ข้ามไปเนื้อหา

ปักกิ่ง

พิกัด: 39°54′24″N 116°23′51″E / 39.90667°N 116.39750°E / 39.90667; 116.39750
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก เป่ยผิง)
ปักกิ่ง

北京

เป่ย์จิง
北京市
นครปักกิ่ง
แผนที่
ที่ตั้งของนครปักกิ่งในประเทศจีน
ที่ตั้งของนครปักกิ่งในประเทศจีน
พิกัด (เสาธง จัตุรัสเทียนอันเหมิน): 39°54′24″N 116°23′51″E / 39.90667°N 116.39750°E / 39.90667; 116.39750
ประเทศ จีน
ก่อตั้ง1045 ปีก่อนคริสต์ศักราช
ผู้ก่อตั้งราชวงศ์โจว (ราชวงศ์โจวตะวันตก)
ที่ตั้งที่ทำการเขตทงโจว
เขตการปกครอง
 • ระดับอำเภอ
 • ระดับตำบล

16 เขต
343 เมืองและแขวง
การปกครอง
 • ประเภทนครปกครองโดยตรง
 • องค์กรสภาประชาชนแห่งนครปักกิ่ง
 • เลขาธิการพรรคประจำนครหยิ่น ลี่
 • ประธานสภาหลี่ ซิ่วหลิ่ง
 • นายกเทศมนตรียิน หย่ง
 • ประธานสภาที่ปรึกษาการเมืองเว่ย์ เสี่ยวตง
 • ตัวแทนสภาประชาชนแห่งชาติ54 เขต
พื้นที่[1]
 • นคร16,410.5 ตร.กม. (6,336.1 ตร.ไมล์)
 • พื้นดิน16,410.5 ตร.กม. (6,336.1 ตร.ไมล์)
 • เขตเมือง16,410.5 ตร.กม. (6,336.1 ตร.ไมล์)
 • รวมปริมณฑล12,796.5 ตร.กม. (4,940.8 ตร.ไมล์)
ความสูง43.5 เมตร (142.7 ฟุต)
ความสูงจุดสูงสุด (หลิงชาน)2,303 เมตร (7,556 ฟุต)
ประชากร
 (สำมะโน ค.ศ. 2020)[2]
 • นคร21,893,095 คน
 • ความหนาแน่น1,300 คน/ตร.กม. (3,500 คน/ตร.ไมล์)
 • เขตเมือง21,893,095 คน
 • ความหนาแน่นเขตเมือง1,300 คน/ตร.กม. (3,500 คน/ตร.ไมล์)
 • รวมปริมณฑล22,366,547 คน
 • ความหนาแน่นรวมปริมณฑล1,700 คน/ตร.กม. (4,500 คน/ตร.ไมล์)
 • อันดับในประเทศจีนประชากร: ที่ 27;
ความหนาแน่น: ที่ 4
กลุ่มชาติพันธุ์หลัก
 • ฮั่น95%
 • แมนจู2%
 • หุย2%
 • มองโกล0.3%
 • อื่น ๆ0.7%
เขตเวลาUTC+08:00 (เวลามาตรฐานจีน)
รหัสไปรษณีย์100000–102629
รหัสพื้นที่10
รหัส ISO 3166CN-BJ
จีดีพี[3]ค.ศ. 2021
 • เฉลี่ย4.03 ล้านล้านเหรินหมินปี้
634.38 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ (เฉลี่ย)
[4]
965.73 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ (หุ้นส่วนมหาชน-เอกชน)[5]
 • ต่อหัว184,075 เหรินหมินปี้
28,975 ดอลลาร์สหรัฐ (เฉลี่ย)[4]
44,110 ดอลลาร์สหรัฐ (หุ้นส่วนมหาชน-เอกชน)[6]
 • การเติบโตเพิ่มขึ้น 8.5%
เอชดีไอ (ค.ศ. 2019)0.904[7] (ที่ 1) – สูงมาก
อักษรหน้าป้ายทะเบียน京A, C, E, F, H, J, K, L, M, N, P, Q, Y
京B (แท็กซี่)
京G (นอกตัวเมือง)
京O, D (ตำรวจและเจ้าหน้าที่)
อักษรย่อBJ / (jīng)
ภูมิอากาศDwa
เว็บไซต์beijing.gov.cn
english.beijing.gov.cn
สัญลักษณ์
ดอกไม้China rose (Rosa chinensis)
เบญจมาศ (Chrysanthemum morifolium)
ต้นไม้Chinese arborvitae (Platycladus orientalis)
Pagoda tree (Sophora japonica)
ปักกิ่ง
"ปักกิ่ง" ในอักษรจีนแบบทั่วไป
ภาษาจีน北京
ฮั่นยฺหวี่พินอินBěijīng
ไปรษณีย์Peking[a]
Peiping (1368–1403;
1928–1937; 1945–1949)
ความหมายตามตัวอักษร"เมืองหลวงทางทิศเหนือ"

