ขวัญจิต ศรีประจันต์
บทความนี้ไม่มีการอ้างอิงจากแหล่งที่มาใด |
ขวัญจิต ศรีประจันต์ | |
---|---|
สารนิเทศภูมิหลัง | |
ชื่อเกิด | เกลียว เสร็จกิจ |
เกิด | 3 สิงหาคม พ.ศ. 2490 จังหวัดสุพรรณบุรี ประเทศไทย |
คู่สมรส | จิ๋ว พิจิตร เสวี ธราพร |
อาชีพ | นักร้อง, นักแสดง |
ปีที่แสดง | พ.ศ. 2505 - ปัจจุบัน |
รางวัล | |
ศิลปินแห่งชาติ | พ.ศ. 2539 - สาขาศิลปะการแสดง (เพลงพื้นบ้าน-อีแซว) |
ขวัญจิต ศรีประจันต์ มีชื่อจริงว่า เกลียว เสร็จกิจ[1] (3 สิงหาคม พ.ศ. 2490 - ) เป็นศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปะการแสดง (เพลงพื้นบ้าน-อีแซว) ปี 2539 เป็นศิลปินแห่งชาติที่ได้รับตำแหน่งอายุน้อยที่สุดอันดับที่ 2 ขณะอายุ 49 ปี รองจากฉวีวรรณ ดำเนิน ศิลปินแห่งชาติประจำปี 2536[2] จากการเป็นแม่เพลงพื้นบ้านภาคกลางที่มีชื่อเสียง เต็มไปด้วยความสามารถในการเล่นเพลงแบบหาตัวจับได้ยาก และเมื่อหันเข้าสู่วงการเพลงลูกทุ่ง ก็ได้รับความนิยมอย่างสูง มีผลงานเพลงดังมากมาย ในจำนวนนั้นก็เป็นเพลงที่เกิดจากการแต่งของตัวเองด้วยหลายเพลง โดยในการนำเสนอเพลงลูกทุ่ง ขวัญจิต ศรีประจันต์ ก็ได้นำท่วงทำนองเพลงพื้นบ้านภาคกลางเข้ามาผสมผสานอย่างลงตัว
ขวัญจิต ศรีประจันต์ เป็นชื่อที่ใช้ในวงการเพลง โดยคำว่า "ขวัญจิต" หมายถึง ขวัญจิตขวัญใจของแฟนเพลง ส่วนคำว่า "ศรีประจันต์" มาจากอำเภอที่ ขวัญจิต เกิดคือ อำเภอศรีประจันต์ จังหวัดสุพรรณบุรี
ประวัติ
[แก้]ขวัญจิต ศรีประจันต์ มีชื่อจริงว่า เกลียว เสร็จกิจ เกิดเมื่อ 3 สิงหาคม 2490[2] ที่ ต.วังน้ำซับ อ.ศรีประจันต์ จ.สุพรรณบุรี เป็นธิดาของนายอัง และนางปลด เสร็จกิจ มีพี่น้อง 3 คน โดยขวัญจิต ศรีประจันต์เป็นลูกคนโต
เข้าสู่วงการ
[แก้]ขวัญจิต ศรีประจันต์ สนใจเพลงพื้นบ้านมาตั้งแต่อายุ 15 ปี[2] และแม้เชื้อสายทางพ่อจะมีญาติเป็นพ่อเพลงที่มีชื่อเสียงของสุพรรณบุรี แต่พ่อก็ไม่สนับสนุนให้เป็นแม่เพลงพื้นบ้านด้วยเกรงว่าความเป็นสาวรุ่นจะทำให้เกิดปัญหาเรื่องชู้สาวตามมา แต่กลับสนับสนุนลูกสาวอีกคนหนึ่งที่อายุยังน้อยให้ไปฝึกหัดเพลงพื้นบ้านกับพ่อเพลงไสว วงษ์งามแทน ความสนใจเพลงพื้นบ้าน ทำให้ขวัญจิตติดตามดูการร้องเพลงอีแซวของแม่เพลงบัวผัน จันทร์ศรี (ศิลปินแห่งชาติ พ.ศ. 2533) เป็นประจำและต่อมาได้มีโอกาสไปดูแลน้องสาวที่อยู่กับครูไสว จึงได้เรียนรู้การเล่นเพลงอีแซวแบบครูพักลักจำจนท่องเนื้อเพลงได้หลากหลายทั้งลีลาเพลงแนวผู้ชายของครูไสวและเพลงแนวผู้หญิงของครูบัวผัน
ขวัญจิต เป็นคนที่ชอบอ่านหนังสือ และวรรณคดีเก่าๆของไทยอ่านแล้วก็นำเนื้อหานั้นมาแต่งเป็นเพลงอีแซว ร้องเล่นจนเกิดความแตกฉานซึ่งต่อมาได้ขอครูไสว แสดงบ้าง แม้ในระยะแรกๆครูไสวจะยังไม่อนุญาต แต่ในเวลาต่อมาเมื่อได้เห็นความอดทน ความตั้งใจจริง จึงอนุญาตให้แสดงความสามารถ และด้วยพลังเสียงที่กังวานมีไหวพริบ ปฏิภาณ เฉลียวฉลาดในการว่าเพลง ทำให้เป็นที่ชื่นชอบของนักฟังเพลงอีแซวยิ่งนัก
