ข้ามไปเนื้อหา

การทัพนอร์เวย์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
การทัพนอร์เวย์
ส่วนหนึ่งของ สงครามโลกครั้งที่สอง

ปฏิบัติการแวร์เซอร์รีบุง
วันที่9 เมษายน ค.ศ. 1940 - 10 มิถุนายน ค.ศ. 1940
สถานที่
ผล นาซีเยอรมนีได้รับชัยชนะ เดนมาร์กและนอร์เวย์ถูกยึดครองโดยเยอรมนี
คู่สงคราม
เยอรมนี นาซีเยอรมนี นอร์เวย์ นอร์เวย์
สหราชอาณาจักร สหราชอาณาจักร
ฝรั่งเศส ฝรั่งเศส
โปแลนด์ โปแลนด์
เดนมาร์ก เดนมาร์ก
กำลัง
9 กองพลทหารราบ
1 กองพันปืนใหญ่
1 กองพลน้อยยานเกราะ
นอร์เวย์ นอร์เวย์: 6 กองพลทหารราบ(114,500)
เดนมาร์ก เดนมาร์ก: 2 กองพลทหารราบ
ความสูญเสีย
ไม่ทราบจำนวน หลายร้อยนาย

การทัพนอร์เวย์ หรือ ปฏิบัติการเวเซอร์อือบุง เป็นการเผชิญหน้ากันอย่างเต็มรูปแบบเป็นครั้งแรกของสงครามโลกครั้งที่สอง ระหว่างฝ่ายสัมพันธมิตรกับนาซีเยอรมนี

เยอรมนีนั้นต้องการที่จะครอบครองนอร์เวย์เพื่อเหล็กและโลหะจากสวีเดนอีกต่อหนึ่ง ซึ่งขนส่งทางเรือจากเมืองท่านาร์วิก ด้วยการยึดครองเมืองท่าอย่างสมบูรณ์ ก็จะทำให้การขนส่งทรัพยากรดังกล่าวเพื่อป้อนเข้าสู่โรงงานอุตสาหกรรม แม้ว่าจะถูกขัดขวางด้วยการปิดล้อมทางทะเลจากอังกฤษ นอกจากนั้นแล้ว มันยังทำให้ฝ่ายสัมพันธมิตรและเยอรมนีสามารถรบกันได้ด้วยการรบแบบสนามเพลาะซึ่งทั้งสองฝ่ายหวาดกลัว ต่อมาเมื่อยุทธนาวีมหาสมุทรแอตแลนติกขยายออกไป สนามบินของนอร์เวย์ เช่น สนามบินโซลา ในเมืองสตาวังเงร์ ซึ่งเครื่องบินสำรวจเยอรมันใช้เพื่อออกปฏิบัติการในภาคพื้นมหาสมุทรแอตแลนติก

ภูมิหลัง

[แก้]

ความสำคัญของนอร์เวย์

[แก้]

ทั้งสหราชอาณาจักรและฝรั่งเศสต่างก็ได้เซ็นสัญญาความร่วมมือทางทหารกับโปแลนด์ และอีกสองวันหลังจากการรุกรานโปแลนด์ เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 1 กันยายน ค.ศ. 1939 ทั้งสองประเทศก็ได้ประกาศสงครามกับเยอรมนี แต่ว่าอย่างไรก็ตาม ทั้งสองก็มิได้เปิดแนวรบด้านตะวันตก และมิได้เกิดการรบกันครั้งสำคัญใด ๆ เกิดขึ้นในช่วงเวลาหลายเดือนที่เรียกกันว่า สงครามลวง[ต้องการอ้างอิง]

ระหว่างช่วงเวลาดังกล่าว ทั้งสองฝ่ายกำลังมองหาแนวรบที่สอง สำหรับฝ่ายสัมพันธมิตร ฝรั่งเศสนั้นมีความต้องการที่จะหลีกเลี่ยงมิให้เกิดการรบแบบสนามเพลาะอีกครั้งแบบในสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง ซึ่งได้เกิดขึ้นตามแนวรบด้านตะวันตกในสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง สำหรับฝ่ายเยอรมนี นายทหารระดับสูงนั้นมีความเห็นว่าเยอรมนีนั้นยังมีทรัพยากรไม่เพียงพอที่จะทำการรบกับฝ่ายสัมพันธมิตรในขณะนี้ ดังนั้นจึงควรโจมตีนอร์เวย์ก่อนจึงจะสามารถแผ่อิทธิพลออกไปในภายหลัง

นอร์เวย์ซึ่งยังคงวางตัวเป็นกลาง นั้นเป็นจุดยุทธศาสตร์ที่สำคัญของทั้งสองฝ่ายโดยมีสองสาเหตุ อย่างแรกคือความสำคัญของเมืองท่านาร์วิก ซึ่งสามารถขนส่งเหล็กและโลหะจากสวีเดน ซึ่งเยอรมนีต้องการมาก เส้นทางเดินเรือดังกล่าวยังเป็นเส้นทางสำคัญมากเป็นพิเศษในช่วงที่ทะเลบอลติกนั้นได้กลายเป็นน้ำแข็ง นาร์วิกยังได้มีความสำคัญมากขึ้นต่ออังกฤษ เมื่ออังกฤษทราบว่าโครงการแคทเธอรีนของอังกฤษที่จะครอบครองทะเลบอลติกนั้นไม่สามารถนำมาใช้ได้ อย่างที่สอง เมืองท่าของนอร์เวย์ยังเป็นช่องว่างของการปิดล้อมเยอรมนี ซึ่งเรือรบเยอรมันสามารถแล่นออกไปยังมหาสมุทรแอตแลนติกได้

