ข้ามไปเนื้อหา

นครินทร์ ชาทอง

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
นครินทร์ ชาทอง
เกิด15 กันยายน พ.ศ. 2488
เสียชีวิต28 ธันวาคม พ.ศ. 2563 (75 ปี)
รางวัล
ศิลปินแห่งชาติสาขาศิลปะการแสดง

นครินทร์ ชาทอง (15 กันยายน พ.ศ. 2488 – 28 ธันวาคม พ.ศ. 2563) เป็นครูหนังตะลุงที่มีชื่อเสียงของไทยในอดีต และเป็นศิลปินแห่งชาติ พ.ศ. 2550

ประวัติ

[แก้]

สำเร็จการศึกษา ครุศาสตรบัณฑิต จากวิทยาลัยครูสงขลา และ ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต จาก มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ สงขลา รับราชการเป็นครู

สนใจการแสดงหนังตะลุงมาตั้งแต่อายุ 8 ขวบ โดยการฝึกฝนจากคุณตา คือหนังวอน รัตนศรี ในขณะเรียนหนังสือ ก็ฝึกหนังตะลุงไปด้วย จนถึงปี พ.ศ. 2504 จึงตั้งเป็นคณะ หนังตะลุง ขึ้นเมื่ออายุ 16 ปี จนเป็นที่รู้จัดในนาม หนังนครินทร์ ชาทอง ขวัญใจนักเรียน ต่อมาได้ใช้สื่อพื้นบ้านหนังตะลุงประชาสัมพันธ์ รณรงค์ให้หน่วยงานภาครัฐในเรื่องต่าง ๆ เช่น ต่อต้านยาเสพติด การวางแผนครอบครัว เผยแพร่หนังตะลุงใน ประเทศฝรั่งเศส สหรัฐอเมริกา และประเทศมาเลเซีย เพื่อเผยแพร่วัฒนธรรมไทย สั่งสอนถ่ายทอดศิษย์ ทั้งในและนอกระบบการศึกษาไว้ 209 คน

นครินทร์ ชาทอง ถึงแก่กรรม เมื่อวันที่ 28 ธันวาคม พ.ศ. 2563 สิริอายุรวม 75 ปี มีพิธีพระราชทานเพลิงศพเมื่อวันที่ 5 มกราคม พ.ศ. 2564 ณ วัดประทุมธาราวาส อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา

ผลงานวรรณกรรมหนังตะลุง

[แก้]

การแสดงหนังตลุง รักษาธรรมเนียมการแสดงแบบโบราณ ทุกเรื่องที่ใช้การแสดงสอดใส่แง่คิดและคติสอนใจ สร้างความเข้าใจระหว่างทางราชการกับประชาชน รวมเรื่องที่ใช้การแสดงตั้งแต่เริ่มฝึกฝนถึงปัจจุบัน จำนวน 110 เรื่อง

ผลงานที่เป็นความคิดริเริ่ม

[แก้]
  • ฟื้นฟูการแสดงหนังตะลุงคน โดยนำเรื่องจากวรรณคดีมาแสดง
  • ฟื้นฟูหนังตะลุงรุ่นเก่าสร้างโอกาสให้แสดงในงานพิธีต่าง ๆ
  • เขียนบทหนังตะลุงสำหรัยเด็ก เพื่อนำสื่อหนังตะลุงเข้าสู่การเรียนการสอน โดยยึดผู้เรียนเป็นสำคัญ เช่นเรื่องพระมหาชนก
  • ออกแบบสร้างรูปหนังตะลุงสำหรับเด็กโดยเฉพาะ
  • สอนและฝึกให้นักเรียนอ่านทำนองเสนาะเป็นทำนองหนังตะลุง
  • จัดตั้งชมรมหนังตะลุงจังหวัดสงขลาและยกฐานะชมรมหนังตะลุงจังหวัดสงขลาเป็นสมาพันธ์หนังตะลุงจังหวัดสงขลา

