ผู้นำฝ่ายสัมพันธมิตรระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง
หน้าตา
บทความนี้ได้รับแจ้งให้ปรับปรุงหลายข้อ กรุณาช่วยปรับปรุงบทความ หรืออภิปรายปัญหาที่หน้าอภิปราย
|
ผู้นำฝ่ายสัมพันธมิตรระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง ประกอบไปด้วยบุคคลสำคัญต่าง ๆ จากหลาย ๆ ประเทศ ทั้งนักการเมืองและนักการทหาร บรรดาบุคคลเหล่านี้ได้แก่
สหรัฐ
[แก้]- แฟรงคลิน ดี. โรสเวลต์ (Franklin D. Roosevelt) เป็นประธานาธิบดีคนที่ 32 แห่งสหรัฐตั้งแต่ พ.ศ. 2476 แนวคิดของเขาก่อให้เกิดองค์กรระหว่างประเทศ คือ สหประชาชาติ ถึงแม้ว่าเขาจะประสบปัญหาด้านสุขภาพในช่วงวิกฤตของประเทศก็ตาม รูสเวลท์เสียชีวิตขณะยังดำรงตำแหน่งเมื่อ พ.ศ. 2488 สองสัปดาห์ก่อนการยอมแพ้ของเยอรมนี
- แฮร์รี เอส. ทรูแมน (Harry S. Truman) เป็นประธานาธิบดีคนที่ 33 ของสหรัฐตั้งแต่ พ.ศ. 2488 ถึง พ.ศ. 2494 เป็นผู้อนุมัติให้ทิ้งระเบิดปรมาณูที่ประเทศญี่ปุ่น เป็นผู้นำในแผนมาร์แชลเพื่อฟื้นฟูทวีปยุโรปหลังสงคราม และเป็นผู้นำในการก่อตั้งสหประชาชาติ
- จอร์จ มาร์แชลล์ (George Marshall) เป็นจอมพลแห่งกองทัพบกสหรัฐและหัวหน้านายทหาร และ หลังจากสงคราม เขาดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศแห่งสหรัฐอเมริกา และเป็นผู้ริเริ่มแผนการมาร์แชลล์
- วิลเลียม ดี ลีฮี (William D. Leahy) เป็นหัวหน้าฝ่ายเสนาธิการของผู้บัญชาการทหารสูงสุด และเจ้าหน้าที่นายทหารเรือชาวอเมริกัน ซึ่งดำรงตำแหน่งเจ้าหน้าที่นายทหารอาวุโสที่สุดขององกองทัพสหรัฐที่ได้ปฏิบัติหน้าที่ในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง ลีฮีได้ถูกเรียกตัวกลับมาทำหน้าที่ในฐานะหัวหน้าฝ่ายเสนาธิการส่วนตัวของประธานาธิบดี แฟรงคลิน ดี. โรสเวลต์ ใน ค.ศ. 1942 และดำรงตำแหน่งดังกล่าวตลอดช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง เขาเป็นประธานคณะเสนาธิการ และเป็นผู้ตัดสินใจคนสำคัญในช่วงสงคราม
- จอร์จ มาร์แชลล์ เป็นจอมพลและเสนาธิการทหารบกในช่วงสงคราม ในฐานะเสนาธิการทหารบก มาร์แชลล์ได้กำกับดูแลการขยายกำลังทหารครั้งใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์อเมริกา มาร์แชลล์ได้ประสานงานปฏิบัติการของฝ่ายสัมพันธมิตรในยุโรปและแปซิฟิก ภายหลังสงคราม มาร์แชลล์ได้เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศและนำไปสู่ความพยายามในการฟื้นฟูยุโรปในช่วงหลังสงคราม ซึ่งต่อมาได้เป็นที่รู้จักกันในชื่อว่า แผนมาร์แชลล์ เขาได้รับรางวัลโนเบลสาขาสันติภาพจากบทบาทหน้าที่ของเขาในการฟื้นฟู
