ข้ามไปเนื้อหา

ยุทธการที่มอสโก

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ยุทธการที่มอสโก
ส่วนหนึ่งของ แนวรบด้านตะวันออกในสงครามโลกครั้งที่สอง

ทหารโซเวียตกำลังใช้ปืนต่อสู้อากาศยานหาเครืองบินของลุฟท์วัฟเฟอใกล้จัตุรัสแดง
วันที่2 ตุลาคม 1941 – 7 มกราคม ค.ศ. 1942
สถานที่
เขตมอสโก สหพันธ์สาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตรัสเซีย สหภาพโซเวียต
ผล โซเวียตได้รับชัยชนะเด็ดขาด
คู่สงคราม
 ไรช์เยอรมัน  สหภาพโซเวียต
ผู้บังคับบัญชาและผู้นำ

นาซีเยอรมนี อดอล์ฟ ฮิตเลอร์
นาซีเยอรมนี เฟดอร์ ฟอน บอค
นาซีเยอรมนี ไฮนซ์ กูเดเรียน
นาซีเยอรมนี อัลแบร์ท เค็สเซิลริง

นาซีเยอรมนี เอริช โฮอปป์เนอร์
สหภาพโซเวียต เกออร์กี จูคอฟ
สหภาพโซเวียต อะเลคซันดร์ วาซีเลฟสกี
กำลัง
ถึง 1 ตุลาคม 1941:
ทหาร 1,000,000 นาย
รถถัง 1,700 คัน
ปืนใหญ่ 14,000 กระบอก
อากาศยานขั้นต้น: ใช้การได้ 549 ลำ[1][2][3]
เมื่อโซเวียตตีโต้ตอบ: 599 ลำ[4]
ถึง 1 ตุลาคม 1941:
ทหาร 1,250,000 นาย
รถถัง 1,000 คัน
ปืนใหญ่ 7,600 กระบอก
อากาศยานขั้นต้น: 936 ลำ (ใช้การได้ 545 ลำ)[1]
เมื่อโซเวียตตีโต้ตอบ: 1,376 ลำ[4]
ความสูญเสีย
581,900 650,000–1,280,000

ยุทธการที่มอสโก เป็นการทัพทางทหารที่ประกอบไปด้วยสองช่วงเวลาของการสู้รบที่มีนัยสำคัญทางยุทธศาสตร์จากระยะทาง 600 กิโลเมตร (370 ไมล์) เขตภาคของแนวรบด้านตะวันออกในสงครามโลกครั้งที่สอง เกิดขึ้นระหว่างเดือนตุลาคม ค.ศ. 1941 และเดือนมกราคม ค.ศ. 1942 ความพยายามในการป้องกันของโซเวียตทำให้การโจมตีของฮิตเลอร์ต่อกรุงมอสโก เมืองหลวงและเมืองขนาดใหญ่ที่สุดของสหภาพโซเวียต ไม่ประสบความสำเร็จ มอสโกเป็นหนึ่งในเป้าหมายหลักทางทหารและการเมืองสำหรับกองกำลังฝ่ายอักษะในการบุกครองสหภาพโซเวียตของพวกเขา

การรุกทางยุทธศาสตร์ของเยอรมัน รหัสนามว่า ปฏิบัติการไต้ฝุ่น เรียกร้องสำหรับการรุกแบบก้ามปูสองด้าน ด้านหนึ่งไปทางเหนือของมอสโกเข้าปะทะกับแนวรบคาลีนินโดยกองทัพยานเกราะที่ 3 และที่ 4 พร้อมกับตัดเส้นทางรถไฟจากมอสโก-เลนินกราด และอีกด้านหนึ่งไปทางใต้ของแคว้นมอสโกเข้าปะทะกับแนวรบตะวันตก ทางใต้ของตูลา โดยกองทัพยานเกราะที่ 2 ในขณะที่กองทัพยานเกราะที่ 4 ได้เข้ารุกโดยตรงสู่มอสโกจากตะวันตก

ในช่วงแรก กองกำลังโซเวียตได้ดำเนินการป้องกันทางยุทธศาสตร์ของแคว้นมอสโกโดยสร้างแนวป้องกันทางลึกสามแนว จัดตั้งกองกำลังสำรองขึ้นมาใหม่ และนำกองกำลังมาจากมณฑลทหารไซบีเรียและตะวันออกไกล เมื่อการรุกของเยอรมันได้หยุดชะงักลง การรุกตอบโต้กลับทางยุทธศาสตร์ของโซเวียตและปฏิบัติการของการรุกขนาดเล็กได้บีบบังคับให้กองทัพเยอรมันได้กลับเข้าสู่ตำแหน่งรอบเมืองโอริออล เวียซมาและวีเต็บสค์ และเกือบที่จะล้อมกองทัพเยอรมันทั้งสามไว้ได้ มันเป็นความล้มเหลวครั้งใหญ่สำหรับเยอรมัน และจุดสิ้นสุดของความเชื่อของพวกเขาในชัยชนะของเยอรมันเหนือสหภาพโซเวียตอย่างรวดเร็ว[5] อันเป็นผลลัพธ์มาจากการรุกที่ล้มเหลว จอมพล วัลเทอร์ ฟ็อน เบราคิทช์ ถูกสั่งปลดออกจากตำแหน่งผู้บัญชาการทหารสูงสุดแห่งกองทัพบกเยอรมัน โดยฮิตเลอร์ได้เข้ามาแทนที่ในตำแหน่งของเขา

เบื้องหลัง

[แก้]
แนวรบด้านตะวันออกในช่วงเวลาของยุทธการที่มอสโก:
  การรุกช่วงแรกของแวร์มัคท์ – ถึง 9 กรกฎาคม ค.ศ. 1941
  การรุกภายหลัง – ถึง 1 กันยายน ค.ศ. 1941
  การโอบล้อมและยุทธการที่เคียฟ ถึง 9 กันยายน ค.ศ. 1941
  การรุกครั้งสุดท้ายของแวร์มัคท์ – ถึง 5 ธันวาคม ค.ศ. 1941

ปฏิบัติการบาร์บาร็อสซา แผนการบุกครองของเยอรมัน เรียกร้องสำหรับการเข้ายึดครองกรุงมอสโกภายในสี่เดือน เมื่อวันที่ 22 มิถุนายน ค.ศ. 1941 กองกำลังฝ่ายอักษะได้เข้ารุกรานสหภาพโซเวียต ได้ทำลายกองทัพอากาศโซเวียตส่วนใหญ่บนภาคพื้นดิน และรุกเข้าลึกสู่ดินแดนสหภาพโซเวียตโดยใช้กลยุทธ์บลิทซ์ครีคเพื่อทำลายล้างกองทัพโซเวียตทั้งหมด กองทัพกลุ่มเหนือของเยอรมันได้มุ่งหน้าสู่เลนินกราด กองทัพกลุ่มใต้เข้าควบคุมยูเครน และกองทัพกลุ่มกลางเข้ารุกสู่มอสโก เดือนกรกฎาคม ค.ศ. 1941 กองทัพกลุ่มกลางได้ข้ามแม่น้ำนีเปอร์ ระหว่างเส้นทางสู่มอสโก[6]

วันที่ 15 กรกฎาคม ค.ศ. 1941 กองทัพเยอรมันได้เข้ายึดครองสโมเลนสค์ซึ่งเป็นฐานที่มั่นสำคัญบนถนนสู่มอสโก[7] ในระยะนี้ แม้ว่ามอสโกจะดูเปราะบาง แต่การรุกเข้าสู่เมืองจะเป็นการเปิดเผยปีกกองทัพของเยอรมัน เพื่อจัดการกับความเสี่ยงเหล่านี้ และเพื่อพยายามรักษาแหล่งทรัพยาการอย่างอาหารและแร่ธาตุของยูเครน ฮิตเลอร์ได้ออกคำสั่งให้การโจมตีหันไปทางเหนือและใต้ และกำจัดกองกำลังโซเวียตที่เลนินกราดและเคียฟ[8] สิ่งนี้ทำให้การรุกเข้าสู่มอสโกของเยอรมันนั้นล่าช้า เมื่อการรุกนั้นได้กลับมาดำเนินต่อในวันที่ 30 กันยายน ค.ศ. 1941 กองทัพเยอรมันได้อ่อนกำลังลง ในขณะที่โซเวียตได้จัดตั้งกองกำลังขึ้นมาใหม่เพื่อปกป้องเมือง[8]

แผนที่ของการโอบล้อมทั้งสองด้านที่เวียซมา-เบรียนสค์ (ในเยอรมัน)

การรุกของเยอรมันในช่วงแรก (30 กันยายน - 10 ตุลาคม)

[แก้]

แผนการ

[แก้]

สำหรับฮิตเลอร์ เมืองหลวงของสหภาพโซเวียตเป็นเป้าหมายรอง และเขามีความเชื่อว่าวิธีเดียวเท่านั้นที่จะทำให้สหภาพโซเวียตยอมสยบแทบเท้าลงได้คือการเอาชนะทางเศรษฐกิจ เขาจึงมีความคิดที่ว่าสิ่งนี้สามารถทำได้โดยการเข้ายึดครองทรัพยากรทางเศรษฐกิจของยูเครนทางตะวันออกของเคียฟ[9] เมื่อวัลเทอร์ ฟ็อน เบราคิทช์ ผู้บัญชาการทหารสูงสุดแห่งกองทัพบกเยอรมัน ได้ให้การสนับสนุนในการเข้ารุกโดยตรงสู่กรุงมอสโก เขาได้บอกว่า "มีเพียงสมองที่หุ้มด้วยกะโหลกหนา ๆ ที่สามารถจะคิดไอเดียนี้ได้"[9] ฟรันทซ์ ฮัลเดอร์ หัวหน้าคณะเสนาธิการแห่งกองทัพบกยังมีความเชื่อมั่นว่า การผลักดันเพื่อเข้ายึดกรุงมอสโกจะได้รับชัยชนะ ภายหลังจากกองทัพบกเยอรมันได้สร้างความเสียหายมากพอให้กับกองทัพโซเวียต[10] มุมมองนี้ถูกแบ่งปันโดยส่วนใหญ่ภายในกองบัญชาการใหญ่เยอรมัน[9] แต่ฮิตเลอร์ได้ปฏิเสธนายพลของเขาเพื่อสนับสนุนให้ทำการโอบล้อมกองทัพโซเวียตรอบเมืองเคียฟในทางตอนใต้ และตามมาด้วยการเข้ายึดครองยูเครน การเคลื่อนไหวครั้งนี้ได้ประสบความสำเร็ว ส่งผลลัพธ์ทำให้เกิดการสูญเสียบุคลากรของกองทัพแดงจำนวนเกือบ 700,000 นาย ล้วนถูกสังหาร ถูกจับกุม หรือบาดเจ็บในวันที่ 26 กันยายน และกองกำลังฝ่ายอักษะได้เข้ารุกคืบหน้าต่อไป[11]

เมื่อสิ้นสุดฤดูร้อน ฮิตเลอร์ได้หันเหความสนใจไปยังกรุงมอสโกและมอบหมายให้แก่กองทัพกลุ่มกลางในการทำภารกิจครั้งนี้ กองกำลังที่จะดำเนินปฏิบัติการไต้ฝุ่น ได้แก่ กองทัพทหารราบทั้งสาม (ที่ 2 ที่ 4 และที่ 9[12]) โดยได้รับการสนับสนุนโดยกลุ่มยานเกราะ (รถถัง) ทั้งสาม (ที่ 2 ที่ 3 และที่ 4) และกองบินที่ 2 (Luftflotte 2) ของลุฟท์วัฟเฟอ กองทหารเยอรมันจำนวนมากถึงสองล้านนายได้เข้าร่วมปฏิบัติการ พร้อมกับรถถังและปืนใหญ่จู่โจมจำนวน 1,000–2,470 คัน และอาวุธปืนจำนวน 14,000 กระบอก กองกำลังทางอากาศที่แข็งแกร่งของเยอรมัน อย่างไรก็ตาม ได้ถูกลดทอนลงอย่างมากในช่วงฤดูร้อนของการทัพ ลุฟท์วัฟเฟอสูญเสียเครื่องบินรบจำนวน 1,603 ลำ และได้รับเสียหายจำนวน 1,028 ลำ กองบินที่ 2 มีเครื่องมือที่สามารถซ่อมบำรุงเครื่องบินรบได้แค่เพียง 549 ลำ ร่วมทั้งเครื่องบินทิ้งระเบิดขนาดกลางและเครื่องบินดำดิ่งทิ้งระเบิดจำนวน 158 ลำ และเครื่องบินขับไล่ 172 ลำ ที่สามารถใช้งานได้สำหรับปฏิบัติการไต้ฝุ่น[13] การโจมตีอาศัยกลยุทธ์บลิทซ์ครีคแบบมาตรฐาน โดยการใช้กลุ่มยานเกราะให้พุ่งเข้าลึกสู่แนวรบของโซเวียตและดำเนินการเคลื่อนทัพรูปแบบก้ามปูสองด้าน ทำการโอบล้อมกองพลของกองทัพแดงและทำลายล้างให้สิ้นซาก[14]

