วิฑูรย์ นามบุตร
วิฑูรย์ นามบุตร | |
---|---|
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคม และความมั่นคงของมนุษย์ | |
ดำรงตำแหน่ง 20 ธันวาคม พ.ศ. 2551 – 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552 | |
นายกรัฐมนตรี | อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ |
ก่อนหน้า | อุดมเดช รัตนเสถียร |
ถัดไป | อิสสระ สมชัย |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 23 กันยายน พ.ศ. 2502 จังหวัดอุบลราชธานี ประเทศไทย |
พรรคการเมือง | ประชาธิปัตย์ (2528–2564, 2566–ปัจจุบัน) |
คู่สมรส | สุจรรยา นามบุตร (เสียชีวิต) |
วิฑูรย์ นามบุตร (เกิด 23 กันยายน พ.ศ. 2502) เป็นทนายความและนักการเมืองชาวไทย อดีตรองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดอุบลราชธานี 6 สมัย สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรระบบบัญชีรายชื่อ 2 สมัย รวม 8 สมัย
การศึกษา
[แก้]วิฑูรย์ นามบุตร สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี สาขานิติศาสตร์ จาก มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เมื่อปี พ.ศ. 2529 และปริญญาโทรัฐประศาสนศาสตร์ (MPA) จากสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ เมื่อปี พ.ศ. 2540
เมื่อครั้งเป็นนักศึกษาเคยทำกิจกรรมในพรรคแสงธรรม องค์การนักศึกษา และสภานักศึกษามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เป็นนักศึกษาร่วมรุ่นกับ สมคิด เลิศไพฑูรย์, อภิชาติ ดำดี, วสันต์ ภัยหลีกลี้, สุรพล นิติไกรพจน์, นพดล ปัทมะ, อัญชลี วานิช เทพบุตร และบุญสม อัครธรรมกุล[1]
งานการเมือง
[แก้]นายวิฑูรย์ เริ่มงานการเมืองโดยเป็นสมาชิกสภาจังหวัดอุบลราชธานี ปี พ.ศ. 2528 และ 2533 จากนั้นจึงได้เข้าสู่งานการเมืองระดับชาติ เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดอุบลราชธานี ในการเลือกตั้งเดือนมีนาคม พ.ศ. 2535 และได้รับเลือกตั้งมาโดยตลอดถึง ปี พ.ศ. 2548 รวมทั้งสิ้น 6 สมัย
วิฑูรย์ นามบุตร เป็นกำลังสำคัญของพรรคประชาธิปัตย์ ที่มีเพียงไม่กี่คนในพื้นที่ ภาคอีสาน ปัจจุบัน โดยเป็น 1 ใน 2 ส.ส.ภาคอีสาน พรรคประชาธิปัตย์ ที่สามารถชนะการเลือกตั้งเดือน กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2548 โดยได้เป็น ส.ส.อุบลราชธานี เขต 3 (อีกคนหนึ่งคือ นายอิสสระ สมชัย กรรมการบริหารพรรคประชาธิปัตย์ ส.ส.อุบลราชธานี เขต 8)
ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในประเทศไทย พ.ศ. 2550 นายวิฑูรย์ได้รับการแต่งตั้งเป็น หัวหน้าโซน 4 (ภาคอีสานตอนใต้ 6 จังหวัด) ในคณะกรรมการประสานงาน โซนเลือกตั้งต่างๆ ทั่วประเทศของพรรคประชาธิปัตย์ ที่มีทั้งสิ้น 8 โซน พร้อมกับลงสมัครรับเลือกตั้ง ส.ส.สัดส่วน พรรคประชาธิปัตย์ กลุ่ม 4 ในลำดับที่ 1 และได้รับการเลือกตั้งเป็นสมัยที่ 7
ภายหลังการเลือกตั้ง 23 ธันวาคม พ.ศ. 2550 และมีการจัดตั้งรัฐบาลนายสมัคร สุนทรเวช พรรคประชาธิปัตย์ที่เป็นฝ่ายค้านพรรคเดียวได้ประกาศจัดตั้ง รัฐบาลเงา หรือ ครม.เงา ขึ้น ในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551 และ นายวิฑูรย์ นามบุตร ได้รับเลือกจากที่ประชุมพรรค ให้ทำหน้าที่ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเงา[2]
