ข้ามไปเนื้อหา

สงครามจีน–ญี่ปุ่นครั้งที่สอง

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
สงครามจีน-ญี่ปุ่นครั้งที่สอง
ส่วนหนึ่งของ สมัยระหว่างสงครามและแนวรบแปซิฟิกของสงครามโลกครั้งที่สอง
จากบนลงล่าง ซ้ายไปขวา: กองทัพจักรวรรดิญี่ปุ่นใช้แก๊สพิษเข้าโจมตีที่มั่นทหารจีน, ทหารญี่ปุ่นขณะใช้ปืนกลหนักไทป์ 92, กองกำลังเอ็กซ์ในอินเดียเมื่อ ค.ศ. 1942, กองศพชาวจีนที่ถูกสังหารในการสังหารหมู่นานกิง, เครื่องบินญี่ปุ่นขณะทิ้งระเบิดเมืองฉงชิ่ง, รังปืนกลของทหารจีนในยุทธการที่อู่ฮั่น
วันที่7 กรกฎาคม ค.ศ. 1937[a] – 2 กันยายน ค.ศ. 1945 (8 ปี 1 เดือน 3 สัปดาห์ และ 5 วัน)
สถานที่
ผล

จีนชนะ[b]

ดินแดน
เปลี่ยนแปลง
จีนได้รับดินแดนที่เสียไปจากการทำสนธิสัญญาชิโมะโนะเซะกิกลับคืนจากญี่ปุ่น
คู่สงคราม

 จีน

การสนับสนุนของต่างชาติ:

ญี่ปุ่น ญี่ปุ่น

ผู้บังคับบัญชาและผู้นำ
กำลัง
ทหารจีน 5,600,000 นาย
เครื่องบินสหรัฐ 900+ ลำ[1]
ที่ปรึกษาและนักบินโซเวียต 3600+ นาย
ทหารญี่ปุ่น 3,900,000 นาย[2] ,
ทหารไส้ศึกจีน 900,000 นาย [3]
ความสูญเสีย

ทหารจีน (รวมที่บาดเจ็บ, เชลย, และสูญหาย) 3,220,000 นาย, พลเมือง 17,530,000 คน[4]

ทหารโซเวียต 227 นาย[5]
ทหารญี่ปุ่น (รวมที่บาดเจ็บ, เชลย, และสูญหาย) 1,100,000 นาย
1 ในเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2485 กองบินฟลายอิ้งไทเกอร์ได้รับการยกระดับเป็นกองทัพอากาศสหรัฐกองบินที่ 14
2 สหภาพโซเวียตได้ให้ความข่วยเหลือทางทหารแก่จีนระหว่างปี พ.ศ. 2480 ถึง พ.ศ. 2484
3 ทหารส่วนใหญ่มาจากประเทศแมนจูกัว ซึ่งเป็นรัฐบาลหุ่นภายใต้การควบคุมของญี่ปุ่น


สงครามจีน-ญี่ปุ่นครั้งที่สอง (อังกฤษ: Second Sino-Japanese War ; จีน: 中國抗日戰爭 ; ญี่ปุ่น: 日中戦争) เป็นความขัดแย้งทางทหารที่เป็นการสู้รบหลักระหว่างสาธารณรัฐจีนและจักรวรรดิญี่ปุ่น ตั้งแต่วันที่ 7 กรกฎาคม ค.ศ. 1937 ถึงวันที่ 2 กันยายน ค.ศ. 1945 จุดเริ่มด้วยเหตุการณ์ ณ สะพานมาร์โค โปโลในปี ค.ศ. 1937 ซึ่งกลายเป็นข้อพิพาทระหว่างกองกำลังทหารจีนและญี่ปุ่นที่บานปลายจนต้องสู้รบกัน แหล่งข้อมูลบางแห่งในสาธารณรัฐประชาชนจีนยุคปัจจุบันได้มีการถือจุดเริ่มต้นของสงครามคือญี่ปุ่นบุกครองแมนจูเรียในปี ค.ศ. 1931[6]

จีนได้ต่อสู้รบกับญี่ปุ่นด้วยความช่วยเหลือจากสหภาพโซเวียตและสหรัฐอเมริกา ภายหลังญี่ปุ่นเข้าโจมตีเพิร์ลฮาร์เบอร์ในปี ค.ศ. 1941 สงครามได้รวมไปถึงความขัดแย้งที่อื่น ๆ ในสงครามโลกครั้งที่สอง ในฐานะที่เป็นเขตของแนวรบที่สำคัญที่ถูกเรียกว่า เขตสงครามจีน พม่า อินเดีย นักวิชาการบางคนได้ถือว่าจุดเริ่มต้นของสงครามจีน-ญี่ปุ่นครั้งที่สองอย่างเต็มรูปแบบในปี ค.ศ. 1937 คือจุดเริ่มต้นของสงครามโลกครั้งที่สอง[7][8] สงครามจีน-ญี่ปุ่นครั้งที่สองเป็นสงครามขนาดใหญ่ในภูมิภาคเอเชียในศตวรรษที่ 20[9] มันได้มีการถือว่าเป็นสาเหตุของการบาดเจ็บล้มตายของพลเรือนและทหารส่วนใหญ่ในสงครามแปซิฟิก กับระหว่างพลเรือนชาวจีนจำนวน 10 และ 25 ล้านคนและบุคลากรทหารชาวจีนและญี่ปุ่นที่กำลังใกล้ตายกว่า 4 ล้านนายจากความรุนแรงที่เกี่ยวข้องในสงคราม ความอดอยาก และสาเหตุอื่น ๆ

