สโมสรฟุตบอลเพื่อนตำรวจ
ชื่อเต็ม | สโมสรฟุตบอลเพื่อนตำรวจ | ||
---|---|---|---|
ฉายา | สุภาพบุรุษโล่เงิน, ทีมตราโล่ | ||
ก่อตั้ง | 2458 (ในชื่อ สโมสรตำรวจภูธร) | ||
ยุบ | 2560 | ||
สนาม | สนามกีฬาบุณยะจินดา กรุงเทพมหานคร, ประเทศไทย | ||
ความจุ | 3,550 | ||
| อันดับ 1 (ชนะเลิศการแข่งขัน ไทยลีกดิวิชัน 1 แต่ไม่ได้เลื่อนชั้น) | ||
|
สโมสรฟุตบอลเพื่อนตำรวจ เป็นสโมสรฟุตบอลในประเทศไทย โดยเป็นตัวแทนสโมสรกีฬาของ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ก่อตั้งในปี 2458 โดยส่งทีมเข้าสร่วมแข่งขัน ฟุตบอลถ้วยทองของหลวง ในปี 2458[1] ก่อนที่จะเปลี่ยนชื่อสโมสรเป็นสโมสรตำรวจ เมื่อปี 2459 หลังจากสถาปนา กรมตำรวจ ขึ้น และได้บริหารทีมจนถึงปี 2552 จึงได้ปรับปรุงเป็นสโมสรอาชีพในชื่อของ สโมสรฟุตบอลเพื่อนตำรวจ จนถึงปี 2558
ประวัติสโมสร
[แก้]ก่อนฟุตบอลอาชีพ
[แก้]สโมสรฟุตบอลเพื่อนตำรวจ ก่อตั้งขึ้นในปี 2458 โดย พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าคำรบ อธิบดีกรมตำรวจภูธร (ในขณะนั้น) ในชื่อของ สโมสรตำรวจภูธร[1] ลงทำการแข่งขัน ฟุตบอลถ้วยทองของหลวง ในปีเดียวกัน โดยในปีถัดมา (ปี 2459) หลังจากที่มีการรวมของ กรมตำรวจภูธร และ กรมตำรวจนครบาล สถาปนาเป็น กรมตำรวจขึ้น สโมสรก็ได้เปลี่ยนชื่อเป็น สโมสรตำรวจ และได้ลงทำการแข่งขัน ใน ฟุตบอลถ้วยน้อย ในปีเดียวกัน และสามารถเข้าถึงรอบรองชนะเลิศได้ ก่อนที่ในปี 2496 และชนะเลิศการแข่งขันถ้วยนี้ และชนะเลิศสองสมัยซ้อน ในปีถัดมา (ปี 2497)
ในช่วงทศวรรษที่ 2500 สโมสรก็ประสบความสำเร็จคือการชนะเลิศการแข่งขัน ฟุตบอลชิงถ้วยพระราชทานประเภท ก. ซึ่งเป็นฟุตบอลถ้วยสูงสุดในระดับสโมสรเป็นสมัยแรก เมื่อปี 2508 และในปี 2511 สโมสรก็ชนะเลิศถ้วยพระราชทาน ก. อีกครั้ง โดยจากผลงานความสำเร็จนี้เอง จึงทำให้นักฟุตบอลของสโมสรอย่าง เกรียงศักดิ์ วิมลเศรษฐ์ และ ณรงค์ สังขสุวรรณ์ ถูกเรียกติด ทีมชาติไทย ในชุดที่เข้าร่วมแข่งขันฟุตบอลใน กีฬาโอลิมปิกฤดูร้อนครั้งที่ 19 อีกด้วย[1] โดยมีผู้มีบทบาทกับสโมสรในช่วงเวลานั้นคือ คือ พลตำรวจตรี ศิริ สุขานุศาสน์ ในช่วงต้นทศวรรษที่ 2500 ก่อนที่ในปี 2506 หม่อมราชวงศ์เจตจันทร์ ประวิตร ได้เข้ามาเป็นผู้จัดการทีม ซึ่งได้มีการก่อตั้งทีมเยาวชน ในนาม ทีมฟุตบอลราชประชานุเคราะห์ดับเพลิง[2] (จนถึงปี 2511 ซึ่งในเวลาต่อมาก็คือ สโมสรราชประชา ในปัจจุบัน)