ปักกิ่ง ในภาษากวางตุ้ง (จีน: 北京; ยฺหวิดเพ็ง: bak1 ging1) หรือ เป่ย์จิง ในภาษาจีนกลาง (พินอิน: Běijīng) เป็นเมืองหลวงของประเทศจีน และเป็นเมืองหลวงที่มีประชากรมากที่สุดในโลก ด้วยจำนวนประชากรมากกว่า 22 ล้านคน[8] และเป็นนครที่มีประชากรมากเป็นอันดับสองของจีนรองจากเซี่ยงไฮ้[9] ตั้งอยู่ในภูมิภาคตอนเหนือของจีน อยู่ในฐานะนครที่อยู่ภายใต้การปกครองโดยตรงโดยรัฐบาลกลาง แบ่งการปกครองออกเป็น 16 เขต[10] นครปักกิ่งถูกล้อมรอบด้วยมณฑลเหอเป่ย์เกือบสมบูรณ์ ยกเว้นทางตะวันออกเฉียงใต้ที่ติดกับนครเทียนจิน ทั้งหมดถูกรวมเรียกเป็นเขตมหานครจิงจินจี ปักกิ่งได้รับการจัดอันดับโดยไนท์แฟรงค์ ผู้ให้บริการด้านอสังหาริมทรัพย์ชั้นนำให้เป็นหนึ่งในสิบเมืองที่มีความสำคัญที่สุดของโลก[11]

ปักกิ่งเป็นหนึ่งในเมืองหลวงเก่าของจีน และเป็นหนึ่งในเมืองที่เก่าแก่ที่สุดในโลก[12] ด้วยประวัติศาสตร์อันยาวนานซึ่งสืบย้อนหลังไปมากกว่าสามพันปี มีประวัตินับตั้งแต่สมัยราชวงศ์หยวน สืบทอดมาถึงปัจจุบัน ปักกิ่งเป็นศูนย์กลางทางการเมืองของประเทศมาเป็นเวลาเกือบแปดศตวรรษ[13] และเคยเป็นเมืองที่ใหญ่ที่สุดในโลกโดยจำนวนประชากรในช่วงสหัสวรรษที่สองของคริสตศักราช[14] ปักกิ่งมีความเจริญรุ่งเรืองมาตั้งแต่ศตวรรษที่ 13 จักรพรรดิหย่งเล่อ ได้ก่อสร้างและออกแบบผังเมืองใหม่ และย้ายฐานราชการชั่วคราวในขณะนั้นจากเมืองหนานจิงมายังปักกิ่งในปัจจุบัน และด้วยทำเลที่ตั้งที่เหมาะสม มีภูเขาล้อมรอบเมืองทั้งสามด้าน นอกเหนือจากกำแพงเมืองเก่าด้านใน และด้านนอกแล้ว ปักกิ่งยังมีความสำคัญทางยุทธศาสตร์สงครามตั้งแต่สมัยโบราณ และใช้เป็นที่ประทับของจักรพรรดิจีน จึงเป็นสถานที่อันสมบูรณ์แบบสำหรับเมืองหลวงของจักรวรรดิจีน เมืองนี้มีชื่อเสียงในด้านพระราชวัง, วัดจีน, สวนสาธารณะ, สวนหย่อม, สุสาน, กำแพง และประตูเมือง ปักกิ่งได้รับการยอมรับได้ด้านการผสมผสานสถาปัตยกรรมสมัยใหม่ และสถาปัตยกรรมดั้งเดิม โดยฟากหนึ่งของเมืองได้รับการตกแต่งตามแบบสถาปัตกรรมสมัยใหม่ ในขณะที่อีกด้านหนึ่งยังคงความเป็นเอกลักษณ์ดั้งเดิมด้วยสถาปัตยกรรมหู่ท่ง