- เฮนรี เอช อาร์โนลด์ เป็นนายทหารยศพลเอกชาวอเมริกันที่ดำรงตำแหน่งจอมพล และต่อมาเป็นจอมพลอากาศ เขาได้ดำรงตำแหน่งผู้บัญชาการแห่งกองทัพอากาศทหารบกสหรัฐในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง
- เออร์เนสต์ คิง เป็นผู้บัญชาการทหารแห่งกองเรือสหรัฐ (ค.ศ. 1941-45) เช่นเดียวกับผู้บัญชาการยุทธนาวี (ค.ศ. 1942-45) และจอมพลเรือ (ตั้งแต่ ค.ศ. 1944)
- คอร์เดล ฮัลล์ เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ตั้งแต่ ค.ศ. 1933 ถึง 1944 ฮัลล์เป็นผู้รับผิดชอบด้านความสัมพันธ์ระหว่างประเทศช่วงก่อนการโจมตีเพิร์ลฮาร์เบอร์ เขาได้ส่งจดหมายฮัลล์ไปยังญี่ปุ่นในช่วงก่อนการโจมตี ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของความพยายามของสหรัฐที่จะเปิดตลาดจีนต่อสินค้าของสหรัฐเข้ามาแทนที่ผลประโยชน์ของญี่ปุ่นที่นั่น ภายหลังสงคราม เขาเป็นสถาปนิกคนสำคัญในการก่อตั้งองค์กรสหประชาชาติ และได้รับรางวัลโนเบลสาขาสันติภาพ
- วิลเลียม เจ โดโนแวน เป็นผู้อำนวยการแห่งสำนักอำนวยการยุทธศาสตร์ (OSS) ตั้งแต่ ค.ศ. 1942 จนกระทั่งถูกยุบใน ค.ศ. 1945 โดโนแวนและโอเอสเอสได้มีหน้าที่รับผิดชอบในการรวบรวมข่าวกรองแก่กองทัพบก กองทัพเรือ และกระทรวงการต่างประเทศ จากการปฏิบัติหน้าที่ของเขา เขาได้รับเหรียญรับใช้ทหารอย่างยอดเยี่ยม (Distinguished Service Medal)
- เจ. เอ็ดการ์ ฮูเวอร์ เป็นผู้อำนวยการของสำนักงานสอบสวนกลาง (FBI) ตั้งแต่ ค.ศ. 1935 ถึง 1972 ฮูเวอร์และเอฟบีไอได้มีหน้าที่รับผิดชอบด้านข่าวกรองในสหรัฐและอเมริกาใต้ในช่วงสงคราม ฮูเวอร์ประสบความสำเร็จในการกวาดล้างเครือข่ายสายลับนาซีในสหรัฐ
แนวรบด้านยุโรปและแอฟริกาเหนือ
[แก้]- ดไวต์ ดี. ไอเซนฮาวร์ (Dwight D. Eisenhower) หรือไอค์ (Ike) เป็นผู้บัญชาการทหารสูงสุดของฝ่ายสัมพันธมิตรในทวีปยุโรป เขาเป็นผู้รับผิดชอบในการวางแผนและควบคุมดูแลการปลดปล่อยฝรั่งเศสและยุโรปด้วยการรุกรานนาซีเยอรมนี ภายหลังจากที่เยอรมนีได้ยอมแพ้โดยไม่มีเงื่อนไข ไอเซนฮาวร์ได้รับการแต่งตั้งเป็นผู้ว่าการทหารในเขตยึดครองของสหรัฐ เจ็ดปีหลังสงคราม เขาได้รับเลือกเป็นประธานาธิบดีสหรัฐ