จากนั้นสโมสร ก็สามารถชนะเลิศการแข่งขันฟุตบอลถ้วยพระราชทานประเภท ข. ได้อีกครั้ง ในปี 2524 (ชนะเลิศร่วมกับ สโมสรการท่าเรือแห่งประเทศไทย) และ ปี 2531
ฟุตบอลอาชีพ
[แก้]สโมสรเป็นหนึ่งใน 18 สโมสรที่เข้าร่วมการแข่งขัน ไทยลีกครั้งที่ 1 ฤดูกาล 2539/2540 โดยมี ขจร ปุณณะเวส เป็นผู้ทำประตูสูงสุดของสโมสรในฤดูกาลนั้นด้วยจำนวน 10 ประตู และจบอันดับที่ 10 ในตาราง
ในปี 2552 โดยที่ สมาพันธ์ฟุตบอลเอเชีย ได้ออกระเบียบให้สโมสรฟุตบอลในเอเชีย ต้องจดทะเบียนเป็นนิติบุคคล เพื่อบริหารงาน สโมสรฟุตบอลตำรวจ เลยมีการเปลี่ยนแปลงการบริหารจากที่ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ มาเป็นนิติบุคคล ในชื่อ บริษัท สโมสรฟุตบอลโล่ห์เงิน จำกัด (มหาชน) และเปลี่ยนชื่อสโมสรจาก สโมสรฟุตบอลตำรวจ มาเป็น สโมสรฟุตบอลเพื่อนตำรวจ โดยในปีนั้น สโมสรทำผลงานได้ดีโดยสามารถชนะเลิศการแข่งขัน ดิวิชั่น 1 ฤดูกาล 2552 และได้รับการสนับสนุนจาก ปูนซีเมนต์นครหลวง ในฐานะสปอนเซอร์หลักของสโมสรในปี 2553 และได้ทำการเปลี่ยนชื่อเป็น สโมสรฟุตบอลอินทรีเพื่อนตำรวจ และได้มีการจดทะเบียนเป็นบริษัทมหาชน เพื่อให้เกิดการบริหารงานอย่างมีมาตรฐาน และได้ให้ความสำคัญกับฟุตบอลเยาวชน ดดยมีการเป็นพันธมิตรร่วมกับทางโรงเรียน และสโมสรในระดับ ลีกภูมิภาค
ต่อมาในปี 2557 ได้มีกลับมาใช้ชื่อเป็น สโมสรฟุตบอลเพื่อนตำรวจ อีกครั้งด้วยเหตุผลทางธุรกิจ พร้อม ๆ กับกลุ่มผู้บริหารใหม่ที่นำโดย สัมฤทธิ์ บัณฑิตกฤษดา และได้ปรับเปลี่ยนตราสัญลักษณ์สโมสรเพื่อให้ทันสมัยยิ่งขึ้น แต่ผลงานในฤดูกาลนั้นกลับต้องตกชั้น ด้วยที่จบอันดับที่ 16 (ไทยลีก ฤดูกาล 2557 กำหนดให้ตกชั้น 5 ทีม คืออันดับที่ 16 ถึง อันดับที่ 18)
ในฤดูกาลต่อมา (ดิวิชั่น 1 ฤดูกาล 2558) สโมสรทำผลงานได้ดีมาก คือสามารถจบฤดูกาลด้วยตำแหน่งชนะเลิศการแข่งขัน และนักฟุตบอลของสโมสรในเวลานั้น อย่าง ธนา ชะนะบุตร และ ปกเกล้า อนันต์ ก็ถูกเรียกติดทีมชาติไทย และเป็นผู้เล่นหลักของทีมชาติไทยในเวลานั้น โดยโดยเฉพาะในรายของธนา ที่ได้รางวัลนักฟุตบอลที่ยิงประตูสูงสุดของฤดูกาลในลีกอีกด้วย
แต่ในเวลาต่อมาสโมสรก็ประสบปัญหาอย่างหนักเมื่อทางประธานสโมสรในเวลานั้นอย่าง สัมฤทธิ์ บัณฑิตกฤษดา มีส่วนร่วมในการทุจริตในการปลอมแปลงตั๋วเงิน ซึ่ง สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน ได้มีการอายัดทรัพย์สิน ซึ่งมีการอายัดการยริหารงานของสโมสรด้วย เนื่องจากเงินส่วนหนึ่ง ได้ใช้ในการยริหารสโมสร เมื่อวันที่ 19 มกราคม 2559[3] ซึ่งต่อมา ทางผู้บริหารสโมสรเดิม นำโดย พลตำรวจเอก วรพงษ์ ชิวปรีชา ได้ขอยื่นอุทธรณ์เพื่อให้สโมสรกลับมาแข่งขันได้[4] แต่เนื่องด้วยสโมสรไม่มีแบงก์การันตี จึงทำให้สโมสร ไม่ผ่าน คลับ ไลเซนซิ่ง จึงถูก บริษัท ไทยพรีเมียร์ลีก จำกัด สั่งพักทีมเป็นเวลา 1 ปี[5]