ปัจจุบันปักกิ่งมีฐานะเป็นเมืองระดับโลก (Global City) และเป็นหนึ่งในผู้นำโลกทางเศรษฐกิจ, วัฒนธรรม, การทูต, การเมือง, การค้าและการลงทุน, การศึกษา, นวัตกรรม, วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, การคมนาคม และ ศิลปะ ปักกิ่งเป็นที่ตั้งของสำนักงานใหญ่ของบริษัทตา่ง ๆ ที่มีชื่อเสียงมากที่สุดในจีน รวมทั้งเป็นที่ตั้งของบริษัทชั้นนำของโลกโดยฟอร์จูน โกลบอล 500 มากที่สุดในโลก และมีจำนวนสถาบันการเงินที่ใหญ่ที่สุดเป็นอันดับ 4 ของโลกวัดตามมูลค่าทรัพย์สินโดยรวม[15] และเป็นที่ตั้งของทางหลวงแผ่นดิน, รถไฟ และระบบขนส่งมวลชนเร็วชั้นนำของประเทศ และเป็นเวลากว่าหนึ่งทศวรรษก่อนการระบาดทั่วของโควิด-19 ที่ท่าอากาศยานนานาชาติกรุงปักกิ่งมีสถานะเป็นท่าอากาศยานที่พลุกพล่านที่สุดในทวีปเอเชีย (ค.ศ. 2009–2019) และใน ค.ศ. 2020 รถไฟใต้ดินปักกิ่ง เป็นรถไฟใต้ดินที่พลุกพล่านเป็นอันดับสี่และมีเส้นทางการบริการยาวเป็นอันดับสองของโลก ท่าอากาศยานนานาชาติเป่ย์จิงต้าซิง ซึ่งเป็นท่าอากาศยานนานาชาติแห่งที่สองของปักกิ่ง มีอาคารผู้โดยสารเดี่ยวที่มีโครงสร้างอาคารขนาดใหญ่ที่สุดในโลก[16][17] เมืองนี้ได้รับเลือกให้เป็นเจ้าภาพงานสำคัญระดับนานาชาติ และการแข่งขันกีฬาระดับโลกหลายครั้ง รวมถึงโอลิมปิกฤดูร้อน 2008 และ พาราลิมปิกฤดูร้อน 2008 โดยใน ค.ศ. 2022 ปักกิ่งกลายเป็นเมืองแรกของโลกที่ได้เป็นเจ้าภาพครบทั้งโอลิมปิกฤดูร้อน และโอลิมปิกฤดูหนาว

สถาบันอุดมศึกษาของรัฐในปักกิ่งคิดเป็นจำนวนมากถึงหนึ่งในห้ามหาวิทยาลัยชั้นหนึ่งของโลก (Double First-Class Construction) และหลายแห่งได้รับการจัดอันดับให้เป็นหนึ่งในสถานศึกษาที่ดีที่สุดในเอเชียแปซิฟิก และของโลกอย่างต่อเนื่อง[18][19] และเป็นที่ตั้งของมหาวิทยาลัยชิงหฺวา และ มหาวิทยาลัยปักกิ่ง มหาวิทยาลัยวิจัยชั้นนำที่มีชื่อเสียงมากที่สุดของจีน[20][21][22] ย่านศูนย์กลางธุรกิจของปักกิ่งเป็นหนึ่งในศูนย์กลางการขยายตัวทางเศรษฐกิจของภูมิภาค โดยมีการก่อสร้างตึกระฟ้าหลายแห่งที่กำลังดำเนินการ และที่เพิ่งสร้างแล้่วเสร็จเมื่อไม่นานมานี้ พื้นที่ย่านจงกวนชุนของปักกิ่งถือเป็นศูนย์กลางชั้นนำของโลก ด้านนวัตกรรม ตลอดจนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และการลงทุนจากผู้ประกอบการทั่วโลก ปักกิ่งได้รับการจัดอันดับให้เป็นเมืองที่มีผลงานวิจัยทางวิทยาศาสตร์ที่ใหญ่ที่สุดโดย Nature Index นับตั้งแต่เริ่มจัดอันดับใน ค.ศ. 2016[23] ปักกิ่งมีสถานทูตต่างชาติมากถึง 175 แห่ง ตลอดจนสำนักงานใหญ่ขององค์กรต่าง ๆ รวมถึง ธนาคารเพื่อการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานแห่งเอเชีย, องค์การความร่วมมือเซี่ยงไฮ้, กองทุนเส้นทางสายไหม, สถาบันการศึกษาแห่งชาติ, สถาบันการศึกษาแห่งชาติด้านวิศวกรรมแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน, สถาบันสังคมศาสตร์แห่งประเทศจีน, วิทยาลัยศิลปกรรมกลาง, โรงเรียนการละครกลาง, วิทยาลัยดนตรีกลาง และ สภากาชาดจีน