นอร์เวย์ยังถูกมองจากพรรคนาซีว่าเป็นแหล่งกำเนิดของชนชาตินอร์ดิก-อารยันตามคำกล่าวของอดอล์ฟ ฮิตเลอร์แห่งพรรคนาซี

การยึดครองนอร์เวย์ยังมีผลสำคัญยิ่งต่อความสามารถในการใช้อำนาจทางทะเลเพื่อต่อกรกับฝ่ายสัมพันธมิตร โดยเฉพาะอย่างยิ่ง สหราชอาณาจักร เมื่อนอร์เวย์ยังคงดำรงตนเป็นกลาง โดยไม่ถูกยึดครองโดยคู่สงครามฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง นอร์เวย์ก็จะยังคงไม่เป็นพิษภัย แต่ความอ่อนแอในการป้องกันชายฝั่งของนอร์เวย์ และความไร้ความสามารถของกองทัพบกที่จะต่อกรกับศัตรูที่เข้มแข็งกว่า นายพลเรือรีดเดอร์ได้ชี้ให้เห็นหลายครั้งถึงความเป็นอันตรายของนอร์เวย์ที่จะมีแก่เยอรมนีโดยอังกฤษ เมื่ออังกฤษฉวยโอกาสที่จะรุกรานนอร์เวย์ ถ้ากองเรืออังกฤษยึดเมืองท่าเบอร์เกน นาร์วิกและทรอนด์แฮมได้ เยอรมนีจะถูกปิดล้อมทางทะเลเหนือโดยสิ้นเชิง และกองทัพเรือเยอรมันที่ประจำอยู่ในทะเลบอลติกจะตกอยู่ในอันตรายร้ายแรง

สงครามฤดูหนาว

[แก้]

ดูบทความหลักได้ที่ สงครามฤดูหนาว

สหภาพโซเวียตรุกรานฟินแลนด์เมื่อวันที่ 30 พฤศจิกายน 1939 ฝ่ายสัมพันธมิตรนั้นได้ร่วมมือกับเดนมาร์กและสวีเดนที่จะช่วยเหลือสวีเดนจากผู้รุกราน

เหตุการณ์ดังกล่าวนั้นเป็นโอกาสสำหรับฝ่ายสัมพันธมิตรซึ่งได้มอบความเห็นใจอย่างจริงใจต่อฟินแลนด์ และยังเห็นโอกาสที่จะอ้างที่จะส่งกองกำลังของตนเขาไปยึดครองแหล่งแร่ในสวีเดนและเมืองท่าในนอร์เวย์ แผนการเริ่มต้นนั้นกำหนดให้มีกองพลทหารราบ 2 กองพลซึ่งสามารถเพิ่มจำนวนทหารเป็น 150,000 นาย เพื่อที่จะทำการรบในสวีเดนตอนกลาง

การเคลื่อนไหวดังกล่าวทำให้เกิดความกังวลแก่เยอรมนี สนธิสัญญาเมโลตอฟ-ริบเบนทรอฟนั้นได้ทำให้ฟินแลนด์กลายเป็นเขตอิทธิพลของสหภาพโซเวียต และข้างเยอรมนีก็ได้วางตัวเป็นกลางในความขัดแย้งดังกล่าว นโยบายนี้ได้ก่อให้เกิดความรู้สึกต่อต้านเยอรมนีขึ้นในประชาชนแถบสแกนดิเนเวีย ตั้งแต่มีความเชื่อกันว่าเยอรมนีนั้นเป็นพันธมิตรกับสหภาพโซเวียต ความกลัวเยอรมนีนั้นทำให้นายทหารระดับสูงของเยอรมนีทำนายว่านอร์เวย์และสวีเดนอาจรับเอาความช่วยเหลือจากฝ่ายสัมพันธมิตร

แต่ว่าเหตุการณ์ดังกล่าวก็มิได้เกิดขึ้น เนื่องจากนอร์เวย์และสวีเดนได้เพิ่มความระมัดระวังหลังเฝ้าจับตามอง "การทรยศโดยชาติตะวันตก" ของโปแลนด์เมื่อโปแลนด์ถูกรุกรานในเดือนกันายายน ทั้งสองประเทศนั้นไม่ต้องการที่จะทำลายความเป็นกลางของตนและเข้าไปพัวพันกับสงครามโดยการให้ทหารชาวต่างชาติเดินผ่านเข้ามาตามแนวชายแดน ด้วยสนธิสัญญาสันติภาพมอสโกเมื่อวันที่ 12 มีนาคม 1940 ทำให้แผนการต่างๆ ของฝ่ายสัมพันธมิตรมีอันต้องล้มเลิกไป

วิดคัน ควิสลิงและการทาบทามของเยอรมนี

[แก้]
วิดคัน ควิสลิง ในปี ค.ศ. 1942 ต่อมา ผู้คนใช้ชื่อของเขาในความหมายว่า "ผู้ขายชาติ"