ในปี 2560 สโมสรได้มีส่วนร่วมในฐานะผู้บริหารร่วมกับ สโมสรฟุตบอลบีอีซี เทโรศาสน ในชื่อของ สโมสรฟุตบอลโปลิศ เทโร[6]
โลโก้สโมสรจากอดีตถึงปัจจุบัน
[แก้]-
ฤดูกาล 2503-2551
-
ฤดูกาล 2552
-
ฤดูกาล 2553-2556
-
ฤดูกาล 2557-2559
นักฟุตบอลและผู้ฝึกสอน
[แก้]ผู้เล่นชุดสุดท้ายของสโมสร
[แก้]หมายเหตุ: ธงชาติที่ปรากฏบ่งบอกให้ทราบว่าผู้เล่นคนนั้นสามารถเล่นให้กับชาติใดตามกฎของฟีฟ่าตามความเหมาะสม เพราะผู้เล่นบางคนอาจถือสองสัญชาติ
|
|
ทำเนียบหัวหน้าผู้ฝึกสอน
[แก้]ปี | ชื่อ |
---|---|
2549 - 2550 | พ.ต.ท.ชัยยง ขำเปี่ยม |
2551 | ร.ต.ต.วิฑูรย์ กิจมงคลศักดิ์ |
2552 - 2553 | พ.ต.ท.ชัยยง ขำเปี่ยม |
2554 - 2556 | ธวัชชัย ดำรงอ่องตระกูล |
มกราคม 2557 - เมษายน 2557 | การ์ลุส โรแบร์ตู การ์วัลญู |
พฤษภาคม 2557 - มิถุนายน 2557 | มิก้า ลอนน์สตรอม |
กรกฎาคม 2557 - กันยายน 2557 | ธวัชชัย ดำรงอ่องตระกูล |
กันยายน 2557 - เมษายน 2558 | อรรถพล ปุษปาคม |
พฤษภาคม 2558 - ธันวาคม 2558 | ธชตวัน ศรีปาน |
มกราคม 2559 - ปัจจุบัน | อนุชิต เรือนก้อน |
ทีมเยาวชน
[แก้]สโมสรฟุตบอลเพื่อนตำรวจ เป็นสโมสรแรกๆของประเทศไทย ที่มีแนวนโยบายในการสนับสนุนทีมอะคาเดมี่ เพื่อสร้างพัฒนาการของนักกีฬาตั้งแต่อายุยังน้อย รวมทั้งสร้างนักกีฬาเยาวชนให้สามารถขึ้นมาสู่ชุดใหญ่ โดยในปี 2009 สโมสรได้ทำ MOU กับโรงเรียนนวมินทราชินูทิศ สวนกุหลาบวิทยาลัย ปทุมธานี ในการเป็นฐานอะคาเดมี่ของโรงเรียน ซึ่งต่อมาได้มีผลผลิตจำนวนมากที่ปั้นขึ้นสู่ชุดใหญ่ได้ รวมทั้งปัจจุบัน (2557) สโมสรยังมีแนวนโยบายคงเดิมในการสร้างทีมอะคาเดมี่ เพื่อเป็นรากฐานที่มั่นคงของสโมสรต่อไป
โรงเรียนพันธมิตรที่ร่วมกับสโมสร
[แก้]- 2553 - โรงเรียนนวมินทราชินูทิศ สวนกุหลาบวิทยาลัย ปทุมธานี
- 2554 - โรงเรียนนวมินทราชินูทิศ สวนกุหลาบวิทยาลัย ปทุมธานี
- 2555 - โรงเรียนนวมินทราชินูทิศ สวนกุหลาบวิทยาลัย ปทุมธานี, โรงเรียนสารวิทยา
- 2556 - โรงเรียนปทุมวิไล, โรงเรียนสารวิทยา
- 2557 - โรงเรียนปทุมวิไล, โรงเรียนสารวิทยา
นักฟุตบอลที่มาจากทีมเยาวชนที่ขึ้นสู่ทีมชุดใหญ่
[แก้]นักฟุตบอลที่มาจากทีมเยาวชนที่ขึ้นสู่ทีมสำรอง