สงครามเป็นผลพวงจากนโยบายจักรวรรดินิยมของญี่ปุ่นที่มีมายาวนานหลายทศวรรษเพื่อขยายอิทธิพลทางการเมืองและทางทหารเพื่อความปลอดภัยในการเข้าถึงแหล่งแร่วัตถุดิบ อาหาร และแรงงาน ในช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง นำมาซึ่งการเพิ่มความตึงเครียดให้กับการปกครองของญี่ปุ่น นักการเมืองฝ่ายซ้ายต้องการที่จะมีสิทธิในการออกเสียงการเลือกตั้งทั่วไปและสิทธิประโยชน์ที่มากขึ้นสำหรับแรงงาน การเพิ่มผลผลิตสิ่งทอจากโรงทอผ้าจีนเป็นการส่งผลกระทบต่อการผลิตของญี่ปุ่น ด้วยภาวะเศรษฐกิจตกต่ำครั้งใหญ่ทำให้การส่งออกสินค้าชะลอตัวลงอย่างมาก เหตุการณ์ทั้งหมดนี้ได้สนับสนุนแก่ฝ่ายทหารชาตินิยม ซึ่งท้ายที่สุดด้วยการก้าวขึ้นสู่อำนาจของกลุ่มทหารนิยมลัทธิฟาสซิสต์ กลุ่มนี้อยู่ภายใต้การนำโดยฮิเดกิ โทโจ คณะรัฐมนตรีของสมาคมให้ความช่วยเหลือการปกครองจักรวรรดิ (Imperial Rule Assistance Association) ภายใต้พระบรมราชโองการของสมเด็จพระจักรพรรดิฮิโระฮิโตะ ในปี ค.ศ. 1931 อุบัติการณ์มุกเดนได้ช่วยจุดชนวนด้วยการบุกครองแมนจูเรียของญี่ปุ่น ฝ่ายจีนต้องพบความปราชัยและญี่ปุ่นได้ก่อตั้งรัฐหุ่นเชิดขึ้นมาใหม่, หมั่นโจวกั๋ว นักประวัติศาสตร์หลายคนได้กล่าวอ้างว่า ปี ค.ศ. 1931 เป็นจุดเริ่มต้นของสงคราม[10][11][12] มุมมองเหล่านี้ได้รับการรับรองโดยรัฐบาลสาธารณรัฐประชาชนจีน ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1931 ถึง ค.ศ. 1937 จีนและญี่ปุ่นยังคงต่อสู้รบกันอย่างต่อเนื่องในการรบที่จำกัดวง ที่ถูกเรียกว่า "เหตุการณ์"

ในช่วงแรก ญี่ปุ่นได้รับชัยชนะครั้งใหญ่, ได้เข้ายึดครองทั้งเมืองเซี่ยงไฮ้และเมืองหลวงของจีนคือนานกิงในปี ค.ศ. 1937 ภายหลังจากความล้มเหลวในการหยุดยั้งญี่ปุ่นในยุทธการที่อู่ฮั่น รัฐบาลกลางของจีนได้ย้ายไปยังฉงชิ่ง (จุงกิง) ในส่วนภายในของประเทศจีน ในปี ค.ศ. 1939 ภายหลังจากจีนได้รับชัยชนะในฉางชาและกวางสี และด้วยเส้นสายการสื่อสารของญี่ปุ่นที่ขยายลึกเข้าไปในส่วนภายในประเทศจีน สงครามได้ทำให้เกิดจนมุม ญี่ปุ่นยังไม่สามารถเอาชนะกองทัพคอมมิวนิสต์จีนได้ในมณฑลฉ่านซี ซึ่งได้ดำเนินการทัพด้วยการก่อวินาศกรรมและรบแบบกองโจรเข้าปะทะกับผู้รุกราน ในขณะที่ญี่ปุ่นได้ปกครองเมืองขนาดใหญ่ พวกเขามีกำลังพลไม่เพียงพอที่จะควบคุมชนบทอันกว้างใหญ่ของแผ่นดินจีนได้ ในช่วงเวลานั้น, กองกำลังคอมมิวนิสต์จีนได้เปิดฉากการรุกตอบโต้กลับในภาคกลางของจีน ในขณะที่กองกำลังชาตินิยมจีนได้เปิดฉากการรุกขนาดใหญ่ในช่วงฤดูหนาว

เมื่อวันที่ 7 ธันวาคม ค.ศ. 1941 ญี่ปุ่นได้โจมตีเพิร์ลฮาร์เบอร์ และวันต่อมาสหรัฐอเมริกาได้ประกาศสงครามกับญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกาได้ให้ความช่วยเหลือแก่จีนโดยการขนส่งวัสดุผ่านทางอากาศเหนือเทือกเขาหิมาลัย หลังจากฝ่ายสัมพันธมิตรได้พ่ายแพ้ในพม่า เมื่อถนนเส้นสายพม่าถูกปิดกั้น ในปี ค.ศ. 1944 ญี่ปุ่นได้เปิดฉากปฏิบัติการอิชิโก คือการพิชิตเหอหนานและฉางชา อย่างไรก็ตาม, ด้วยความล้มเหลวครั้งนี้ได้นำไปสู่การยอมจำนนต่อกองทัพจีน ในปี ค.ศ. 1945 กองกำลังรบนอกประเทศจีนได้เริ่มต้นด้วยการเข้ารุกในพม่า และเชื่อมโยงกับถนนเลโด (Ledo Road) จากจีนถึงอินเดียได้สำเร็จ ในเวลาเดียวกัน, จีนได้เปิดฉากการรุกตอบโต้กลับขนาดใหญ่ในจีนตอนใต้และยึดเหอหนานตะวันตกและกวางสีคืน

