จักรพรรดิโคเม
จักรพรรดิโคเม 孝明天皇 | |||||
---|---|---|---|---|---|
พระบรมสาทิสลักษณ์หลังสวรรคตโดยโคยามะ โชตาโร, ค.ศ. 1902 | |||||
จักรพรรดิญี่ปุ่น | |||||
ครองราชย์ | 10 มีนาคม ค.ศ. 1846 – 30 มกราคม ค.ศ. 1867 | ||||
ราชาภิเษก | 31 ตุลาคม ค.ศ. 1847 | ||||
ก่อนหน้า | นินโก | ||||
ถัดไป | เมจิ | ||||
โชกุน | |||||
พระราชสมภพ | 22 กรกฎาคม ค.ศ. 1831 เกียวโต รัฐบาลโชกุนโทกูงาวะ โอซาฮิโตะ เจ้าชายฮิโระ (ญี่ปุ่น: 煕宮統仁親王) | ||||
สวรรคต | 30 มกราคม ค.ศ. 1867 พระราชวังหลวงเกียวโต เกียวโต รัฐบาลโชกุนโทกูงาวะ | (35 ปี)||||
ฝังพระศพ | โนจิ โนะ สึกิ โนะ วะ โนะ มิซาซางิ (ญี่ปุ่น: 後月輪東山陵; โรมาจิ: 'Nochi no tsuki no wa no misasagi') เกียวโต | ||||
คู่อภิเษก | อาซาโกะ คูโจ | ||||
พระราชบุตร | |||||
| |||||
ราชสกุล | ราชวงศ์ญี่ปุ่น | ||||
พระราชบิดา | จักรพรรดินินโก | ||||
พระราชมารดา | นาโอโกะ โองิมาจิ | ||||
ศาสนา | ชินโต | ||||
ลายพระอภิไธย |
โอซาฮิโตะ (統仁; 22 กรกฎาคม ค.ศ. 1831 – 30 มกราคม ค.ศ. 1867) พระสมัญญานามว่า จักรพรรดิโคเม (ญี่ปุ่น: 孝明天皇; โรมาจิ: Kōmei-tennō) เป็นจักรพรรดิญี่ปุ่นองค์ที่ 121[1][2] รัชสมัยของจักรพรรดิโคเมมีระยะเวลาหลายปีตั้งแต่ 10 มีนาคม ค.ศ. 1846 ถึง 30 มกราคม ค.ศ. 1867 ซึ่งตรงกับปีสุดท้ายของยุคเอโดะ[3]
ในรัชสมัยของพระองค์มีความวุ่นวายภายในอย่างมาก อันเป็นผลมาจากการติดต่อครั้งใหญ่ครั้งแรกของญี่ปุ่นกับสหรัฐ ซึ่งเกิดขึ้นโดยพลเรือจัตวาเพร์รีใน ค.ศ. 1853 ถึง 1854 ซึ่งต่อมาได้บังคับให้ญี่ปุ่นเปิดประเทศให้กับชาติตะวันตก เป็นการสิ้นสุดระยะเวลา 220 ปี แห่งความสันโดษของชาติ (นโยบายซาโกกุ) จักรพรรดิโคเมไม่ทรงสนใจต่างชาติมากนัก และไม่เห็นด้วยกับการเปิดประเทศญี่ปุ่นโดยมหาอำนาจตะวันตก รัชสมัยของพระองค์ยังคงถูกครอบงำโดยการจลาจลและความขัดแย้งของกลุ่มในรัฐบาลโชกุน ซึ่งนำไปสู่การล่มสลายของรัฐบาลโชกุนโทกูงาวะไม่นานหลังจากพระองค์สวรรคต และเริ่มต้นยุคการฟื้นฟูเมจิในรัชสมัยการครองราชย์ของจักรพรรดิเมจิพระโอรส[4]
พระราชประวัติ
[แก้]ก่อนขึ้นครองบัลลังก์ดอกเบญจมาศ ทรงพระนามว่า เจ้าชายโอะซะฮิโตะ (統仁) และมีราชทินนามว่า เจ้าชายฮิโระ (煕宮)[5] เป็นพระราชโอรสลำดับที่ 4 ในจักรพรรดินินโกที่ประสูติกับพระสนมโองิมาจิ มาซาโกะ หลังจากขึ้นครองราชสมบัติแล้ว พระองค์และพระบรมวงศ์ก็พำนักอยู่ที่พระราชวังหลวงเฮอัง จักรพรรดิโคเมมีพระราชโอรส 2 พระองค์ และพระราชธิดา 4 พระองค์ อย่างไรก็ตาม พระราชโอรสธิดาทั้งหมดยกเว้นเจ้าชายมุสึฮิโตะ ล้วนสิ้นพระชนม์ขณะทรงพระเยาว์
จักรพรรดิโคเมมีพระอัครมเหสีนามว่า อะสึโกะ คุโจ (九条夙子) ซึ่งหลังจักรพรรดิโคเมสวรรคตในปี ค.ศ. 1867 พระนางได้รับโปรดเกล้าฯจากจักรพรรดิเมจิให้เป็นพระพันปีหลวง
เหตุการณ์ในรัชสมัย