[แก้]ปี 2557
[แก้]ปี 2556
[แก้]ทีมสำรอง
[แก้]สโมสรเพื่อนตำรวจ นอกจากจะเป็นสโมสรแรกๆที่ได้มีการพัฒนาทีมอะคาเดมี่แล้วนั้น ยังเป็นทีมลำดับต้นๆของประเทศไทย ที่มีการสร้างทีมสำรอง ซึ่งเป็นนักกีฬาที่ขึ้นมาจากทีมอะคาเดมี่ เพื่อเป็นพื้นที่พัฒนาผีเท้า ก่อนขึ้นสู่ชุดใหญ่ของเพื่อนตำรวจต่อไป โดยมีการดูแลทีมแบบมืออาชีพ มีทีมผู้ฝึกสอนประจำ รวมทั้งทีทกายภาพบำบัดและทีมวิทยาศาสตร์การกีฬา ที่พร้อมดูแลนักกีฬาอย่างมืออาชีพ นอกจากนี้นักฟุตบอลทีมสำรอง จะได้รับการจับตามองอย่างใกล้ชิด และหากผีเท่าพร้อม จะถูกดันขึ้นสู่ชุดใหญ่ต่อไป โดยสโมสรได้จับมือเป็นพันธมิตรกับทีมในระดับดิวิชั่น 2 เพื่อให้นักกีฬาได้สัมผัสเกมส์อาชีพเป็นประจำ รวมทั้งเพื่อให้นักกีฬาได้สัมผัสความเป็นมืออาชีพและพร้อมพัฒนาตัวเองสู่ชุดใหญ่ต่อไป นอกจากนี้นักกีฬาทีมสำรองยังสร้างผลงานได้อย่างเป็นที่น่าประทับใจ เนื่องจากมีอายุฉลี่ยไม่เกิน 21 ปี ตามแนวนโยบายของสโมสร แต่ยังสามารถลับแข้งกับสโมสรอาชีพอื่นๆได้อย่างเต็มความภาคภูมิ
สโมสรพันธมิตรในระดับดิวิชั่น 2
[แก้]- 2555 - ลูกอีสาน การบินไทย
- 2556 - ลูกอีสาน การบินไทย
- 2557 - นนทบุรี เอฟซี
- 2558 - นครพนม เอฟซี, ราชประชา
รายชื่อผู้เล่นชุดสำรองชุดสุดท้าย
[แก้]หมายเหตุ: ธงชาติที่ปรากฏบ่งบอกให้ทราบว่าผู้เล่นคนนั้นสามารถเล่นให้กับชาติใดตามกฎของฟีฟ่าตามความเหมาะสม เพราะผู้เล่นบางคนอาจถือสองสัญชาติ
|
|
ผลงานตามฤดูกาล
[แก้]- 2539/40 - ไทยแลนด์พรีเมียร์ลีก - อันดับ 10 แข่ง34 ชนะ13 เสมอ11 แพ้10 ได้51 เสีย39 ผลต่างประตู+12 แต้ม50
- 2540 - ไทยแลนด์พรีเมียร์ลีก - อันดับ11 (ตกชั้นไปเล่นไทยลีก ดิวิชั่น 1) แข่ง22 ชนะ4 เสมอ10 แพ้8 ได้19 เสีย25 ผลต่างประตู-6 แต้ม22
- 2541 - ไทยลีก ดิวิชัน 1 -
- 2542 - ไทยลีก ดิวิชัน 1 - ชนะเลิศ
- 2543 - ไทยแลนด์พรีเมียร์ลีก - อันดับ 7
- 2544 - ไทยแลนด์พรีเมียร์ลีก - อันดับ 11
- 2545 - ไทยลีก ดิวิชัน 1 -
- 2546 - ไทยลีก ดิวิชัน 1 -
- 2547 - ไทยลีก ดิวิชัน 1 -
- 2548 - ไทยลีก ดิวิชัน 1 -
- 2549 - ไทยลีก ดิวิชัน 1 -
- 2550 - ไทยแลนด์พรีเมียร์ลีก - อันดับ 16 (ตกชั้นไปเล่น ไทยลีก ดิวิชั่น 1)
- 2551 - ไทยลีก ดิวิชัน 1 - อันดับ 4
- 2552 - ไทยลีก ดิวิชั่น 1 - ชนะเลิศ
- 2553 - ไทยแลนด์พรีเมียร์ลีก - อันดับ 11
- 2554 - ไทยแลนด์พรีเมียร์ลีก - อันดับ 9
- 2555 - ไทยแลนด์พรีเมียร์ลีก - อันดับ 11
- 2556 - ไทยแลนด์พรีเมียร์ลีก - อันดับ 9