ทั้งสามแนวรบของโซเวียตที่เผชิญหน้ากับแวร์มัคท์ ได้สร้างแนวป้องกันตามเมืองเวียซมาและเบรียนสค์ ซึ่งได้ขวางเส้นทางสู่กรุงมอสโก กองทัพประกอบไปด้วยแนวรบเหล่านี้ได้มีส่วนร่วมในการสู้รบอย่างหนัก ยังคงเป็นการรวมพลที่ดูน่าเกรงขามซึ่งประกอบด้วยทหารจำนวน 1,250,000 นาย รถถัง 1,000 คัน และปืนจำนวน 7,600 กระบอก กองทัพอากาศโซเวียต (Voyenno-Vozdushnye Sily, VVS) ได้ประสบความสูญเสียที่น่าตกใจด้วยบางส่วนของเครื่องบินรบจำนวนประมาณ 7,500 ลำ[15] และ 21,200 ลำ[16] การสำเร็จด้านอุตสาหกรรมที่ไม่ธรรมดาได้เริ่มเข้ามาแทนที่สิ่งเหล่านี้ ในช่วงเริ่มต้นของปฏิบัติการไต้ฝุ่น กองทัพอากาศโซเวียตสามารถรวบรวมเครื่องบินรบ 936 ลำ โดยมี 578 ลำเป็นเครื่องบินทิ้งระเบิด[17]

ครั้งหนึ่งที่การต่อต้านของโซเวียตตามแนวรบเวียซมา-เบรียนสค์ต้องถูกกำจัด กองทัพเยอรมันจะต้องผลักดันไปทางตะวันออก ทำการโอบล้อมกรุงมอสโกโดยขนาบข้างจากทางเหนือและทางใต้ การสู้รบอย่างต่อเนืองทำให้ประสิทธิภาพได้ลดลง และปัญหาทางด้านโลจิสติกส์ก็สาหัสมากขึ้น นายพลกูเดรีอัน ผู้บัญชาการแห่งกองทัพยานเกราะที่ 2 ได้เขียนว่า บางส่วนของรถถังที่ถูกทำลายของเขาไม่อาจหามาแทนที่ได้เลย และมีการขาดแคลนเชื้อเพลิงในช่วงเริ่มต้นของปฏิบัติการ[18]

ยุทธการที่เวียซมาและเบรียนสค์

[แก้]

เยอรมันได้เข้าโจมตีตามแผนที่ได้วางเอาไว้ โดยกลุ่มยานเกราะที่ 4 จะบุกเขาตรงกลางที่แทบจะไร้การต่อต้าน และจากนั้นก็แบ่งกองกำลังเคลื่อนที่เร็วไปทางเหนือเพื่อโอบล้อมเวียซมาด้วยกลุ่มยานเกราะที่ 3 และอีกหน่วยหนึ่งไปทางใต้เพื่อโอบล้อมรอบเบรียนสค์ร่วมกับกลุ่มยานเกราะที่ 2 ฝ่ายป้องกันของโซเวียต ซึ่งยังคงอยู่ระหว่างการก่อสร้าง ได้ถูกรุกราน และหัวหอกของกลุ่มยานเกราะที่ 3 ที่ 4 ได้เข้าสมทบกันที่เวียซมา เมื่อวันที่ 10 ตุลาคม ค.ศ. 1941[19][20] กองทัพโซเวียตทั้งสี่ (กองทัพที่ 16 ที่ 19 ที่ 20 ที่ 24 และส่วนหนึ่งของกองทัพที่ 32) ได้ถูกโอบล้อมอยู่ในวงล้อมขนาดใหญ่ทางตะวันตกของเมือง[21]

การรุกของเยอรมันในช่วงปฏิบัติการไต้ฝุ่น

กองกำลังโซเวียตที่ถูกโอบล้อมยังคงต่อสู้รบต่อไป และแวร์มัคท์ต้องใช้ถึง 28 กองพลในการกำจัดพวกเขา โดยใช้กองกำลังทหารที่สามารถสนับสนุนในการรุกเข้าสู่มอสโก แนวรบตะวันตกและแนวรบกำลังสำรองของโซเวียตที่เหลืออยู่ได้ล่าถอยและสร้างแนวป้องกันขึ้นมาใหม่รอบเมืองโมไจสค์[21] แม้ว่าความสูญเสียจะสูงขึ้น แต่หน่วยกองกำลังทหารบางหน่วยที่ถูกโอบล้อมสามารถหลบหนีออกมาเป็นกลุ่มขนาดเล็ก ตั้งแต่ขนาดหมวดไปจนถึงกองพลปืนไรเฟิลเต็มรูปแบบ[20] การต่อต้านของโซเวียตใกล้กับเวียซมายังให้เวลาแก่กองบัญชาการระดับสูงของโซเวียตในการเสริมกำลังกองทัพทั้งสี่เพื่อปกป้องมอสโก (กองทัพที่ 5 ที่ 16 ที่ 43 และที่ 49) กองพลปืนไรเฟิลทั้งสามและกองพลรถถังสองกองพลได้ถูกโยกย้ายจากไซบีเรียตะวันออกและมีอีกมากที่กำลังตามมา[21]

ด้วยสภาพอากาศที่เริ่มจะเปลี่ยนแปลง ได้ขัดขวางแก่ทั้งสองฝ่าย เมื่อวันที่ 7 ตุลาคม หิมะครั้งแรกได้ตกลงมาและละลายอย่างรวดเร็ว ทำให้ถนนและพื้นที่เปิดโล่งกลายสภาพเป็นแอ่งโคลน ซึ่งปรากฏการณ์ครั้งนี้ได้ถูกเรียกกันว่ารัสปูติซา ในรัสเซีย กลุ่มยานเกราะของเยอรมันได้เคลื่อนที่ช้าอย่างมาก ทำให้กองกำลังโซเวียตสามารถล่าถอยและจัดตั้งกองกำลังใหม่[22][23]

กองกำลังโซเวียตสามารถโจมตีตอบโต้กลับในบางกรณี ตัวอย่างเช่น กองพลยานเกราะที่ 4 ถูกซุ่มโจมตีโดยนายพลดมีตรี เลลูเชนโค ซึ่งได้ก่อตั้งกองกำลังขึ้นมาอย่างเร่งรีบอย่างกองทัพน้อยการ์ดปืนไรเฟิลพิเศษที่ 1 รวมทั้งกองพลน้อยรถถังที่ 4 ของนายพลมีฮาอิล คาตูคอฟ ใกล้กับเมืองมตเซนสค์ รถถังที-34 ที่ได้ถูกสร้างขึ้นมาใหม่ ๆ ได้ถูกซ่อนตัวอยู่ในป่า ในขณะที่ยานเกราะของเยอรมันได้เคลื่อนที่ผ่านพ้นไป ในขณะที่ทีมของเหล่าทหารราบของโซเวียตได้เข้าโจมตีพวกเขา ยานเกราะโซเวียตได้เข้าโจมตีจากทั้งสองข้างและดุเดือดต่อรถถังพันเซอร์ 4 ของเยอรมัน สำหรับแวร์มัคท์ ด้วยความตกใจของความพ่ายแพ้ครั้งนี้อย่างมากจนมีคำสั่งให้ทำการสืบสวนเป็นพิเศษ[20] กูเดรีอันและกองกำลังทหารของเขาได้ค้นพบอย่างน่าตกใจว่า รถถังที-34 ของโซเวียตแทบจะยิงทะลุไม่เข้าโดยปืนใหญ่รถถังเยอรมัน ตามที่นายพลได้เขียนไว้ว่า "รถถังพันเซอร์ 4 ของเราด้วยกระบอกปืนขนาดสั้น 75 มม. สามารถระเบิดทำลายที-34 ได้โดยการยิงเครื่องยนต์จากด้านหลังเท่านั้น" กูเดรีอันยังได้ตั้งข้อสังเกตในอนุทินของเขาว่า "พวกรัสเซียได้เรียนรู้บางสิ่ง"[24][25] ในปี ค.ศ. 2012 Niklas Zetterling ได้โต้แย้งความรู้สึกของความพ่ายแพ้ครั้งใหญ่ที่มตเซนสค์ โดยสังเกตว่ามีเพียงแค่กลุ่มรบจากกองพลยานเกราะที่ 4 ที่ได้เข้าร่วม ในขณะที่ส่วนใหญ่ของกองพลกำลังต่อสู้รบที่อื่น เมื่อทั้งสองฝ่ายได้ถอนตัวออกจากสนามรบภายหลังจากการสู้รบและฝ่ายเยอรมันได้สูญเสียรถถังเพียงหกคันและเสียหายสามคัน สำหรับผู้บัญชาการเยอรมันอย่างเฮิพเนอร์และบ็อค ได้ปฏิบัติหน้าที่ที่ไม่สำคัญ ความกังวลหลักของพวกเขาคือการต่อต้านจากภายในวงล้อม ไม่ใช่จากภายนอก[26]

ยานเกราะเยอรมันได้เข้ารุกเป็นแถวขบวนบนแนวรบมอสโก ตุลาคม ค.ศ. 1941

การโจมตีตอบโต้กลับอื่น ๆ ทำให้การรุกของเยอรมันล่าช้าลง กองทัพที่ 2 ซึ่งปฏิบัติการทางภาคเหนือของกองกำลังกูเดรีอัน โดยมีเป้าหมายในการโอบล้อมแนวรบเบรียนสค์ ซึ่งอยู่ภายใต้แรงกดดันของกองทัพแดงที่แข็งแกร่งด้วยความช่วยเหลือโดยการสนับสนุนทางอากาศ[27]

ตามที่การประเมินผลของเยอรมันเกี่ยวกับความพ่ายแพ้ของโซเวียตในช่วงแรก จำนวนทหาร 673,000 นายถูกจับกุมโดยแวร์มัคท์ในทั้งวงล้อมเวียซมาและเบรียนสค์[28] แม้ว่าการวิจัยเมื่อเร็ว ๆ นี้ได้ชี้ให้เห็นว่าน้อยมาก—แต่ยังคงมีขนาดใหญ่โต—ตัวเลขของเชลย 514,000 นาย, ได้ลดทอนความแข็งแกร่งของโซเวียตลงถึง 41%.[29] การสูญเสียบุคลารกร 499,001 นาย (ถาวรและชั่วคราว) ซึ่งถูกคำนวณโดยกองบัญชาการโซเวียต[30] เมื่อวันที่ 9 ตุลาคม อ็อทโท ดรีทริชจากกระทรวงประชาบาลและโฆษณาการของเยอรมนี ซึ่งอ้างอิงจากฮิตเลอร์เอง ได้คาดการณ์ล่วงหน้าในงานแถลงข่าวถึงการทำลายล้างกองทัพที่คอยปกป้องมอสโก เนื่องจากฮิตเลอร์ไม่เคยโกหกเกี่ยวกับข้อเท็จจริงทางทหารที่เจาะจงและยืนยันพิสูจน์ได้ ดรีทริชได้ให้ความมั่นใจแก่นักข่าวต่างชาติว่าการล่มสลายของการต่อต้านโซเวียตทั้งหมดซึ่งอาจจะล่าช้าไปหลายชั่วโมง ขวัญกำลังใจของพลเรือนชาวเยอรมัน—ได้ตกต่ำลงนับตั้งเริ่มต้นของบาร์บาร็อสซา—ซึ่งถูกทำให้ดีขึ้นอย่างเห็นได้ชัด โดยมีข่าวลือว่าทหารจะได้กลับบ้านในช่วงคริสต์มาสและความมั่นคั่งอันยิ่งใหญ่ในอนาคตของเลเบินส์เราม์จากทางตะวันออก[31]

