อำเภอเมืองราชบุรี
อำเภอเมืองราชบุรี | |
---|---|
การถอดเสียงอักษรโรมัน | |
• อักษรโรมัน | Amphoe Mueang Ratchaburi |
คำขวัญ: เมืองเกษตรกรรม พิพิธภัณฑ์ล้ำค่า เขาแก่นจันทน์เด่นสง่า ตระการตาผ้าทอมือ เลื่องลือแหล่งอารยธรรม | |
แผนที่จังหวัดราชบุรี เน้นอำเภอเมืองราชบุรี | |
พิกัด: 13°31′42″N 99°48′42″E / 13.52833°N 99.81167°E | |
ประเทศ | ไทย |
จังหวัด | ราชบุรี |
พื้นที่ | |
• ทั้งหมด | 430.30 ตร.กม. (166.14 ตร.ไมล์) |
ประชากร (2564) | |
• ทั้งหมด | 201,262 คน |
• ความหนาแน่น | 467.73 คน/ตร.กม. (1,211.4 คน/ตร.ไมล์) |
รหัสไปรษณีย์ | 70000 |
รหัสภูมิศาสตร์ | 7001 |
ที่ตั้งที่ว่าการ | ที่ว่าการอำเภอเมืองราชบุรี ถนนหน้าอำเภอ ตำบลหน้าเมือง อำเภอเมืองราชบุรี จังหวัดราชบุรี 70000 |
ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย |
เมืองราชบุรี เป็นอำเภอศูนย์กลางการปกครอง เศรษฐกิจ และการคมนาคมของจังหวัดราชบุรี เดิมเป็นอำเภอที่มีพื้นที่มากที่สุดของจังหวัด มีพื้นที่ถึง 3,234.33 ตารางกิโลเมตร (ร้อยละ 62.24 ของพื้นที่จังหวัด) ปัจจุบันได้แบ่งแยกพื้นที่การปกครองออก โดยครอบคลุมท้องที่ทั้งหมดของอำเภอเมืองราชบุรี อำเภอจอมบึง[1] อำเภอสวนผึ้ง และอำเภอบ้านคา
ที่ตั้งและอาณาเขต
[แก้]อำเภอเมืองราชบุรีมีอาณาเขตติดต่อกับเขตการปกครองข้างเคียงดังต่อไปนี้
- ทิศเหนือ ติดต่อกับอำเภอโพธาราม
- ทิศตะวันออก ติดต่อกับอำเภอดำเนินสะดวก และอำเภอบางคนที (จังหวัดสมุทรสงคราม)
- ทิศใต้ ติดต่อกับอำเภอวัดเพลงและอำเภอปากท่อ
- ทิศตะวันตก ติดต่อกับอำเภอจอมบึง
ประวัติ
[แก้]ราชบุรีมีชื่ออันเป็นมงคลยิ่ง หมายถึง "เมืองพระราชา" “ราชบุรี”(บาลี,ราช + ปรุ หมายถึง เมืองแห่งพระราชา) ราชบุรีเป็นเมืองเก่าแก่เมืองหนึ่งของประเทศไทย จากการศึกษาและขุดค้นของนักประวัติศาสตร์ นักโบราณคดี พบว่าดินแดนแถบลุ่มแม่น้ำแม่กลองแห่งนี้ เป็นถิ่นฐานที่อยู่อาศัยของคนหลายยุคหลายสมัย และมีความรุ่งเรืองมาตั้งแต่อดีต จากหลักฐานทางโบราณสถานและโบราณวัตถุมาก ทำให้เชื่อได้ว่ามีผู้คนตั้งถิ่นฐานอยู่ในบริเวณนี้ตั้งแต่ยุคหินกลาง ตลอดจนได้ค้นพบเมืองโบราณสมัยทราวดีที่เมืองคูบัว
พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ปฐมกษัตริย์แห่งราชวงศ์จักรี ได้เคยดำรงตำแหน่งหลวงยกกระบัตรเมืองราชบุรีในสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลาย ซึ่งในช่วงปลายสมัยกรุงศรีอยุธยาและตอนต้นกรุงรัตนโกสินทร์ ปรากฎหลักฐานทางประวัติศาสตร์พบว่าเมืองราชบุรีเป็นเมืองหน้าด่านที่สำคัญ และเป็นสมรภูมิการรบหลายสมัย โดยเฉพาะในสมัยสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกได้ยกทัพมาตั้งรับศึกพม่าในเขตราชบุรีหลายครั้ง ครั้งสำคัญที่สุดคือสงครามเก้าทัพ ต่อมาใน พ.ศ. 2360 ในสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยได้โปรดเกล้าฯ ให้สร้างกำแพงเมืองใหม่ทางฝั่งซ้ายของแม่น้ำแม่กลองตลอดมาจนถึงปัจจุบัน ครั้นถึงสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวใน พ.ศ. 2437 ได้ทรงเปลี่ยนการปกครองส่วนภูมิภาคโดยรวมหัวเมืองต่างๆ ที่อยู่ชิดกัน ตั้งขึ้นเป็นมณฑล โดยรวมเมืองราชบุรี เมืองกาญจนบุรี เมืองสมุทรสงคราม เมืองเพชรบุรี เมืองปราณบุรี เมืองประจวบคีรีขันธ์ 6 เมือง ตั้งขึ้นเป็นมณฑลราชบุรี ตั้งที่บัญชาการมณฑล ณ เมืองราชบุรี ฝั่งขวาของแม่น้ำแม่กลอง (ปัจจุบันคือศาลากลางจังหวัดราชบุรีหลังเก่า) ต่อมาใน พ.ศ. 2440 ได้ย้ายที่บัญชาการเมืองราชบุรีจากฝั่งซ้าย กลับมาตั้งรวมอยู่แห่งเดียวกับศาลาว่าการมณฑลราชบุรีทางฝั่งขวาของแม่น้ำแม่กลอง จนถึง พ.ศ. 2476 เมื่อได้มีการยกเลิกการปกครองแบบมณฑลทั้งหมด มณฑลราชบุรีจึงถูกยกเลิกและคงฐานะเป็นจังหวัดราชุบรีจนถึงปัจจุบัน