- โอมาร์ แบรดลีย์ (Omar Bradley) เป็นจอมพลแห่งกองทัพบกสหรัฐในแอฟริกาเหนือและยุโรปในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง เขานำกองทัพสหรัฐที่หนึ่งในช่วงปฏิบัติการโอเวอร์ลอร์ดและบุกครองยุโรป เขาได้รับเรียกขานอย่างไม่เป็นทางการว่า "นายพลของทหาร"
- มาร์ค ดับเบิลยู คลาร์ก (Mark W. Clark) เป็นผู้บัญชาการฝ่ายสัมพันธมิตรในการทัพอิตาลี เขาได้นำกองทัพฝ่ายสัมพันธมิตรในการบุกครองอิตาลี ยุทธการที่อันซีโต และมอนเตกัสซีโน และเข้ายึดครองกรุงโรมในที่สุดใน ค.ศ. 1944 ซึ่งเป็นเมืองสำคัญสามแห่งแรกของฝ่ายอักษะได้ถูกยึดครอง
- เจคอป แอล เดเวอร์ส (Jacob L. Devers) เป็นผู้บัญชาการทหารแห่งกองทัพกลุ่มที่หกในยุโรป เขาได้ทำหน้าที่ควบคุมการบุกครองทางตอนใต้ของฝรั่งเศสใน ค.ศ. 1944 ด้วยกองกำลังอเมริกันและฝรั่งเศส เดเวอร์สได้เคลียร์ที่อาร์ซัส คลายวงล้อมกอลมาร์พ็อกเกต ข้ามแม่น้ำไรน์ และยอมรับการยอมจำนนของกองกำลังเยอรมันในออสเตรีย ในช่วงแรก เขาเป็นผู้บัญชาการทหารในเขตสงครามเมดิเตอร์เรเนียน ในช่วงปลายฤดูร้อน ค.ศ. 1942 เขาได้"สลับงาน"กับจอมพลไอเซนฮาวร์ กลายเป็นผู้บัญชาการทหารในปฏิบัติการเขตสงครามยุโรป ส่งผลทำให้ไอค์ได้รับมอบหมายทำหน้าที่บัญชาการการบุกครองแฟริกาเหนือในปฏิบัติการคบเพลิง ในเดือนพฤศจิกายน ค.ศ. 1942 ในช่วงต้นปี ค.ศ. 1943 เขาได้กลับมาทำหน้าที่เป็นผู้บัญชาการทหารในเขตสงครามเมดิเตอร์เรเนียนอีกครั้งเพื่อการบุกครองเกาะซิซิลี ประเทศอิตาลี และฝรั่เศลตอนใต้
- จอห์น ซี เอช ลี (John C. H. Lee)เป็นผู้บัญชาการกองกำลังส่งกำลังบำรุงและกองลังพลทั้งหมดนปฏิบัติการเขตสงครามยุโรป เริ่มต้นตั้งแต่เดือนพฤษภาคม ค.ศ. 1942 กองบัญชาการด้านการส่งกำลังบำรุงของเขาได้มีหน้าที่รับผิดชอบในการเพิ่มกำลังคนทั้งชายและหญิงจำนวนกว่าสามล้านคนในปฏิบัติการโบเลโร และยุทธภัณฑ์จำนวน 37 ล้านตันในสหราชอาณาจักร และส่งมอบกำลังบำรุงทั้งหมด 41 ล้านตันแก่กองกำลังรบทั้งหมด เขาได้ดำรงตำแหน่งเป็นรองผู้บัญชาการเขตสงครามฝ่ายส่งกำลังบำรุงและการบริหารแก่จอมพลไอเซนฮาวร์ และเขาเป็นผู้นำหน่วยเดียวที่ใหญ่ที่สุดในสงครามโลกครั้งที่สอง เขตการสื่อสาร หรือ Com-Z เป็นที่รู้จักในช่วงหลังดีเดย์ มีทหารจำนวร 435,000 นาย
- จอร์จ เอส. แพตตัน (George S. Patton) เป็นหัวหน้านายพลระหว่างยุทธนาการในแอฟริกาเหนือ, เกาะซิซิลี, ฝรั่งเศส, เยอรมนีและทะเลเมดิเตอร์เรเนียน