ปักกิ่งเป็นหนึ่งในสถานที่ท่องเที่ยวที่สำคัญของโลก ใน ค.ศ. 2018 เป็นเมืองท่องเที่ยวที่มีรายได้สูงเป็นอันดับสองของโลกรองจากเซี่ยงไฮ้[24] มีสถานที่สำคัญทางประวัติศาสตร์มากมาย เช่น จัตุรัสเทียนอันเหมิน, กำแพงเมืองจีน, พระราชวังฤดูร้อน และ พระราชวังต้องห้าม สถานที่อื่น ๆ ที่สำคัญได้แก่ หอสักการะฟ้า, มหาศาลาประชาชน และ โรงละครแห่งชาติ สนามกีฬาแห่งชาติปักกิ่งเป็นสนามกีฬาหลักที่ใช้ในการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกฤดูร้อน 2008 ปักกิ่งยังเป็นที่ตั้งของพิพิธภัณธ์ และภัตตาคารที่มีชื่อเสียง โดยหลายแห่งได้รับการยกย่องโดยมิชลินไกด์[25] ปักกิ่งมีแหล่งมรดกโลกโดยยูเนสโกจำนวน 8 แห่ง ซื่อเหอหยวนซึ่งเป็นที่อยู่อาศัยที่พบได้ทั่วไปทั่วประเทศจีน ยังพบเห็นได้มากที่สุดในปักกิ่ง

ที่มาของชื่อ

[แก้]

ตลอด 3,000 ปีที่ผ่านมา ปักกิ่งมีชื่อเรียกอื่น ๆ จำนวนมาก ชื่อในภาษาจีนกลางคือ เป่ย์จิง (พินอิน: Běijīng) แปลว่า "เมืองหลวงทางทิศเหนือ" (จากอักษรจีน běi ที่แปลว่า "ทิศเหนือ" และ jīng ที่แปลว่า "เมืองหลวง") ซึ่งถูกนำมาใช้เมื่อ ค.ศ. 1403 ในสมัยราชวงศ์หมิง เพื่อแยกความแตกต่างจากหนานจิง ("เมืองหลวงทางทิศใต้")[26] ส่วนคำว่า ปักกิ่ง ที่นิยมเรียกในภาษาไทยเป็นชื่อเรียกในภาษากวางตุ้งมาตรฐาน (ยฺหวิดเพ็ง: bak1 ging1; ปั๊กกิ๊ง)

การสะกดด้วยอักษรโรมัน Beijing มาจากการถอดอักษรจีนเป็นอักษรโรมันอย่างเป็นทางการของรัฐบาล (นำมาใช้ในคริสต์ทศวรรษ 1980) ตามที่ออกเสียงในภาษาจีนกลางมาตรฐาน การสะกดคำด้วยอักษรโรมันแบบเก่าคือ Peking ถูกใช้โดยมิชชันนารีนิกายเยซุอิตที่ชื่อ มาร์ติโน มาร์ตินี ในแผนที่ที่ใช้แพร่หลายที่ตีพิมพ์ในอัมสเตอร์ดัมใน ค.ศ. 1655[27] แม้ว่าคำว่า Peking จะไม่ใช่ชื่อที่ใช้กันอย่างทั่วไปแล้ว แต่สถานที่และสิ่งอำนวยความสะดวกที่เก่าแก่ของเมืองบางแห่ง เช่น ท่าอากาศยานนานาชาติกรุงปักกิ่ง ซึ่งยังใช้รหัส IATA เป็น PEK และมหาวิทยาลัยปักกิ่ง (อังกฤษ: Peking University) ก็ยังคงรักษาการใช้อักษรโรมันแบบเดิมไว้

