ข้ามไปเนื้อหา

มนต์รักลูกทุ่ง

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
มนต์รักลูกทุ่ง
กำกับรังสี ทัศนพยัคฆ์
เขียนบทมหศักดิ์ สารากร
บทภาพยนตร์มหศักดิ์ สารากร
อำนวยการสร้างรังสี ทัศนพยัคฆ์
นักแสดงนำ
กำกับภาพธีระ แอคะรัตน์
ตัดต่อพรรณรังษี
ดนตรีประกอบมหศักดิ์ สารากร
เพลงประกอบ
  • มนต์รักลูกทุ่ง
  • สิบหมื่น
  • แม่ร้อยใจ
  • รักร้าวหนาวลม
  • น้ำลงนกร้อง
  • รูปหล่อถมไป
  • นกร้องน้องช้ำ
  • น้อยใจรัก
  • สาวนาคอยคู่
  • หนุ่มพเนจร
  • ใจเจ้าชู้
  • อาลัย
  • น้ำตา น้ำตก
  • รักลาอย่าเศร้า
บริษัทผู้สร้าง
ผู้จัดจำหน่ายเสรีภาพยนตร์
วันฉาย15 พฤษภาคม พ.ศ. 2513
ความยาว146 นาที
ประเทศไทย
ภาษาไทย

มนต์รักลูกทุ่ง เป็นภาพยนตร์เพลง-คอมเมดี-โรแมนติก ปี 2513 กำกับโดยรังสี ทัศนพยัคฆ์ และนำแสดงโดยมิตร ชัยบัญชา และเพชรา เชาวราษฎร์ เข้าฉายวันที่ 15 พฤษภาคม พ.ศ. 2513 ภาพยนตร์ได้รับความนิยม เข้าฉายในโรงภาพยนตร์นานถึง 6 เดือน[1]

ประกอบด้วยเพลงลูกทุ่ง 14 เพลงที่ผสมผสานเข้ากับชีวิตชนบทในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย เรื่องราวความรักระหว่าง คล้าว หนุ่มชาวนา และ ทองกวาว หญิงสาวจากครอบครัวที่ร่ำรวย

ภาพยนตร์เรื่องนี้ได้รับการรีเมคโดยครูรังสีเมื่อปี 2525 แต่ไม่ประสบความสำเร็จ และในปี 2548 ก็ไม่ประสบความสำเร็จอีกเช่นเดียวกัน ถูกดัดแปลงเป็นละครยอดนิยมทางช่อง 7 ในปี 2538 นำแสดงโดยศรัณยู วงษ์กระจ่าง และณัฐริกา ธรรมปรีดานันท์[2]

เรื่องย่อ

[แก้]

คล้าว (มิตร ชัยบัญชา) หนุ่มชาวนาตกหลุมรัก ทองกวาว (เพชรา เชาวราษฎร์) ลูกสาวของทองก้อน (สมควร กระจ่างศาสตร์) และทับทิม (มนัส บุณยเกียรติ) เศรษฐีประจำหมู่บ้าน คล้าวบอกว่าถ้าเขาขายข้าวได้เขาจะขอทองกวาวแต่งงาน แต่ทองก้อนกับทับทิมไม่ชอบคล้าวเพราะว่าเขาจน

แต่ที่ดินของคล้าวถูกยึดเพราะเขาเป็นหนี้ จอม (สุวิน สว่างรัตน์) เศรษฐีอีกคนหนึ่งในหมู่บ้าน ขณะที่ทองกวาวถูกพ่อแม่ของเธอส่งไปอาศัยอยู่กับ ทองคำ (มาลี เวชประเสริฐ) ป้าของเธอที่กรุงเทพฯ พร้อมด้วยบุปผา (บุปผา สายชล) เพื่อนสนิทของเธอ

นักแสดงหลัก

[แก้]

การสร้างใหม่

[แก้]

ละครโทรทัศน์

[แก้]