นายทหารระดับสูงของเยอรมนีนั้นเพ่งความสนใจไปยังความเป็นกลางของนอร์เวย์มาก ตราบเท่าที่เรือรบฝ่ายสัมพันธมิตรยังไม่แล่นเข้าสู่น่านน้ำของทะเลนอร์เวย์ เรือขนส่งสินค้าของเยอรมนีก็ยังคงปลอดภัยที่จะแล่นไปตามชายฝั่งของนอร์เวย์และขนส่งโลหะจากสวีเดนซึ่งเยอรมนีนำเข้าอยู่

พลเรือเอกเอริช เรเดอร์ โต้แย้งต่อแผนการโจมตี เขานั้นเชื่อว่าเมืองท่าของนอร์เวย์นั้นเป็นที่ที่สะดวกที่สุดที่เรืออูของเยอรมันใช้สำหรับการปิดล้อมหมู่เกาะอังกฤษ และยังคงมีความเป็นไปได้ที่กองทัพสัมพันธมิตรอาจจะยกพลขึ้นบกที่สแกนดิเนเวีย

เมื่อวันที่ 11 ธันวาคม 1939 ฮิตเลอร์และเรดเดอร์ได้เดินทางไปพบกับวิดคัน ควิสลิง (ต่อมาเขาก็ได้รับฉายาว่าเป็น "ผู้ทรยศระหว่างโลก" เลยทีเดียว) ซึ่งเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยของรัฐบาลนิยมนาซีมาก่อนในนอร์เวย์ เขาได้บอกกับฮิตเลอร์และเรดเดอร์ถึงภัยคุกคามขนาดใหญ่ที่อังกฤษอาจจะโจมตีนอร์เวย์และรัฐบาลนอร์เวย์จะสนับสนุนการยึดครองของเยอรมนีอย่างเป็นความลับ (ข้อความในตอนหลังนั้นไม่เป็นความจริง) เขายังบอกกับอีกสองคนด้วยว่าเขาอยู่ในตำแหน่งที่รับประกันจะให้ความร่วมมืออย่างเต็มที่แก่กองทัพเยอรมัน รวมไปถึงการลดปริมาณยามฝั่งของนอร์เวย์และช่วยอำนวยความสะดวกที่จะสร้างฐานทัพให้แก่เยอรมนี อีกสามวันต่อมา ฮิตเลอร์เรียกประชุมเพื่อที่จะวางแผนการรุกรานนอร์เวย์

ระหว่างการประชุมครั้งที่สองกับนายควิสเซลลิงเมื่อวันที่ 18 ธันวาคม ฮิตเลอร์ย้ำถึงความปรารถนาของเขาที่จะให้นอร์เวย์คงความเป็นกลางแต่ก็ขึ้นอยู่กับว่าฝ่ายสัมพันธมิตรจะขยายขอบเขตของสงครามมายังนอร์เวย์หรือไม่ ถ้าใช่ เขาก็จะดำเนินการตอบโต้ทันที ข้อพิรุธนั้นเกิดขึ้นเมื่อนายควิสเซลลิ่งได้พูดเกินความเป็นจริง ฮิตเลอร์จึงยกเลิกแผนการต่างๆ ที่จะร่วมมือกับเขาในอนาคต

เหตุการณ์อัลท์มาร์ค

[แก้]

ในวันที่ 14 กุมภาพันธ์ 1940 เรือบรรทุกเยอรมัน อัลท์มาร์ค (เยอรมัน: Altmark) ได้บรรทุกเชลยสงครามชาวอังกฤษจำนวน 303 คน ได้รับอนุญาตให้แล่นผ่านน่านน้ำของนอร์เวย์ได้ ตามกฎหมายนานาชาติอนุญาตให้เรือพลเรือนจากประเทศสงครามสามารถจอดพักได้เป็นบางครั้งในน่านน้ำของประเทศเป็นกลางหากได้รับอนุญาตจากประเทศนั้น ๆ กลุ่มของเรือรบอังกฤษได้ปรากฏตัวขึ้นในวันที่ 16 กุมภาพันธ์ ขณะที่เรืออัลท์มาร์คยังคงจอดอยู่ที่ริมฝั่งของนอร์เวย์ เรือรบอังกฤษได้ฝ่าฝืนกฎหมายนานาชาติและความเป็นกลางของนอร์เวย์ เรือเอชเอมเอสคอร์แซกได้เข้าโจมตีเรืออัลท์มาร์ค สังหารทหารเยอรมันไปเจ็ดนายและปลดปล่อยนักโทษทั้งหมด การละเมิดความเป็นกลางได้ก่อให้เกิดความโกรธในความรู้สึกของชาวนอร์เวย์ และมีปากเสียงกันระหว่างสองประเทศ

ฝ่ายสัมพันธมิตรนั้นมองว่าเหตุการณ์ดังกล่าวอาจจะทำให้นอร์เวย์ตัดขาดการติดต่อกับฝ่ายสัมพันธมิตรและเกือบจะทิ้งแผนไปแล้ว แต่ว่าแผนการดังกล่าวก็ถูกเลื่อนออกไปด้วยความหวังว่านอร์เวย์อาจจะยังคงเห็นด้วยที่จะให้ทหารสัมพันธมิตรยกพลขึ้นบกที่นั่น

