ข้ามไปเนื้อหา

นางบำเรอ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เด็กหญิงชาวจีนคนหนึ่งซึ่งเคยเป็นนางบำเรอใน "กองพันนางบำเรอ" (comfort battalion) ของกองทัพญี่ปุ่น ให้ปากคำแก่ทหารสัมพันธมิตรที่ย่างกุ้งเมื่อวันที่ 8 สิงหาคม ค.ศ. 1945

นางบำเรอ (อังกฤษ: comfort woman; ญี่ปุ่น: 慰安婦โรมาจิianfu) เป็นคำเรียกสตรีในดินแดนที่กองทัพจักรวรรดิญี่ปุ่นยึดครองได้ก่อนสงครามโลกครั้งที่สองและในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง ซึ่งกองทัพญี่ปุ่นบังคับให้เป็นทาสทางเพศ (sexual slave)[1][2][3] แม้สิ้นสงครามแล้ว การใช้คำว่า "นางบำเรอ" เรียกสตรีดังกล่าวต่อไป ก็เป็นที่โต้แย้งและคัดค้านกันมาตลอด โดยเฉพาะจากสตรีเหล่านั้นเองและจากประเทศของสตรีเหล่านั้น เพราะแท้จริงแล้วสถานะของพวกเธอมิใช่เพื่อ "บำเรอ" แต่เป็น "ทาสทางเพศ"[4]

คำว่า "นางบำเรอ" แปลจากคำว่า "อิอันฟุ" ในภาษาญี่ปุ่น[5] ซึ่งใช้เรียก "โสเภณี" เพื่อให้ฟังดูนุ่มนวลขึ้น[6]

จำนวนสตรีที่ถูกจับเป็นนางบำเรอ มีประเมินไว้ต่างกันไป เช่น อิกูฮิโกะ ฮาตะ (Ikuhiko Hata) นักประวัติศาสตร์ชาวญี่ปุ่น ประเมินไว้ต่ำมากว่า มีสัก 20,000 คน[7] ส่วนนักวิชาการชาวจีนคนหนึ่งว่า สูงถึง 360,000–410,000 คน[8] แต่ตัวเลขที่แน่นอนก็ยังเป็นที่ค้นคว้าและถกเถียงกันอยู่[9] สตรีส่วนใหญ่มาจากประเทศที่ญี่ปุ่นยึดครองได้ เช่น เกาหลี, จีน, และฟิลิปปินส์[10] นอกจากนี้ ปรากฏว่า "สำนักบำเรอ" (comfort station) ของทหารญี่ปุ่นในญี่ปุ่นเอง รวมถึงในจีน, ไทย, นิวกินี, พม่า, ฟิลิปปินส์, มาเก๊า, มาเลเซีย, อินโดจีน, อินโดนีเซีย, และฮ่องกง[11] มีการใช้สตรีจากติมอร์, ไต้หวัน, ไทย, นิวกินี, พม่า, มาเลเซีย, แมนจู, อินเดียตะวันออก, อินโดจีน, และดินแดนอื่น ๆ ที่ญี่ปุ่นยึดครองได้[12][13][14] สตรีกลุ่มเล็ก ๆ บางกลุ่มก็มาจากยุโรป เช่น จากเนเธอร์แลนด์และออสเตรเลีย[15] เฉพาะสตรีที่เป็นชาวดัตช์ ประเมินไว้ที่ 200–400 คน[16]

ตามปากคำของหลายบุคคล สตรีข้างต้นลักพามาจากบ้านในดินแดนที่ญี่ปุ่นยึดครองได้ และมีหลายกรณีที่สตรีถูกล่อลวงมาโดยสัญญาว่า จะพาไปทำงานในโรงงานหรือร้านอาหาร หรือจะพาไปให้การศึกษาเล่าเรียนอย่างสูง แต่เมื่อได้ตัวมาแล้ว ก็ขังไว้ในสำนักบำเรอทั้งในประเทศบ้านเกิดของพวกเธอเองและต่างประเทศ[17]

อ้างอิง

[แก้]
  1. The Asian Women's Fund. "Who were the Comfort Women?-The Establishment of Comfort Stations". Digital Museum The Comfort Women Issue and the Asian Women's Fund. The Asian Women's Fund. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ August 7, 2014. สืบค้นเมื่อ August 8, 2014.
  2. The Asian Women's Fund. "Hall I: Japanese Military and Comfort Women". Digital Museum The Comfort Women Issue and the Asian Women's Fund. The Asian Women's Fund. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ March 15, 2013. สืบค้นเมื่อ August 12, 2014. The so-called 'wartime comfort women' were those who were taken to former Japanese military installations, such as comfort stations, for a certain period during wartime in the past and forced to provide sexual services to officers and soldiers.
  3. Argibay 2003
  4. NPR. "'Japan Times' Newspaper Redefines 'Comfort Women' And 'Forced Labor'". สืบค้นเมื่อ November 30, 2018.
  5. Soh 2009, p. 69 "It referred to adult female (fu/bu) who provided sexual services to "comfort and entertain" (ian/wian) the warrior...
  6. Fujioka, Nobukatsu (1996). 污辱の近現代史: いま、克服のとき [Attainder of modern history] (ภาษาญี่ปุ่น). Tokuma Shoten. p. 39. 慰安婦は戦地で外征軍を相手とする娼婦を指す用語(婉曲用語)だった。 (Ianfu was a euphemism for the prostitutes who served for the Japanese expeditionary forces outside Japan)
  7. Asian Women's Fund, pp. 10–11
  8. Huang 2012, p. 206 "Although Ianfu came from all regions or countries annexed or occupied by Japan before 1945, most of them were Chinese or Korean. Researchers at the Research Center of the Chinese Comfort Women Issue of Shanghai Normal University estimate that the total number of comfort women at 360,000 to 410,000."
  9. Rose 2005, p. 88
  10. "Women and World War II – Comfort Women". Womenshistory.about.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ March 29, 2013. สืบค้นเมื่อ March 26, 2013.
  11. Reuters 2007-03-05.
  12. Coop, Stephanie (December 23, 2006). "Japan's Wartime Sex Slave Exhibition Exposes Darkness in East Timor". Japan Times. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ March 26, 2009. สืบค้นเมื่อ June 29, 2014.
  13. Yoshida 2007-04-18
  14. ""Japanese Troops Took Locals as Comfort Women": International". Pacific Islands Report. 21 September 1999. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-04-14. สืบค้นเมื่อ 2019-05-31.
  15. "Documents detail how Imperial military forced Dutch females to be 'comfort women'". Japan Times. October 7, 2013. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ March 2, 2017.
  16. ""Comfort Woman" Ellen van der Ploeg passed away". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ January 5, 2016. สืบค้นเมื่อ January 1, 2016.
  17. Yoshimi 2000, pp. 100–101, 105–106, 110–111;
    Fackler 2007-03-06;
    BBC 2007-03-02;
    BBC 2007-03-08;
    Pramoedya 2001.

บรรณานุกรม

[แก้]
สหประชาชาติ
รัฐบาลญี่ปุ่น
รัฐบาลเนเธอร์แลนด์
รัฐบาลสหรัฐ
หนังสือ
บทความในวารสาร
บทความข่าว

แหล่งข้อมูลออนไลน์

อ่านเพิ่มเติม

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]