- วันที่ - 2438 แยกพื้นที่ตำบลจอมบึง ตำบลปากช่อง[2] ตำบลด่านทับตะโก และตำบลสวนผึ้ง[3][4] ในมณฑลราชบุรี ตั้งขึ้นเป็น กิ่งอำเภอจอมบึง และกำหนดให้ขึ้นการปกครองกับเมืองราชบุรี
- วันที่ 16 มกราคม 2458 รวมท้องที่มณฑลนครไชยศรี และมณฑลราชบุรี เรียกว่า มณฑลภาคตะวันตก[5]
- วันที่ 12 กันยายน 2458 ประกาศใช้พระราชบัญญัติสุขาภิบาลเมืองราชบุรี มณฑลราชบุรี เฉพาะตำบลหน้าเมืองบางส่วน โดยมีอาณาเขตด้านเหนือจดแม่น้ำราชบุรีฝั่งขวา ด้านใต้วัดจากถนนทำนบยื่นออกไป 1 เส้น อ้อมเรือนจำไปจดถนนข้างวัดสัตตนารถ ด้านตะวันออกจดถนนข้างวัดสัตตนารถฝั่งตะวันตก และด้านตะวันตกจดคลองโรงช้างริมวัดช่องลม[6]
- วันที่ 5 ตุลาคม 2473 ขยายเขตสุขาภิบาลเมืองราชบุรี ตามความจำเป็นแห่งการบริหารงานของสุขาภิบาล[7]
- วันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2474 ยุบเลิกมณฑลนครไชยศรี และรวมเมืองนครไชยศรี เมืองสุพรรณบุรี และเมืองสมุทรสาคร รวมเข้ากับมณฑลราชบุรี[8]
- วันที่ 10 ธันวาคม 2478 จัดตั้งท้องถิ่นสุขาภิบาลเมืองราชบุรี ขึ้นเป็นเทศบาลเมืองราชบุรี[9]
- วันที่ 27 มีนาคม 2481 ยุบตำบลบางป่าใน และตำบลคลองแค รวมเข้ากับตำบลพงสวาย และเรียกชื่อตำบลว่า ตำบลพงสวาย ยุบตำบลท่าเรือ ตำบลคลองลาด และตำบลบางป่านอก จัดตั้งเป็นตำบลใหม่ และเรียกชื่อตำบลว่า ตำบลบางป่า ยุบตำบลบ้านซ่อง และตำบลท่าราบ รวมเข้ากับตำบลสามเรือน และเรียกชื่อตำบลว่า ตำบลสามเรือน ยุบตำบลคลองตาจ่า รวมเข้ากับตำบลคุ้งน้ำวน และเรียกชื่อตำบลว่า ตำบลคุ้งน้ำวน ยุบตำบลบางหวาย รวมเข้ากับตำบลคุ้งกระถิน และเรียกชื่อตำบลว่า ตำบลคุ้งกระถิน ยุบตำบลอู่เรือ รวมเข้ากับตำบลบ้านไร่ และเรียกชื่อตำบลว่า ตำบลบ้านไร่ ยุบตำบลคูบัวใต้ และตำบลคูบัวเหนือ จัดตั้งเป็นตำบลใหม่ และเรียกชื่อตำบลว่า ตำบลคูบัว ยุบตำบลดอนงิ้ว และตำบลดอนตะโก รวมเข้ากับตำบลอ่างทอง และเรียกชื่อตำบลว่า ตำบลอ่างทอง ยุบตำบลท่าเสา ตำบลหลุมดิน และตำบลหนองกลางนา รวมเข้ากับตำบลเกาะพลับพลา และเรียกชื่อตำบลว่า ตำบลเกาะพลับพลา[10]
- วันที่ 12 พฤศจิกายน 2483 ตั้งตำบลหลุมดิน แยกออกจากตำบลเกาะพลับพลา และตั้งตำบลท่าราบ แยกออกจากตำบลสามเรือน กับโอนพื้นที่หมู่ 4–6 (ในขณะนั้น) ของตำบลหินกอง ไปขึ้นกับตำบลเจดีย์หัก[11]
- วันที่ 10 มิถุนายน 2490 ตั้งตำบลบ้านไร่ แยกออกจากตำบลคุ้งกระถิน[12]
- วันที่ 21 มิถุนายน 2492 ตั้งตำบลดอนตะโก แยกออกจากตำบลอ่างทอง ตั้งตำบลหนองกลางนา แยกออกจากตำบลหลุมดิน[13]
- วันที่ 20 กันยายน 2499 จัดตั้งสุขาภิบาลจอมบึง ในท้องที่บ้านวังมะเดื่อ บ้านกลาง บ้านเกาะ และบ้านทำเนียบ ตำบลจอมบึง[14]
- วันที่ 1 มีนาคม 2501 จัดตั้งองค์การบริหารส่วนตำบลอ่างทอง ในท้องที่ตำบลอ่างทอง[15]
- วันที่ 22 กรกฎาคม 2501 ยกฐานะจากกิ่งอำเภอจอมบึง อำเภอเมืองราชบุรี เป็น อำเภอจอมบึง[1]