สำหรับฝ่ายเยอรมนี เหตุการณ์ดังกล่าวได้แสดงให้เห็นว่านอร์เวย์นั้นไม่มีความสามารถที่จะรักษาความเป็นกลางไว้ได้ และอังกฤษเองก็มิได้ยินยอมต่อการวางตัวเป็นกลางของนอร์เวย์ ฮิตเลอร์ได้ออกคำสั่งให้เร่งแผนการรุกรานให้เสร็จสิ้นโดยเร็วที่สุด แผนการคือนำเอานอร์เวย์เข้าสู่สงครามและเข้ายึดเมืองท่านาร์วิกที่สำคัญ ในวันที่ 21 กุมภาพันธ์ นายพลนิโคเลาส์ ฟอน ฟัลเก็นโฮสต์ ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นผู้บัญชาการการโจมตีดังกล่าว

แผนการเริ่มต้นของทั้งสองฝ่าย

[แก้]

แผนการของฝ่ายสัมพันธมิตร

[แก้]

หลังสิ้นสุดสงครามฤดูหนาว ฝ่ายสัมพันธมิตรได้ตัดสินใจว่าการที่ปล่อยให้นอร์เวย์หรือสวีเดนถูกยึดครองนั้นจะก่อให้เกิดผลเสียมากกว่าผลดี และมีโอกาสทำให้กลุ่มประเทศเป็นกลางเข้าเป็นพันธมิตรกับเยอรมนี อย่างไรก็ตาม นายกรัฐมนตรีของฝรั่งเศสคนใหม่ คือ ปอล เรย์โนด์ นั้นได้มีท่าทีรุนแรงกว่านายกรัฐมนตรีคนก่อนและต้องการดำเนินการกับเยอรมนี เชอร์ชิลล์นั้นได้พยายามอย่างยิ่งที่จะโจมตีและยึดครองนอร์เวย์ เนื่องจากเขาก็มีความต้องการที่จะย้ายการสู้รบไปจากแผ่นดินของอังกฤษและฝรั่งเศสเพื่อป้องกันมิให้ถูกทำลาย

แผนการของเชอร์ชิลล์ในการวางทุ่นระเบิด ปฏิบัติการวิลเฟรด ได้ถูกนำออกมาใช้ แผนการดังกล่าวมีแนวคิดที่จะทำให้เรือบรรทุกขนส่งจำเป็นต้องแล่นเข้าสู่น่านน้ำสากลซึ่งเรือรบอังกฤษสามารถทำลายทิ้งได้ ประกอบด้วยแผน อาร์ 4 ซึ่งอังกฤษจะตอบโต้ในทันทีที่เยอรมนีเข้าขัดขวาง ยึดเมืองทรอนเฮล์มและเบอร์เก้นจากนั้นก็ทำลายสนามบินโซลา

ฝ่ายสัมพันธมิตรนั้นไม่เห็นด้วยกับการใช้ปฏิบัติการเรือหลวงอีกครั้ง ซึ่งคราวนี้จะเป็นการวางทุ่นระเบิดตามแนวแม่น้ำไรน์ ฝ่ายอังกฤษสนับสนุน แต่ว่าฝรั่งเศสคัดค้าน เนื่องจากประชาชนชาวฝรั่งเศสไว้ใจในแนวป้องกันตามแม่น้ำไรน์และหวาดกลัวกับการแก้แค้นของเยอรมนี จากความล่าช้านี้ ปฏิบัติการวิลเฟรดจึงต้องเลื่อนจากวันที่ 5 เมษายนไปเป็นวันที่ 8 เมษายนเมื่ออังกฤษตกลงใจที่จะวางทุ่นระเบิดในน่านน้ำนอร์เวย์โดยไม่สนใจกับฝรั่งเศสอีก

แผนการของเยอรมนี

[แก้]

ดูบทความหลักได้ที่ ปฏิบัติการเวแซร์รืบุง

ฝ่ายเยอรมนีได้เตรียมการสำหรับการรุกรานนอร์เวย์ไว้แล้ว พบกับความเร่งด่วนหลังเหตุการณ์แอลทมาร์ก เป้าหมายหลักของการรุกราน คือ รักษาเมืองท่าและแหล่งโลหะในนอร์เวย์ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง คือ เมืองท่านาร์วิก และจากนั้นก็เข้ายึดครองประเทศทั้งหมดเพื่อป้องกันมิให้นอร์เวย์ร่วมมือกับฝ่ายสัมพันธมิตร แต่ว่าจะถูกแสดงให้เหมือนว่าเยอรมนีจะมาช่วยธำรงความเป็นกลางของนอร์เวย์

มีเรื่องหนึ่งที่นักการทหารเยอรมันโต้เถียงกันก็คือว่า มีความจำเป็นมากพอที่จะเข้ายึดเดนมาร์กหรือไม่ เนื่องจากเดนมาร์กเป็นส่วนหนึ่งของแผนการขั้นต่อไป เดนมาร์กนั้นเป็นทำเลที่จะสามารถทำให้เยอรมนีสามารถครอบครองทั้งน่านน้ำและน่านฟ้าได้อย่างดีเยี่ยมในพื้นที่ ขณะที่บางส่วนแย้งว่าไม่มีความจำป็นต้องทำเช่นนั้น และให้นิ่งเฉย เป็นการง่ายขึ้นสำหรับแผนการถ้าหากเดนมาร์กถูกยึดครองโดยกองกำลัง