- คาร์ล แอนดรูว์ สปาตซ์ (Carl Andrew Spaatz) เป็นผู้บัญชาการแห่งกองบัญชาการการรบทางอากาศด้วยยศพลอากาศตรีและอยู่ในกองบัญชาการโดยรวมของกองทัพอากาศทหารบกสหรัฐในปฏิบัติการเขตสงครามยุโรป
- รอยัล อี อิงเกอร์โซลล์ (Royal E. Ingersoll) เป็นผู้บัญชาการทหารสูงสุดของกองเรือแอตแลนติกของสหรัฐ ตั้งแต่ ค.ศ. 1942 จนถึงปลาย ค.ศ. 1944 เขาได้บัญชาการกองกำลังอเมริกันในช่วงยุทธนาวีแอตแลนติก และทำหน้าที่ควบคุมขบวนเรือขนส่งทหาร เสบียง กระสุน และเชื้อเพลิงไปยังสหราชอาณาจักรและเมดิเตอร์เรเนียน
แนวรบด้านแปซิฟิก
[แก้]- ดักลาส แมกอาร์เทอร์ (Douglas MacArthur) เป็นจอมพลแห่งกองทัพบกสหรัฐฯ ในมหาสมุทรแปซิฟิก และเป็นผู้บัญชาการกองกำลังสหรัฐฯ ในตะวันออกไกล เขาบัญชาการกองกำลังสหรัฐฬนฟิลิปปินส์ก่อนที่จะย้ายไปบัญชาการกองกำลังที่ออสเตรเลีย
- เชสเตอร์ ดับเบิลยู. นิมิตซ์ (Charles W. Nimitz) เป็นพลเรือเอกบัญชาการกองเรือแปซิฟิกแห่งสหรัฐ และเป็นผู้บัญชาการทหารสูงสุดของกองกำลังภาคพื้นแปซิฟิกของสหรัฐและฝ่ายสัมพันธมิตร
เครือรัฐฟิลิปปินส์
[แก้]- มานูเอล เกซอน ประธานาธิบดีฟิลิปปินส์คนที่2
- เซร์ฮิโอ โอสเมญญา ประธานาธิบดีฟิลิปปินส์คนที่4 และผู้นำการต่อต้านรัฐบาลหุ่นเชิดของญี่ปุ่น
เครือรัฐเปอร์โตริโก
[แก้]- เวอร์จิล มิลเลอร์ เป็นผู้บัญชาการกรมทหารของกรมทหารราบที่ 442 ที่ประจำอยู่เปอร์โตริโก
จักรวรรดิอังกฤษและเครือจักรภพ
[แก้]- สมเด็จพระเจ้าจอร์จที่ 6 พระมหากษัตริย์แห่งจักรวรรดิอังกฤษและเครือจักรภพ จักรพรรดิแห่งอินเดีย
- เคลเมนต์ แอตต์ลี นายกรัฐมนตรีแห่งสหราชอาณาจักรระหว่างปี ค.ศ. 1945-1951 มีบทบาทสำคัญในการประชุมพอตสดัม
- วินสตัน เชอร์ชิลล์ นายกรัฐมนตรีแห่งสหราชอาณาจักรระหว่างปี ค.ศ. 1940-1945 เป็นผู้บัญชาการและเป็นผู้ปลุกกำลังใจชาวอังกฤษในช่วงเวลาอันมืดมนของสงคราม
- เนวิล เชมเบอร์ลิน เป็นนายกรัฐมนตรีแห่งสหราชอาณาจักรในช่วงต้นของสงคราม (ค.ศ. 1937-1940) ต่อมานโยบายด้านการต่างประเทศของเขาล้มเหลว จึงได้ลาออกจากตำแหน่ง เขาเสียชีวิตหนึ่งปีภายหลังจากนั้น
- เบอร์นาร์ด มอนต์โกเมอรี เป็นผู้บัญชาการทหารเครือจักรภพในทวีปแอฟริกาเหนือ และยังมีบทบาทในปฏิบัติการโอเวอร์ลอร์ด รวมไปถึงการยอมจำนนของเยอรมนีอีกด้วย