[แก้]พระองค์ขึ้นครองราชในยุคเอโดะตอนปลาย แม้ว่าพระองค์จะทรงเป็นประมุขแห่งรัฐโดยนิตินัย แต่อำนาจในการปกครองและบริหารประเทศทั้งหมดอยู่กับรัฐบาลโชกุน[6] พระองค์เปรียบเสมือนเป็นหุ่นเชิดของรัฐบาลโชกุน ทรงมีความคิดแบบคร่ำครึโบราณและกลัวการเปิดประเทศ ราชสำนักญี่ปุ่นในสมัยของพระองค์มีความยากแค้นลำเค็ญอย่างมาก ขุนนางในรัฐบาลโชกุนยังดูจะมีความเป็นอยู่ที่ดีกว่าจักรพรรดิเสียอีก ราชสำนักได้ตัดทอนค่าใช้จ่ายฟุ่มเฟือยทั้งหมดและใช้จ่ายอย่างประหยัดที่สุด หลายครั้งที่องค์จักรพรรดิอยากจะวาดภาพแต่ก็ทำไม่ได้ เนื่องจากกระดาษวาดภาพมีราคาแพงเกินกว่าราชสำนักจะจัดหาถวาย ข้าราชสำนักเองก็ยากจนข้นแค้น ต้องวาดรูปใส่พัดกระดาษหรือทำกระดาษพับไปขาย
รัชศก
[แก้]- โคกะ (1844–1848)
- เคเอ (1848–1854)
- อันเซ (1854–1860)
- มันเอ็ง (1860–1861)
- บุงกีว (1861–1864)
- เก็นจิ (1864–1867)
- เคโอ (1865–1868)
โดยนับตั้งแต่รัชกาลจักรพรรดิเมจิเป็นต้นมา จึงมีการเรียกยุคในรัชกาลนั้น ๆ เป็นเพียงชื่อเดียว[7]
ดูเพิ่ม
[แก้]อ้างอิง
[แก้]เชิงอรรถ
[แก้]- ↑ Imperial Household Agency (Kunaichō): 孝明天皇 (121)
- ↑ Ponsonby-Fane, Richard. (1959). The Imperial House of Japan. pp. 123–135.
- ↑ Meyer, Eva-Maria. (1999). Japans Kaiserhof in der Edo-Zeit, p. 186.
- ↑ "Japan:Memoirs of a Secret Empire". PBS. สืบค้นเมื่อ 2007-08-11.
- ↑ Ponsonby-Fane, Imperial House, p. 10.
- ↑ Cullen (2003).
- ↑ Ponsonby-Fane, Imperial House, p. 17.
บรรณานุกรม
[แก้]- Cullen, Louis M. (2003). A History of Japan, 1582–1941: Internal and External Worlds. Cambridge: Cambridge University Press. ISBN 978-0-521-52918-1; OCLC 50694793
- Jansen, Marius B. (2002). The Making of Modern Japan. Cambridge: Harvard University Press. ISBN 978-0-674-00991-2; OCLC 52086912
- Keene, Donald (2002). Emperor of Japan : Meiji and his world, 1852-1912. New York: Columbia University Press. ISBN 978-0-231-12340-2. OCLC 46731178.
- Meyer, Eva-Maria. (1999). Japans Kaiserhof in der Edo-Zeit: unter besonderer Berücksichtigung der Jahre 1846 bis 1867. Münster: LIT Verlag. ISBN 978-3-8258-3939-0; OCLC 42041594
- Nussbaum, Louis Frédéric and Käthe Roth. (2005). Japan Encyclopedia. Cambridge: Harvard University Press. ISBN 978-0-674-01753-5; OCLC 48943301
- Ponsonby-Fane, Richard Arthur Brabazon. (1959). The Imperial House of Japan. Kyoto: Ponsonby Memorial Society. OCLC 194887
- __________. (1956). Kyoto: the Old Capital, 794–1869. Kyoto: Ponsonby Memorial Society. OCLC 36644
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อเกี่ยวกับ จักรพรรดิโคเม
ก่อนหน้า | จักรพรรดิโคเม | ถัดไป | ||
---|---|---|---|---|
จักรพรรดินินโก | จักรพรรดิญี่ปุ่น (10 มีนาคม ค.ศ. 1846 - 30 มกราคม ค.ศ. 1867) |
จักรพรรดิเมจิ |