อีกเรื่องหนึ่งที่ทำให้แผนการต้องมีการเปลี่ยนแปลงอีกครั้งก็คือการเตรียมการรุกรานฝรั่งเศสและกลุ่มประเทศแผ่นดินต่ำ ซึ่งอาจต้องการกองทัพเยอรมันปริมาณมาก กองทัพเยอรมันจำเป็นต้องรบทั้งสองด้าน การรุกรานนอร์เวย์ไม่อาจเกิดขึ้นได้พร้อมกับการรุกรานฝรั่งเศส แผนการจึงกำหนดให้การรบเริ่มต้นเมื่อวันที่ 9 เมษายน (Wesertag) และเวลา 4.00-5.00 น. จะเป็นชั่วโมงแห่งการยกพลขึ้นบก (Weserzeit)

เป้าหมายของแผนการก็คือ การยกพลขึ้นบกตามจุดสำคัญหกแห่งในนอร์เวย์ ได้แก่ กรุงออสโล คริสเตียนแซนด์ Egersund เบอร์เก้น Trondheim และเมืองท่านาร์วิก ทำการสนับสนุนด้วยพลร่มที่จะต้องทำการยึดเอาจุดยุทธศาสตร์ อย่างเช่น สนามบินใน Fornebu และสนามบินโซลา ในสกาแวนเจอร์ แผนการได้ถูกร่างขึ้นอย่างรวดเร็ว การทำการรบจำเป็นต้องทำให้นอร์เวย์ไม่รู้ตัวและไม่อาจเตรียมการตั้งรับอย่างเหนียวแน่นได้ โดยมีรายละเอียดดังต่อไปนี้

  • สายที่หนึ่ง: เรือพิฆาตตอร์ปิโดสิบลำไปยังเมืองท่านาร์วิก
  • สายที่สอง: เรือลาดตระเวนหนักพลเรือเอกฮิปเปอร์ กับเรือพิฆาตตอร์ปิโดอีกสี่ลำไปยัง Trondheim
  • สายที่สาม: เรือลาดตระเวนเบา Köln และ Königsberg กับเรือสนับสนุนอีกจำนวนหนึ่งไปยังเบอร์เก้น
  • สายที่สี่: เรือลาดตระเวนเบา Karlsruhe กับเรือสนับสนุนอีกจำนวนหนึ่งไปยังคริสเตียนแซนด์
  • สายที่ห้า: เรือลาดตระเวนหนัก Blücher กับ Lützow และเรือลาดตระเวนเบา Emden รวมไปถึงเรือสนับสนุนอีกจำนวนหนึ่งไปยังกรุงออสโล
  • สายที่หก: เรือกวาดทุ่นระเบิดสี่ลำไปยัง Egersund

นอกจากนั้นยังมีเรือรบลาดตระเวน Scharnhorst และ Gneisenau ซึ่งจะไปพร้อมกับสายที่หนึ่งและสายที่สอง ซึ่งจะทำให้สามารถบรรทุกกองกำลัง นำมันและยุทโธปกรณเพิ่มเติมได้

ด้านเดนมาร์ก เยอรมนีจะนำเอากองพลน้อยยานเกราะ 2 กองพลน้อยออกมาใช้เพื่อเข้ายึดสะพานและกองกำลัง ลุควาฟเฟิลจะถูกส่งไปยึดโคเปนเฮเกน และทหารพลร่มจะถูกส่งไปยึดสนามบินทางตอนเหนือของประเทศ และยังมีกองทหารอื่นๆ อีกเป็นจำนวนมาก การกระจายกำลังดังกล่าวนั้น เยอรมนีไม่ต้องการให้เกิดการประจันหน้ากันกับประชากรท้องถิ่นของทั้งสองประเทศ และทหารเหล่านั้นจะได้รับคำสั่งให้ยิงก็แต่เมื่อพวกเขาถูกโจมตีเท่านั้น

การรุกรานของเยอรมนี

[แก้]

การเคลื่อนกำลังกองทัพเรือ

[แก้]
การเคลื่อนกำลังกองทัพเรืออังกฤษและกองทัพเรือเยอรมันระหว่างวันที่ 7-9 เมษายน 1940

เยอรมนีเริ่มต้นการบุกในวันที่ 3 เมษายน 1940 เมื่อเรือขนเสบียงได้ออกจากฝั่งเพื่อการรุกของกองกำลังหลัก ขณะที่ฝ่ายสัมพันธมิตรเริ่มต้นแผนการในวันต่อมา เรือดำน้ำฝ่ายสัมพันธมิตรจำนวนสิบหกลำได้รับคำสั่งให้ไปประจำยังเมือง Skagerrak และ Kattegat เพือใช้ตรวจการและแจ้งเตือนกองทัพเยอรมันในการเตรียมตัวเข้าสู่แผนปฏิบัติการวิลเฟรด ซึ่งได้ออกตามมาหลังจากนั้นอีกหนึ่งวัน โดยมีเรือรบอังกฤษสิบสามลำ