- หลุยส์ เมานต์แบ็ตเทน เอิร์ลเมานต์แบ็ตเทนที่ 1 แห่งพม่า เป็นผู้บัญชาการทหารสูงสุดฝ่ายสัมพันธมิตรแห่งกองบัญชาการเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ระหว่างปี ค.ศ. 1943-1945
บริติชมลายา
[แก้]นิวฟันด์แลนด์
[แก้]ปาเลสไตน์ในอาณัติของอังกฤษ
[แก้]เซาเทิร์นโรดีเชีย
[แก้]เครือรัฐออสเตรเลีย
[แก้]- โรเบิร์ต เมนซีส์ นายกรัฐมนตรีแห่งเครือรัฐออสเตรเลีย
- จอห์น เคอร์ติน นายกรัฐมนตรีแห่งเครือรัฐออสเตรเลีย
- โทมัส อัลเบิร์ต เบลมี เป็นผู้บัญชาการทหาร
แคนาดา
[แก้]- วิลเลียม ไลอัน แมกเคนซี คิง นายกรัฐมนตรีแห่งแคนาดา
- แฮร์รี่ ครีลาร์ เป็นผู้บัญชาการทหาร
นิวซีแลนด์
[แก้]- ไมเคิล โจเซฟ ซาเวจ นายกรัฐมนตรีแห่งนิวซีแลนด์ ระหว่างปี ค.ศ. 1935-1940
- ปีเตอร์ เฟรเซอร์ นายกรัฐมนตรีแห่งนิวซีแลนด์ ระหว่างปี ค.ศ. 1940-1949
- Bernard Freyberg เป็นผู้บัญชาการทหาร
- ยาน สมุตซ์ นายกรัฐมนตรีแห่งสหภาพแอฟริกาใต้
- Marquess of Linlithgow อุปราชแห่งอินเดีย 1936 จนถึง 1943
- มหาตมะ คานธี
- อาร์คิบัลด์ แวฟเวล
สหภาพโซเวียต
[แก้]- โจเซฟ สตาลิน เป็นเลขาธิการเลขาธิการพรรคคอมมิวนิสต์แห่งสหภาพโซเวียตระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง ในยุคสมัยของเขานี้เองที่สหภาพโซเวียตได้ก้าวขึ้นมาเป็นมหาอำนาจคู่กับสหรัฐอเมริกา เป็นผู้บัญชาการทหารสูงสุดแห่งสหภาพโซเวียตและมีอิทธิพลอย่างมากต่อการทำสงครามกับเยอรมนีในแนวรบด้านตะวันออก
- วยาเชสลาฟ โมโลตอฟ เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศแห่งสหภาพโซเวียตระหว่างปี ค.ศ. 1939-1949
- มิคาอิล คาลินิน เป็นผู้ที่มีอำนาจทางการเมืองมากที่สุดคนหนึ่งในสหภาพโซเวียต
- เกออร์กี จูคอฟ เป็นจอมพลแห่งสหภาพโซเวียต เป็นผู้บัญชาการที่มีอิทธิพลต่อการทำสงครามกับเยอรมนีเป็นอย่างมาก และเป็นผู้ยึดครองกรุงเบอร์ลินในวาระสุดท้ายของสงครามโลกครั้งที่สองในทวีปยุโรป ในภายหลังได้รับการแต่งตั้งให้เป็นผู้บัญชาการเขตยึดครองของโซเวียตในเยอรมนี
- อีวาน โคเนฟ ผู้บัญชาการกองทัพที่ 19 ในช่วงต้นของสงคราม ต่อมา ได้กลายเป็นผู้บัญชาการที่สามารถปลดปล่อยยุโรปตะวันออกได้เป็นจำนวนมาก และมีส่วนร่วมในการยึดครองกรุงเบอร์ลิน
- คอนสตันติน โรคอสซอฟสกี เขาทำงานในกองทัพจักรวรรดิรัสเซียในปี 2457- 2460 ในกองทัพสหภาพโซเวียต 2460-2492 เป็นผู้บัญชาการกองทัพโปแลนด์ 2492-2499 และกลับมาสหภาพโซเวียตอีกครั้งหนึ่งในปี 2499-2511 เขาเป็นนายพลที่รับใช้กองทัพโซเวียตจนกระทั่งเสียชีวิตในปี 2511 ด้วยอายุ 71 ปี