แอ่งโคลนของรัสปูติซา ก่อนถึงมอสโก พฤศจิกายน ค.ศ. 1941

อย่างไรก็ตาม การต่อต้านของกองทัพแดงทำให้แวร์มัคท์นั้นล่าช้า เมื่อเยอรมันได้เดินทางมาถึงในระยะการมองเห็นแนวโมไจสค์ ทางตะวันตกของมอสโก เมื่อวันที่ 10 ตุลาคม พวกเขาพบแนวป้องกันอื่น ๆ ที่ถูกสร้างขึ้นโดยกองกำลังใหม่ของโซเวียต ในวันเดียวกัน เกออร์กี จูคอฟซึ่งถูกเรียกกลับจากแนวรบคาลีนิน เมื่อวันที่ 6 ตุลาคม ได้มีหน้าที่รับผิดชอบในการป้องกันกรุงมอสโกและร่วมกับแนวรบตะวันตกและกำลังสำรอง โดยมีพันเอกอีวาน โคเนฟ เป็นรองผู้บัญชาการของเขา[32][33] เมื่อวันที่ 12 ตุลาคม จูคอฟได้ออกคำสั่งให้รวบรวมกำลังทั้งหมดที่มีอยู่เพื่อเสริมความแข็งแกร่งให้กับแนวโมไจสค์ ความเคลื่อนไหวครั้งนี้ได้รับการสนับสนุนจากนายพลวาซีเลฟสกี[34] ลุฟท์วัฟเฟอยังคงควบคุมเหนือน่านฟ้าซึ่งไม่ว่าจะปรากฏอยู่ใด, และกลุ่มเครื่องบินชตูคาและเครื่องบินทิ้งระเบิดได้ออกบิน 537 ครั้ง, ได้ทำลายยานพาหนะบางส่วนจำนวน 440 คันและชื้นส่วนปืนใหญ่ 150 กระบอก[35][36]

เมื่อวันที่ 15 ตุลาคม, สตาลินได้ออกคำสั่งให้อพยพพรรคคอมมิวนิสต์, เจ้าหน้าที่คณะเสนาธิการทั่วไปและหน่วยงานพลเรือนต่าง ๆ ได้ออกจากมอสโกไปยังเมืองคูบืยเชียฟ (ปัจจุบันคือ ซามารา) ทิ้งเหลือแค่เพียงเจ้าหน้าที่จำนวนจำกัดไว้ข้างหลัง การอพยพทำให้เกิดความหวาดกลัวท่ามกลางชาวมอสโก วันที่ 16–17 ตุลาคม ประชากรพลเรือนส่วนใหญ่ได้พยายามหลบหนี มีการห้อมล้อมรถไฟที่มีใช้งานได้และถนนเกิดติดขัดจากเมือง แม้ว่าสิ่งที่จะเกิดขึ้นทั้งหมด สตาลินยังคงอยู่ในเมืองหลวงโซเวียตอย่างเปิดเผยซึ่งทำให้ความหวาดกลัวและความโกลาหลได้สลายไป[20]

แนวป้องกันโมไจสค์ (13–30 ตุลาคม)

[แก้]
ผู้หญิงชาวมอสโกได้ขุดหลุมสนามเพลาะต่อต้านรถถังบริเวณรอบเมืองของพวกเขาในปี ค.ศ. 1941

วันที่ 13 ตุลาคม ค.ศ. 1941 แวร์มัคท์ได้เดินทางมาถึงแนวป้องกันโมไจสค์ ซึ่งเป็นตำแหน่งป้องกันทั้งสี่แนวที่ถูกสร้างขึ้นมาอย่างเร่งรีบ[12] เพื่อป้องกันทางตะวันตกของมอสโกซึ่งได้ขยายจากคาลีนินไปยังโวโลโคลัมสค์ และ คาลูกา แม้ว่าจะมีการเสริมกำลังเมื่อเร็ว ๆ นี้ มีเพียงทหารโซเวียตจำนวนประมาณ 90,000 นายที่คอยประจำการในแนวนี้ ซึ่งมีจำนวนน้อยเกินไปที่ขัดขวางการรุกของเยอรมัน[37][38] ด้วยทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัด จูคอฟได้ตัดสินใจที่จะจัดวางกำลังไว้ที่จุดวิกฤตทั้งสี่จุดคือกองทัพที่ 16 ภายใต้บัญชาการโดยพลโทโรคอสซอฟสกีซึ่งคอยป้องกันที่โวโลโคลัมสค์ ส่วนโมไจสค์ที่ได้รับการป้องกันโดยกองทัพที่ 5 ภายใต้บัญชาการโดยพลตรีเลโอนิด โกโวรอฟ กองทัพที่ 43 ภายใต้บัญชาการโดยพลตรีคอนสตันติน โกลูเบรฟทำการป้องกันที่มาโลยาโรสลัฟซ์ และกองทัพที่ 49 ภายใต้บัญชาการโดยพลโท อีวาน ซาฮาร์กิน ทำการป้องกันที่คาลูกา[39] แนวรบตะวันตกของโซเวียตทั้งหมด—เกือบที่จะถูกทำลายภายหลังจากการโอบล้อมที่เวียซมา กำลังจะถูกจัดตั้งขึ้นมาใหม่ทั้งหมดนับตั้งแต่เริ่มต้น[40]

รถถังและกองทหารของเยอรมันบนถนนของคาลีนิน ตุลาคม ค.ศ. 1941

มอสโกเองก็ได้รับการเสริมการป้องกันอย่างเร่งรีบเช่นกัน จากข้อมูลของจูคอฟว่า มีผู้หญิงและวัยรุ่นจำนวน 250,000 คน ได้ทำงานสร้างสนามเพละและคูต่อต้านรถถังบริเวณรอบมอสโก ความเคลื่อนไหวเกือบสามล้านลูกบาศก์เมตรของโลกโดยไม่มีความช่วยเหลือทางจักรกล โรงงานในกรุงมอสโกได้ถูกแปรเปลี่ยนเป็นภารกิจทางทหารอย่างเร่งรีบ โรงงานผลิตรถยนต์แห่งหนึ่งได้ถูกแปรเปลี่ยนเป็นคลังอาวุธปืนกลมือ โรงงานผลิตนาฬิกาได้หันมาผลิตทุ่นระเบิด โรงงานผลิตช็อตโกแลตได้ถูกแปรเปลี่ยนเป็นการผลิตอาหารสำหรับแนวหน้า และสถานีซ่อมแซมรถยนต์ซึ่งทำงานในการซ่อมแซมรถถังและยานพาหนะทางทหารที่เสียหาย[41] แม้ว่าจะมีการเตรียมความพร้อมเหล่านี้ เมืองหลวงก็ยังอยู่ห่างไกลจากรถถังเยอรมันอย่างทึ่ง โดยลุฟท์วัฟเฟอได้เข้าโจมตีทางอากาศขนาดใหญ่ในเมือง การโจมตีทางอากาศทำให้เกิดความเสียหายได้เพียงแค่จำกัด เนื่องจากมีการป้องกันอากาศยานที่กว้างขวางและหน่วยงานดับเพลิงพลเรือนที่ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ[42]

เครื่องป้องกันกีดขวางรถถังในท้องถนนมอสโก ตุลาคม ค.ศ. 1941

วันที่ 13 ตุลาคม ค.ศ. 1941 (15 ตุลาคม ตามแหล่งข้อมูลอื่น ๆ) แวร์มัคท์ได้เริ่มต้นการรุกอีกครั้งในช่วงแรก กองกำลังเยอรมันได้พยายามหลีกเลี่ยงแนวป้องกันโซเวียตโดยเคลื่อนที่ไปทางตะวันออกเฉียงเหนือไปยังเมืองคาลีนินซึ่งได้รับการป้องกันที่อ่อนแอ และทางใต้สู่คาลูกาและตูลา โดยเข้ายึดครองทั้งหมดยกเว้นแต่ตูลาในวันที่ 14 ตุลาคม เมื่อได้รับขวัญกำลังใจโดยความสำเร็จในช่วงแรก เยอรมันได้เปิดฉากการโจมตีด้านหน้ากับแนวป้องกัน โดยเข้ายึดโมไจสค์และมาโลยาโรสลัฟซ์ ในวันที่ 18 ตุลาคม นาโร-โฟมินสค์ ในวันที่ 21 ตุลาคม และโวโลโคลัมสค์ในวันที่ 27 ตุลาคม ภายหลังจากการสู้รบที่ดุเดือด เนื่องจากอันตรายที่เพิ่มมากขึ้นของการโจมตีขนาบข้าง จูคอฟได้ถูกบีบบังคับให้ล่าถอย[43] ได้ถอดถอนกำลังของเขาไปยังทางตะวันออกของแม่น้ำนารา[44]

ในทางใต้ กองทัพยานเกราะที่สองได้เริ่มเข้ารุกสู่ตูลาโดยทางสะดวกเพราะแนวป้องกันโมไจสค์ไม่ขยายออกไปยังทางใต้มากนัก และไม่มีการรวมตัวกันที่มีนัยสำคัญของกองทหารโซเวียตที่คอยขัดขวางการรุกของพวกเขา อย่างไรก็ตาม ด้วยสภาพอากาศที่เลวร้าย ปัญหาด้านเชื้อเพลิง ถนนและสะพานที่เสียหายทำให้กองทัพเยอรมันเคลื่อนที่ช้าลงในที่สุด และกูเดรีอันไม่อาจไปถึงชานเมืองของตูลาจนถึงวันที่ 26 ตุลาคม[45] แผนเยอรมันในช่วงแรกได้เรียกร้องให้เข้ายึดครองตูลาอย่างรวดเร็ว ตามมาด้วยการเคลื่อนขบวนแบบก้ามปูเข้าโอบล้อมรอบ ๆ กรุงมอสโก อย่างไรก็ตาม การโจมตีครั้งแรกได้ถูกต้านทานโดยกองทัพที่ 50 และทหารอาสาสมัครพลเรือน เมื่อวันที่ 29 ตุลาคม ภายหลังการสู้รบในสายตาของเมือง ตามมาด้วยการรุกตอบโต้กลับโดยกองทัพน้อยองค์รักษ์ทหารม้าที่ 1 ซึ่งปีกด้านข้างได้รับการปกป้องโดยกองทัพที่ 10 กองทัพที่ 49 และกองทัพที่ 50 ซึ่งเข้าโจมตีจากตูลา[46] เมื่อวันที่ 31 ตุลาคม กองบัญชาการใหญ่เยอรมันได้ออกคำสั่งให้หยุดยั้งปฏิบัติการเชิงรุกทั้งหมด จนกว่าปัญหาทางด้านโลจิสติกส์ที่รุนแรงมากขึ้นจะได้รับการปรับปรุงแก้ไขและปรากฏการณ์รัสปูติซาได้เบาบางลง

แวร์มัคท์รุกเข้าสู่มอสโก (1 พฤศจิกายน-5 ธันวาคม)

[แก้]

สภาพอ่อนกำลังลง

[แก้]

ในปลายเดือนตุลาคม, กองทัพเยอรมันได้อ่อนกำลังลง โดยมีเพียงหนึ่งในสามยานยนต์ที่ยังคงใช้งานได้ กองพลทหารราบที่มีกำลังสามถึงครึ่ง และปัญหาทางด้านโลจิสติกส์ที่ร้ายแรงทำให้ไม่สามารถส่งเสื้อผ้าที่ให้ความอบอุ่น และอุปกรณ์กันความหนาวอื่น ๆ ที่แนวหน้า แม้แต่ฮิตเลอร์ที่ดูเหมือนว่าจะยอมจำนนต่อความคิดเรื่องการสู้รบที่ยาวนาน เนื่องจากความเป็นไปได้ที่จะส่งรถถังเข้าไปในเมืองใหญ่เช่นนี้โดยไม่ได้รับการสนับสนุนจากทหารราบอย่างหนักนั้นดูเหมือนจะมีความเสี่ยงภายหลังการเข้ายึดครองกรุงวอร์ซอที่มีราคาที่ต้องจ่ายในปี ค.ศ. 1939[47]