ในวันที่เจ็ดเมษายน อากาศในภูมิภาคก็เริ่มเลวร้ายลง ทำให้เกิดหมอกหนาทึบและการเดินเรือประสบความยากลำบากอย่างหนัก กองกำลังอังกฤษที่ถูกส่งออกไปนั้นต้องหยุดชะงักในพายุหิมะขนาดใหญ่ สภาพอากาศเช่นนี้ได้อำนวยความสะดวกให้แก่กองทัพเรือเยอรมัน และในตอนเช้าของวันนี้ กองเรือสายที่หนึ่งและสองเริ่มออกเดินทาง

ยกพลขึ้นบก

[แก้]

ในที่สุด กองเรือสายที่หนึ่ง (ประกอบด้วยเรือพิฆาตตอร์ปิโดจำนวนสิบลำ) ก็เดินทางถึงเมืองท่านาร์วิก โดยปราศจากการขัดขวางจากราชนาวีอังกฤษอีก และเข้าสู่พื้นที่โดยไม่ถูกต่อต้าน

การยึดครองเดนมาร์ก

[แก้]

กองทัพเรือเยอรมันเข้าโจมตีนอร์เวย์เมื่อเวลาประมาณ 4.15 น. ของวันที่ 9 เมษายน ในช่วงเวลาเดียวกันนั้น กองทัพบกเยอรมันก็ยกพลขึ้นบกที่ท่าเรือ Langelinie ในเมืองหลวงของเดนมาร์ก กรุงโคเปนเฮเกน และเริ่มทำการยึดครอง นอกจากนั้นพลร่มเยอรมันยังได้เข้ายึดสนามบิน Aalborg ได้ หลังจากนั้นไม่นาน เยอรมนีก็ส่งคำขาดผ่านทางเอกอัครราชทูตถวายแด่พระเจ้าคริสเตียนที่สิบ ซึ่งก่อนหน้านี้เยอรมนีเคยส่งคำขาดนี้ให้แก่รัฐบาลของเดนมาร์กมาไม่กี่วันก่อนหน้านี้แล้ว แต่ก็ถูกปฏิเสธ กองทัพเดนมาร์กนั้นมีขนาดเล็ก ขาดการเตรียมพร้อมและมียุทโธปกรณ์ที่ล้าสมัย แต่ว่าก็ต้านทานกองทัพเยอรมันอย่างหนักในหลายส่วนของพื้นที่ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ทหารรักษาพระองค์ในวังหลวง Amalienborg ในกรุงโคเปนเฮเกน เมื่อถึงเวลา 6.30 น. พระเจ้าคริสเตียนที่สิบได้ปรึกษากับนายกรัฐมนตรีแห่งเดนมาร์ก Thorvald Stauning มีความเห็นว่าการต้านทานกองทัพเยอรมันต่อไปนั้นจะก่อให้เกิดการสูญเสียชีวิตอย่างเปล่าประโยชน์ จึงยอมจำนนต่อกองทัพเยอรมัน มหาชนชาวเดนมาร์กประหลาดใจมากกับการตัดสินใจดังกล่าวและรัฐบาลก็ให้ชาวเดนมาร์กทุกคนยอมร่วมมือกับเยอรมนี เป็นอันว่าเดนมาร์กถูกยึดครองอย่างสมบูรณ์เมื่อวันที่ 10 เมษายน 1940

การตอบสนองของฝ่ายสัมพันธมิตร

[แก้]

สถานการณ์ในนอร์เวย์

[แก้]

การรุกรานของเยอรมนีในเกือบทุกส่วนนั้นประสบความสำเร็จในการเปิดศึกหลายด้านพร้อมกัน และยังสามารถปลดอาวุธกองทัพนอร์เวย์อีกด้วย และถึงแม้ว่ารัฐบาลนอร์เวย์จะประกาศระดมพลแต่ก็ช่วยเหลือสถานการณ์ได้เพียงเล็กน้อย จากการที่กองทัพเรือสายที่ห้าของเยอรมนีเพลี่ยงพล้ำนั้นก็ได้เปิดโอกาสให้กองทัพเรือสามารถอพยพเอาราชวงศ์ของนอร์เวย์และคณะรัฐบาลไปยังอังกฤษ

การรบภาคพื้น

[แก้]

เมื่อเยอรมนีเริ่มการบุก กองทัพอังกฤษก็ได้เริ่มวางแผนการโจมตีโต้ทันที ความคิดเห็นเกี่ยวกับแผนการการโจมตีโต้กลับนั้นเกิดความขัดแย้งกัน กองทัพอังกฤษนั้นต้องการที่จะยึดเมือง Trondheim ในนอร์เวย์ตอนกลาง ขณะที่นายเชอร์ชิลล์นั้นต้องการที่จะยึดเมืองท่านาร์วิกคืน ดังนั้นจึงได้ประนีประนอมกันด้วยการส่งทหารไปทั้งสองตำแหน่ง

ปฏิบัติการในนอร์เวย์ตอนกลาง

[แก้]

ปฏิบัติการในนอร์เวย์ตอนเหนือ

[แก้]

การยึดครอง

[แก้]

