เสรี หวังในธรรม
เสรี หวังในธรรม | |
---|---|
สารนิเทศภูมิหลัง | |
เกิด | 3 มกราคม พ.ศ. 2480 จังหวัดพระนคร ประเทศสยาม |
เสียชีวิต | 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2550 (70 ปี) กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย |
บิดา | ขุนสาธกธนสาร (เหลือ หวังในธรรม) |
มารดา | สง่า นานากุล |
รางวัล | |
ศิลปินแห่งชาติ | สาขาศิลปะการแสดง - ศิลปะการละคร พ.ศ. 2531 |
เสรี หวังในธรรม (3 มกราคม พ.ศ. 2480 – 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2550) ศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปะการแสดง (ศิลปะการละคร) ประจำปี พ.ศ. 2531 ผู้เชี่ยวชาญด้านการสังคีต กรมศิลปากร
ประวัติ
[แก้]นายเสรี เกิดเมื่อวันที่ 3 มกราคม พ.ศ. 2480 ณ ท่าพระจันทร์ พระนคร บิดาชื่อ นายเหลือ หวังในธรรม ผู้มีเชื้อสายจีนจากจังหวัดพระนครศรีอยุธยา บิดาของท่านรับราชการ เป็นเสมียนกรมบัญชีกลาง และได้รับพระราชทาน นามสกุลว่า หวังในธรรม รวมทั้งได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์ เป็นรองอามาตย์โท ขุนสาธกธนสาร มารดาของท่านชื่อ นางสง่า นานากุล โดยเข้ารับการศึกษาระดับอนุบาลที่โรงเรียนศรีจรุง แต่แล้วในปี พ.ศ. 2483 เกิดเหตุไฟไหม้บ้าน จึงจำเป็นต้องย้ายไปอยู่พรานนก ฝั่งธนบุรี และได้เข้าศึกษา โรงเรียนปิยะวิทยา และโรงเรียนชิโนรสวิทยาลัย และได้ศึกษาต่อที่วิทยาลัยนาฏศิลป์
ระหว่างศึกษาที่วิทยาลัยนาฏศิลป์ ได้ศึกษาศิลปะการแสดงแขนงต่าง ๆ ทั้งดุริยางค์ไทยและสากล คีตศิลป์ไทย การแสดงละคร และโขน จบการศึกษา เมื่อ พ.ศ. 2497 พร้อมกับเข้ารับราชการ ในแผนกดุริยางค์ไทย กองการสังคีต กรมศิลปากร และได้รับทุนไปศึกษาต่อที่ มหาวิทยาลัยอีสต์เวสต์เซ็นเตอร์ สหรัฐอเมริกา
นายเสรี เป็นผู้ที่มีบทบาทสำคัญในฐานะนักแสดง นักประพันธ์ นักดนตรี นักร้อง นักพูด ผู้อำนวยการสร้างภาพยนตร์ ผู้กำกับการแสดงภาพยนตร์ ได้ใช้ความรู้ความสามารถ สร้างความบันเทิง และเผยแพร่ศิลปวัฒนธรรมไทย ไปทั่วโลก ได้รับการยกย่องเชิดชูเกียรติ ให้เป็นศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปะการแสดง (ศิลปะการละคร) ประจำปี พ.ศ. 2531
นายเสรี เสียชีวิตด้วยโรคหัวใจล้มเหลว เมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2550 ขณะมีอายุ 70 ปี มีพิธีพระราชทานเพลิงศพเมื่อวันที่ 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2550 ณ วัดตรีทศเทพวรวิหาร
ผลงานละครโทรทัศน์
[แก้]- มหาเวสสันดรชาดก ช่อง 5 (2530)
- อตีตา ช่อง 7 (2544)
- ฟ้าใหม่ ช่อง 7 (2547)
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
[แก้]- พ.ศ. 2539 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)
- พ.ศ. 2536 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นที่ 1 ประถมาภรณ์ช้างเผือก (ป.ช.)
- พ.ศ. 2540 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่สรรเสริญยิ่งดิเรกคุณาภรณ์ ชั้นที่ 4 จตุตถดิเรกคุณาภรณ์ (จ.ภ.)
- พ.ศ. 2519 – เหรียญพิทักษ์เสรีชน ชั้นที่ 2 ประเภทที่ 2 (ส.ช.)
- พ.ศ. ไม่ปรากฏ – เหรียญดุษฎีมาลา เข็มศิลปวิทยา (ร.ด.ม.(ศ))
- พ.ศ. ไม่ปรากฏ – เหรียญจักรพรรดิมาลา (ร.จ.พ.)
- บุคคลที่เกิดในปี พ.ศ. 2480
- บุคคลที่เสียชีวิตในปี พ.ศ. 2550
- ศิลปินแห่งชาติ
- นักแสดงชาวไทย
- ผู้กำกับภาพยนตร์ชาวไทย
- เสียชีวิตจากภาวะหัวใจล้มเหลว
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ว.ม.
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ป.ช.
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ จ.ภ.
- ผู้ได้รับเหรียญ ร.ด.ม.(ศ)
- ผู้ได้รับเหรียญจักรพรรดิมาลา
- บุคคลจากโรงเรียนชิโนรสวิทยาลัย
- บุคคลจากสถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์
- ชาวไทยเชื้อสายมอญ
- บทความเกี่ยวกับ ชีวประวัติ ที่ยังไม่สมบูรณ์