แม้ว่าจะยังคงครอบครองส่วนหนึ่งของแผ่นดินจีนอยู่ ญี่ปุ่นได้ยอมจำนนในที่สุด เมื่อวันที่ 2 กันยายน ค.ศ. 1945 ต่อกองทัพฝ่ายสัมพันธมิตร ภายหลังจากการทิ้งระเบิดปรมณูที่เมืองฮิโรชิม่าและนางาซากิและโซเวียตบุกครองแมนจูเรียที่ญี่ปุ่นปกครองอยู่ กองกำลังยึดครองของญี่ปุ่นที่เหลืออยู่ (ยกเว้นแมนจูเรีย) ได้ยอมจำนนอย่างเป็นทางการ เมื่อวันที่ 9 กันยายน ค.ศ. 1945 ภายหลังจากนั้นต่อมา, ศาลทหารระหว่างประเทศสำหรับตะวันออกไกลได้รวมตัวกัน เมื่อวันที่ 29 เมษายน ค.ศ. 1946 จากการประชุมที่กรุงไคโร เมื่อวันที่ 22-26 พฤศจิกายน ค.ศ. 1943 ฝ่ายสัมพันธมิตรในสงครามโลกครั้งที่สองได้ตัดสินใจที่จะหยุดยั้งและลงโทษต่อการรุกรานของญี่ปุ่น โดยการส่งคืนดินแดนทั้งหมดที่ญี่ปุ่นยึดครองไปจากจีน รวมถึงแมนจูเรีย เกาะไต้หวัน/ฟอร์โมซา และเกาะเปสกาโดเรส (เผิงหู) แก่จีน และขับไล่ญี่ปุ่นออกจากคาบสมุทรเกาหลี ประเทศจีนได้รับการยอมรับว่าเป็นหนึ่งในสี่ผู้ยิ่งใหญ่ของฝ่ายสัมพันธมิตรในช่วงสงครามและกลายเป็นหนึ่งในห้าสมาชิกถาวรของคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ[13][14][15]

ภูมิหลัง

[แก้]
เจียงไคเช็ค ผู้บัญชาการทหารสูงสุดของจีนเป็นผู้วางแนวรบป้องกันการรุกรานของญี่ปุ่น

สงครามจีน-ญี่ปุ่นครั้งที่หนึ่ง

[แก้]

ความเป็นมาของสงครามจีน–ญี่ปุ่นครั้งที่สอง สามารถมองย้อนหลังกลับไปเมื่อครั้งสมัย สงครามจีน-ญี่ปุ่นครั้งที่หนึ่ง ระหว่างปี ค.ศ.1894 - ค.ศ.1895

ซึ่งประเทศจีนในสมัยนั้น ปกครองโดยราชวงศ์ชิงซึ่งในขณะนั้นถือเป็นช่วงที่ราชวงศ์ชิงตกอยู่ในสภาวะตกต่ำอ่อนแอยิ่งเนื่องจากประสบปัญหาต่อเนื่องจากผลพวงของสงครามฝิ่นกับอังกฤษ ทำให้ผู้คนในประเทศอ่อนแอทั้งจากเหตุการณ์จลาจลภายในประเทศทำให้จีนไม่สามารถพัฒนาประเทศให้เจริญเท่ากับชาติตะวันตกได้เท่าที่ควรทำให้เกิดความล้าหลังทางเศรษฐกิจและการทหารอีกทั้งยังถูกรุมเร้ากับภัยจากลัทธิจักรวรรดินิยมภายนอกประเทศ จนประเทศจีนถูกขนานนามว่าเป็น ขี้โรคแห่งเอเชีย อย่างดูถูกในขณะนั้น

ขณะเดียวกันในประเทศญี่ปุ่นมีการปฏิรูปเมจิ โดยจักรพรรดิเมจิ ทำให้สามารถรวบรวมอำนาจภายในประเทศให้เป็นปึกแผ่น อันเป็นผลทำให้ญี่ปุ่นสามารถปฏิรูปประเทศให้ทันสมัยทางด้านเศรษฐกิจและการทหารแบบตะวันตกและมีประสิทธิภาพ เมื่อญี่ปุ่นเจริญขึ้นจึงหันมาใช้นโยบายขยายอิทธิพลแบบจักรวรรดินิยมและลัทธิล่าอาณานิคม จึงหันมายึดครองเกาหลีและเข้ารุกรานประเทศจีน เป็นการเปิดฉากสงครามจีน-ญี่ปุ่นครั้งที่หนึ่ง ประเทศจีนนำโดยราชวงศ์ชิงต้องพ่ายแพ้สงครามแก่ประเทศญี่ปุ่น จึงจำต้องทำสนธิสัญญาชิโมะโนะเซะกิ อันเป็นสนธิสัญญาไม่เป็นธรรม ซึ่งมีผลบังคับให้จีนต้องยกดินแดนเผิงหูและคาบสมุทรเหลียวตงให้แก่ญี่ปุ่น และต้องรับรองเอกราชแก่เกาหลี จากเหตุการณ์นี้ทำให้ราชวงศ์ชิงต้องตกอยู่ในสถานการณ์ที่ตกต่ำอย่างยิ่ง[16]

สาธารณรัฐจีน

[แก้]

ความคับแค้นไม่พอใจต่อราชวงศ์ชิงทำให้ชาวจีนจำนวนมากต้องการกอบกู้ศักดิ์ศรีของประเทศและลุกฮือขึ้นเปลี่ยนแปลงการปกครองจนทำให้เกิดขบวนการถงเหมิงฮุ่ย มี ดร.ซุน ยัตเซ็น เป็นผู้นำการเคลื่อนไหวเกิดเหตุการณ์การปฏิวัติซินไฮ่ อันเป็นการล้มล้างราชวงศ์ชิง ทำให้ประเทศจีนได้เปลี่ยนแปลงการปกครองสู่ระบอบประชาธิปไตยแบบสาธารณรัฐ และได้สถาปนาสาธารณรัฐจีนขึ้น อย่างไรก็ตามสาธารณรัฐใหม่ก็ยังคงมีความอ่อนแอกว่าสมัยก่อน ทั้งปัญหาการแย่งชิงอำนาจของขุนศึกท้องถิ่นผู้มีอำนาจ ทำให้การพยายามที่จะรวบรวมประเทศให้เป็นปึกแผ่น การขับไล่ลัทธิจักรจรรดินิยมออกไปจากจีนเป็นเรื่องที่ยากลำบาก[17] ทำให้ขุนศึกบางคนต้องใช้นโยบายใกล้ชิดกับต่างชาติ ตัวอย่างเช่น ขุนศึก จาง จัวหลิน แห่งแมนจูเรีย ได้ร่วมมือกับญี่ปุ่น ในเรื่องความช่วยเหลือทางเศรษฐกิจ และทางทหาร[18]