ดูบทความหลักได้ที่ การยึดครองนอร์เวย์ของนาซีเยอรมนี

รถถังของนาซีเยอรมันเข้ายึดกรุงออสโล

กองทัพสัมพันธมิตรถอนตัวออกจากนอร์เวย์ กองทัพนอร์เวย์ยอมจำนนแก่กองทัพเยอรมัน เยอรมนีก็เริ่มการยึดครอง ระหว่างการยึดครอง ก็ได้มีขบวนการกู้ชาติของนอร์เวย์ปรากฏขึ้น ในการกระทำของกองเรือพาณิชย์นอร์เวย์ ประชาชนผู้ต่อต้านและทหารอาสาสมัครนอร์เวย์ในกองทัพอังกฤษ กษัตริย์นอร์เวย์และผู้นำทางการเมืองได้ลี้ภัยไปยังกรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ และได้ชี้แนวทางให้แก่ขบวนการกู้ชาติในนอร์เวย์ซึ่งประสบความสำเร็จมากขึ้นเรื่อยๆ ในช่วงเวลาของการยึดครอง

กองทัพเรือและกองทัพอากาศนอร์เวย์ได้ลงหลักปักฐานใหม่ในอังกฤษ ซึ่งประกอบด้วยส่วนที่เหลือจากการทัพนอร์เวย์ ไม่นานหลังจากนั้น กองกำลังเหล่านี้ก็เข้าไปมีส่วนในการรบแบบขบวนเรือในมหาสมุทรแอตแลนติกและสงครามทางอากาศเหนือทวีปยุโรป จำนวนทหารนั้นเพิ่มขึ้นจากการเข้ามาอย่างต่อเนื่องของผู้ลี้ภัยชาวนอร์เวย์ และได้รับยุทโธปกรณ์เป็นเรือและเครื่องบินจากอังกฤษและสหรัฐอเมริกา และยังได้ออกปฏิบัติการร่วมกับกองทัพอากาศฝ่ายสัมพันธมิตรด้วย

กองทัพบกนอร์เวย์นั้นก็ได้ย้ายไปตั้งอยู่ในสกอตแลนด์ แต่ว่ามีบทบาทน้อยมากจนกระทั่งสิ้นสุดสงคราม นอกจากหน่วยรบพิเศษจำนวนน้อยนิดเท่านั้น กองทัพบกนอร์เวย์ในสกอตแลนด์นั้นได้มีส่วนร่วมในการปลดปล่อยฟินมาร์ค ระหว่างฤดูหนาวปี 1944-1945 หลังจากที่กองทัพเยอรมันถอนกำลังออกไปหลังจากการเผาทำลายพื้นที่เนื่องจากคาดว่ากองทัพแดงจะทำการรุก ในการรบนั้นก็ได้มีการรบประปรายกับทหารยามฝั่งของเยอรมนี

ด้านประเทศสวีเดนซึ่งเป็นกลางนั้นก็มีการเตรียมตัวของกองทัพนอร์เวย์อยู่ในช่วงเวลาสองปีสุดท้ายของสงคราม กองกำลังเหล่านี้เรียกว่า "กองกำลังตำรวจ" ได้ก่อตั้งขึ้นด้วยการสนับสนุนจากผู้มีอำนาจของสวีเดน กองกำลังเหล่านี้ทำหน้าที่ฝึกทหาร จนกระทั่งสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่สอง นับทหารที่ฝึกได้กว่า 10,000 นาย

การวิเคราะห์

[แก้]

ปฏิบัติการครั้งนี้นับว่าเป็นชัยชนะขั้นเด็ดขาดของเยอรมนี ทั้งเดนมาร์กและนอร์เวย์ได้ถูกยึดครองโดยที่มีความสูญเสียเพียงเล็กน้อย ทหารเยอรมันเสียชีวิตประมาณ 3,800 นายและบาดเจ็บอีก 1,600 นาย การโจมตีได้ก่อให้เกิดความประหลาดใจอย่างมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่ง คือ เดนมาร์ก และมีเพียงการรบในพื้นที่แถบเมืองท่านาร์วิกเท่านั้นที่เป็นปัญหา ทำให้สูญเสียเครื่องบินรบลุควาฟเฟิลไปกว่า 100 ลำ ซึ่งคิดเป็น 10% ของกองทัพอากาศเยอรมันที่ถูกส่งออกไปปฏิบัติการ

อย่างไรก็ตาม การรบในทะเลประสบความล้มเหลว การรณรงค์กดังกล่าวได้ทำให้กองทัพเรือเยอรมันสูญเสียอย่างมากจนถึงขั้นเป็นอัมพาต เรือลาดตระเวนหนัก 2 ลำ ถูกจมไป 1 ลำ เรือลาดตระเวนเบา 6 ลำ ถูกทำลายไป 2 ลำ เรือพิฆาตตอร์ปิโดจาก 20 ลำ เหลือเพียง 10 ลำ รวมไปถึงเรืออูอีก 6 ลำ นอกจากนั้นยังมีเรือที่ได้รับความเสียหายจำนวนมาก ส่วนที่เหลือของกองทัพเรืออ่อนแอตลอดช่วงฤดูร้อน ส่งผลให้การรุกรานอังกฤษในปฏิบัติการสิงโตทะเลไม่อาจเป็นความจริงได้

บนบก เยอรมนีจำเป็นต้องรักษากองกำลังรุกรานส่วนมากเพื่อการยึดครอง ซึ่งอยู่ห่างไกลจากแนวหน้า ผลจากการรบครั้งนี้ได้สร้างประโยชน์ให้แก่เยอรมนีเพียงเล็กน้อยเท่านั้น