- อะเลคซันดร์ วาซีเลฟสกี เขาทำงานให้กับกองทัพจักรวรรดิรัสเซียในปี 2458- 2460 กองทัพของสหภาพโซเวียต 2460-2502 โดยเขาได้ทำการวางแผนการรบร่วมกับ นายพลกอร์กี้ ชูคอฟ ในการตอบโต้กองทัพเยอรมนีและเขาได้ออกจากองทัพในปี พ.ศ. 2502
- วาซีลี ชุยคอฟ เขามีส่วนเกี่ยวข้องกับการปฏิวัติในรัสเซียเมื่อปี 2460 และเขาเป็นผู้ที่ทำให้กองทัพโซเวียตได้ชัยชนะในการรบที่ยุทธการสตาลินกราด
- เลโอนิต โกโวลอฟ เขาทำงานให้กับกองทัพแดงเมื่อปี พ.ศ. 2463 โดยเขาได้เป็นผู้บัญชาการกองทัพแดงในการต้านกับกองทัพเยอรมนีที่กรุงเลนินกราด ซึ่งกรุงเลนินกราดได้ถูกกองทัพฝ่ายอักษะล้อมไว้นานกว่า 900 วัน ก็ยังไม่สามารถที่จะตีแตกได้
- เซมิออน ตีโมเชนโค
- นีโคไล บุลกานิน
- วาซีลี โซโคลอฟสกี
- คลีเมนต์ โวโรชีลอฟ
- ดมิลีร์ ลีไลยูเชนโก
- อเล็กสกี้ แอนโทนอฟ
- อิวาน เฟดยุนนินสกี้
- วาเลเรียน โฟรลอฟ
- วาซิลลี่ กอร์ดอฟ
- มิคาอิล คีร์โพนอส
- พาเวล ไลบัลโก
- นิโคเลย์ คูเนสซอฟ เริ่มเขาทำงานในกองทัพเรือโซเวียตเมือปี พ.ศ. 2463-2499 ต่อมาเขาได้ดำรงตำแหน่งผู้บัญชาการกองทัพเรือโซเวียตในปี พ.ศ. 2484 ในการปฏิบัติการต่อสู้กับกองทัพนาซีเยอรมัน ร่วมกันกับ นายพล กอร์กี้ ชูคอฟ และ นายพล เซมโยน ทิโมเชนโก
- อิวาน ยูมาเชฟ
- วลาดิเมียร์ ตริบุคต์
สาธารณรัฐจีน
[แก้]- เจียง ไคเช็ค - จอมทัพและผู้นำรัฐบาลชาตินิยม (ก๊กมินตั๋ง) ของ สาธารณรัฐจีน และเป็นผู้บัญชาการทหารสูงสุดแห่งประเทศจีน
- ซ่ง เหม่ย์หลิง - สุภาพสตรีหมายเลข 1 และเป็นภรรยาของนายพลเจียง ไคเช็ค เธอได้รวมรวมประชาชนในการต่อต้านการรุกรานของญี่ปุ่น
- หลิน เซิน - เป็นประธาน(หรือประธานาธิบดี) แห่งรัฐบาลชาตินิยม ประมุขแห่งรัฐของจีน
- เหอ ยิงฉิน เป็นหัวหน้าเสนาธิการทหารของสภาทหารแห่งชาติ
- เฉิน เฉิง - เป็นนายพลแห่งกองทัพปฏิวัติแห่งชาติจีน และนักการเมืองคนสำคัญในสภาทหารแห่งชาติ
- ไป่ ฉงซี - เป็นพันธมิตรใกล้ชิดของขุนศึกจากกวางสีนามว่า หลี่ ซ่งเริน และรองหัวหน้าเสนาธิการทหารของสภาทหารแห่งชาติ
- หลี่ ซ่งเริน - เป็นอดีตขุนศึกจากกวางสีซึ่งต่อสู้รบร่วมกับเจียง ไคเชกในสงครามต่อต้านจีน
- หยาน ซีซาน - เป็นอดีตขุนศึกจากชานซีซึ่งต่อสู้รบร่วมกับเจียง ไคเชกในสงครามต่อต้านจีน
- เหว่ย หลี่ฮวง - เป็นนายพลแห่งกองทัพปฏิวัติแห่งชาติจีนและผู้บัญชาการแห่งกองกำลังรบนอกประเทศของจีน