ตัวย่ออักษรจีนตัวเดียวสำหรับปักกิ่งคือ (จิง) ซึ่งปรากฏบนป้ายทะเบียนรถยนต์ในปักกิ่ง และตัวย่ออักษรละตินอย่างเป็นทางการของปักกิ่งคือ "BJ"[28]

ประวัติศาสตร์

[แก้]

ปักกิ่งมีประวัติศาสตร์ยาวนานกว่า 3,000 ปี เป็นเมืองหลวงโบราณของจีน ตั้งแต่สมัยราชวงศ์เหลียว ราชวงศ์จิน ราชวงศ์หยวน ราชวงศ์หมิง และราชวงศ์ชิง รวม 5 ราชวงศ์ และเมื่อสถาปนาสาธารณรัฐประชาชนจีนใน ค.ศ. 1949 ก็ได้ตั้งให้ปักกิ่งเป็นเมืองหลวงของประเทศ

ตามหลักฐานทางประวัติศาสตร์ พื้นที่กรุงปักกิ่งในปัจจุบัน เมื่อ 110 ปีก่อนคริสต์ศักราชเป็นที่ตั้งของแคว้นจี้ ซึ่งอยู่ภายใต้การปกครองของราชวงศ์ซีโจว ต่อมาเมื่อถึงกลางของยุคชุนชิว (770–476 ปีก่อนคริสต์ศักราช) แคว้นเยียนได้รวมดินแดนของแคว้นจี้เข้าไว้ด้วยกัน หลังจากนั้นแคว้นฉินก็ได้ตีเอาดินแดนมาเป็นของตนเมื่อ 226 ปีก่อนคริสต์ศักราช ถึง ค.ศ. 1481 ดินแดนของแคว้นจี้กลายมาเป็นส่วนหนึ่งของเมืองหลวงของแคว้นเหลียวซึ่งก่อตั้ง ขึ้นโดยชนชาติชี่ตัน และตั้งชื่อใหม่ว่าหนานจิง หรือเยียนจิง

ในเวลาต่อมาได้มีการสถาปนาราชวงศ์จิน และได้ย้ายเมืองหลวง มาอยู่ที่เยียนจิงใน ค.ศ. 1696 โดยเปลี่ยนชื่อเรียกเป็น จงตู ต่อมาราชวงศ์จินถูกรุกรานโดยชาวมองโกล จึงได้ย้ายเมืองหลวงไปที่เปี้ยนจิง (เมืองไคฟง มณฑลเหอหนานในปัจจุบัน) หลังจากนั้น ราชวงศ์หยวนก็ได้สถาปนาขึ้นภายใต้การปกครองของชาวมองโกล และตั้งให้ปักกิ่งเป็นเมืองหลวงใน ค.ศ. 1810 จากนั้นปักกิ่งก็ถูกตั้งให้เป็นเมืองหลวงเรื่อยมาในสมัยราชวงศ์หมิง และชิง จนถึงวันที่ 1 ตุลาคม ค.ศ. 1949 เมื่อจีนเปลี่ยนระบอบการปกครองเป็นสาธารณรัฐประชาชนจีน ก็ได้กำหนดให้ปักกิ่งเป็นเมืองหลวงของประเทศจนถึงปัจจุบัน โบราณสถานในปักกิ่งที่ตกทอดสืบต่อมาและมีปรากฏให้เห็นจนถึงทุกวันนี้มีมากมาย เช่น พระราชวังต้องห้าม กำแพงเมืองจีน หอบูชาฟ้า พระราชวังฤดูร้อน สุสานสิบสามกษัตริย์ เป็นต้น สถานที่เหล่านี้ล้วนเป็นมรดกทางประศาสตร์อันสำคัญทั้งของจีนและของโลก

ประวัติศาสตร์ยุคแรก

[แก้]

ร่องรอยการอยู่อาศัยของมนุษย์ในยุคแรกสุดในเขตนครปักกิ่งถูกพบในถ้ำเขากระดูกมังกร หรือหลงกู่ชาน (龙骨山) บริเวณพื้นที่โจวโข่วเตี้ยน ในเขตฝางชาน ซึ่งเป็นถ้ำที่มนุษย์ปักกิ่งอาศัยอยู่ ฟอสซิล Homo erectus จากถ้ำนี้มีอายุ 230,000 ถึง 250,000 ปี Homo sapiens ในยุคหินเก่าก็อาศัยอยู่ที่นั่นเช่นกันเมื่อประมาณ 27,000 ปีก่อน[29] นักโบราณคดีได้ค้นพบการตั้งถิ่นฐานในยุคหินใหม่ทั่วทั้งเขตนครปักกิ่ง แม้แต่ในหวางฝูจิ่ง ซึ่งตั้งอยู่ในใจกลางปักกิ่ง