ด้านกองทัพเรืออังกฤษก็ได้รับความเสียหายเช่นกัน อังกฤษเสียเรือบรรทุกเครื่องบินไปหนึ่งลำ เรือลาดตระเวน 2 ลำ เรือพิฆาตตอร์ปิโด 7 ลำ และเรือดำน้ำ 1 ลำ แต่เนื่องจากกองทัพเรือของอังกฤษมีขนาดใหญ่กว่ากองทัพเรือเยอรมัน ความสูญเสียเมื่อเทียบกันแล้ว เยอรมนีจึงสูญเสียหนักกว่า อังกฤษยังได้การควบคุมกองเรือขนส่งนอร์เวย์ ซึ่งเป็นกองเรือหนึ่งที่ใหญ่ที่สุดในโลก

กองทัพเรือฝรั่งเศสได้สูญเสียเรือประจัญบานตอร์ปิโดขนาดใหญ่ไปหนึ่งลำ และกองทัพเรือนอร์เวย์ก็สูญเสียเรือพิฆาตตอร์ปิโดไปหนึ่งลำ ส่วนเรือป้องกันฝั่ง 2 ลำและเรือดำน้ำอีก 3 ลำสามารถหลบหนีไปได้ อังกฤษนั้นประสบความสำเร็จเป็นบางส่วนที่เมืองท่านาร์วิก การขนส่งกับเมืองท่าดังกล่าวต้องหยุดชะงักไปเป็นเวลากว่าหกเดือน

การยึดครองนอร์เวย์ของเยอรมนีนั้นได้สร้างความยุ่งยากให้กับฝ่ายสัมพันธมิตรไปเป็นเวลาหลายปี เนื่องจากมีสนามบินระยะไกลในนอร์เวย์ ทำให้ฝูงบินอังกฤษจำนวนมากต้องถูกเก็บรักษาไว้ทางตอนเหนือของอังกฤษระหว่างยุทธภูมิบริเตน และเครื่องบินทิ้งระเบิดเยอรมันสามารถใช้นอร์เวย์เป็นฐานและบินออกปฏิบัติการในมหาสมุทรแอตแลนติกได้อย่างปลอดภัย หลังจากเยอรมนีรุกรานสหภาพโซเวียตในปี 1941 ฐานบินในนอร์เวย์ได้ถูกใช้เพื่อให้เครื่องบินไปจมขบวนเรือพาณิชย์ของฝ่ายสัมพันธมิตร และได้ก่อให้เกิดความเสียหายมหาศาล

นอกจากนั้น การยึดครองนอร์เวย์ยังเป็นภาระหนักสำหรับเยอรมนี แนวชายหาดขนาดใหญ่ของนอร์เวย์นั้นเป็นโอกาสสำหรับหน่วยคอมมานโดในปลายปีนั้น การยึดครองนอร์เวย์จำเป็นต้องมีกองกำลังขนาดใหญ่กำกับดูแล ในปี 1944 มีทหารเยอรมันในนอร์เวย์กว่า 400,000 นาย และไม่สามารถถูกย้ายไปสู้รบในฝรั่งเศสหลังปฏิบัติการโอเวอร์ลอร์ด หรือถูกดึงไปสู้รบในแนวรบด้านตะวันออกซึ่งเยอรมนีกำลังจะพ่ายแพ้

วรรณกรรม

[แก้]
  • ภาพยนตร์ในปี 1942 เรื่อง The Day Will Dawn ถ่ายทำในนอร์เวย์ ไม่นานก่อนและหลังการรุกราน

ดูเพิ่ม

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  • Derry, T.K. (1952) The campaign in Norway, History of the Second World War: Campaigns Series, London : H.M.S.O., reprinted by Battery Press, ISBN 0-898392-20-9
  • Dickens, P. (Capt.) (1974) Narvik : battles in the fjords, Sea battles in close-up, 9, London : Ian Allan, ISBN 0-7110-0484-6
  • Dildy, Douglas C. Denmark and Norway, 1940: Hitler's Boldest Operation; Osprey Campaign Series #183; ISBN 9781846031175. Osprey Publishing, 2007
  • Elting, J.R. (1981) Battles for Scandinavia, World War II Series, Alexandria, VA : Time-Life Books, ISBN 0-80943-395-8

ดูเพิ่ม

[แก้]
  • Hubatsch, W. (1960) Weserübung: die deutsche Besetzung von Dänemark und Norwegen 1940, Studien und Dokumente zur Geschichte des Zweiten Weltkrieges, 7, 2nd Ed., Göttingen : Musterschmidt-Verlag, 586 p.
  • Moulton, J.L. (Maj. Gen.) (1966) The Norwegian campaign of 1940 : a study of warfare in three dimensions, London : Eyre & Spottiswoode, 328 p.
  • Ottmer, H.-M. (1994) Weserübung: der deutsche Angriff auf Dänemark und Norwegen im April 1940, Operationen des Zweiten Weltkrieges, 1, München : Oldenbourg, ISBN 3-486-56092-1
  • Ziemke, E.F. (1960) The German northern theater of operations 1940-1945, Department of the Army pamphlet, 20-271, Washington, D.C. : U.S. Govt Printing Office, 342 p., LCCN 60-060912

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]