ต่อมาพรรคประชาธิปัตย์ ได้เป็นแกนนำในการจัดตั้งรัฐบาล ทำให้นายวิฑูรย์ นามบุตร ได้รับตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ [3] และได้ลาออกในเวลาต่อมาเพื่อแสดงความรับผิดชอบกรณีการทุจริตสิ่งของบริจาค[4]
ต่อมาในการเลือกตั้ง พ.ศ. 2554 ได้ลงสมัครรับเลือกตั้งในระบบบัญชีรายชื่อ[5] และได้รับเลือกตั้งเป็น ส.ส.อีกสมัย เป็นสมัยที่ 8
ในปี 2562 เขาได้ลงสมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร แบบบัญชีรายชื่อ สังกัดพรรคประชาธิปัตย์ ในลำดับที่ 40[6] แต่ไม่ได้รับเลือกตั้ง ต่อมาในปี 2564 นายวิฑูรย์ได้ตัดสินใจลาออกจากพรรคประชาธิปัตย์ โดยให้เหตุผลว่าพรรคไม่ให้ดำรงตำแหน่งใดๆ[7]
ต่อมาในการเลือกตั้งปี 2566 ได้กลับเข้ามาเป็นสมาชิกพรรคประชาธิปัตย์อีกครั้ง และได้ลงสมัครเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ระบบบัญชีรายชื่อ ลำดับที่ 24
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
[แก้]- พ.ศ. 2547 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)[8]
- พ.ศ. 2544 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[9]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ มติชน. (2552). สมคิด เลิศไพฑูรย์ ผู้ชายคิดบวก. (เข้าถึงเมื่อ: 27 สิงหาคม 2553).
- ↑ "เว็บไซต์ ครม.เงา พรรคประชาธิปัตย์". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-05-25. สืบค้นเมื่อ 2021-08-29.
- ↑ พระบรมราชโองการ ประกาศแต่งตั้งรัฐมนตรี (รัฐบาลนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ)
- ↑ “วิฑูรย์” ลาออกหนีพิษป๋องเน่า ลดกระแสกดดันปชป.
- ↑ ประกาศคณะกรรมการการเลือกตั้ง เรื่อง รายชื่อผู้สมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ (พรรคประชาธิปัตย์)
- ↑ เปิด 150 รายชื่อผู้สมัครส.ส.ปาร์ตี้ลิสต์พรรคประชาธิปัตย์
- ↑ 'วิฑูรย์ นามบุตร' ยื่นลาออกพ้นสมาชิก 'ปชป.' แล้ว
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย เก็บถาวร 2022-06-28 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๑ ตอนที่ ๒๓ ข หน้า ๒, ๒๖ พฤศจิกายน ๒๕๔๗
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย เก็บถาวร 2022-10-12 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๑๘ ตอนที่ ๒๒ ข หน้า ๗, ๔ ธันวาคม ๒๕๔๔
ก่อนหน้า | วิฑูรย์ นามบุตร | ถัดไป | ||
---|---|---|---|---|
นายอุดมเดช รัตนเสถียร | รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (ครม. 59) (20 ธันวาคม พ.ศ. 2551 - 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552) |
นายอิสสระ สมชัย |
- บุคคลที่เกิดในปี พ.ศ. 2502
- บุคคลจากอำเภอเขื่องใน
- นักกฎหมายชาวไทย
- นักการเมืองไทย
- รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ไทย
- สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดอุบลราชธานี
- สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดอำนาจเจริญ
- สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยแบบบัญชีรายชื่อ
- สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยแบบสัดส่วน
- นักการเมืองพรรคประชาธิปัตย์
- บุคคลจากคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
- บุคคลจากคณะรัฐประศาสนศาสตร์ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ป.ช.
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ว.ม.