- 2557 - ไทยแลนด์พรีเมียร์ลีก - อันดับ 16 (ตกชั้นไปเล่น ยามาฮ่า ลีก 1)
- 2558 - ยามาฮ่า ลีก 1 - ชนะเลิศ (ไม่ได้เลื่อนชั้นและถูกพักทีม)
เกียรติยศ
[แก้]- ลีก ดิวิชั่น 1 - ชนะเลิศ 4 ครั้ง - 2542,2549,2552,2558
- ถ้วย ก - ชนะเลิศ 1 ครั้ง - 2508
- ถ้วย ข - ชนะเลิศ 2 ครั้ง - 2496, 2497
- ไทยลีกคัพ - ชนะเลิศ 3 ครั้ง - 2532,2534,2536
อ้างอิง
[แก้]- ↑ 1.0 1.1 1.2 https://www.facebook.com/jirath1915/posts/526872178258096 ผู้สร้างตำนานทีมตราโล่ - เพจฟุตบอลโบราณ
- ↑ https://www.facebook.com/photo/?fbid=271689413263840&set=a.210910246008424 พลิกแฟ้ม "ตำรวจ" (หนังสือฟุตบอลสยาม) - ฟุตบอลไทยในอดีต by Tommy Bar
- ↑ ปปง.ยึดทรัพย์เสี่ยบิ๊กแล้วกว่า 800 ล้านบาท จากสำนักข่าวไทย
- ↑ https://www.youtube.com/watch?v=pOIBsLzrQU8 สโมสรเพื่อนตำรวจยื่นอุทธรณ์ขอแข่งไทยลีก - TNN News
- ↑ เพื่อนตำรวจไม่ผ่านคลับไลเซนซิ่ง พักทีม1ปี
- ↑ http://www.bectero.com/th/news/news-bectero/%E0%B8%AA%E0%B9%82%E0%B8%A1%E0%B8%AA%E0%B8%A3%E0%B8%95%E0%B8%B3%E0%B8%A3%E0%B8%A7%E0%B8%88%E0%B8%88%E0%B8%B1%E0%B8%9A%E0%B8%A1%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B9%80%E0%B8%97%E0%B9%82%E0%B8%A3-%E0%B8%A8%E0%B8%B2%E0%B8%AA%E0%B8%99-%E0%B9%80%E0%B8%9B%E0%B8%B4%E0%B8%94%E0%B8%95%E0%B8%B1%E0%B8%A7%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B8%A1-ldquo-%E0%B9%82%E0%B8%9B%E0%B8%A5%E0%B8%B4%E0%B8%A8-%E0%B9%80%E0%B8%97%E0%B9%82%E0%B8%A3-%E0%B9%80%E0%B8%AD%E0%B8%9F%E0%B8%8B%E0%B8%B5-rdquo-%E0%B8%95%E0%B8%B1%E0%B9%89%E0%B8%87%E0%B9%80%E0%B8%9B%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%95%E0%B8%B4%E0%B8%94%E0%B8%97%E0%B9%87%E0%B8%AD%E0%B8%9B-10-%E0%B9%84%E0%B8%97%E0%B8%A2%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%B5%E0%B9%80%E0%B8%A1%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%A3%E0%B9%8C%E0%B8%A5%E0%B8%B5%E0%B8%81 สโมสรตำรวจจับมือเทโร ศาสน เปิดตัวทีม “โปลิศ เทโร เอฟซี” ตั้งเป้าติดท็อป 10 ไทยพรีเมียร์ลีก - บีอีซี เทโร
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- เว็บไซต์สโมสรฟุตบอลอินทรีเพื่อนตำรวจ เก็บถาวร 2012-03-07 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- สโมสรฟุตบอลเพื่อนตำรวจ ที่เฟซบุ๊ก