ขวัญจิต ได้ตระเวนเล่นเพลงอีแซวอยู่กับวงพื้นบ้านอีกหลายวงเรียนรู้และเพิ่มพูนประสบการณ์จากพ่อเพลง แม่เพลงอีกหลายคนและเริ่มแสดงเพลงอีแซวในต่างจังหวัด และในกรุงเทพมหานคร ในงานสังคีตศาลา หรืองานสงกรานต์ที่ท้องสนามหลวงเป็นประจำ ทำให้มีความแตกฉานในเรื่องเพลงอีแซวมากยิ่งขึ้น สามารถเขียนเพลงเอง เพื่อใช้ในการแสดงและโต้ตอบเพลงสดๆ กับพ่อเพลงได้อย่างคมคายเป็นที่ชื่นชอบของผู้ชม หลังจากเล่นเพลงอีแซวจนมีชื่อเสียงแล้วขวัญจิต ได้สมัครเป็นนักร้องลูกทุ่งโดยเริ่มอยู่กับวงดนตรีลูกทุ่งคณจำรัศ สุวคนธ์(น้อย) และวงไวพจน์ เพชรสุพรรณ โดยได้บันทึกแผ่นเสียงเพลงแรกชื่อเพลง เบื่อสมบัติ งานเพลงของครู จิ๋ว พิจิตร เมื่อ ปี 2510 ทำให้เริ่มมีชื่อเสียงจากเพลงลูกทุ่งจากเพลง “เบื่อสมบัติ” , “ลาน้องไปเวียดนาม”, “ลาโคราช”, “ขวัญใจโชเฟอร์” , “เกลียดคนหน้าทน” , “ขวัญใจคนจน” “แม่ครัวตัวอย่าง “ และ “แหลมตะลุมพุก “
จากนั้นได้แต่งเพลงเองได้แก่ “น้ำตาดอกคำใต้” , “สาวสุพรรณ “ ซึ่งเป็นเพลงที่สร้างชื่อเสียงให้เป็นอย่างมาก ต่อมาจึงได้ตั้งวงดนตรีของตนเอง ชื่อวงขวัญจิต ศรีประจันต์ เป็นวงดนตรีที่นำระบบแสง สี เสียง ที่น่าตื่นตาตื่นใจมาใช้ประกอบการแสดงนำเพลงอีแซวมาผสมผสานกับการแสดงเผยแพร่สู่ผู้ฟังทั่วประเทศจนเป็นที่รู้จักกันอย่างเป็นอย่างดี
พ.ศ. 2516 ขวัญจิต ยุติวงดนตรีลูกทุ่งแล้วกลับไปฟื้นฟูเพลงอีแซวที่ จ.สุพรรณบุรี อุทิศชีวิตในการอนุรักษ์ฟื้นฟู เผยแพร่และถ่ายทอดเพลงอีแซวให้กับลูกศิษย์และผู้สนใจมาโดยตลอดจนถึงปัจจุบัน ได้ใช้ความรู้ความสามารถช่วยเหลือสถาบันการศึกษาและหน่วยงานราชการในการเป็นวิทยากรสาธิต[3] รับแขกบ้านแขกเมืองด้วยการแสดงพื้นบ้านติดต่อกันมาอย่างยาวนาน
ผลงานเพลงดัง
[แก้]- กับข้าวเพชฌฆาต
- แม่ครัวตัวอย่าง
- วุ้ยว้าย
- ก็นั่นนะซิ
- พ่อเพาเว่อร์
- เศรษฐีเมืองสุพรรณ
- คิดถึงคนอยากดัง
- ผัวบ้าๆ
- น้ำตาดอกคำใต้
- สาวสุพรรณ
- สุดแค้นแสนรัก
- อ้อมอกเจ้าพระยา
- แหลมตะลุมพุก
- ทำบุญวันเกิด
- ลาน้องไปเวียดนาม
- ลาโคราช
- ขวัญใจโชเฟอร์
- เกลียดคนหน้าทน
- ขวัญใจคนจน
- หม้ายขันหมาก (ต้นฉบับ)
- ผัวหาย
- ฯลฯ เป็นต้น
ผลงานภาพยนตร์ และ ละครโทรทัศน์
[แก้]- อยากดัง ปี (2513)
- ไทยใหญ่ ปี (2513)
- ลำพู ปี (2513)
- ลูกทุ่งเข้ากรุง ปี (2513)
- ไอ้ทุย ปี (2514)
- น้องนางบ้านนา ปี (2514)
- จำปาทอง ปี (2514)
- สุดที่รัก ปี (2514)
- กลัวเมีย ปี (2514)
- คนใจเพชร ปี (2514)
- บุหงาหน้าฝน ปี (2515)
- หาดทรายแก้ว ปี (2515)
- เพลงรักลูกทุ่ง ปี (2515)
- วิวาห์ลูกทุ่ง ปี (2515)
- ลูกทุ่งฮอลิเดย์ ปี (2529)
- มนต์เพลงลูกทุ่ง เอฟ.เอ็ม. ปี (2545)
- บ้านฉัน..ตลกไว้ก่อน (พ่อสอนไว้) ปี (2553)
- เหลือแหล่ ปี (2554)
- คืนวันเสาร์ถึงเช้าวันจันทร์ ปี (2555)
- ละคร ราชินีลูกทุ่ง (ละคร ช่อง 8) ปี (2555)
- รวมพลคนลูกทุ่งเงินล้าน ปี (2556)
- ตัวพ่อเรียกพ่อ ปี (2557)
ผลงานละครโทรทัศน์
[แก้]- ละคร แม่นากพระโขนง (ละครช่อง 3) (2543)
- ละคร เพลงรักเพลงลำ (ละครช่อง 7) (2558)