มีการนำกลับมาทำใหม่ในลักษณะละครโทรทัศน์ ในปี พ.ศ. 2538 ทางสถานีโทรทัศน์สีกองทัพบกช่อง 7 โดย ดาราวิดีโอ ซึ่งมียอดผู้ชมมากมาย และเพลงประกอบละครก็ขายกันระเบิดเถิดเทิง ผู้ที่รับบท คล้าว กับ ทองกวาว คือ "ตั้ว" ศรัณยู วงษ์กระจ่าง กับ "น้ำผึ้ง" ณัฐริกา ธรรมปรีดานันท์ ซึ่งแจ้งเกิดได้อย่างสมใจ ส่วนแว่น กับ บุปผา คือ "เอ" อนันต์ บุนนาค กับ "ต้อม" รชนีกร พันธุ์มณี และได้เพิ่มตัวละครใหม่คือ เพชร

ต่อมาสถานีโทรทัศน์สีกองทัพบกช่อง 7 ได้นำกลับมาสร้างใหม่ เมื่อ พ.ศ. 2548 โดย ดาราวิดีโอ ผู้รับบท คล้าว กับ ทองกวาว คือ "ป๋อ" ณัฐวุฒิ สกิดใจ กับ "กบ" สุวนันท์ คงยิ่ง ส่วนแว่น กับ บุปผา รับบทโดย "อู" ภาณุ สุวรรณโณ กับ "ยุ้ย" จีรนันท์ มะโนแจ่ม

ใน พ.ศ. 2553-2554 ทางสถานีวิทยุโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 3 ได้มีการนำกลับมาสร้างใหม่อีกครั้ง โดยมี "ปอ" ทฤษฎี สหวงษ์ และ "จ๊ะ" จิตตาภา แจ่มปฐม รับบทคู่พระนาง คล้าว กับ ทองกวาว[3] ร่วมด้วย "กอล์ฟ" เบญจพล เชยอรุณ และ "ปุยฝ้าย" ณัฎฐพัชร์ วิภัทรเดชตระกูล ในบทแว่น กับ บุปผา

ในปี พ.ศ. 2567 ได้มีการนำนวนิยายสุดคลาสสิคเรื่องนี้มาปัดฝุ่นสร้างใหม่อีกครั้ง ออกอากาศทางช่อง 3 เอชดี โดยมี "มิว" ศุภศิษฏ์ จงชีวีวัฒน์ รับบท คล้าว และชาล็อต ออสติน รับบท ทองกวาว ร่วมด้วย "คิมม่อน" วโรดม เข็มมณฑา รับบท แว่น และ "เปา" กิ่งกาญจน์ ส่องสว่าง รับบท บุปผา[4]

ภาพยนตร์

[แก้]

รังสี ทัศนพยัคฆ์ ได้นำมนต์รักลูกทุ่งกลับมาสร้างใหม่ ออกฉายปี พ.ศ. 2525 สร้างโดย พูนทรัพย์โปรดักชั่น นำแสดงโดย ทูน หิรัญทรัพย์ และหทัยรัตน์ อมตวณิชย์[5] มีสายัณห์ จันทรวิบูลย์ เป็น ศรีไพร และ อำภา ภูษิต เป็น บุปผา ฉายครั้งแรกวันที่ 25 กันยายน 2525 ที่โรงภาพยนตร์โคลีเซียม-สเตลลา-ควีนส์-ออสการ์[6] แต่ก็ไม่ประสบความสำเร็จมากนัก

ต่อมาใน พ.ศ. 2548 ประสิทธิ์ วิจิตร์จินดา นำบทประพันธ์ มนต์รักลูกทุ่งมาสร้างเป็นภาพยนตร์อีกครั้ง [7] นำแสดงโดย นันทวัฒน์ อาศิรพจนกุล, ลักขณา วัธนวงส์ศิริ, ยิ่งยง ยอดบัวงาม, อาภาพร นครสวรรค์