- วันที่ 29 ธันวาคม 2504 เปลี่ยนแปลงเขตเทศบาลเมืองราชบุรี[16] ตามความจำเป็นแห่งการบริหารงานของเทศบาล
- วันที่ 13 กันยายน 2509 จัดตั้งสุขาภิบาลเขางู ในท้องที่บ้านเขางู บ้านคลองละทุ่ง บ้านพระนอน ตำบลเกาะพลับพลา และบ้านรางไม้แดง ตำบลเจดีย์หัก[17]
- วันที่ 26 สิงหาคม 2512 ยุบองค์การบริหารส่วนตำบลอ่างทอง จังหวัดราชบุรี และจัดตั้งสุขาภิบาลห้วยชินสีห์ ในท้องที่บ้านห้วยชินสีห์ บ้านฉางข้าว บ้านหนองเรือ บ้านศาลเจ้า บ้านโพธิ์ดก บ้านสี่แยก บ้านนาฆ้อง บ้านอุโมงค์ บ้านท่ามะเฟือง บ้านชายทุ่ง บ้านใหญ่ บ้านดอนงิ้ว และบ้านอ่างทอง ตำบลอ่างทอง[18]
- วันที่ 14 ตุลาคม 2512 จัดตั้งสุขาภิบาลหลักเมือง ในท้องที่หมู่ 1–3 ตำบลโคกหม้อ (ยกเว้นพื้นที่มณฑลทหารบกที่ 16 และกรมการทหารช่าง) และหมู่ 1–3 ตำบลพงสวาย[19]
- วันที่ 9 เมษายน 2517 ตั้งตำบลพิกุลทอง แยกออกจากตำบลสามเรือน[20]
- วันที่ 5 กรกฎาคม 2520 ตั้งตำบลน้ำพุ แยกออกจากตำบลห้วยไผ่ และตำบลหินกอง[21]
- วันที่ 25 พฤษภาคม 2525 เปลี่ยนแปลงเขตสุขาภิบาลหลักเมือง เพื่อความเหมาะสมในการบริหารกิจการและการทะนุบำรุงท้องถิ่น[22] โดยขยายให้ครอบคลุมพื้นที่หมู่ 1–5 ตำบลโคกหม้อ (ยกเว้นพื้นที่มณฑลทหารบกที่ 16 และกรมการทหารช่าง) และหมู่ 1–9 ตำบลพงสวายทั้งหมด
- วันที่ 11 มีนาคม 2530 เปลี่ยนแปลงเขตเทศบาลเมืองราชบุรี[23] ตามความจำเป็นแห่งการบริหารงานของเทศบาล ครอบคลุมพื้นที่ตำบลหน้าเมืองทั้งหมด
- วันที่ 25 พฤษภาคม 2542 ยกฐานะจากสุขาภิบาลเขางู สุขาภิบาลห้วยชินสีห์ และสุขาภิบาลหลักเมือง เป็นเทศบาลตำบลเขางู เทศบาลตำบลห้วยชินสีห์ และเทศบาลตำบลหลักเมือง ตามลำดับ[24] ด้วยผลของกฎหมาย
- วันที่ 17 ธันวาคม 2553 รับพื้นที่ทางทหารของมณฑลทหารบกที่ 16 และกรมการทหารช่าง มารวมกับท้องที่เทศบาลตำบลหลักเมือง[25] และเปลี่ยนแปลงเขตเทศบาลตำบลหลักเมือง ครอบคลุมพื้นที่หมู่ 1–5 ตำบลโคกหม้อทั้งหมด และหมู่ 1–9 ตำบลพงสวายทั้งหมด
เหตุการณ์สำคัญ
[แก้]25 มกราคม พ.ศ. 2543 กองกำลังผสม หน่วยนเรศวร 261 และหน่วย อรินทราช 26 จำนวน 50 นายได้บุกเข้าไปช่วยเหลือตัวประกัน ควบคู่ไปกับการจัดการขั้นเด็ดขาด โดยใช้เวลาเพียงไม่ถึง 20 นาที สามารถช่วยเหลือตัวประกันที่โรงพยายบาลราชบุรีไว้ได้ทั้งหมดอย่างปลอดภัย และกลุ่มก๊อด'ส อาร์มี่ เสียชีวิต 10 คน
การแบ่งเขตการปกครอง
[แก้]การปกครองส่วนภูมิภาค
[แก้]อำเภอเมืองราชบุรีแบ่งพื้นที่การปกครองออกเป็น 22 ตำบล 187 หมู่บ้าน
|
|
การปกครองส่วนท้องถิ่น
[แก้]ท้องที่อำเภอเมืองราชบุรีประกอบด้วยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 22 แห่ง ได้แก่
- เทศบาลเมืองราชบุรี ครอบคลุมพื้นที่ตำบลหน้าเมืองทั้งตำบล
- เทศบาลตำบลเขางู ครอบคลุมพื้นที่บางส่วนของตำบลเจดีย์หักและตำบลเกาะพลับพลา
- เทศบาลตำบลหลักเมือง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลโคกหม้อและตำบลพงสวายทั้งตำบล
- เทศบาลตำบลห้วยชินสีห์ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลอ่างทองทั้งตำบล
- เทศบาลตำบลหลุมดิน ครอบคลุมพื้นที่ตำบลหลุมดินทั้งตำบล
- เทศบาลตำบลหินกอง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลหินกองทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลเจดีย์หัก ครอบคลุมพื้นที่ตำบลเจดีย์หัก (นอกเขตเทศบาลตำบลเขางู)