การสวนสนามโดยกองทหารโซเวียตบนจัตุรัสแดงในวันศุกร์ ที่ 7 พฤศจิกายน ค.ศ. 1941 ซึ่งปรากฏในภาพวาด ค.ศ. 1949 ซึ่งถูกวาดโดย คอนสแตนติน ยูออน แสดงให้เห็นอย่างชัดเจนถึงสัญลักษณ์ที่มีความสำคัญของเหตุการณ์[33]: 31 

เพื่อทำให้การตัดสินใจที่เข้มแข็งของกองทัพแดงและเพิ่มขวัญกำลังใจของพลเรือน สตาลินได้ออกคำสั่งให้จัดขบวนสวนสนามทางทหารตามธรรมเนียมในวันที่ 7 พฤศจิกายน (วันแห่งการปฏิวัติ) ซึ่งถูกจัดขึ้นที่จัตุรัสแดง กองทหารโซเวียตได้เดินสวนสนามผ่านพระราชวังเครมลินและเคลื่อนที่โดยตรงสู่แนวหน้า ขบวนสวนสนามมีความสำคัญเชิงสัญลักษณ์อย่างมากโดยแสดงให้เห็นถึงการตัดสินใจอันแน่วแน่อย่างต่อเนื่องของโซเวียต และมักจะถูกเรียกเช่นนี้ในปีต่อ ๆ ไป แม้จะมีการแสดงด้วยความกล้าหาญนี้ ตำแหน่งของกองทัพแดงยังคงดูล่อแหลม แม้ว่าทหารโซเวียตอีก 100,000 นายจะได้เข้าเสริมกำลังที่คลินและตูลา ซึ่งได้คาดการณ์ว่าการรุกของเยอรมันจะเริ่มขึ้นมาใหม่ การป้องกันของโซเวียตยังคงค่อนข้างเปราะบาง อย่างไรก็ตาม สตาลินได้ออกคำสั่งให้การรุกตอบโต้กลับก่อนล่วงหน้าต่อแนวรบของเยอรมันหลายครั้ง สิ่งเหล่านี้ได้ถูกเปิดฉากขึ้นแม้ว่าจะมีการประท้วงจากจูคอฟ ซึ่งชี้ให้เห็นถึงการขาดแคลนกำลังสำรองทั้งหมด[48] แวร์มัคท์ได้ต้านทานการรุกตอบโต้กลับเหล่านี้ส่วนใหญ่ ซึ่งได้ทำลายล้างกองกำลังโซเวียตซึ่งอาจจะใช้สำหรับการป้องกันมอสโก มีเพียงความสำเร็จอย่างโดดเด่นเพียงครั้งเดียวของการรุกซึ่งเกิดขึ้นจากทางตะวันตกของมอสโกใกล้กับ อะเลคเซโน เมื่อรถถังโซเวียตได้สร้างความเสียหายอย่างหนักต่อกองทัพที่ 4 เนื่องจากเยอรมันยังขาดอาวุธต่อต้านรถถังที่สามารถทำลายรถถังที-34 ที่ถูกสร้างขึ้นมาใหม่และมีเกราะที่ดีเยี่ยม[49]

ตั้งแต่วันที่ 31 ตุลาคม ถึง 13 - 15 พฤศจิกายน กองบัญชาการใหญ่แวร์มัคท์ได้หยุดลง ในขณะที่เตรียมความพร้อมเพื่อเปิดฉากการรุกมอสโกครั้งที่สอง แม้ว่ากองทัพกลุ่มกลางยังคงมีความแข็งแกร่งพอสมควร แต่ความสามารถในการสู้รบได้ลดทอนลงอย่างมากเพราะการสึกหรอและความเหนื่อยล้า ในขณะที่เยอรมันได้รับรู้ถึงการหลั่งไหลเข้ามาของการกำลังเสริมของโซเวียตอย่างต่อเนื่องจากตะวันออก เช่นเดียวกับการมีอยู่ของกองกำลังสำรองขนาดใหญ่ ทำให้โซเวียตสูญเสียอย่างมหาศาล พวกเขาไม่คาดคิดว่าโซเวียตสามารถป้องกันได้อย่างมั่นคง[50] แต่เมื่อเปรียบเทียบกับสถานการณ์ในเดือนตุลาคม กองพลปืนไรเฟิลโซเวียตได้ยึดครองตำแหน่งป้องกันที่แข็งแกร่งกว่ามาก: วงแหวนป้องกันสามชั้นรอบเมืองและส่วนที่เหลือบางส่วนของแนวโมไจสค์ ใกล้กับคลิน กองทัพภาคสนามโซเวียตส่วนใหญ่ในตอนนี้ได้ป้องกันหลายชั้น โดยมีกองพลปืนไรเฟิลอย่างน้อยสองกองพลในตำแหน่งระดับที่สอง การสนับสนุนด้วยปืนใหญ่และทหารช่างยังได้กระจุกรวมตัวกันตามถนนสายหลักที่กองทหารเยอรมันคาดการณ์ว่าจะใช้ในการโจมตีพวกเขา นอกจากนี้ยังมีกองทหารโซเวียตจำนวนมากที่ยังคงอยู่ในกองทัพสำรองที่อยู่เบื้องหลังแนวหนเ จนในที่สุด กองทหารโซเวียต-และโดยเฉพาะอย่างยิ่งคือเจ้าหน้าที่นายทหาร- ตอนนี้พวกเขาได้มีประสบการณ์มากขึ้นและเตรียมความพร้อมที่ดีขึ้นสำหรับการรุก[51]

วันที่ 15 พฤศจิกายน ค.ศ. 1941 ในที่สุด ทางภาคพื้นดินก็ได้กลายสภาพเป็นน้ำแข็ง ซึ่งได้ช่วยแก้ปัญหาเรื่องถนนโคลนเลน หัวหอกยานเกราะของแวร์มัคท์ซึ่งประกอบไปด้วย 51 กองพล ซึ่งตอนนี้สามารถรุกเข้าไปได้ โดยมีเป้าหมายเพื่อที่จะโอบล้อมมอสโกและเชื่อมโยงใกล้กับเมืองโนกินสค์ ทางตะวันออกของเมืองหลวง เพื่อบรรลุเป้าหมายนี้ กลุ่มยานเกราะที่สามและสี่ของเยอรมันจำเป็นที่จะต้องรวบรวมกองกำลังของเขาไว้ที่ระหว่างอ่างเก็บน้ำวอลกาและโมไจสค์ จากนั้นก็เคลื่อนทัพผ่านกองทัพที่ 30 ของโซเวียตไปยังคลินและโซลเนียชโนกอร์สค์ โอบล้อมเมืองจากทางเหนือ ในทางใต้ กองทัพยานเกราะที่สองได้ตั้งใจว่าจะอ้อมผ่านทางตูลาซึ่งยังถูกยึดครองโดยโซเวียต และเข้ารุกไปยังคาชิราและโคโลมนา โดยเชื่อมโยงกับการโอบล้อมทางเหนือที่โนกินสค์ กองทัพภาคสนามที่ 4 ของเยอรมันที่อยู่ในส่วนกลางจะต้อง"ตรึงกองกำลังทหารของแนวรบตะวันตก"[33]: 33, 42–43 

การโอบล้อมที่ล้มเหลว

[แก้]

วันที่ 15 พฤศจิกายน ค.ศ. 1941 กองทัพรถถังเยอรมันได้เริ่มต้นการรุกของพวกเขาสู่คลิน ซึ่งที่นั้นไม่มีกองกำลังสำรองโซเวียตอยู่เลย เพราะความต้องการของสตาลินที่พยายามจะเข้ารุกตอบโต้กลับที่โวโลโคลัมสค์ ซึ่งได้บังคับให้ย้ายกองกำลังสำรองที่มีอยู่ทั้งหมดไปยังทางใต้สุด การโจมตีของเยอรมันช่วงแรกได้ถูกแบ่งออกเป็นแนวรบออกเป็นสองส่วน โดยแบ่งแยกกองทัพที่ 16 ออกจากกองทัพที่ 30[51] หลายวันของการสู้รบเข้มข้นที่ตามมา จูคอฟได้บันทึกไว้ในอนุทินของเขาว่า "พวกข้าศึกเมินเฉยต่อผู้บาดเจ็บ ซึ่งกำลังเข้าโจมตีแนวหน้า มีความตั้งใจที่จะเข้าไปยังกรุงมอสโกโดยวิธีการใด ๆ ที่จำเป็น"[52] แม้ว่าแวร์มัคท์จะพยายามโจมตี การป้องกันหลายชั้นได้ลดความสูญเสียของโซเวียต ในขณะที่กองทัพที่ 16 ของโซเวียตก็ค่อย ๆ ล่าถอยและคอยก่อกวนกองพลเยอรมันอย่างต่อเนื่องซึ่งกำลังพยายามที่จะหาทางตีฝ่าป้อมปราการป้องกัน[ต้องการอ้างอิง]

ทหารเยอรมันคอยดูแลสหายผู้ได้รับบาดเจ็บใกล้กับมอสโก พฤศจิกายน-ธันวาคม ค.ศ. 1941

กองทัพยานเกราะที่สามได้เข้ายึดครองคลินภายหลังการสู้รบอย่างหนักในวันที่ 23 พฤศจิกายน ต่อโดยโซลเนียชโนกอร์สค์ในวันที่ 24 พฤศจิกายนและอิสตราในวันที่ 24/25 พฤศจิกายน การต่อต้านของโซเวียตยังคงแข็งแกร่ง และผลลัพธ์ของการสู้รบนั้นไม่อาจสรุปออกมาได้ ตามรายงาน สตาลินได้ถามจูคอฟว่า จะสามารถปกป้องมอสโกได้สำเร็จหรือไม่และสั่งให้เขา "พูดอย่างตรงไปตรงมา เฉกเช่นเดียวกับคอมมิวนิสต์" จูคอฟได้ตอบว่าเท่าที่จะเป็นไปได้ แต่ต้องการกำลังสำรองอย่างเร่งด่วน[52] ในวันที่ 27 พฤศจิกายน กองพลยานเกราะที่ 7 ของเยอรมันได้เข้ายึดหัวสะพานข้ามคลองมอสโก-วอลกา ซึ่งเป็นสิ่งกีดขวางแห่งสุดท้ายที่สำคัญก่อนที่จะเข้าถึงมอสโกและยืนอยู่ห่างจากพระราชวังเครมลินอย่างน้อยกว่า 35 กิโลเมตร (22 ไมล์)[51] แต่การโจมตีตอบโต้กลับอันทรงพลังของกองทัพสนามที่ 1 ทำให้พวกเขาต้องล่าถอย[53] ทางตะวันตกเฉียงเหนือของมอสโก แวร์มัคท์ได้มาถึงครัสนายาปอลยานา อยู่ห่างจากพระราชวังเครมลินอย่างน้อยกว่า 29 กิโลเมตร (18 ไมล์) ในใจกลางกรุงมอสโก[54] เจ้าหน้าที่นายทหารเยอรมันสามารถมองเห็นอาคารสำคัญบางแห่งของเมืองหลวงโซเวียตผ่านทางกล้องส่องทางไกลของพวกเขา กองกำลังทั้งฝ่ายโซเวียตและฝ่ายเยอรมันต่างหมดกำลังลงอย่างรุนแรง บางครั้งมีเพียงทหารปืนไรเฟิลจำนวน 150-200 นาย—กองร้อยที่มีกำลังเต็มที่—เหลือไว้เพียงแค่กรมทหาร[51]