การคุกคามประเทศจีนของญี่ปุ่น

[แก้]

ความต้องการ 21 ประการ

[แก้]

ในปี พ.ศ. 2458 ญี่ปุ่นได้ประกาศความต้องการ 21 ประการ ในการรีดบังคับทั้งในเรื่องการเมืองและสิทธิประโยชน์ทางการค้าจากจีน ภายหลังสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง ญี่ปุ่นได้เข้ายึดดินแดนเขตอิทธิพลของจักรวรรดิเยอรมันในเขตมณฑลชานตง[19] ทำให้เกิดกระแสการต่อต้านญี่ปุ่นขึ้นในแผ่นดินจีน แต่กระนั้นรัฐบาลจีนในขณะนั้น ยังคงแตกความร่วมมือกันอยู่ จึงทำให้ไม่สามารถต้านทานการบุกรุกล้ำดินแดนของญี่ปุ่นได้ เพื่อเป็นการรวบรวมจีนและกำจัดเหล่าขุนศึกตามท้องถิ่นให้หมดสิ้นไป พรรคก๊กมินตั๋งซึ่งมีฐานอยู่ที่เมืองกวางโจว ได้ก่อตั้งกองทัพปฏิวัติแห่งชาติ ออกเดินทางไกลขึ้นเหนือ[20]

วิกฤตการณ์จี๋หนาน

[แก้]

ในปี พ.ศ. 2469 – พ.ศ. 2471 พรรคก๊กมินตั๋งและกองทัพปฏิวัติแห่งชาติ ได้ปราบปรามขยายขอบเขตอิทธิพลกระทั่งประชิดดินแดนชานตง ซึ่งเป็นเขตอิทธิพลของขุนนศึก จาง จงชาน ผู้ได้รับการช่วยเหลือจากญี่ปุ่น กองทัพปฏิวัติแห่งชาติถูกต่อต้านอย่างหนักจากกองทัพของจาง จงชาน ที่เมืองจี๋หนาน ในปี พ.ศ. 2471 เหตุการณ์นี้ถูกเรียกว่า “วิกฤตการณ์จี๋หนาน” สุดท้ายพรรคก๊กมินตั๋งและกองทัพปฏิวัติแห่งชาติต้องล่าถอยออกมาจากจี๋หนาน[21]

ในปีเดียวกัน จาง จัวหลิน ถูกลอบสังหารหลังได้รับการช่วยเหลือจากญี่ปุ่นไม่นาน[22] จากนั้นบุตรชายของเขา จาง เฉวเหลียง ได้เข้าครอบครองดินแดนแมนจูเรียต่อจากบิดาทันที ประกาศยกเลิกการขอรับความช่วยเหลือจากญี่ปุ่น และประกาศยอมเข้าสวามิภักดิ์ต่อพรรคก๊กมินตั๋ง ซึ่งในขณะนั้นนำโดย เจียง ไคเชก อันเป็นผลทำให้พรรคก๊กมินตั๋งสามารถรวบรวมดินแดนประเทศจีนได้สำเร็จในปี พ.ศ. 2481[23]

อย่างไรก็ตาม ในปี พ.ศ. 2473 ได้เกิดเหตุการณ์จลาจลระหว่างขุนศึกผู้ที่เคยร่วมมือกับพรรคก๊กมินตั๋งในระหว่างการเดินทางไกลขึ้นเหนือ กับรัฐบาลกลางของเจียง ไคเช็ก ยกตัวอย่างเช่น พรรคคอมมิวนิสต์จีน (CCP) ได้ก่อการจลาจลต่อรัฐบาลกลาง ภายหลังเหตุการณ์การสังหารหมู่ที่เมืองเซี่ยงไฮ้ ในปี พ.ศ. 2470 ดังนั้นรัฐบาลกลาง จึงได้พยายามเบี่ยงเบนความสนใจในเรื่องความไม่สงบภายในประเทศ โดยได้ประกาศ “นโยบายสงบภายในก่อนที่จะต้านทานภายนอก”

มูลเหตุของสงคราม

[แก้]

ญี่ปุ่นเริ่มการรุกรานแมนจูเรียและการแทรกแซงในจีน

[แก้]
กองทัพคันโตขณะเดินทางเข้ายึดเมืองเฉิ่นหยางในเหตุการณ์กรณีมุกเดน

สถานการณ์ความวุ่นวายภายในของจีนเป็นปัจจัยหนึ่งที่ทำให้ญี่ปุ่นสามารถดำเนินนโยบายรุกรานแมนจูเรียได้โดยสะดวก ญี่ปุ่นเล็งเห็นผลประโยชน์ในดินแดนแมนจูเรียหลายประการ เช่น ดินแดนแมนจูเรียมีทรัพยากรทางธรรมชาติและวัตถุดิบทางอุตสาหกรรมมหาศาล และสามารถเป็นแหล่งกระจายสินค้าของญี่ปุ่น อีกทั้งยังเป็นรัฐกันชนระหว่างญี่ปุ่นกับดินแดนไซบีเรียของสหภาพโซเวียต

การแผ่ขยายดินแดนของจักรวรรดิญี่ปุ่น
*เกาะญี่ปุ่นและดินแดนยึดครองอื่น ๆ   (สีแดงส้ม)
*ดินแดนแมนจูเรีย   (สีเขียว)
*สาธารณรัฐจีน   (สีเหลืองครีม)
ดินแดนยึดครองของญี่ปุ่นช่วงต้นสงคราม แสดงดินแดนแมนจูเรีย (ซึ่งต่อมาได้กลายมาเป็นแมนจูกัว)และเกาหลีภายใต้การปกครองของญี่ปุ่น   (สีชมพู)