- องค์การบริหารส่วนตำบลดอนตะโก ครอบคลุมพื้นที่ตำบลดอนตะโกทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลหนองกลางนา ครอบคลุมพื้นที่ตำบลหนองกลางนาทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลห้วยไผ่ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลห้วยไผ่ทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลคุ้งน้ำวน ครอบคลุมพื้นที่ตำบลคุ้งน้ำวนทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลคุ้งกระถิน ครอบคลุมพื้นที่ตำบลคุ้งกระถินทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลสามเรือน ครอบคลุมพื้นที่ตำบลสามเรือนทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลพิกุลทอง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลพิกุลทองทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลน้ำพุ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลน้ำพุทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลดอนแร่ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลดอนแร่ทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลเขาแร้ง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลเขาแร้งทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลเกาะพลับพลา ครอบคลุมพื้นที่ตำบลเกาะพลับพลา (นอกเขตเทศบาลตำบลเขางู)
- องค์การบริหารส่วนตำบลบางป่า ครอบคลุมพื้นที่ตำบลบางป่าทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลคูบัว ครอบคลุมพื้นที่ตำบลคูบัวทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลท่าราบ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลท่าราบทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านไร่ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลบ้านไร่ทั้งตำบล
สถานที่สำคัญ
[แก้]- พระบรมราชาอนุสาวรีย์พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก
- วัดพระศรีรัตนมหาธาตุวรวิหาร
- เขาวัง
- ศาลเจ้าพ่อหลักเมือง
- พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ราชบุรี
- เขาแก่นจันทน์
- หลวงพ่อแก่นจันทน์ ณ วัดช่องลม
- เขาน้อย
- วัดหนองหอย
- เขาหลวง
- เมืองโบราณที่บ้านคูบัว
- วัดอรัญญิกาวาส
- เจดีย์หักเจติยาราม
- เขาชะงุ้ม
- เขางู (ถ้ำจาม, ถ้ำฤๅษี)
อ้างอิง
[แก้]- ↑ 1.0 1.1 "พระราชกฤษฎีกาจัดตั้งอำเภอกระสัง อำเภอกระนวน อำเภอบางกอกใหญ่ อำเภอขุนหาร อำเภอพนา อำเภอปากช่อง อำเภอวังเหนือ อำเภอวังชิ้น อำเภอแม่ทา อำเภอหนองหมู อำเภอสระแก้ว อำเภออมก๋อย อำเภอบางซ้าย อำเภอทับสะแก อำเภอบุณฑริก อำเภอลานสะกา อำเภอจอมบึง อำเภอท่ายาง อำเภอสามเงา อำเภอฟากท่า อำเภอบ้านเขว้า อำเภอชานุมาน อำเภอแม่พริก อำเภอท่าสองยาง อำเภอสะเมิง อำเภอหนองแขม และอำเภอพระแสง พ.ศ. ๒๕๐๑" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 75 (55 ง): 321–327. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2012-04-06. สืบค้นเมื่อ 2019-09-19. วันที่ 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2501
- ↑ "ประกาศกระทรวงธรรมการ เรื่อง การใช้พระราชบัญญัติประถมศึกษา พ.ศ. ๒๔๖๔ เพิ่มเติมในท้องที่มณฑลราชบุรี" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 46 (0 ก): 282–283. วันที่ 29 ธันวาคม พ.ศ. 2472