- ซีรีส์ 30 กำลังแจ๋ว The Series (ซีรีส์ช่องวัน) (2560)
ผลงานคอนเสิร์ต
[แก้]- คอนเสิร์ต ด้วยพลังและกำลังใจ เพื่อโลกใบเดียวกัน FESPIC Games Bangkok '99 (2542)
- คอนเสิร์ต มนต์เพลงคาราบาว ณ อิมแพ็ค อารีน่า เมืองทองธานี ในบทเพลง ยายสำอาง (2550)
- คอนเสิร์ต กึ่งศตวรรษเพลงลูกทุ่งไทย ครั้งที่ ๒ วันที่ 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2534
ผลงานรับเชิญ
[แก้]- บทเพลง Live And Learn - โชว์พิเศษร่วมกับ แตงโม วัลย์ลิกา , นัท กฤษดา , กิต กิตตินันท์ , สงกรานต์ รังสรรค์ ในรายการ The Voice Thailand Season 2 (2013)
- บทเพลง คนจนผู้ยิ่งใหญ่ ขับร้องร่วมกับ บี พีระพัฒน์ และศิลปินอิสระ จัดทำโดย จัง-หวะ-จะ-เดิน (2013)
เกียรติยศ
[แก้]- พ.ศ. 2532 ได้รับการประกาศเกียรติคุณให้เป็น ผู้มีผลงานดีเด่นทางด้านวัฒนธรรม สาขาศิลปะ (เพลงพื้นบ้าน) จากสำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ[2]
- พ.ศ. 2533 ได้รับคัดเลือกเป็นสื่อพื้นบ้านดีเด่นของศูนย์การศึกษานอกโรงเรียนภาคกลางและสำนักงานป้องกันและปราบปรามยาเสพย์ติด
- พ.ศ. 2534 ได้รับการประกาศเกียรติคุณเป็น นักร้องดีเด่นกึ่งศตวรรษเพลงลูกทุ่งไทย ครั้งที่ 2 จากเพลงกับข้าวเพชฌฆาต รับพระราชทานจาก สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ซึ่งจัดงานโดยสำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ
- พ.ศ. 2536 ได้รับโล่เกียรติคุณ ฐานะนักร้องลูกทุ่งดีเด่นของ จ.สุพรรณบุรี
- พ.ศ. 2539 ได้รับการประกาศเป็นศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปะการแสดง (เพลงพื้นบ้าน-อีแซว)[2]
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
[แก้]- พ.ศ. 2540 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่สรรเสริญยิ่งดิเรกคุณาภรณ์ ชั้นที่ 4 จตุตถดิเรกคุณาภรณ์ (จ.ภ.)
อ้างอิง
[แก้]- ↑ "'แม่ผ่องศรี' ชู 'ในหลวง' ต้นแบบสู้วิกฤติน้ำท่วม" (Press release). ไทยรัฐ. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-11-29. สืบค้นเมื่อ 7 พฤษภาคม พ.ศ. 2556.
{{cite press release}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ 2.0 2.1 2.2 2.3 2.4 แม่ขวัญจิต ศรีประจันต์ เก็บถาวร 2018-04-20 ที่ เวย์แบ็กแมชชีนจากเว็บไซต์หอสมุดแห่งชาติ จังหวัดสุพรรณบุรี เฉลิมพระเกียรติ สืบค้นเมื่อ 13 เมษายน 2561
- ↑ ขวัญจิต ศรีประจันต์ เพาะพันธุ์เพลงอีแซว
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- บุคคลที่เกิดในปี พ.ศ. 2490
- บุคคลที่ยังมีชีวิตอยู่
- บุคคลจากอำเภอศรีประจันต์
- นักร้องลูกทุ่งหญิงชาวไทย
- ศิลปินแห่งชาติ
- ศิลปินพื้นบ้าน
- นักแสดงหญิงชาวไทย
- นักร้องนักแต่งเพลงชาวไทย
- ผู้ได้รับปริญญากิตติมศักดิ์จากมหาวิทยาลัยรามคำแหง
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ จ.ภ.
- นักแต่งเพลงลูกทุ่ง
- ศิลปินแห่งชาติสาขาศิลปะการแสดง
- บทความเกี่ยวกับ ชีวประวัติ ที่ยังไม่สมบูรณ์