ทหารเยอรมัน ทางตะวันตกของมอสโก ธันวาคม ค.ศ. 1941

ในทางใต้ ใกล้กับตูลา การสู้รบได้เริ่มต้นใหม่ในวันที่ 18 พฤศจิกายน ค.ศ. 1941 โดยกองทัพยานเกราะที่สองได้พยายามที่จะโอบล้อมเมือง[51] กองกำลังเยอรมันที่เกี่ยวข้องถูกโจมตีอย่างรุนแรงจากการสู้รบครั้งก่อนและยังไม่มีชุดกันความหนาว ด้วยผลลัพธ์ การรุกคืบของเยอรมันช่วงแรกได้แค่เพียง 5-10 กิโลเมตร (3.1-62 ไมล์) ต่อวัน.[55] ยิ่งไปกว่านั้น ได้เปิดเผยให้กองทัพรถถังของเยอรมันถูกโจมตีขนาบข้างจากกองทัพที่ 49 และ 50 ของโซเวียต ที่อยู่ใกล้กับตูลา ทำให้การรุกต้องล่าช้าไปอีก อย่างไรก็ตาม กูเดรีอันสามารถติดตามการรุกและได้กระจายกองกำลังของเขาในการโจมตีแบบรูปดาวเข้ายึดครองสตาลิโนกอร์สค์ ในวันที่ 22 พฤศจิกายน ค.ศ. 1941 และโอบล้อมกองพลปืนไรเฟิลโซเวียตที่คอยประจำการอยู่ที่นั้น วันที่ 26 พฤศจิกายน รถถังเยอรมันได้มาถึงคาชิรา เมืองที่คอยควบคุมทางหลวงสายสำคัญสู่มอสโก ในการตอบสนอง การโจมตีตอบโต้กลับของโซเวียตได้เปิดฉากขึ้นในวันต่อมา กองทัพน้อยทหารที่ 2 กองพลทหารการ์ดที่ 1 และกองพลทหารองค์รักษ์ที่ 2 ภายใต้บัญชาการโดยนายพลปาเวล เบลอฟ ได้ให้การสนับสนุนโดยการจัดตั้งรวบรวมกองกำลังอย่างเร่งรีบ ซึ่งรวมทั้งกองพลปืนไรเฟิลที่ 173, กองพลน้อยรถถังที่ 9, กองพันรถถังที่ถูกแยกออกเป็นสองกองพัน และทำการฝึกซ้อมและหน่วยทหารราบ[56] การรุกของเยอรมันได้หยุดชะงักลงใกล้กับคาชิรา[33]: 35–36 [57] เยอรมันได้ถูกขับไล่กลับไปในช่วงต้นเดือนธันวาคม สามารถปกป้องทางใต้ที่จะเข้าสู่เมือง [58] ส่วนตูลาเอง ก็ได้รับการป้องกันโดยป้อมปราการและการป้องกันอย่างเหนียวแน่นส่วนใหญ่จากกองทัพที่ 50 ซึ่งมีทั้งทหารและพลเรือน ในทางใต้ แวร์มัคท์ไม่เคยเข้าใกล้เมืองหลวง การเข้าตีครั้งแรกของแนวรบตะวันตกในการรุกตอบโต้กลับบนเขตชานเมืองมอสโกกับกองทัพยานเกราะที่ 2 ของกูเดรีอัน[59]

เนื่องจากการต่อต้านทั้งทางเหนือและทางใต้ของมอสโก วันที่ 1 ธันวาคม แวร์มัคท์ได้พยายามที่จะเข้าโจมตีโดยตรงจากทางตะวันตกตามทางหลวงมินสค์-มอสโกใกล้กับเมืองนาโร-โฟมินสค์ การรุกครั้งนี้ได้รับการสนับสนุนของรถถังที่จำกัดและมุ่งเป้าไปที่การป้องกันของโซเวียตอย่างกว้างขวาง ภายหลังจากพบกับการต้านทานอย่างเหนียวแน่นจากกองพลปืนไรเฟิลยานยนต์องค์รักษ์ที่ 1 ของโซเวียตและการโจมตีตอบโต้กลับด้านข้างที่ถูกจัดฉากขึ้นโดยกองทัพที่ 33 การรุกของเยอรมันได้หยุดชะงักและถูกขับไล่กลับไปในสี่วันต่อมาในการรุกตอบโต้กลับของโซเวียตที่ตามมา[51] วันเดียวกัน กรมทหารราบที่ 638 ซึ่งเต็มไปด้วยชาวฝรั่งเศส ซึ่งเป็นเพียงกองกำลังทหารต่างชาติหน่วยเดียวของแวร์มัคท์ได้เข้าร่วมในการรุกสู่มอสโกและได้ปฏิบัติหน้าที่ใกล้กับหมู่บ้านดยูต์โคโว[60] วันที่ 2 ธันวาคม กองพันลาดตระเวนได้มาถึงเมืองฮีมกี ซึ่งอยู่ห่างจากพระราชวังเครมลินในใจกลางมอสโกเพียงระยะทาง 30 กิโลเมตร (19 ไมล์) ถึงสะพานข้ามคลองมอสโก-วอลกาและสถานีรถไฟ ซึ่งเป็นเส้นทางที่ใกล้ที่สุดของกองกำลังเยอรมันในการสู่มอสโก[61][62]

กองทหารสกีของกองทัพแดง ภาพถ่ายมาจากสารคดีเรื่อง ราซกรอมเนเมซคีฮ์วอยสคปอดมอสควอย ค.ศ. 1942

ฤดูหนาวในยุโรป ค.ศ. 1941–42 เป็นช่วงเวลาที่หนาวจัดมากที่สุดในคริสต์คศวรรษที่ 20[63] วันที่ 30 พฤศจิกายน ฟ็อน บ็อคได้กล่าวอ้างในรายงานไปยังเบอร์ลินว่า อุณหภูมิอยู่ที่ −45  องศาเซลเซียส (−49 องศาฟาเรนไฮต์)[64] นายพล Erhard Raus ผู้บัญชาการแห่งกองพลยานเกราะที่ 6 ได้บันทึกผลติดตามอุณหภูมิเฉลี่ยรายวันในอนุทินสงครามของเขา ซึ่งแสดงให้เห็นถึงช่วงที่อากาศหนาวเย็นจัดมากขึ้นอย่างกระทันหันในวันที่ 4-7 ธันวาคม: ตั้งแต่−36 ถึง −38 องศาเซลเซียส (−37 ถึง −38 องศาฟาเรนไฮต์) แม้ว่าจะไม่ทราบถึงวิธีการหรือความน่าเชื่อถือของการวัดของเขา[65] ตามผลรายงานอุณหภูมิอื่น ๆ ที่แตกต่างกันอย่างมาก[66][67] จูคอฟได้บอกว่า สภาพอากาศหนาวเย็นของเดือนพฤศจิกายนยังอยู่เพียงราวประมาณ −7 ถึง −10 องศาเซลเซียส (+19 ถึง +14 องศาฟาเรนไฮต์)[68] บันทึกผลของกรมอุตุนิยมวิทยาของโซเวียตอย่างเป็นทางการได้แสดงให้เห็นถึงจุดที่ต่ำสุด อุณหภูมิต่ำสุดของเดือนธันวาคมถึงอยู่ที่ −28.8 องศาเซลเซียส (−20 องศาฟาเรนไฮต์ )[68] ตัวเลขเหล่านี้ได้บ่งชี้ถึงสภาพอากาศที่หนาดจัดอย่างรุนแรง และกองทหารเยอรมันถูกแช่แข็งโดยปราศจากเสื้อผ้ากันความหนาว ใช้อุปกรณ์ที่ไม่ได้ถูกออกแบบมาสำหรับอุณหภูมิต่ำเช่นนี้ มีการรายงานถึงผู้ป่วยเป็นโรคหิมะกัดมากกว่า 130,000 รายในท่ามกลางทหารเยอรมัน[37] น้ำมันจาระบีที่ถูกแช่เข็งจะถูกลบออกจากปอกกระสุนที่ถูกบรรจุเอาไว้[37] และยานพาหนะจะให้ความอบอุ่นเป็นเวลาหลายชั่วโมงก่อนใช้งาน สภาพอากาศหนาวจัดได้เข้าโจมตีกองทหารโซเวียตเช่นเดียวกัน แต่พวกเขาได้เตรียมความพร้อมมาดี[67] เสื้อผ้าได้ถูกเสริมด้วยเครื่องนุ่งห่มและรองเท้าบูทของโซเวียต ซึ่งมักจะอยู่ในสภาพดีกว่าเสื้อผ้าของเยอรมัน เนื่องจากเจ้าของจะใช้เวลาอยู่ที่แนวหน้าน้อยกว่ามาก ศพได้ถูกทำให้ละลายเพื่อเอาสิ่งของออกมา ครั้งหนึ่งเมื่อศพจำนวนสองร้อยศพได้ถูกทิ้งไว้ในสนามรบ "หน่วยคอมมานโดเลื่อย" จะได้รับเสื้อผ้าที่เพียงพอสำหรับทุกคนที่สวมใส่ในกองพัน[69]

การเข้ารุกสู่มอสโกของฝ่ายอักษะได้หยุดลง ไฮนทซ์ กูเดรีอันได้เขียนบันทึกไว้ในอนุทินของเขาว่า "การรุกสู่มอสโกได้ล้มเหลว ... พวกเราประเมินกำลังของข้าศึกต่ำเกินไป เช่นเดียวกับขนาดและสภาพอากาศของพวกเขา ด้วยความโชคดี, ข้าพเจ้าได้หยุดกองทหารของข้าพเจ้าเอาไว้ในวันที่ 5 ธันวาคม มิฉะนั้นความพินาศย่อยยับก็ไม่อาจที่จะหลีกเลี่ยงได้."[70]

อุทกภัยที่เอ่อล้น

[แก้]

นักประวัติศาสตร์บางคนได้นำเสนอถึงอุทกภัยที่เอ่อล้นซึ่งมีบทบาทสำคัญในการป้องกันมอสโก[71] พวกเขามีเป้าหมายหลักเพื่อทำลายน้ำแข็งและขัดขวางไม่ให้กองทหารและอุปกรณ์ทางทหารขนาดหนักทำการข้ามแม่น้ำวอลกาและอ่างเก็บน้ำอีวานโคโว[72] เริ่มต้นด้วยการระเบิดเขื่อนอ่างเก็บน้ำอิสตรา ในวันที่ 24 พฤศจิกายน ค.ศ. 1941 วันที่ 28 พฤศจิกายน ค.ศ. 1941 น้ำได้ถูกระบายลงสู่แม่น้ำยาโครมาและเซสตราจากอ่างเก็บน้ำหกแห่ง (อ่างเก็บน้ำ ฮีมกี [ru], อีคชา [ru], เปียลอฟสโคเย [ru], เปสตอฟสโคเย [ru], ปีโรกอฟสโคเย [ru] และ คลยัซมา [ru]) เช่นเดียวกับจากอ่างเก็บน้ำอีวานโคโว[71] ทำให้บางหมู่บ้าน 30-40 หมู่บ้านได้จมน้ำเพียงบางส่วน แม้อยู่ในสภาพอากาศหนาวที่รุนแรงในขณะนั้น[71][73] ทั้งสองเหตุการณ์นี้เป็นผลมาจากคำสั่งที่ 0428 ของกองบัญชาการใหญ่โซเวียต ลงวันที่ 17 พฤศจิกายน ค.ศ. 1941 อุทกภัยที่เอ่อล้นยังได้ถูกใช้เป็นอาวุธที่แหกคอกซึ่งมีผลกระทบโดยตรง[74]

การรุกตอบโต้กลับของโซเวียต

[แก้]
การรุกตอบโต้กลับฤดูหนาวของโซเวียต 5 ธันวาคม ค.ศ. 1941 - 7 พฤษภาคม ค.ศ. 1942

แม้ว่าการรุกของแวร์มัคท์จะหยุดชะงักลง หน่วยข่าวกรองของเยอรมันได้ประเมินว่ากองกำลังโซเวียตนั้นไม่มีกำลังสำรองเหลืออยู่เลยและไม่สามารถที่จะเปิดการรุกตอบโต้กลับได้ การประเมินครั้งนี้ถิอว่าเป็นความผิดพลาด เนื่องจากสตาลินได้โยกย้ายกองกำลังมากกว่า 18 กองพล รถถัง 1,700 คัน และเครื่องบินรบจำนวนมากกว่า 1,500 ลำ จากไซบีเรียและตะวันออกไกล[75] กองทัพแดงได้รวบรวมกองกำลังสำรองได้ถึง 58 กองพลในช่วงต้นเดือนธันวาคม[37] เมื่อการรุกได้ถูกนำเสนอโดยจูคอฟและวาซีเลฟสกีซึ่งในที่สุดได้รับการอนุมัติโดยสตาลิน[76] แม้ว่าจะมีกองกำลังสำรองใหม่เหล่านี้ กองทัพโซเวียตได้มอบหมายหน้าที่ในปฏิบัติการด้วยจำนวนทหารเพียง 1,100,000 นาย[66] ซึ่งมีจำนวนมากกว่าแวร์มัคท์เพียงเล็กน้อยเท่านั้น อย่างไรก็ตาม ด้วยการเคลื่อนที่ของกองทหารอย่างระมัดระวัง อัตราส่วนสองต่อหนึ่งได้มาถึงจุดวิกฤตบางจุด[37]