- เซฺว เยฺว่ - เป็นนายพลแห่งกองทัพปฏิวัติแห่งชาติจีนและผู้บัญชาการแห่งภูมิภาคทหารที่เก้า
- แคลร์ ลี เชนโนลต์ - เป็นผู้บัญชาการของหน่วยพยัคฆ์บิน แต่เดิมเป็นที่ปรึกษาทางทหารของเจียงไคเช็ค
- เหมา เจ๋อตุง - เป็นผู้นำ พรรคคอมมิวนิสต์จีน เข้าร่วมเป็นพันธมิตรกับกองทัพรัฐบาลในการต่อต้านทหารญี่ปุ่น
- จู เต๋อ - เป็นผู้บัญชาการทหารสูงสุดแห่งกองทัพสายที่ 8 และเป็นผู้นำทหารระดับสูงภายในพรรคคอมมิวนิสต์จีน
- เผิง เต๋อหวย - เป็นผู้บัญชาการทหารในช่วงการรุกร้อยกรมทหาร การรุกของคอมมิวนิสต์ขนาดใหญ่ในช่วงสงคราม
สาธารณรัฐฝรั่งเศสที่ 3 (ถึง พ.ศ. 2483)
[แก้]- อาลแบร์ เลอเบริง ประธานาธิบดีแห่งสาธารณรัฐฝรั่งเศสที่ 3
- เอดัวร์ ดาลาดีเย นายกรัฐมนตรีแห่งสาธารณรัฐฝรั่งเศสที่ 3 ตั้งแต่ปี1938-1940
- ฟีลิป เปแต็ง นายกรัฐมนตรีแห่งสาธารณรัฐฝรั่งเศสที่ 3 ในปี1940
รัฐบาลชั่วคราวแห่งสาธารณรัฐฝรั่งเศส ( ขบวนการฝรั่งเศสเสรี)
[แก้]- ชาร์ล เดอ โกล ผู้นำขบวนการฝรั่งเศสเสรีในปี ค.ศ. 1940-1944 ต่อมา ได้กลายเป็นหัวหน้ารัฐบาลชั่วคราวของฝรั่งเศสหลังจากได้รับการปลดปล่อยจากกองทัพสัมพันธมิตรแล้ว
- อ็องรี ฌีโร
- ฟิลิปเป้ เลอแคร์ เดอ ฮัวเตอร์เลอคัว
- อัลฟงซ์ จูน
- มาเรีย-ปีแยร์ โคนิก
- ฌ็อง เดอ ลัทร์ เดอ ตาซีญี
- จอร์จ คาทรูซ์
- อันเดร เลมอนเนียร์
ราชอาณาจักรเบลเยียม
[แก้]- เลโอโปลด์ที่ 3 แห่งเบลเยียม พระมหากษัตริย์แห่งเบลเยี่ยม
- อูว์แบร์ ปีแยร์โล นายกรัฐมนตรีแห่งเบลเยี่ยม
สาธารณรัฐแห่งสหรัฐบราซิล
[แก้]- เฌตูลียู วาร์กัส เป็นประธานาธิบดีแห่งบราซิล
ราชอาณาจักรเดนมาร์ก
[แก้]- คริสเตียนที่ 10 แห่งเดนมาร์ก พระมหากษัตริย์แห่งเดนมาร์ก
- ธอร์วัลด์ สเตาเนง นายกรัฐมนตรีแห่งเดนมาร์ก ตั้งแต่ปี 1929-1942
- วิลเฮล์ม บูห์ล นายกรัฐมนตรีแห่งเดนมาร์ก ในปี 1942
- อีริค สคาเวเนียส นายกรัฐมนตรีแห่งเดนมาร์ก ตั้งแต่ปี 1942-1943
ราชอาณาจักรกรีซ
[แก้]- เยออร์ยีโอสที่ 2 แห่งกรีซ พระมหากษัตริย์แห่งกรีซ
- Ioannis Metaxas นายกรัฐมนตรีแห่งกรีซ
เม็กซิโก
[แก้]- มานูเอล อาวิลา คามาโช เป็นประธานาธิบดีแห่งเม็กซิโก
สาธารณรัฐโปแลนด์ที่ 2 (ถึง พ.ศ. 2482)
[แก้]- อิกนาซี มอชชีสกี เป็นประธานาธิบดีแห่งสาธารณรัฐโปแลนด์ที่ 2
รัฐบาลลับของโปแลนด์ (รัฐลับโปแลนด์)
[แก้]- ววาดือสวัฟ ราตช์กีแยวิตช์ เป็นประธานาธิบดีแห่งรัฐบาลลับของโปแลนด์