ล่าสุดในปี พ.ศ. 2558 ปริภัณฑ์ วัชรานนท์ หรือ โต๊ะ พันธมิตร และสหมงคลฟิล์ม นำบทประพันธ์มนต์รักลูกทุ่งนำมาปัดฝุ่นสร้างเป็นภาพยนตร์ในชื่อ "มนต์เลิฟสิบหมื่น" ผู้ที่รับบท คล้าว กับ ทองกวาว คือ "นิว" ชัยพล จูเลี่ยน พูพาร์ต และ "แพรว" เฌอมาวีร์ สุวรรณภาณุโชค คู่พระนางจากมิวสิกวิดีโอเพลงภูมิแพ้กรุงเทพ และมีทีมนักพากย์พันธมิตร ร่วมแสดงด้วย เข้าฉายเมื่อ 23 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

อนึ่ง รังสี ทัศนพยัคฆ์ เคยสร้างมนต์รักลูกทุ่งเป็นภาคต่อมาแล้ว ในชื่อ "จะกู่รักกอดน้องให้ก้องโลก" โดยเป็นเรื่องราวที่เกิดขึ้นอีก 20 ปีให้หลัง โดยใช้เพลงลูกทุ่งยอดฮิตเป็นส่วนสร้างอารมณ์เหมือนในมนต์รักลูกทุ่ง[8] ออกฉายในปี พ.ศ. 2535 นำแสดงโดย สันติสุข พรหมศิริ, จินตหรา สุขพัฒน์[9]

ละครเวที

[แก้]

ในปี พ.ศ. 2566 มีการนำมนต์รักลูกทุ่งมาสร้างเป็นละครเวทีเป็นครั้งแรก ในชื่อ มนต์รักลูกทุ่งทองกวาว เดอะมิวสิคัล ผลิตโดย บริษัท เวิร์คพอยท์ เอ็นเทอร์เทนเมนท์ จำกัด (มหาชน) จัดแสดงที่ โรงละครเคแบงก์สยามพิฆเนศ ชั้น 7 ศูนย์การค้าสยามสแควร์วัน ถนนพระรามที่ 1 แขวงปทุมวัน เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร ในวันที่ 2, 3 และ 9 - 11 ธันวาคม นำแสดงโดย เปาวลี พรพิมล, กิตติธัช แก้วอุทัย และ โย่ง เชิญยิ้ม(ต่อตระกูล จันทิมา แสดงแทนโย่ง เชิญยิ้ม ในบท พ่อทองก้อน) เขียนบทละครเวทีโดย วิชญ์วิสิฐ หิรัญวงษ์กุล กำกับการแสดงโดย นัฐพงศ์ วงษ์กวีไพโรจน์[10]