วันที่ 5 ธันวาคม ค.ศ. 1941 การรุกตอบโต้กลับสำหรับ "การกำจัดภัยคุกคามมอสโกอย่างทันท่วงที" เริ่มต้นที่แนวรบคาลีนิน แนวรบตะวันตกเฉียงใต้และแนวรบตะวันตกได้เริ่มการรุกของพวกเขาในวันถัดไป ภายหลังหลายวันของความคืบหน้า กองทัพโซเวียตเข้ายึดครองโซลเนียชโนกอร์สค์กลับคืนมาในวันที่ 12 ธันวาคม และคลิน ในวันที่ 15 ธันวาคม กองทัพของกูเดรีอัน "ถูกโจมตีจนต้องรีบล่าถอยไปยังเวเนฟ" และจากนั้นที่ซูฮีนีชี "ภัยคุกคามที่ครอบคลุมตูลาได้ถูกกำจัดหมดสิ้นไป"[33]: 44–46, 48–51 [77]

วันที่ 8 ธันวาคม ฮิตเลอร์ได้ลงนามในคำสั่งของเขาที่ 39 โดยสั่งว่าให้แวร์มัคท์ทำการจัดตั้งตำแหน่งการป้องกันในแนวรบทั้งหมด กองทหารเยอรมันไม่สามารถจัดตั้งแนวป้องกันที่มั่นคงในตำแหน่งที่ตั้งเริ่มต้นและถูกบังคับให้ล่าถอยกลับเพื่อรวบรวมใแนวรบของพวกเขา กูเดรีอันได้บันทึกเกี่ยวกับบทสนทนาของ Hans Schmidt และ ว็อล์ฟรัม ฟ็อน ริชท์โฮเฟิน ซึ่งเกิดขึ้นในวันเดียวกัน และผู้บัญชาการทั้งสองได้เห็นพ้องต้องกันว่าไม่สามารถที่จะจัดตั้งแนวหน้าในทันท่วงทีได้[78] ซึ่งในที่สุดวันที่ 14 ธันวาคม ฟรันทซ์ ฮัลเดอร์และกึนเทอร์ ฟ็อน คลูเกอก็ได้อนุญาตให้มีการถอนกำลังอย่างจำกัดไปทางตะวันตกของแม่น้ำโอกา โดยปราศจากการอนุมัติของฮิตเลอร์[79][80] วันที่ 20 ธันวาคม ในช่วงการประชุมของเจ้าหน้าที่นายทหารระดับชั้นสูงของเยอรมัน ฮิตเลอร์ได้สั่งยกเลิกการถอนกำลังและสั่งให้ทหารของเขาทำการป้องกันพื้นที่ทุกหนแห่ง "ให้ขุดสนามเพลาะด้วยปอกกระสุนปืนใหญ่ฮาวฮิตเซอร์ถ้าจำเป็น"[81][82] กูเดรีอันได้ประท้วง โดยชี้ให้เห็นว่าการสูญเสียจากความหนาวนั้นมีมากกว่าความสูญเสียจากการสู้รบและอุปกรณ์กันความหนาวนั้นถูกจัดขึ้นโดยระบบการจราจรในโปแลนด์[83][84] อย่างไรก็ตาม ฮิตเลอร์ได้ยืนกรานที่จะปกป้องแนวรบที่มีอยู่ และกูเดรีอันถูกสั่งปลดในวันที่ 25 ธันวาคม พร้อมกับเฮิพเนอร์และ Strauss ผู้บัญชาการแห่งกองทัพยานเกราะที่ 4 และกองทัพที่ 9 ตามลำดับ เฟดอร์ ฟ็อน บ็อคยังถูกสั่งปลดอย่างเป็นทางการด้วย"เหตุผลทางการแพทย์"[85] วัลเทอร์ ฟ็อน เบราคิทช์ ผู้บัญชาการทหารสูงสุดของฮิตเลอร์ได้ถูกปลดออกจากตำแหน่งเมื่อก่อนหน้านี้ในวันที่ 19 ธันวาคม[33][86][87]

ในขณะเดียวกัน การรุกของโซเวียตยังคงดำเนินต่อไปจากทางเหนือ การรุกครั้งนี้ได้ปลดปล่อยคาลีนินและโซเวียตได้มาถึงคลิน ในวันที่ 7 ธันวาคม ทำการบุกรุกสู่กองบัญชาการของกองทัพน้อยยานเกราะที่ 56 ด้านนอกของเมือง ในขณะที่แนวรบคาลีนินได้รุกไล่ทางตะวันตก ส่วนตอกลิ่มได้ขยายขึ้นบนบริเวณรอบคลิน ผู้บัญชาการแนวรบโซเวียต อีวาน โคเนฟ พยายามที่จะโอบล้อมกองทัพเยอรมันที่เหลืออยู่ จูคอฟได้หันเหกองกำลังเพิ่มเติมไปทางใต้ของส่วนตอกลิ่ม เพื่อช่วยเหลือโคเนฟในการดักล้อมกองทัพยานเกราะที่สาม เยอรมันได้ดึงกองกำลังของพวกเขาออกมาได้ทันเวลา แม้ว่าการโอบล้อมจะล้มเหลว แต่ก็ได้แบ่งแยกการป้องกันของเยอรมัน ความพยายามครั้งที่สองเพื่อโอบล้อมด้านข้างต่อกองกำลังทางเหนือของกองทัพกลุ่มกลาง แต่ต้องพบกัยการต้านทานที่รุนแรงใกล้กับรเจฟ และถูกบังคับให้ต้องหยุดชะงักลง ได้ก่อตัวขึ้นเป็นส่วนที่ยื่นออกมาจนถึงเดือนมีนาคม ค.ศ. 1943 ในทางใต้ การรุกก็ได้ผ่านพ้นไปด้วยดี โดยแนวรบตะวันตกเฉียงใต้ได้คลายวงล้อมที่ตูลา วันที่ 6 ธันวาคม ค.ศ. 1941 ความสำเร็จครั้งสำคัญคือการโอบล้อมและทำลายล้างกองทัพน้อยที่ 35 ของเยอรมัน ซึ่งคอยปกป้องกองกำลังปืกทางใต้ของกองทัพยานเกราะที่สองของกูเดรีอัน[88]

ลุฟท์วัฟเฟอได้เป็นอัมพาตในช่วงครึ่งหลังของเดือนธันวาคม สภาพอากาศซึ่งถูกบันทึกอยู่ที่ –42 องศาเซลเซียส (–44 องศาฟาเรนไฮต์) เป็นบันทึกทางอุตุนิยมวิทยา[89] ปัญหาทางด้านโลจิสติกส์และอุณหภูมิเยือกแข็งทำให้สร้างปัญหาทางเทคนิคจนถึงเดือนมกราคม ค.ศ. 1942 ในเวลาเดียวกัน ลุฟท์วัฟเฟอแทบจะหายไปจากท้องฟ้าเหนือกรุงมอสโก ในขณะที่กองทัพอากาศโซเวียต ได้ออกปฏิบัติการจากฐานที่เตรียมพร้อมที่ดีกว่าและได้รับประโยชน์จากแนวรบภายใน ซึ่งแข็งแกร่งมากขึ้น วันที่ 4 มกราคม ท้องฟ้าปลอดโปร่ง ลุฟท์วัฟเฟอได้เสริมกำลังอย่างรวดเร็ว ในขณะที่ฮิตเลอร์คาดหวังว่าจะกอบกู้สถานการณ์ได้ Kampfgruppen (กลุ่มการทิ้งระเบิด) II./KG 4 และ II./KG 30 ซึ่งเกิดขึ้นมาจากการปรับปรุงใหม่ในเยอรมนี ในขณะที่ Transportgruppen (กลุ่มการขนส่ง) ทั้งสี่กลุ่ม ซึ่งมีกำลังรบของเครื่องบินขนส่งยุงเคิร์ส ยู 52 จำนวน 102 ลำซึ่งถูกนำมาใช้โดย Luftflotte 4 (กองบินที่ 4) เพื่ออพยพหน่วยกองกำลังทหารที่ถูกโอบล้อมและปรับปรุงสายส่งเสบียงสู่กองกำลังแนวหน้า มันเป็นความพยายามในนาทีสุดท้ายและได้ผล กองกำลังทางอากาศของเยอรมันได้ช่วยเหลือป้องกันไม่ให้กองทัพกลุ่มกลางต้องพินาศย่อยยับ แม้ว่าความพยายามที่ดีของโซเวียต ลุฟท์วัฟเฟอก็ยังมีส่วนสนับสนุนอย่างมหาศาลต่อความอยู่รอดของกองทัพกลุ่มกลาง ระหว่างวันที่ 17 และ 22 ธันวาคม "ลุฟท์วัฟเฟอ" ได้ทำลายยานยนต์ 299 คัน และรถถัง 23 ลำ บริเวณรอบตูลา ซึ่งเป็นการขัดขวางการติดตามไล่ล่ากองทัพเยอรมันของกองทัพแดง[90][91]

ในภาคกลาง ความก้าวหน้าของโซเวียตได้ล่าช้ากว่ามาก กองทหารโซเวียตได้ปลดปล่อยนาโร-โฟมินสค์ เพียงในวันที่ 26 ธันวาคม คาลูกา วันที่ 28 ธันวาคม และมาโลยาโรสลัฟซ์ วันที่ 2 มกราคม หลังสิบวันของการสู้รบที่รุนแรง กองกำลังสำรองโซเวียตได้เหลือน้อยลงและการรุกได้หยุดชะงักลงในวันที่ 7 มกราคม ค.ศ. 1942 ภายหลังจากทำการผลักดันกองทัพเยอรมันที่กำลังอ่อนล้าและถูกแช่แข็งให้ล่าถอยกลับไปในระยะทาง 100-250 กิโลเมตร (62-155 ไมล์) จากมอสโก สตาลินยังคงออกคำสั่งให้ทำการรุกเพิ่มเติ่มเพื่อดักจับและทำลายกองทัพกลุ่มกลางในแนวรบของมอสโก แต่กองทัพแดงเองก็กำลังอ่อนล้าและเกินกำลังและพวกเขาล้มเหลว[92]

ผลที่ตามมา

[แก้]
1,028,600 คนได้รับเหรียญ "สำหรับการป้องกันที่มอสโก" ตั้งแต่วันที่ 1 พฤษภาคม ค.ศ. 1944

การรุกตอบโต้กลับฤดูหนาวของกองทัพแดงได้ขับไล่แวร์มัคท์ออกจากกรุงมอสโก แต่เมืองก็ยังคงถูกคุกคามอยู่ โดยแนวหน้าที่อยู่ค่อนข้างใกล้ชิด ด้วยเหตุนี้ เขตสงครามมอสโกจึงยังคงมีความสำคัญสำหรับสตาลิน ซึ่งในตอนแรกที่ดูเหมือนจะตกตะลึงเนื่องจากความสำเร็จช่วงแรกของเยอรมัน[93] โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การรุกของโซเวียตในช่วงแรกนั้นไม่สามารถกำจัดส่วนที่ยื่นออกมาของรเจฟ ซึ่งถูกครอบครองโดยหลายกองพลของกองทัพกลุ่มกลาง ทันทีหลังจากการรุกตอบโต้กลับที่มอสโก หนึ่งในชุดของการโจมตีของโซเวียต (ยุทธการที่รเจฟ) เป็นความพยายามที่จะกำจัดส่วนที่ยื่นออกมา ในแต่ละครั้งก็เกิดความสูญเสียอย่างหนักแก่ทั้งสองฝ่าย ในช่วงต้นของ ค.ศ. 1943 แวร์มัคท์ได้ถอนกำลังออกจากจุดสำคัญของส่วนที่ยื่นออกมา ในขณะที่แนวรบทั้งหมดได้เคลื่อนที่ไปยังทางตะวันตก อย่างไรก็ตาม แนวรบมอสโกก็ยังไม่ปลอดภัยในที่สุด จนกระทั่งเดือนตุลาคม ค.ศ. 1943 เมื่อกองทัพกลุ่มกลางได้ถูกผลักดันออกจากสะพานสโมเลนสค์อย่างเด็ดขาด และจากฝั่งซ้ายของแม่น้ำนีเปอร์ตอนบน เมื่อยุทธการที่สโมเลนสค์ครั้งที่สองได้ยุติลง[ต้องการอ้างอิง]