ผลงานด้านการเขียน

[แก้]
  • เขียนปริญญานิพนธ์ เรื่องศิลปะการแสดงหนังตะลุงในจังหวัดสงขลา เขียนกลอนเฉิลมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี เนื่องในวโรกาสทรงเจริญพระชนมายุ 40พรรษา
  • แต่งกลอนพร้อมบันทึกเทปเพื่อให้ความรู้เรื่องโรคเอดส์ ตามนโยบายของสำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ ผ่านสภาวัฒธรรมจังหวัดสงขลา ณ สถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทยช่อง 11 จังหวัดสงขลา
  • เขียนบทกลอนและร่วมกำกับการแสดงละครสั้นในโครงการส่อพื้นบ้านเพื่อสังคมของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่ ในรายการทั่วแค้วนแดนใต้
  • ทำโครงการจัดทำหนังสือตำนานเมืองของอำเภอคลองหอยโข่ง ร่วมกับผู้ทรงคุณวุฒิในอำเภอคลองหอยโข่ง

ผลงานด้านอื่นๆ

[แก้]
  • ใช้สื่อพื้นบ้านหนังตะลุงเผยแพร่งานประชาสัมพันธ์ หน่วยงานของรัฐ
  • เป็นวิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิและผู้สาธิตการแสดงหนังตะลุงในหน่วยงานต่างๆ
  • เป็นวิทยากรโครงการสัมมนาพื้นบ้านเพื่อการพัฒนาประชาธิปไตย
  • เป็นวิทยากรในการประชุมสัมนาดนตรีหนังตะลุงจังหวัดสงขลา
  • เป็นวิทยากรให้ความรู้เรื่องศิลปะการแสดงหนังตะลุงและการแสดงพื้นบ้านภาคใต้แก่นักเรียนในสถาบันการศึกษาต่างๆในจังหวัดสงขลา
  • เป็นวิทยากร ณ ศูนย์การศึกษาภาคใต้ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์วิทยาเขตปัตตานี เรื่องทิศทางร้อยกรองไทย

เกียรติคุณที่ได้รับ

[แก้]
  • พ.ศ. 2527 ได้รับเกียรติบัตรจากสำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ ในฐานะบุคลากรเพื่ออนุรักษ์เผยแพร่ศิลปวัฒนธรรมไทยเมื่อ 11 สิงหาคม 2527
  • พ.ศ. 2532 ได้รับโล่เกียรติคุณจากผลงานการผลิตสื่อหนังตะลุงต่อต้านยาเสพติด เรื่อง วูบเดียวแห่งชีวิต จากคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ เมื่อ 25 พฤศจิกายน 2532
  • พ.ศ. 2540 รับพระราชทานเครื่องหมายเชิดชูเกียรติ ผู้มีผลงานดีเด่นทางด้านวัฒนธรรม จากคณะวัฒนธรรมแห่งชาติ เมื่อ 24 กุมภาพันธ์ 2540
  • พ.ศ. 2548 ได้รับการคัดเลือกให้เป็นครูภูมิปัญญาไทย รุ่นที่ 4 จากสำนักเลขาธิการ สภาการศึกษา เมื่อ 15 สิงหาคม 2548
  • พ.ศ. 2550 ได้รับการคัดเลือกเป็นศิลปินแห่งชาติ

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย, เล่ม ๑๑๙ ตอนที่ ๒ ข หน้า ๒๒๓, ๒๒ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๕
  2. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย, เล่ม ๑๑๕ ตอนที่ ๒ ข หน้า ๖๔๙, ๑๘ มกราคม ๒๕๔๑
  3. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่สรรเสริญยิ่งดิเรกคุณาภรณ์ เนื่องในโอกาสพระราชพิธีเฉลิมพระชนมพรรษา ประจำปี ๒๕๕๑, เล่ม ๑๒๖ ตอนที่ ๒ ข หน้า ๑๒๒, ๒๕ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๒
  4. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญจักรมาลาและเหรียญจักรพรรดิมาลา, เล่ม ๑๑๗ ตอนที่ ๔ ข หน้า ๑๓๔, ๒๒ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๓