ญี่ปุ่นจึงเริ่มรุกรานดินแดนแมนจูเรียอย่างเปิดเผยภายหลังกรณีมุกเดน ในเดือนกันยายน พ.ศ. 2474 หลังจากการประทะกันนาน 5 เดือน ญี่ปุ่นได้จัดตั้งรัฐหุ่นเชิดแมนจูกัวขึ้น โดยอัญเชิญจักรพรรดิปูยี อดีตจักรพรรดิองค์สุดท้ายแห่งราชวงศ์ชิง เป็นผู้สำเร็จราชการแผ่นดินและจักรพรรดิแต่เพียงในนาม แต่รัฐบาลจีนไม่ให้การยอมรับรับรองดินแดนหุ่นเชิดดังกล่าว เมื่อไม่สามารถตอบโต้ทางทหารได้ จีนจึงร้องเรียนขอความช่วยเหลือไปยังสันนิบาตชาติให้เข้ามาช่วยแก้ปัญหาความขัดแย้ง

สันนิบาตชาติดำเนินการสอบสวนเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นและออกแถลงการณ์ลิตตัน เพื่อประณามการกระทำของญี่ปุ่นในการรุกรานแมนจูเรีย แต่ญี่ปุ่นกลับไม่รับผิดชอบต่อการรุกรานทางทหารต่อแมนจูเรียและกลับขอถอนตัวออกจากสันนิบาตชาติโดยสิ้นเชิง แต่ก็ยังไม่มีชาติใดกล้าดำเนินนโนบายตอบโต้ทางทหารอย่างชัดเจนกับญี่ปุ่น

แผนที่แสดงเขตการยึดครองประเทศจีนของจักรวรรดิญี่ปุ่นในปี ค.ศ. 1940 ดินแดนที่ถูกยึดครองโดยกองทัพญี่ปุ่นแสดงอาณาเขต   (สีแดงชมพู)
ส่วนบริเวณที่เหลือคือเขตที่อยู่ภายใต้การป้องกันของสาธารณรัฐจีน แสดงอาณาเขต   (สีขาว)

ภายหลังจากกรณีมุกเดน เกิดการประทะกันอย่างต่อเนื่องในปี พ.ศ. 2475 กำลังทหารของจีนและญี่ปุ่นได้เปิดการประทะกันในกรณี 28 มกราคม ผลจากการประทะกันครั้งนี้ได้เกิดการจัดตั้งเขตปลอดทหารเซี่ยงไฮ้ขึ้น ทำให้ทางกองทัพจีนไม่สามารถคงกำลังทหารไว้ในเมืองเซี่ยงไฮ้ของตนเองได้ ทางด้านแมนจูกัวญี่ปุ่นพยายามดำเนินตามนโยบายของตนในการทำลายกองกำลังอาสาสมัครต่อต้านญี่ปุ่นที่เกิดขึ้นและกระจายเป็นวงกว้าง

ในปี พ.ศ. 2476 ญี่ปุ่นเข้าโจมตีบริเวณกำแพงเมืองจีน หลังจากนั้นได้มีการเจรจาพักรบตางกู ให้อำนาจญี่ปุ่นมีเหนือดินแดนเร่อเหอ อีกทั้งยังจัดตั้งเขตปลอดทหารบริเวณกำแพงเมืองจีนกับเมืองปักกิ่ง - เทียนจิน ในจุดนี้ญี่ปุ่นพยายามจะจัดตั้งรัฐหุ่นเชิดขึ้นอีกหนึ่งแห่งระหว่างดินแดนแมนจูกัวกับดินแดนของคณะรัฐบาลแห่งชาติจีนที่มีฐานบัญชาการอยู่ที่นานกิง

ญี่ปุ่นพยายามยุยงให้มีความแตกแยกภายในกันเองของจีน เพื่อเป็นการบั่นทอนกำลังทหารของจีนให้อ่อนแอลง ซึ่งญี่ปุ่นทราบจุดอ่อนของรัฐบาลจีนคณะชาติดีว่า ภายหลังการเดินการขึ้นเหนือของคณะรัฐบาลแห่งชาติจีน อำนาจการปกครองประเทศของรัฐบาลแห่งชาตินั้นจำกัดอยู่เฉพาะในดินแดนบริเวณลุ่มแม่น้ำแยงซีเท่านั้น หากแต่ดินแดนในส่วนอื่นนั้นยังตกอยู่ภายใต้อิทธิพลของเหล่าขุนศึกท้องถิ่นอยู่ ญี่ปุ่นจึงพยายามผูกไมตรีและให้ความช่วยเหลือแก่เหล่าขุนศึกท้องถิ่นในการจัดตั้งรัฐอิสระขึ้นโดยให้เป็นไมตรีกับญี่ปุ่น ดินแดนเหล่านี้ได้แก่ ฉาเห่ย์ สุยหย่วน เหอเป่ย์ ซานซี และซานตง

นโยบายของญี่ปุ่นประสบความสำเร็จเป็นอย่างดีในดินแดนที่ปัจจุบันคือบริเวณมองโกเลียในและมณฑลเหอเป่ย์ ในปี พ.ศ. 2478 ญี่ปุ่นกดดันให้รัฐบาลจีนยอมลงนามในข้อตกลงเหอ-อุเมะซุ ซึ่งมีเนื้อหาห้ามมิให้รัฐบาลก็กมินตั๋งเข้าไปมีอำนาจปกครองในมณฑลเหอเป่ย์ ในปีเดียวกันจีนจำต้องลงนามในข้อตกลงชิน-โดะอิฮะระอีกฉบับหนึ่ง เป็นการกำจัดอำนาจของรัฐบาลก็กมินตั๋งออกจากฉาเห่ย์ ด้วยเหตุนี้ นับตั้งแต่ปลายปี พ.ศ. 2478 เป็นต้นมา รัฐบาลแห่งชาติจีนจึงไม่มีอำนาจปกครองเหนือดินแดนดังกล่าวอีกต่อไป ญี่ปุ่นได้สนับสนุนให้มีการจัดตั้งสภาปกครองตนเองเหอเป่ย์ตะวันออกขึ้น ซึ่งต่อมาทางการญี่ปุ่นได้เปลี่ยนสถานะการปกครองใหม่และเปลี่ยนชื่อเป็นเหม่งเจียงเป็นรัฐหุ่นเชิดแห่งที่สองโดยได้ส่งเจ้าชายมองโกลเดมชูงดอมรอปช์ไปปกครองและให้การสนับสนุนด้านการทหารและเศรษฐกิจ ทางด้านจีนได้มีการจัดตั้งกองอาสาสมัครต่อต้านญี่ปุ่นขึ้น ญี่ปุ่นจึงเริ่มเข้ารุกรานแมนจูเรียและในฉาเห่ย์ สุยหย่วน