- ↑ "พระราชกฤษฎีกากำหนดป่ายาง ในท้องที่ตำบลด่านทับตะโก กิ่งอำเภอจอมบึง อำเภอเมืองราชบุรี จังหวัดราชบุรี ให้เป็นป่าคุ้มครอง พุทธศักราช ๒๔๘๙" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 63 (38 ก): (ฉบับพิเศษ) 16-18. วันที่ 8 มิถุนายน พ.ศ. 2489
- ↑ "ประกาศกรมราชโลหกิจและภูมิวิทยา เรื่องขอใบแทนประทานบัตรหมายจเลขที่ ๒๗๔/๔๖/๓๙๘๒ เหมืองแร่ดีบุกตำบลสวนผึ้งกิ่งอำเภอจอมบิง จังหวัดราชบุรี" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 46 (0 ง): 4283–4284. วันที่ 2 มีนาคม พ.ศ. 2472
- ↑ "ประกาศ ตั้งมณฑลภาคตะวันตก" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 32 (0 ก): 417. วันที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2458
- ↑ "พระบรมราชโองการ ประกาศ ใช้พระราชบัญญัติสุขาภิบาลเมืองราชบุรี" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 32 (0 ก): 196–198. วันที่ 12 กันยายน พ.ศ. 2458
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ขยายเขตสุขาภิบาลเมืองราชบุรี" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 47 (0 ก): 222–224. วันที่ 5 ตุลาคม พ.ศ. 2473
- ↑ "พระบรมราชโองการ ประกาศ ยุบรวมท้องที่บางมณฑลและบางจังหวัด" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 48 (0 ก): 576–578. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2008-04-09. สืบค้นเมื่อ 2022-09-29. วันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2474
- ↑ "พระราชกฤษฎีกาจัดตั้งเทศบาลเมืองราชบุรี จังหวัดราชบุรี พุทธศักราช ๒๔๗๘" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 52 (0 ก): 1722–1726. วันที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2478
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง เปลี่ยนแปลงเขตตำบลในจังหวัดราชบุรี" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 55 (0 ง): 4308–4312. วันที่ 27 มีนาคม พ.ศ. 2481
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง เปลี่ยนแปลงเขตตำบลในจังหวัดราชบุรี" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 57 (0 ง): 2770–2772. วันที่ 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2483
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งตำบลในจังหวัดต่าง ๆ" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 64 (26 ง): 1114–1433. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2011-11-09. สืบค้นเมื่อ 2019-09-19. วันที่ 10 มิถุนายน พ.ศ. 2490
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งตำบลและเปลี่ยนแปลงเขตตำบลในท้องที่อำเภอต่าง ๆ จังหวัดราชบุรี" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 66 (33 ง): 2697–2700. วันที่ 21 มิถุนายน พ.ศ. 2492
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง จัดตั้งสุขาภิบาลจอมบึง กิ่งอำเภอจอมบึง อำเภอเมืองราชบุรี จังหวัดราชบุรี" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 73 (75 ง): (ฉบับพิเศษ) 63-64. วันที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2499
