บถาวร 2022-05-30 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๓๘ ตอนพิเศษ ๒ ข หน้า ๒๔๑, ๒๙ มกราคม ๒๕๖๔
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- ชีวประวัติย่อ เพชรา เชาวราษฎร์ เก็บถาวร 2020-11-23 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- ยลความงาม ‘นัยน์ตาหยาดน้ำผึ้ง’ อีกครั้งในกิจกรรมลานดารา เพชรา เชาวราษฎร์
- บทความที่มีลิงก์เสียตั้งแต่พฤศจิกายน 2024
- บุคคลที่เกิดในปี พ.ศ. 2486
- บุคคลที่ยังมีชีวิตอยู่
- คนตาบอด
- บุคคลจากอำเภอเมืองระยอง
- นักแสดงหญิงชาวไทย
- นักแสดงภาพยนตร์หญิงชาวไทย
- นักแสดงหญิงชาวไทยในศตวรรษที่ 20
- ชาวไทยเชื้อสายจีน
- บุคคลในยุครัชกาลที่ 9
- ผู้ชนะรางวัลนักแสดงนำหญิงยอดเยี่ยมพระสุรัสวดี
- ผู้ได้รับรางวัลสุพรรณหงส์เกียรติยศ