สุคนธ์ พรพิรุณ
สุคนธ์ พรพิรุณ | |
---|---|
ชื่อเกิด | สุคนธ์ กุสุมภ์ |
เกิด | 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2478 |
เสียชีวิต | 23 กันยายน พ.ศ. 2563 (84 ปี) โรงพยาบาลพระนั่งเกล้า นนทบุรี |
บิดา | จรัส กุสุมภ์ |
คู่สมรส | ไพบูลย์ จุลการ |
บุตร | 1 คน |
อาชีพ | นักแต่งเพลง |
ปีที่แสดง | พ.ศ. 2503 – 2563 (60 ปี) |
ศิลปินแห่งชาติ | พ.ศ. 2561 – สาขาศิลปะการแสดง (ผู้ประพันธ์เพลงไทยสากล) |
สุคนธ์ พรพิรุณ (1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2478 – 23 กันยายน พ.ศ. 2563) นักแต่งเพลง ที่เป็นที่รู้จักในนาม พรพิรุณ มีผลงานประพันธ์คำร้องเพลงไทยสากลที่ได้รับความนิยมมากมาย และเป็นผู้ประพันธ์เพลงสำหรับโอกาสสำคัญ เช่น เพลง “เราจะครองแผ่นดินโดยธรรม” เนื่องในวันเฉลิมพระชนมพรรษาครบ 5 รอบ พ.ศ. 2529, เพลง "กาญจนาภิเษก" ในวาระครองราชย์ 50 ปี เมื่อ พ.ศ. 2538, เพลง "72 พรรษานวรัชจักรีมหาราชา" เนื่องในวันเฉลิมพระชนมพรรษาครบ 6 รอบ พ.ศ. 2541, เพลง “ด้วยหัวใจที่แข็งแกร่ง” เพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัยสึนามิ เมื่อ พ.ศ. 2547[1]
ประวัติ
[แก้]สุคนธ์ พรพิรุณ เกิดที่อำเภอบ้านโป่ง จังหวัดราชบุรี เดิมชื่อ สุคนธ์ กุสุมภ์ จบชั้นมัธยมศึกษาจากโรงเรียนเซนต์ฟรังซีสซาเวียร์คอนแวนต์ และจบวิชาพยาบาลผดุงครรภ์และอนามัย ชั้น 1 โรงเรียนพยาบาลผดุงครรภ์และอนามัย (ปัจจุบันคือ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี กรุงเทพ) เมื่อ พ.ศ. 2498[2] ต่อมาเข้าเป็นสมาชิกในวงสุนทราภรณ์ ทำหน้าที่ขับร้อง เริ่มแต่งเนื้อเพลงให้กับครูเอื้อ สุนทรสนาน ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2503 โดยใช้ชื่อ "พรพิรุณ" ซึ่งตั้งให้โดย สมาน กาญจนะผลิน ได้รับรางวัลแผ่นเสียงทองคำพระราชทานประเภทเรียบเรียงเสียงประสานจากเพลงขอปันรัก ซึ่งขับร้องโดยเสกสรรค์ กุสุมภ์ ผู้เป็นน้องชาย ในปี พ.ศ. 2508 ได้รับปริญญาครุศาสตรบัณฑิตกิตติมศักดิ์ จากมหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา เมื่อ พ.ศ. 2543[3]
ผลงานเพลง
[แก้]ตัวอย่างงานประพันธ์เพลงที่โดดเด่น[1]
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
[แก้]- พ.ศ. 2563 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่สรรเสริญยิ่งดิเรกคุณาภรณ์ ชั้นที่ 4 จตุตถดิเรกคุณาภรณ์ (จ.ภ.)[4]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ 1.0 1.1 "พรพิรุณ : "ดิฉันเกลียดความสุข" !". ผู้จัดการออนไลน์. 2 มิถุนายน 2021.
- ↑ บูรพา อารัมภีร, บ.ก. (ตุลาคม 2016). ""พรพิรุณ" ศิลปินแห่งชาติ เผยเหตุเป็นนักดนตรี-นักแต่งเพลง สู่การประพันธ์ผลงานระดับชาติ". silpa-mag.com. มติชน.
- ↑ "ครูพรพิรุณ เจ้าแม่เพลงสถาบัน". janicha.net. 4 กุมภาพันธ์ 2010. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 5 กุมภาพันธ์ 2013.
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่สรรเสริญยิ่งดิเรกคุณาภรณ์ ประจำปี ๒๕๖๓ เก็บถาวร 2022-05-30 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๓๘ ตอนพิเศษ ๒ ข หน้า ๒๔๑, ๒๙ มกราคม ๒๕๖๔
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- ถวัลย์ สุรภาพประดิษฐ์. "พร พิรุณ". "ครูเพลง" (ฉบับพิเศษ) – โดยทาง บ้านคนรักสุนทราภรณ์.