- ววาดือสวัฟ ชีคอร์สกี เป็นนายกรัฐมนตรีแห่งรัฐบาลลับของโปแลนด์
ราชอาณาจักรซาอุดีอาระเบีย
[แก้]- อิบน์ ซะอูด พระมหากษัตริย์แห่งซาอุดีอาระเบีย
ราชอาณาจักรยูโกสลาเวีย
[แก้]- ปีเตอร์ที่ 2 พระมหากษัตริย์แห่งยูโกสลาเวีย
- สโลโบแดน โจวาโนวิก นายกรัฐมนตรีแห่งยูโกสลาเวีย
- ยอซีป บรอซ ตีโต ผู้บัญชาการทหาร
สาธารณรัฐเชโกสโลวาเกียเสรี
[แก้]- เอ็ดเวิร์ด เบเนช เป็นผู้นำแห่งเสรีเชกและประธานาธิบดีแห่งเชโกสโลวาเกียตั้งแต่ปี1935-1938
แอลเบเนียเสรี
[แก้]- เอ็นเวอร์ ฮอกซา เป็นผู้นำแห่งพรรคแรงงานแอลเบเนีย
ราชรัฐลักเซมเบิร์ก
[แก้]- แกรนด์ดัชเชสชาร์ล็อต พระมหากษัตริย์แห่งลักเซมเบิร์ก
- Pierre Dupong นายกรัฐมนตรีแห่งลักเซมเบิร์ก
ราชอาณาจักรนอร์เวย์
[แก้]- โฮกุนที่ 7 แห่งนอร์เวย์ พระมหากษัตริย์แห่งนอร์เวย์
- Johan Nygaardsvold นายกรัฐมนตรีแห่งนอร์เวย์
ราชอาณาจักรเนเธอร์แลนด์
[แก้]- วิลเฮลมินาแห่งเนเธอร์แลนด์ พระมหากษัตริย์แห่งเนเธอร์แลนด์
- ดีร์ก ยัน เดอ เคร์ นายกรัฐมนตรีแห่งเนเธอร์แลนด์ ระหว่างปี 1939-1940
- Pieter Sjoerds Gerbrandy นายกรัฐมนตรีแห่งเนเธอร์แลนด์ ระหว่างปี 1940-1945
จักรวรรดิเอธิโอเปีย
[แก้]- เฮลี เซลาสซีที่ 1 จักรพรรดิแห่งจักรวรรดิเอธิโอเปีย
- Makonnen Endelkachew นายกรัฐมนตรีแห่งจักรวรรดิเอธิโอเปีย
ราชอาณาจักรอียิปต์
[แก้]- พระเจ้าฟารูกที่ 1 แห่งอียิปต์ พระมหากษัตริย์แห่งอียิปต์
- Ahmad Qavam นายกรัฐมนตรีแห่งอียิปต์ ระหว่างปี1944-1945
รัฐจักรวรรดิแห่งอิหร่าน
[แก้]- พระเจ้าชาห์ โมฮัมหมัด เรซา ปาห์ลาวี พระมหากษัตริย์แห่งจักรวรรดิอิหร่าน
- Ali Soheili นายกรัฐมนตรีแห่งจักรวรรดิอิหร่าน ในปี1942และระหว่างปี1943-1944
- Ahmad Qavam นายกรัฐมนตรีแห่งจักรวรรดิอิหร่าน ระหว่างปี1942-1943
สาธารณรัฐไลบีเรีย
[แก้]- เอดวิน บาร์คลีย์ เป็นประธานาธิบดีแห่งไลบีเรีย ระหว่างปี 1930-1944
- วิลเลียม ทุบแมน เป็นประธานาธิบดีแห่งไลบีเรีย ระหว่างปี 1944-1971
รัฐบาลชั่วคราวแห่งสาธารณรัฐเกาหลี
[แก้]- คิม กู เป็นประธานาธิบดีแห่งรัฐบาลชั่วคราวแห่งสาธารณรัฐเกาหลี ระหว่างปี 1940-1947
- รยู ดง-ยอล
- ชี ชอง-ชอน
หมายเหตุ
[แก้]ดูเพิ่ม
[แก้]- ฝ่ายสัมพันธมิตร
- ผู้นำฝ่ายอักษะระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง
- รายชื่อผู้บัญชาการทหารในสงครามโลกครั้งที่สอง