เมืองที่มีกำแพงเมืองล้อมรอบแห่งแรกในปักกิ่งคือ จี้เฉิง เมืองหลวงของรัฐจี้ ซึ่งสร้างขึ้นเมื่อ 1,045 ปีก่อนคริสต์ศักราช เมื่อเทียบกับปักกิ่งในปัจจุบัน จี้เฉิงจะตั้งอยู่รอบ ๆ พื้นที่กว่างอันเหมิน ทางตอนใต้ของเขตซีเฉิง[30] จี้เฉิงถูกยึดครองโดยรัฐยานในเวลาต่อมาและได้รับการสถาปนาเป็นเมืองหลวง[31]

จักรวรรดิจีนตอนต้น

[แก้]

ราชวงศ์หมิง

[แก้]

ราชวงศ์ชิง

[แก้]
พระราชวังฤดูร้อนเป็นหนึ่งในอุทยานหลายแห่งที่สร้างขึ้นโดยจักรพรรดิชิงในย่านชานเมืองทางตะวันตกเฉียงเหนือ

ตัวเอ๋อร์กุ่นได้สถาปนาราชวงศ์ชิงในฐานะที่เป็นราชวงศ์ที่ปกครองแผ่นดินจีนต่อจากราชวงศ์หมิง (ลดความชอบธรรมของหลี่ จื้อเฉิง และเหล่าผู้ติดตาม)[32] และปักกิ่งก็กลายเป็นเมืองหลวงเพียงแห่งเดียวของจีน[33] จักรพรรดิราชวงศ์ชิงทรงได้ทำการปรับเปลี่ยนที่ประทับของจักรพรรดิบางส่วน แต่อาคารส่วนใหญ่และการวางผังทั่วไปที่มีมาตั้งแต่ราชวงศ์หมิงยังคงไม่เปลี่ยนแปลง มีการนำสิ่งของและประเพณีต่าง ๆ ตามแบบวัฒนธรรมของชาวแมนจูมาใช้ แต่ก็ยังคงประเพณีของชาวฮั่นไว้บางส่วน มีการเขียนป้ายทั้งแบบภาษาจีนและแบบสองภาษา ปักกิ่งในยุคราชวงศ์ชิงตอนต้นนี้ในเวลาต่อมาได้มาเป็นฉากท้องเรื่องในนวนิยายจีนเรื่อง ความฝันในหอแดง จักรพรรดิราชวงศ์ชิงทรงสร้างสวนขนาดใหญ่หลายแห่งทางตะวันตกเฉียงเหนือของเมือง เช่น พระราชวังฤดูร้อนเดิม และพระราชวังฤดูร้อน