ทหารเยอรมันได้ยอมจำนนภาพถ่ายมาจากสารคดีเรื่อง ราซกรอมเนเมซคีฮ์วอยสคปอดมอสควอย ค.ศ. 1942

ด้วยความโกรธเกรี้ยวที่กองทัพของเขาไม่สามารถยึดครองมอสโกไว้ได้ ฮิตเลอร์จึงสั่งปลดวัลเทอร์ ฟ็อน เบราคิทช์ ผู้บัญชาการทหารสูงสุดของเขาในวันที่ 19 ธันวาคม ค.ศ. 1941 และเข้ารับตำแหน่งบัญชาการแวร์มัคท์ด้วยตัวเอง[86] เพื่อควบคุมการตัดสินใจทางทหารทั้งหมดได้อย่างมีประสิทธิภาพ นอกจากนี้ ฮิตเลอร์ยังถูกห้อมล้อมไปด้วยเจ้าหน้าที่เสนาธิการซึ่งมีประสบการณ์การสู้รบเพียงเล็กน้อยหรือแทบไม่มีเลย[94]

เป็นครั้งแรกนับตั้งแต่เดือนมิถุนายน ค.ศ. 1941 ที่กองกำลังโซเวียตได้หยุดยั้งเยอรมันและขับกลับไป สิ่งนี้ได้ส่งผลทำให้สตาลินมีความมั่นใจมากเกินไปที่จะขยายการรุกออกไปอีก ในวันที่ 5 มกราคม ค.ศ. 1942 ในช่วงการประชุมที่พระราชวังเคลมลิน สตาลินได้ประกาศว่าเขากำลังวางแผนการโจมตีโดยทั่วไปในฤดูใบไม้ผลิ ซึ่งจะถูกจัดฉากขึ้นพร้อมกันใกล้กับมอสโก เลนินกราด ฮาร์คอฟ และแหลมไครเมีย แผนการนี้ได้เป็นที่ยอมรับทั่วไปซึ่งเหนือกว่าการคัดค้านของจูคอฟ[95] กองกำลังสำรองของกองทัพแดงนั้นมีค่อนข้างต่ำและทักษะทางยุทธวิธีของแวร์มัคท์จนนำไปสู่หนทางตันแห่งการนองเลือดใกล้กับรเจฟ ซึ่งเป็นที่รู้จักกันคือ "เครื่องบดเนื้อรเจฟ" และความพ่ายแพ้หลายครั้งของกองทัพแดง เช่น ยุทธการที่ฮาร์คอฟครั้งที่สอง ความพยายามที่ล้มเหลวในการกำจัดกองกำลังเยอรมันในวงล้อมเดเมียนสค์ และกองทัพของนายพลอันเดรย์ วลาซอฟ ถูกโอบล้อมอย่างสื้นเชิงในความพยายามที่ล้มเหลวในการคลายวงล้อมเลนินกราด และความพินาศย่อยยับของกองทัพแดงในแหลมไครเมีย ในท้ายที่สุด ความล้มเหลวเหล่านี้จะนำไปสู่การรุกทางใต้ของเยอรมันที่ประสบความสำเร็จและเข้าสู่ยุทธการที่สตาลินกราด

ในภาพยนตร์สารคดีเรื่อง ราซกรอมเนเมซคีฮ์วอยสคปอดมอสควอย (รัสเซีย: Разгром немецких войск под Москвой "ความพ่ายแพ้ของกองทหารเยอรมันใกล้กรุงมอสโก") ถูกทำขึ้นในช่วงการสู้รบและถูกฉายอย่างรวดเร็วในสหภาพโซเวียต ภาพยนตร์ได้ถูกนำไปที่อเมริกาและออกฉายที่โรงละครโกลบอลในนครนิวยอร์กในเดือนสิงหาคม ค.ศ. 1942 นักวิจารณ์ของหนังสือพิมพ์ นิวยอร์กไทม์ ได้ลงความเห็นว่า "ความโหดร้ายของการล่าถอยเป็นภาพที่ชวนทำให้จิตใจต้องตกตะลึง"[96] เช่นเดียวกับการเดินสวนสนามและฉากสู้รบในกรุงมอสโก ภาพยนตร์เรื่องนี้ยังมีภาพที่แสดงถึงความโหดร้ายของเยอรมันที่ได้กระทำในช่วงการยึดครอง "เด็กที่เปลือยเปล่าและถูกเชือดสังหารซึ่งได้ถูกเหยียดตัวออกเป็นแถวที่น่าสยดสยอง เยาวชนวัยรุ้นที่ห้อยขาไปมาในความหนาวเย็นจากที่แขวนคอนักโทษที่มีสภาพทรุดโทรม แต่ก็ยังคงแข็งแรงเพียงพอ"[96]

มรดกตกทอด

[แก้]
ไปรษณียากรของรัสเซียเนื่องในวาระครบรอบ 60 ปีการสู้รบที่มอสโกใน ค.ศ. 2001

การป้องกันกรุงมอสโกกลายเป็นสัญลักษณ์ของการต่อต้านของโซเวียตต่อกองกำลังฝ่ายอักษะผู้รุกราน เพื่อเป็นการรำลึกถึงการสู้รบ กรุงมอสโกได้ถูกยกย่องให้เป็น "วีรนคร" ใน ค.ศ. 1965 ในวาระครบรอบ 20 ปีของวันชัย พิพิธภัณฑ์การป้องกันมอสโกได้ถูกสร้างขึ้นใน ค.ศ. 1995

ในกรุงมอสโก เมืองหลวงของรัสเซียในปัจจุบัน การเดินขบวนสวนสนามทหารประจำปีที่จัตุรัสแดงในวันที่ 7 พฤศจิกายน ถูกจัดขึ้นเพื่อเป็นเกียรติแก่การสวนสนามครบรอบการปฏิวัติเดือนตุลาคม และเพื่อเป็นการทดแทนการเฉลิมฉลองการปฏิวัติเดือนตุลาคมที่ไม่เคยมีการเฉลิมฉลองในระดับชาติ นับตั้งแต่ ค.ศ. 1995 การเดินสวนสนามถูกจัดขึ้นเพื่อเป็นการรำลึกถึงเหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์ในฐานะวันแห่งเกียรติยศทหาร การเดินสวนสนามได้รวมถึงกองทหารแห่งกองรักษาการณ์มอสโกและมณฑลทหารตะวันตก ซึ่งโดยปกติแล้วจะมีจำนวนเกือบ 3,000 นาย ซึ่งส่วนใหญ่เป็นทหาร นักเรียนนายร้อย และนักจำลองประวัติศาสตร์ (reenactors) ของกองทัพแดง การเดินขบวนสวนสนามจะถูกนำโดยนายกเทศมตรีกรุงมอสโกซึ่งเป็นประธานที่จะคอยกล่าวสุนทรพจน์ในเหตุการณ์ ก่อนที่จะเริ่มมีการเดินขบวนสวนสนามทหาร นักจำลองประวัติศาสตร์ในยุทธการที่มอสโกซึ่งจะถูกสวมบทบาทโดยนักศึกษาวัยรุ่น อาสาสมัคร และผู้ชื่นชอบประวัติศาสตร์[97]

ทหารที่แต่งชุดเครื่องแบบกองทัพแดงถือธงชัยเฉลิมพลของแนวรบในแนวรบด้านตะวันออกที่จัตุรัสแดง วันที่ 7 พฤศจิกายน ค.ศ. 2018

คำสั่งการเดินขบวนสวนสนามจะถูกมอบหมายโดยทหารผ่านศึกที่มียศตำแหน่งระดับสูงของกองทัพ (ซึ่งมักจะเป็นที่พักชั่วคราวของทหารที่มียศพันเอก) ที่คอยออกคำสั่งให้เดินขบวนสวนสนามเมื่อครั้งอดีตจากอัฒจันทร์ ใกล้กับสุสานเลนิน ในคำสั่งเดินขบวนโดยผู้บัญชาการการที่เป็นผู้นำเดินขบวนสวนสนาม การเดินขบวนสวนสนามครั้งจะเริ่มต้นด้วยการบรรเลงเพลงของกองทัพโซเวียต ซึ่งทหารที่เป็นพลเชิญธง (color guards) ในประวัติศาสตร์ซึ่งจะคอยถือสัญลักษณ์ในช่วงการทำสงคราม เช่น ธงชัย และธงชัยเฉลิมพลของการเดินขบวนแนวรบทางทหารต่าง ๆ การสนับสนุนด้วยดนตรีในช่วงระหว่างการเดินขบวนสวนสนามจะถูกบรรเลงโดยวงดนตรีทหารของกองรักษาการณ์มอสโก ซึ่งรวมทั้งวงดนตรีทหารต่าง ๆ ในมณฑลทหารตะวันตก ได้แก่ วงดุริยางค์แห่งกรมทหารเปรโอบาเซนสกีที่ 154 และ วงดุริยางค์ทหารกลางแห่งกระทรวงกลาโหมรัสเซีย[98][99]

การสูญเสีย

[แก้]

ทั้งฝ่ายเยอรมันและโซเวียตได้ประสบความสูญเสียในช่วงยุทธการที่มอสโกซึ่งกลายเป็นประเด็นของการถกเถียงกัน เนื่องจากแหล่งข้อมูลต่าง ๆ ที่ให้การประเมินผลที่แตกต่างกันออกไป นักประวัติศาสตร์ทั้งหมดไม่เห็นด้วยกับสิ่งที่ควรพิจารณาถือว่า "ยุทธการที่มอสโก" ในช่วงเวลาของสงครามโลกครั้งที่สอง ในขณะที่การเริ่มต้นของการรบมักจะถือว่าเป็นจุดเริ่มต้นของปฏิบัติการไต้ฝุ่นในวันที่ 30 กันยายน ค.ศ. 1941 (หรือบางครั้งก็เป็นวันที่ 2 ตุลาคม ค.ศ. 1941) ซึ่งเป็นสองวันที่แตกต่างกันสำหรับจุดสิ้นสุดของการรุก โดยเฉพาะอย่างยิ่ง บางแหล่งข้อมูล (เช่น Erickson[100] และ Glantz[101]) ได้ขับไล่การรุกรเจฟจากขอบเขตของการสู้รบ โดยถือว่า เป็นปฏิบัติการที่ชัดเจนและทำให้การรุกมอสโก "ต้องหยุดชะงัก" วันที่ 7 มกราคม ค.ศ. 1942 ซึ่งทำให้จำนวนผู้สูญเสียชีวิตลดลง

นอกจากนี้ยังมีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญในตัวเลชจากแหล่งข้อมูลต่าง ๆ เช่น John Erickson, ในหนังสือเรื่อง บาร์บาร็อสซา: ฝ่ายอักษะและฝ่ายสัมพันธมิตร ได้ให้ตัวเลขของผู้เสียชีวิตโซเวียตจำนวน 653,924 นายในช่วงระหว่างเดือนตุลาคม ค.ศ. 1941 และมกราคม ค.ศ. 1942[100] ที่ Glantz, ในหนังสือของเขาเรื่อง เมื่อไททันปะทะกัน (when Titans Clashed), ได้ให้ตัวเลขจำนวน 658,279 นายสำหรับช่วงระยะการป้องกันเพียงฝ่ายเดียว บวกกับ 370,955 นาย สำหรับการรุกตอบโต้กลับฤดูหนาวจนถึง 7 มกราคม ค.ศ. 1942[101] รายงานของจำนวนผู้บาดเจ็บและเสียชีวิตประจำวันของแวร์มัคท์อย่างเป็นทางการได้แสดงให้เห็นว่า มีผู้เสียชีวิต 35,757 นายซึ่งเสียชีวิตในการรบ บาดเจ็บ 128,716 นาย และสูญหาย 9,721 นายในการรบสำหรับกองทัพกลุ่มกลางทั้งหมด ระหว่างวันที่ 1 ตุลาคม ค.ศ. 1941 และ 10 มกราคม ค.ศ. 1942[102] อย่างไรก็ตาม รายงานอย่างเป็นทางการฉบับนี้ไม่ตรงกับรายงานที่ไม่เป็นทางการจากแต่ละกองพันและเจ้าหน้าที่นายทหารจากกองพลและผู้บัญชาการที่แนวหน้า ซึ่งได้บันทึกว่ามีผู้บาดเจ็บล้มตายที่สูงกว่าในรายงานอย่างทางการ[103]