การรุกรานจีนอย่างเต็มตัว

[แก้]
ประชาชนจีนจำนวนมากในนานกิงเสียชีวิตจากการโจมตีของญี่ปุ่น
เจียงไคเช็กปราศรัยโจมตีคว่ำบาตรสินค้าญี่ปุ่นและอ่านคำประกาศสงครามต่อญี่ปุ่นหลังจากเหตุการณ์ ณ สะพานมาร์โค โปโล

หลักฐานทางประวัติศาสตร์ส่วนมากได้ระบุจุดเริ่มต้นของสงครามจีนญี่ปุ่นครั้งที่สองเมื่อวันที่ 7 กรกฎาคม 1937 ตั้งแต่เหตุการณ์สะพานมาร์โคโปโล เมื่อสงครามรุนแรงเกิดขึ้นเมื่อเมืองปักกิ่งถูกโจมตีโดยกองทัพจักรวรรดิญี่ปุ่นเนื่องจากกองทัพภาคตะวันตกเฉียงเหนือของจีนที่มีการรับมือแบบไม่มีประสิทธิภาพทำให้ญี่ปุ่นเข้ายึดเมืองเป่ยผิงและเทียนจินอย่างง่ายดาย

ศูนย์กองบัญชาการกองทัพจักรวรรดิญี่ปุ่นในโตเกียวได้เริ่มลังเลถึงการขยายความขัดแย้งที่เข้าสู่สงครามเต็มตัวเป็นความเห็นด้วยที่มีชัยชนะเกิดขึ้นได้ในภาคเหนือของจีนต่อไปนี้เหตุการณ์สะพานมาร์โคโปโล อย่างไรก็ตามรัฐบาลกลางจีนได้กำหนดว่า "จุดแตกหัก" ของการรุกรานของญี่ปุ่นได้รับถึงและ เจียงไคเชกได้ระดมกองทัพอย่างรวดเร็วของรัฐบาลกลางและได้เริ่มการพัฒนากองทัพอากาศจีนคณะชาติภายใต้คำสั่งโดยตรงของเขาในการโจมตีกองทัพเรือจักรวรรดิญี่ปุ่นในเซี่ยงไฮ้เมื่อ 13 สิงหาคม 1937 ซึ่งนำไปสู่การยุทธการเมืองเซี่ยงไฮ้กองทัพจักรวรรดิญี่ปุ่นที่มีการระดมกำลังทหารกว่า 200,000 ควบคู่กับกองเรือและเครื่องบินจำนวนมากในการยึดเซี่ยงไฮ้หลังจากเกินสามเดือนของการต่อสู้ที่รุนแรงกับความสูญเสียที่ไกลเกินความคาดหวังตั้งแต่เริ่มต้นทำให้สร้างความยากลำบากในการที่จะยึดเซี่ยงไฮ้.[24] กองทัพจักรวรรดิญี่ปุ่นได้เข้ายึดเมืองนานกิงเมืองหลวงของรัฐบาลกลางจีนและฉ่านซีตอนเหนือโดยปลายปี ค.ศ. 1937 ในสงครามที่เกี่ยวข้องกับทหารจำนวน 350,000 คนของญี่ปุ่นซึ่งส่วนใหญ่เป็นทหารของแมนจูกัว

นักประวัติศาสตร์ได้ประมาณการชาวจีนถึง 300,000 คนที่ถูกสังหารหมู่ในการสังหารหมู่นานกิงซึ่งเกิดขึ้นหลังจากการล่มสลายของเมืองนานกิง ในวันที่ 13 ธันวาคม ค.ศ. 1937 ในขณะที่นักประวัติศาสตร์ญี่ปุ่นบางคนได้แก้ไขปรับปรุงประวัติศาสตร์ซึ่งได้ปฏิเสธการสังหารหมู่ของญี่ปุ่น

กองกำลังเปรียบเทียบ

[แก้]

กองทัพปฏิวัติชาติ

[แก้]
ธงของกองทัพปฏิวัติจีนคณะชาติ
ทหารของกองทัพปฏิวัติจีนคณะชาติ

กองทัพปฏิวัติชาติมีเจียงไคเช็กเป็นผู้บัญชาการสูงสุด กองทัพปฏิวัติชาติเป็นที่รับรู้ว่าเป็นกองกำลังติดอาวุธแบบครบวงจรของจีนในช่วงสงคราม กองทัพปฏิวัติชาติประกอบด้วยทหารประมาณ 4,300,000 นาย มี 370 กองพล (จีนตัวย่อ: 正式师; จีนตัวเต็ม: 正式師), 46 กองพลใหม่ (จีนตัวย่อ: 新编师; จีนตัวเต็ม: 新編師), 12 กองพลทหารม้า (จีนตัวย่อ: 骑兵师; จีนตัวเต็ม: 騎兵師), 8 กองพลทหารม้าใหม่ (จีนตัวย่อ: 新编骑兵师; จีนตัวเต็ม: 新編騎兵師), 66 กองพลชั่วคราว (จีนตัวย่อ: 暂编师; จีนตัวเต็ม: 暫編師), และ 13 กองพลสำรอง (จีนตัวย่อ: 预备师; จีนตัวเต็ม: 預備師), รวมทั้งสิ้น 515 หน่วย