นักแสดงในครั้งต่าง ๆ

[แก้]
ปี พ.ศ. 2513 พ.ศ. 2525 พ.ศ. 2538 พ.ศ. 2548 พ.ศ. 2553 พ.ศ. 2558 พ.ศ. 2566 พ.ศ. 2567
ชื่อ มนต์รักลูกทุ่ง มนต์เลิฟสิบหมื่น มนต์รักลูกทุ่งทองกวาว เดอะ มิวสิคัล มนต์รักลูกทุ่ง
การนำเสนอ ภาพยนตร์ ภาพยนตร์ ละครโทรทัศน์ ละครโทรทัศน์ ภาพยนตร์ ละครโทรทัศน์ ภาพยนตร์ ละครเวที ละครโทรทัศน์
ออกอากาศ
/จัดแสดง
โรงภาพยนตร์ โรงภาพยนตร์ ช่อง 7 ช่อง 7 โรงภาพยนตร์ ช่อง 3 โรงภาพยนตร์ เคแบงก์สยามพิฆเนศ ช่อง 3 เอชดี
ผู้สร้าง รังสี ทัศนพยัคฆ์ พูนทรัพย์โปรดักชั่น ดาราวิดีโอ ดาราวิดีโอ ประสิทธิ์ วิจิตรจินดา
พี.เค.โปรดักชั่น
กอบสุข จารุจินดา ปริภัณฑ์ วัชรานนท์
สหมงคลฟิล์ม อินเตอร์เนชั่นแนล
เวิร์คพอยท์ เอ็นเทอร์เทนเมนท์ วโรดม ศิริสุข
บทการแสดง มหศักดิ์ สารากร มหศักดิ์ สารากร ยรรยง ตีกั่ว รวงข้าวเริงร่า ธันทวัช ยิ่งยศ ปัญญา ปริภัณฑ์ วัชรานนท์ วิชญ์วิสิฐ หิรัญวงษ์กุล วรวรรณ ชัยสกุลสุรินทร์
ผู้กำกับ รังสี ทัศนพยัคฆ์ รังสี ทัศนพยัคฆ์ สยาม สังวริบุตร
สำรวย รักชาติ
สำรวย รักชาติ ชาคริต พานิชกุล ณรงค์ จารุจินดา ปริภัณฑ์ วัชรานนท์ นัฐพงศ์ วงษ์กวีไพโรจน์ สำรวย รักชาติ
ตัวละคร
ไอ้คล้าว/
น้องคล้าว
มิตร ชัยบัญชา ทูน หิรัญทรัพย์ ศรัณยู วงษ์กระจ่าง ณัฐวุฒิ สกิดใจ นันทวัฒน์ อาศิรพจนกุล ทฤษฎี สหวงษ์ ชัยพล จูเลียน พูพาร์ต กิตติธัช แก้วอุทัย ศุภศิษฏ์ จงชีวีวัฒน์
ทองกวาว
/กวาง
เพชรา เชาวราษฎร์ หทัยรัตน์ อมตวณิชย์ ณัฐริกา ธรรมปรีดานันท์ สุวนันท์ คงยิ่ง ลักขณา วัธนวงส์ศิริ จิตตาภา แจ่มปฐม เฌอมาวีร์ สุวรรณภาณุโชค เปาวลี พรพิมล ชาล็อต ออสติน
ไอ้แว่น ศรีไพร ใจพระ สายัณห์ จันทรวิบูลย์ อนันต์ บุนนาค ภาณุ สุวรรณโณ ยิ่งยง ยอดบัวงาม เบญจพล เชยอรุณ แจ๊ส ชวนชื่น วงศธร สมศรี วโรดม เข็มมณฑา
บุปผา บุปผา สายชล อำภา ภูษิต รชนีกร พันธุ์มณี จีรนันท์ มะโนแจ่ม อาภาพร นครสวรรค์ ณัฎฐพัชร์ วิภัทรเดชตระกูล ชญาภา พงศ์สุภาชาคริต เขมจิรา วงษ์ทอง กิ่งกาญจน์ ส่องสว่าง

อ้างอิง

[แก้]
  1. Cummings, Joe. "E-MAGAZINE: Thai Film at a Turning Point". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-07-11. สืบค้นเมื่อ 2007-08-09.
  2. "Bangkok's Independent Newspaper". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-09-29. สืบค้นเมื่อ 2023-10-15.
  3. ละครมนต์รักลูกทุ่ง, ละครช่อง 3
  4. มิว ศุภศิษฏ์-ชาล็อต ออสติน ฟิตติ้งละคร มนต์รักลูกทุ่ง2567
  5. "มนต์รักลูกทุ่ง". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-01-26. สืบค้นเมื่อ 2013-01-26.
  6. มนต์รักลูกทุ่ง (2525 ทูน-ฤทัยรัตน์) โดย มนัส กิ่งจันทร์
  7. มนต์รักลูกทุ่ง : Sound From The Field of Love
  8. "จะกู่รักกอดน้องให้ก้องโลก". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-03-10. สืบค้นเมื่อ 2013-03-10.
  9. จะกู่รัก..กอดน้องให้ก้องโลก (2535 สันติสุข-จินตหรา)
  10. "สกู๊ปพิเศษ : "สิบหมื่น" ขลัง! เพลงครองใจผู้สร้าง "มนต์รักลูกทุ่ง" ทุกเวอร์ชั่นต้องมี (มีคลิป)". ผู้จัดการออนไลน์. 7 ธันวาคม 2023. สืบค้นเมื่อ 26 ธันวาคม 2023.{{cite news}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]