ข้ามไปเนื้อหา

การประชุมไคโร

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เจียง ไคเชก, แฟรงคลิน ดี. โรเซอเวลต์, วินสตัน เชอร์ชิล ณ การประชุมไคโร เมื่อวันที่ 25 พฤศจิกายน ค.ศ. 1943

การประชุมไคโร (รหัสนามว่า เซ็กซ์ทันต์; sextant[1]) เมื่อวันที่ 22–26 พฤศจิกายน ค.ศ. 1943 จัดขึ้นในกรุงไคโร ประเทศอียิปต์ ได้สรุปใจความถึงการเป็นพันธมิตรร่วมต่อต้านญี่ปุ่นในช่วงสงครามโลกครั้งที่สองและการตัดสินใจเกี่ยวกับเอเชียหลังสงคราม ผู้ที่เข้าร่วมประชุม ได้แก่ แฟรงคลิน ดี. โรเซอเวลต์ ประธานาธิบดีแห่งสหรัฐ วินสตัน เชอร์ชิล นายกรัฐมนตรีแห่งสหราชอาณาจักร และเจียง ไคเชก จอมทัพแห่งสาธารณรัฐจีน โจเซฟ สตาลิน ผู้นำโซเวียต ได้ปฏิเสธที่จะเข้าร่วมการประชุมเพราะการเข้าพบกับเจียงอาจจะทำให้ส่งผลกระทบระหว่างสหภาพโซเวียตและญี่ปุ่น(กติกาสัญญาความเป็นกลางโซเวียต–ญี่ปุ่น ค.ศ. 1941 เป็นข้อตกลงห้าปีของความเป็นกลางระหว่างสองประเทศ ใน ค.ศ. 1943 สหภาพโซเวียตไม่ได้ทำสงครามกับญี่ปุ่น เว้นแต่จีน, สหราชอาณาจักร และสหรัฐฯเท่านั้น)

การประชุมไคโรได้จัดตั้งขึ้นที่บ้านพักของเอกอัครราชทูตสหรัฐอเมริกาประจำอียิปต์ Alexander Comstock Kirk ใกล้กับสุสานพีระมิด[2]

สองวันต่อมา สตาลินได้เข้าพบกับโรเซอเวลต์และเชอร์ชิลในเตหะราน อิหร่าน สำหรับการประชุมเตหะราน

ฝ่ายอเมริกันไม่ได้ต้องการให้ฝรั่งเศสกลับไปครองอินโดจีน ได้เสนอให้เจียง ไคเชกเข้าควบคุมอินโดจีนฝรั่งเศสไว้ทั้งหมด แต่เจียง ไคเชกได้ปฏิเสธข้อเสนอนี้ต่อหน้าสาธารณชน[3]

ปฏิญญาไคโรได้ประกาศออกไป เมื่อวันที่ 27 พฤศจิกายน ค.ศ. 1943 และได้ปล่อยในคำแถลงการณ์ไคโรผ่านวิทยุ เมื่อวันที่ 1 ธันวาคม ค.ศ. 1943[4] ได้ระบุถึงเจตนารมณ์ของฝ่ายสัมพันธมิตรที่จะใช้กำลังทางทหารอย่างต่อเนื่องจนกว่าญี่ปุ่นจะยอมจำนนอย่างไม่มีเงื่อนไข มาตราการหลักของปฏิญญาไคโรคือประเทศทั้งสามแห่งฝ่ายสัมพันธมิตรได้ต่อสู้รบในสงครามเพื่อขัดขวางและลงทัณฑ์ของการรุกรานของญี่ปุ่น พวกเขาไม่ได้แสวงหาผลประโยชน์เพื่อพวกเขาเอง และจะไม่เกี่ยวข้องกับสงครามการขยายดินแดนภายหลังความขัดแย้ง "ญี่ปุ่นได้แย่งชิงหมู่เกาะทั้งหมดในมหาสมุทรแปซิฟิกซึ่งพวกเขาได้เข้ายึดหรือครอบครองตั้งแต่จุดเริ่มต้นของสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง ในปี ค.ศ. 1914", "ดินแดนทั้งหมดที่ญี่ปุ่นได้แย่งชิงมาจากจีน รวมทั้งแมนจูเรีย เกาะฟอร์โมซา(ไต้หวัน) และเกาะเปสกาโดเรส(เผิงหู)จะต้องนำกลับคืนสู่สาธารณรัฐจีน" ญี่ปุ่นจะต้องถูกขับออกไปจากดินแดนอื่นๆทั้งหมดที่พวกเขาได้กระทำความโหดร้ายและความละโมบ และ"ในขณะเดียวกัน ประเทศเกาหลีจะได้รับการปลดปล่อยและเป็นอิสระ"

อ้างอิง

[แก้]
  1. Churchill, Winston Spencer (1951). The Second World War: Closing the Ring. Houghton Mifflin Company, Boston. p. 642.
  2. Life: Noel F. Busch, "Alexander Kirk," August 13, 1945, accessed January 23, 2011
  3. https://www.gale.com/binaries/content/assets/gale-us-en/primary-sources/archives-unbound/primary-sources_archives-unbound_indochina-france-and-the-viet-minh-war-1945-1954_-records-of-the-u.s.-state-department-part-1_-1945-1949.pdf
  4. "Cairo Communique, December 1, 1943". Japan National Diet Library. December 1, 1943.