แต่หลายกองพลเกิดจากการรวมกันของสองกองพลหรือมากกว่า จำนวนทหารในแต่ละกองพลมีประมาณ 4,000-5,000 นาย กำลังพลของกองทัพจีนคณะชาติถ้าเทียบกับกองพลญี่ปุ่นแล้วมีจำนวนใกล้เคียงกัน แต่เนื่องจากกองทัพจีนคณะชาตินั้นขาดแคลนด้านปืนใหญ่, อาวุธหนัก, และยานยนต์ที่ใช้ขนส่งกำลังพล ทำให้ 4 กองพลของจีนคณะชาติมีอำนาจในการรบเท่ากับ 1 กองพลของกองทัพญี่ปุ่น นอกจากนี้ยังมีปัญหาในการบริหารและควบคุมกองทัพอีกด้วย เนื่องจากอำนาจในการควบคุมไม่เป็นระบบ สื่อข่าวกรอง, การส่งกำลังบำรุงในการทหาร, การสื่อสาร, และการพยาบาลนั้นถือว่าย่ำแย่ อำนาจควบคุมกองทัพจีนคณะชาตินั้นแบ่งออกเป็นสองกลุ่ม กลุ่มแรกคือ กองทัพกลาง ซึ่งเป็นการรวมตัวของกองพลที่ฝึกในโรงเรียนทหาร ฮ่วมปั่ว ซึ่งเป็นกองพลที่จงรักภักดีต่อเจียงไคเช็ค กลุ่มที่สองคือ กองทัพรวม เป็นการรวมตัวของกองพลที่บัญชาการโดยแม่ทัพของมณฑลต่าง ๆ

หลังจากบทเรียนความพ่ายแพ้ของจีนในการรุกรานแมนจูเรียของญี่ปุ่น ทำให้พรรคก๊กมินตั๋งไม่นิ่งนอนใจต่อการคุกคามของญี่ปุ่นอีกต่อไป กองทัพปฏิวัติชาติได้พยายามก่อตั้งกองทัพขนาดใหญ่โดยซื้ออาวุธจากเยอรมันและทำการฝึกทหารใหม่ จัดซื้ออาวุธใหม่ ๆ เข้าประจำในกองทัพ กองทัพปฏิวัติชาติขยายกำลังพลอย่างรวดเร็ว ในช่วงเวลาไม่กี่ปีก็มีจำนวนทหารส่วนใหญ่ได้รับการฝึกแบบกองทัพเยอรมัน มีการแลกเปลี่ยนผู้เชี่ยวชาญหรือนักการทหารกับเยอรมันอย่างต่อเนื่อง

กองทัพจักรวรรดิญี่ปุ่น

[แก้]
ธงของกองทัพจักรวรรดิญี่ปุ่น
ทหารของกองทัพจักรวรรดิญี่ปุ่น

กองทัพจักรวรรดิญี่ปุ่นมีกำลังพลประมาณ 3,200,000 นาย ส่วนใหญ่ประจำการอยู่ที่ประเทศจีนมากกว่าที่สมรภูมิแปซิฟิค จำนวนทหารในแต่ละกองพลมีประมาณ 20,000 นาย มี 51 กองพล ซึ่ง 35 กองพลประจำการอยู่ที่จีน และ 39 กองพลน้อย คิดเป็น 80% ของกำลังพลทั้งหมดของกองทัพจักรวรรดิญี่ปุ่น อีกทั้งยังมีหน่วยพิเศษด้านปืนใหญ่, ทหารม้า, ต่อต้านอากาศยาน, และยานเกราะ เมื่อเทียบกับกองทัพจีนคณะชาติ ทหารกองทัพจักรวรรดิญี่ปุ่นมียุทโธปกรณ์ที่เหนือกว่า ทหารมีประสบการณ์ในการรบมากกว่า และมีแผนการรบที่เหนือกว่าในช่วงต้นของสงคราม

ในช่วงเริ่มต้นของสงครามโลกครั้งที่สอง ทหารญี่ปุ่นส่วนใหญ่ประจำการอยู่ที่จีน แต่ในปี ค.ศ. 1942 ได้เริ่มส่งทหารไปประจำการที่ฮ่องกง, ฟิลิปปินส์, ไทย, พม่า, หมู่เกาะอินเดียตะวันออกของดัตช์, และ มาลายา เพื่อขยายอิทธิพลยึดครองภูมิภาคเอเซียแปซิฟิกแต่ละประเทศที่บุกยึดได้ก็จะ ต้องคอยส่งเสบียง และ ช่วยในการผลิตอาวุธ รวมถึงการเกณฑ์ผู้คนและเชลยศึกไปเป็นแรงงานในการสร้างค่ายทหาร,สร้าง ถนน,สร้างทางรถไฟ เพื่อสะดวกในการขนเสบียงและอาวุธยุทโธปกรณ์ต่าง ๆ ไปแนวหน้า ส่วนพวกผู้หญิงก็จะถูกจับตัวไปเป็นนางบำเรอของทหารญี่ปุ่น.

การยุทธครั้งสำคัญในสงครามจีน-ญี่ปุ่นครั้งที่สอง

[แก้]

รายการต่อไปนี้แสดงถึงการยุทธครั้งสำคัญในสงครามจีน-ญี่ปุ่นครั้งที่สอง ภาพธงที่แสดงด้านหน้าหมายถึงฝ่ายที่ได้รับชัยชนะ

วัฒนธรรมสมัยนิยม

[แก้]

ในประเทศจีน

[แก้]
  • ภาพยนตร์เรื่อง บนภูเขาไท่หาง (จีน: 太行山上), (อังกฤษ: On the Mountain of Tai Hang) เป็นภาพยนตร์สงครามที่สร้างในปี ค.ศ. 2005 เกี่ยวกับสงครามระหว่างจีนและญี่ปุ่นซึ่งในระหว่างที่กองทัพจักรวรรดิญี่ปุ่นรุกรานประเทศจีนในช่วงแรกนั้นรัฐบางสาธารณรัฐจีนที่ปกครองโดยพรรคก๊กมินตั๋ง (จีนคณะชาติ) ได้ทำการต่อต้านรับมือการรุกรานของญี่ปุ่นแต่ประสบความล้มเหลว จนฝ่ายพรรคคอมมิวนิสต์จีน กองทัพที่แปดของนายพลจูเต๋อได้ไปตั้งหลักที่ภูเขาไท่หางและทำสงครามกองโจรกับญี่ปุ่นจนได้รับชัยชนะในที่สุด