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การจัดตั้งองค์การบริหารส่วนตำบล" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 75 (18 ง): (ฉบับพิเศษ) 2-6. วันที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2501
- ↑ "พระราชกฤษฎีกาเปลี่ยนแปลงเขตเทศบาลเมืองราชบุรี จังหวัดราชบุรี พ.ศ. ๒๕๐๔" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 78 (112 ง): (ฉบับพิเศษ) 16-19. วันที่ 29 ธันวาคม พ.ศ. 2504
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง จัดตั้งสุขาภิบาลเขางู อำเภอเมืองราชบุรี จังหวัดราชบุรี" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 83 (78 ง): 2870–2872. วันที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2509
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ยุบองค์การบริหารส่วนตำบลอ่างทอง อำเภอเมืองราชบุรี จังหวัดราชบุรี และจัดตั้งสุขาภิบาลห้วยชินสีห์ อำเภอเมืองราชบุรี จังหวัดราชบุรี" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 86 (76 ง): 2564–2566. วันที่ 26 สิงหาคม พ.ศ. 2512
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง จัดตั้งสุขาภิบาลหลักเมือง อำเภอเมืองราชบุรี จังหวัดราชบุรี" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 86 (89 ง): 3052–3053. วันที่ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2512
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและเปลี่ยนแปลงเขตตำบลในท้องที่อำเภอเมืองราชบุรี จังหวัดราชบุรี" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 91 (61 ง): 838–840. วันที่ 9 เมษายน พ.ศ. 2517
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและเปลี่ยนแปลงเขตตำบลในท้องที่อำเภอเมืองราชบุรี และอำเภอจอมบึง จังหวัดราชบุรี" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 94 (60 ง): 2713–2717. วันที่ 5 กรกฎาคม พ.ศ. 2520
- ↑ [1]ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง เปลี่ยนแปลงเขตสุขาภิบาลหลักเมือง อำเภอเมืองราชบุรี จังหวัดราชบุรี
- ↑ "พระราชกฤษฎีกาเปลี่ยนแปลงเขตเทศบาลเมืองราชบุรี จังหวัดราชบุรี (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๓๐" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 104 (44 ก): (ฉบับพิเศษ) 7-11. วันที่ 11 มีนาคม พ.ศ. 2530
- ↑ "พระราชบัญญัติเปลี่ยนแปลงฐานะของสุขาภิบาลเป็นเทศบาล พ.ศ. ๒๕๔๒" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 116 (9 ก): 1–4. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2008-04-09. สืบค้นเมื่อ 2022-09-30 – โดยทาง ให้บรรดาสุขาภิบาลตามกฎหมายว่าด้วยสุขาภิบาลที่มีอยู่ในวันที่พระราชบัญญัตินี้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา มีฐานะเป็นเทศบาลตำบลตามกฎหมายว่าด้วยเทศบาลในพระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ. วันที่ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2542
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง เปลี่ยนแปลงเขตเทศบาลตำบลหลักเมือง อำเภอเมืองราชบุรี จังหวัดราชบุรี" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 127 (ตอนพิเศษ 145 ง): 51. วันที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2553