ทางฝ่ายรัสเซีย กฎระเบียบวินัยกลายเป็นเรื่องที่โหดร้าย กลุ่มสกัดกั้นของหน่วยเอ็นเควีดีซึ่งพร้อมที่จะยิงทหารทุกนายที่ล่าถอยโดยปราศจากคำสั่ง กองหมู่ของหน่วยเอ็นเควีดีได้ไปยังสถานพยาบาลภาคสนามเพื่อค้นหาเหล่าทหารที่ได้รับบาดเจ็บด้วยตัวเอง ซึ่งเรียกกันว่า "พวกยิงตัวเอง" - ผู้ที่ยิงตัวเองด้วยมือข้างซ้ายเพื่อที่จะหลบหนีจากการสู้รบ ศัลยแพทย์ในสถานพยาบาลภาคสนามของกองทัพแดงได้ยอมรับในการตัดมือของเหล่าเด็กผู้ชายที่ได้พยายามใช้แนวคิด"การยิงตัวเอง" เพื่อที่จะหลบหนีจากการสู้รบ เพื่อป้องกันไม่ให้พวกเขาเหล่านั้นถูกนำไปยิงทิ้งทันทีโดยกองหมู่ทหารเพชฌฆาต.[104] ในช่วงสามเดือนแรก กองทหารสกัดกั้นได้ยิงทหารผู้ต้องอาญา 1,000 นาย และส่งทหารจำนวน 24,993 นายไปยังกองพันอาญา เมื่อเดือนตุลาคม ค.ศ. 1942 ความคิดในกองทหารสกัดกั้นประจำการได้ถูกยุบทิ้งอย่างเงียบ ๆ เดือนตุลาคม ค.ศ. 1944 หน่วยทหารนี้ได้ถูกยุบอย่างทางการ[105][106]

ดูเพิ่ม

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. 1.0 1.1 Bergström 2007 p.90.
  2. Williamson 1983, p.132.
  3. แหล่งข้อมูลทั้งสองใช้บันทึกลุฟท์วัฟเฟอ ตัวเลข 900-1,300 ลำที่มักอ้างไม่สอดคล้องกับรายงานผลกำลังของลุฟท์วัฟเฟอ แหล่งข้อมูล: Prien, J./Stremmer, G./Rodeike, P./ Bock, W. Die Jagdfliegerverbande der Deutschen Luftwaffe 1934 bis 1945, Teil 6/I and II; U.S National Archives, German Orders of Battle, Statistics of Quarter Years.
  4. 4.0 4.1 Bergström 2007, p. 111.
  5. Shirer, William L. "24, Swedish (Book III)". The Rise and Fall of the Third Reich. pp. 275–87.
  6. Bellamy 2007, p. 243.
  7. Bellamy 2007, p. 240.
  8. 8.0 8.1 Alan F. Wilt. "Hitler's Late Summer Pause in 1941". Military Affairs, Vol. 45, No. 4 (December 1981), pp. 187–91
  9. 9.0 9.1 9.2 Flitton 1994.
  10. Niepold, Gerd (1993). "Plan Barbarossa". ใน David M. Glantz (บ.ก.). The Initial Period of War on the Eastern Front, 22 June – August 1941: Proceedings of the Fourth Art of War Symposium, Garmisch, FRG, October 1987. Cass series on Soviet military theory and practice. Vol. 2. Psychology Press. p. 67. ISBN 978-0714633756.
  11. Glantz & House 1995, p. 293.
  12. 12.0 12.1 Stahel, David (2014). Operacja "Tajfun". Książka i Wiedza. Warsaw. p. 89. ISBN 978-83-05-136402.
  13. Bergstöm 2007, p. 90.
  14. Guderian, pp. 307–09.
  15. Hardesty, 1991, p. 61.
  16. Bergström 2007, p. 118.
  17. Bergström 2007, pp. 90–91.
  18. Guderian, p. 307
  19. Clark Chapter 8,"The Start of the Moscow Offensive", p. 156 (diagram)
  20. 20.0 20.1 20.2 20.3 Glantz, chapter 6, sub-ch. "Viaz'ma and Briansk", pp. 74 ff.
  21. 21.0 21.1 21.2 Vasilevsky, p. 139.
  22. Guderian, p. 316.
  23. Clark, pp. 165–66.
  24. Guderian, p. 318.
  25. David M. Glantz. When Titans Clashed. pp. 80, 81.
  26. Zetterling & Frankson 2012, p. 100.
  27. Bergström 2007, p. 91.
  28. Geoffrey Jukes, The Second World War – The Eastern Front 1941–1945, Osprey, 2002, ISBN 1-84176-391-8, p. 29.
  29. Jukes, p. 31.
  30. Glantz, When Titans Clashed p. 336 n15.
  31. Smith, Howard K. (1942). Last Train from Berlin. Knopf. pp. 83–91.
  32. The Great Soviet Encyclopedia, 3rd Edition (1970–1979). 2010 The Gale Group, Inc.
  33. 33.0 33.1 33.2 33.3 33.4 33.5 Zhukov, Georgy (1974). Marshal of Victory, Volume II. Pen and Sword Books Ltd. pp. 7, 19. ISBN 978-1781592915.
  34. Zhukov, tome 2, p. 10.
  35. Plocher 1968, p. 231.
  36. Bergström 2007, p. 93
  37. 37.0 37.1 37.2 37.3 37.4 Jukes, p. 32.
  38. Zhukov, tome 2, p. 17.
  39. Marshal Zhukov's Greatest Battles p. 50.
  40. Zhukov, tome 2, p. 18.
  41. Zhukov, tome 2, p. 22.
  42. Braithwaite, pp. 184–210.
  43. Glantz, chapter 6, sub-ch. "Viaz'ma and Briansk", pp. 74 ff.
  44. Zhukov, tome 2, p. 24.
  45. Guderian, pp. 329–30.
  46. Zhukov, tome 2, pp. 23–25.
  47. Glantz, chapter 6, sub-ch. "To the Gates", pp. 80ff.
  48. Zhukov, tome 2, p. 27.
  49. Glantz, chapter 6, sub-ch. "To the Gates", pp. 80ff.
  50. Klink, pp. 574, 590–92
  51. 51.0 51.1 51.2 51.3 51.4 51.5 Glantz, chapter 6, sub-ch. "To the Gates", pp. 80ff.
  52. 52.0 52.1 Zhukov, tome 2, p. 28.
  53. Zhukov, tome 2, p. 30.
  54. Guderian, p. 345.
  55. Guderian, p. 340.
  56. Erickson, 'The Road to Stalingrad,' p. 260
  57. A.P. Belov, Moscow is behind us, Moscow, Voenizdat, 1963, p. 97.
  58. Belov, p. 106.
  59. John S Harrel
  60. Beyda, Oleg (7 August 2016). "'La Grande Armée in Field Gray': The Legion of French Volunteers Against Bolshevism, 1941". The Journal of Slavic Military Studies. 29 (3): 500–18. doi:10.1080/13518046.2016.1200393. S2CID 148469794.
  61. Henry Steele Commager, The Story of the Second World War, p. 144
  62. Christopher Argyle, Chronology of World War II Day by Day, p. 78
  63. Lejenäs, Harald (1989). "The Severe Winter in Europe 1941–42: The large scale circulation, cut-off lows, and blocking". Bulletin of the American Meteorological Society. 70 (3): 271–81. Bibcode:1989BAMS...70..271L. doi:10.1175/1520-0477(1989)070<0271:TSWIET>2.0.CO;2.
  64. Chew (1981), p. 34.
  65. Raus (2009), p. 89.
  66. 66.0 66.1 Glantz, ch.6, subchapter "December counteroffensive", pp. 86ff.
  67. 67.0 67.1 Moss (2005), p. 298.
  68. 68.0 68.1 Chew (1981), p. 33.
  69. Stahel 2019, p. 317.
  70. Guderian, pp. 354–55.
  71. 71.0 71.1 71.2 Iskander Kuzeev, "Moscow flood in autumn of 1941", Echo of Moscow, 30 June 2008
  72. Mikhail Arkhipov, "Flooding north of Moscow Oblast in 1941", Private blog, 2 October 2007
  73. Igor Kuvyrkov, "Moscow flood in 1941: new data", Moscow Volga channel, 23 February 2015
  74. Operational overview of military activities on Western Front in year 1941, Central Archive of the Soviet Ministry of Defence, Stock 208 inventory 2511 case 1039, p. 112
  75. Goldman p. 177
  76. Zhukov, tome 2, p. 37.
  77. History of the Second World War. Marshall Cavendish". pp. 29–32.
  78. Guderian, pp. 353–55.
  79. Guderian, p. 354.
  80. "Battle of Moscow". WW2DB. สืบค้นเมื่อ 2020-09-28.
  81. Guderian, pp. 360–61.
  82. STAHEL, DAVID. (2020). RETREAT FROM MOSCOW : a new history of germany's winter campaign 1941-1942. PICADOR. ISBN 978-1-250-75816-3. OCLC 1132236223.
  83. Guderian, pp. 363–64.
  84. Bergström", Christer. Operation Barbarossa 1941: Hitler Against Stalin. p. 245.
  85. Great Soviet Encyclopedia, Moscow, 1973–78, entry "Battle of Moscow 1941–42"
  86. 86.0 86.1 Guderian, p. 359.
  87. "Walther von Brauchitsch | German military officer". Encyclopedia Britannica (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2020-09-28.
  88. Glantz and House 1995, pp. 88–90.
  89. Bergstrom 2003, p. 297.
  90. Bergström 2007, pp. 112–13.
  91. Bergström 2003, p. 299.
  92. Glantz and House 1995, pp. 91–97.
  93. Roberts, Cynthia A. (December 1995). "Planning for war: the Red Army and the catastrophe of 1941". Europe-Asia Studies. 47 (8): 1293–1326. doi:10.1080/09668139508412322. JSTOR 153299. Marshal Georgii K. Zhukov, who had pressed Stalin on several occasions to alert and reinforce the army, nonetheless recalled the shock of the German attack when he noted that 'neither the defence commissariat, myself, my predecessors B.M. Shaposhnikov and K.A. Meretskov, nor the General Staff thought the enemy could concentrate such a mass of ... forces and commit them on the first day ...
  94. Guderian, p. 365.
  95. Zhukov, tome 2, pp. 43–44.
  96. 96.0 96.1 T.S. (17 August 1942). "Movie Review: Moscow Strikes Back (1942) 'Moscow Strikes Back,' Front-Line Camera Men's Story of Russian Attack, Is Seen at the Globe". The New York Times. สืบค้นเมื่อ 18 March 2015.
  97. For example "Russia re-enacts historic WW2 parade in Moscow". BBC News. 7 November 2019.
  98. AnydayGuide. "Anniversary of the 1941 October Revolution Day Parade in Russia / November 7, 2016". AnydayGuide. สืบค้นเมื่อ 2016-10-23.
  99. "Russia marks anniversary of 1941 military parade". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 4 February 2019. สืบค้นเมื่อ 3 February 2019.
  100. 100.0 100.1 John Erickson, Barbarossa: The Axis and the Allies, table 12.4
  101. 101.0 101.1 Glantz, Table B
  102. "Heeresarzt 10-Day Casualty Reports per Army/Army Group, 1941". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 25 ตุลาคม 2012. สืบค้นเมื่อ 28 มีนาคม 2012.
  103. Jones, Michael (2009). The Retreat. New York: Thomas Dunne Books. pp. 107, 126–27, 292. ISBN 978-0719569265.
  104. Antony Beevor, "The Second World War". pg. 283
  105. Звягинцев, Вячеслав Егорович (2006). Война на весах Фемиды: война 1941-1945 гг. в материалах следственно-судебных дел (ภาษารัสเซีย). Терра. ISBN 978-5-275-01309-2.
  106. Roberts, Geoffrey (2006). Stalin's Wars: From World War to Cold War, 1939–1953. Yale University Press. p. 132.