ภาพยนตร์ตีแผ่เกี่ยวกับอาชญากรสงครามของญี่ปุ่น

  • ภาพยนตร์เรื่อง Black Sun: The Nanking Massacre สะท้อนถึงเหตุการณ์ของการสังหารหมู่นานกิงโดยกองทัพญี่ปุ่น
  • ภาพยนตร์เรื่อง Don't Cry, Nanking หรือ สงครามอำมหิตปิดตาโลก เป็นภาพยนตร์ปี ค.ศ. 1995 บอกเล่าเรื่องราวความอำมหิตของกองทัพญี่ปุ่นที่กระทำต่อชาวนานกิงในช่วงปี ค.ศ. 1937 จนกลายเป็นหนึ่งในโศกนาฎกรรมของโลก โดยเล่าผ่านชีวิตครอบครัวของแพทย์ชาวจีนกับภรรยาตั้งครรภ์ชาวญี่ปุ่นพร้อมลูกสาวที่เดินทางกลับมายังเมืองนานกิง ก่อนจะพบว่าบ้านเมืองได้ถูกยึดครองทำลายและฆ่าล้างอย่างโหดร้ายโดยกองทัพญี่ปุ่น
  • ภาพยนตร์เรื่อง จับคนมาทำเชื้อโรค หรือ Men Behind the Sun ภาพยนตร์อิงประวัติศาสตร์ปี ค.ศ. 1988 เกี่ยวกับค่ายทดลองมนุษย์หน่วย 731 ของจักรวรรดิญี่ปุ่น บริเวณดินแดนแมนจูกัวโดยอาศัยชาวจีนที่เคราะห์ร้ายมาทำการทดลองมนุษย์เพื่อวิจัยอาวุธอย่างโหดร้าย

ในประเทศญี่ปุ่น

[แก้]
  • ภาพยนตร์เรื่อง เซ็นโซโตะนิงเง็น (戦争と人間) เป็นภาพยนตร์ที่ญี่ปุ่นได้จัดทำขึ้นมาเอง เนื้อเรื่องสะท้อนเหตุการณ์ของสงครามจากมุมมองฝ่ายญี่ปุ่นถึงความโหดร้ายของการกองทัพญี่ปุ่นที่เข้าไปรุกรานประเทศจีนและได้ก่ออาชญากรรมสงครามขึ้น

ประเทศอื่น ๆ

[แก้]
  • นวนิยายไทยเรื่อง ลอดลายมังกร ว่าด้วยเรื่องราวของชาวจีนโพ้นทะเลที่อพยพหนีภัยสงครามในแผ่นดินจีนที่รุกรานโดยกองทัพญี่ปุ่นมาตั้งถิ่นฐานในประเทศไทย

เชิงอรรถ

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. Taylor, Jay, The Generalissimo, p.645.
  2. Chung Wu Taipei "History of the Sino-Japanese war (1937-1945)" 1972 pp 535
  3. Jowett, Phillip, Rays of the Rising Sun, หน้า 72.
  4. Clodfelter, Michael "Warfare and Armed Conflicts: A Statistical Reference", Vol. 2, pp. 956.
  5. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-03-13. สืบค้นเมื่อ 2008-11-02.
  6. Huang, Zheping; Huang, Zheping. "China is rewriting textbooks so its "eight-year war of resistance" against Japan is now six years longer". Quartz (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2019-04-08.
  7. Ferris, John; Mawdsley, Evan (2015). The Cambridge History of the Second World War, Volume I: Fighting the War (ภาษาอังกฤษ). Cambridge: Cambridge University Press.
  8. Förster & Gessler 2005, p. 64.
  9. Bix, Herbert P. (1992), "The Showa Emperor's 'Monologue' and the Problem of War Responsibility", Journal of Japanese Studies, 18 (2): 295–363, doi:10.2307/132824
  10. Hotta, E. (25 December 2007). Pan-Asianism and Japan's War 1931-1945. Palgrave Macmillan US. p. 40. ISBN 978-0-230-60992-1.
  11. Paine, S. C. M. (20 August 2012). The Wars for Asia, 1911–1949. Cambridge University Press. p. 123. ISBN 978-1-139-56087-0.
  12. A Joint Study of the Sino-Japanese War 1931-1945. Harvard University Asia Center.
  13. Mitter, Rana (2014). Forgotten Ally: China's World War II, 1937–1945. Mariner Books. ISBN 978-0-544-33450-2.
  14. Brinkley, Douglas. The New York Times Living History: World War II, 1942–1945: The Allied Counteroffensive. สืบค้นเมื่อ 1 September 2015.
  15. The UN Security Council, คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 20 มิถุนายน 2012, สืบค้นเมื่อ 1 กันยายน 2015
  16. Wilson, Dick, When Tigers Fight: The story of the Sino-Japanese War, 1937-1945, p.5
  17. Wilson, Dick, p.4
  18. "Foreign News: Revenge?". Time magazine. 13 August 1923. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-12-22. สืบค้นเมื่อ 2010-09-15.
  19. Palmer and Colton, A History of Modern World, p.725
  20. Taylor, Jay, p.57
  21. Taylor, Jay, p.79, p.82
  22. Boorman, Biographical Dictionary, vol.1, p.121
  23. Taylor, Jay, p.83
  24. Fu Jing-hui, An Introduction of Chinese and Foreign History of War, 2003, p.109–111

บรรณานุกรม

[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]


อ้างอิงผิดพลาด: มีป้ายระบุ <ref> สำหรับกลุ่มชื่อ "lower-alpha" แต่ไม่พบป้ายระบุ <references group="lower-alpha"/> ที่สอดคล้องกัน