ในช่วงสงครามฝิ่นครั้งที่สอง กองกำลังทหารอังกฤษและฝรั่งเศสยึดครองพื้นที่ชานเมือง โดยได้ทำการปล้นสะดมและเผาพระราชวังฤดูร้อนเดิมใน ค.ศ. 1860 เพื่อในการยุติสงครามดังกล่าว มหาอำนาจตะวันตกจะได้รับสิทธิเป็นครั้งแรกในการสถาปนาสถานทูตถาวรภายในเมืองภายใต้อนุสัญญาปักกิ่ง (Convention of Peking)[b] ตั้งแต่วันที่ 14 ถึง 15 สิงหาคม ค.ศ. 1900 ยุทธการที่ปักกิ่งได้เกิดขึ้น ซึ่งการสู้รบครั้งนี้เป็นส่วนหนึ่งของเหตุการณ์กบฏนักมวย เป็นความพยายามของเหล่านักมวยที่จะกำจัดการเข้ามาอยู่ของต่างชาติ รวมถึงชาวจีนที่เปลี่ยนไปนับถือศาสนาคริสต์ ในระหว่างการสู้รบ มีสิ่งก่อสร้างที่สำคัญหลายแห่งที่ถูกทำลาย เช่น สถาบันฮั่นหลิน และพระราชวังฤดูร้อน (แห่งใหม่) ท้ายที่สุดนำไปสู่การยึดครองปักกิ่งโดยพันธมิตรแปดชาติ[36] ได้มีการลงนามพิธีสารนักมวย ซึ่งเป็นข้อตกลงระงับความวุ่นวายที่ลงนามกันระหว่างพันธมิตรแปดชาติ กับตัวแทนของรัฐบาลจีน หลี่ หงจาง และอี้ควาง เมื่อวันที่ 7 กันยายน ค.ศ. 1901 พิธีสารดังกล่าวกำหนดให้จีนต้องชดใช้ค่าปฏิกรรมสงคราม 335 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (มากกว่า 4 พันล้านดอลลาร์สหรัฐในปัจจุบัน) พร้อมดอกเบี้ยตลอดระยะเวลา 39 ปี และต้องมีการประหารชีวิตหรือเนรเทศผู้สนับสนุนนักมวยและต้องรื้อถอนป้อมปราการและการป้องกันอื่น ๆ ในพื้นที่ส่วนใหญ่ทางตอนเหนือของจีน สิบวันหลังจากการลงนามในพิธีสาร กองทัพต่างประเทศได้ถอนออกไปจากปักกิ่ง แต่หน่วยคุ้มกันคณะทูตยังคงอยู่ที่นั่นจนถึงสงครามโลกครั้งที่สอง[37]

หลังจากการลงนามในพิธีสาร ซูสีไทเฮาเสด็จกลับปักกิ่งเมื่อวันที่ 7 มกราคม ค.ศ. 1902 หลังจากทรงลี้ภัยที่ซีอาน และดำเนินการปฏิรูปการเมืองการปกครองของราชวงศ์ชิง แม้ว่าจะอ่อนแอลงมากจากความพ่ายแพ้ที่ได้รับหลังจากเหตุการณ์กบฏนักมวยและจากการชดใช้ตามข้อกำหนดของข้อตกลงสันติภาพ[38] พระนางสวรรคตเมื่อ ค.ศ. 1908 และราชวงศ์ชิงล่มสลายลงเมื่อ ค.ศ. 1911

สาธารณรัฐจีน

[แก้]
ภาพเหมือนขนาดใหญ่ของเจียง ไคเช็ก จัดแสดงบนเทียนอันเหมินหลังสงครามโลกครั้งที่สอง

ผู้ก่อการปฏิวัติซินไฮ่ใน ค.ศ. 1911 พยายามเปลี่ยนการปกครองของจักรวรรดิชิงเป็นสาธารณรัฐ และผู้นำอย่างซุน ยัตเซ็น เดิมตั้งใจที่จะย้ายเมืองหลวงไปที่หนานจิง หลังจากที่แม่ทัพราชวงศ์ชิง ยฺเหวียน ชื่อไข่ บังคับจักรพรรดิชิงองค์สุดท้ายสละราชสมบัติและรับรองความสำเร็จของการปฏิวัติ เหล่านักปฏิวัติก็ยอมรับเขาในฐานะประธานาธิบดีของสาธารณรัฐจีน ยฺเหวียนรักษาเมืองหลวงของเขาไว้ที่ปักกิ่งและรวมอำนาจอย่างรวดเร็วแล้วสถาปนาตนเองเป็นจักรพรรดิใน ค.ศ. 1915 การเสียชีวิตของเขาในอีกไม่ถึงหนึ่งปีต่อมา[39] ทำให้จีนตกอยู่ภายใต้การควบคุมของขุนศึกที่สั่งการกองทัพตามภูมิภาคต่าง ๆ หลังจากความสำเร็จของการกรีธาทัพขึ้นเหนือของพรรคก๊กมินตั๋ง เมืองหลวงก็ถูกย้ายไปที่หนานจิงอย่างเป็นทางการใน ค.ศ. 1928 และในวันที่ 28 มิถุนายน ปีเดียวกันนั้น ชื่อของปักกิ่งก็ถูกเปลี่ยนกลับไปเป็นชื่อ "เป่ย์ผิง" (ในขณะนั้นเขียนว่า "Peiping")[40][41]

ในวันที่ 7 กรกฎาคม ค.ศ. 1937 กองพลที่ 29 ของจีนและกองทัพญี่ปุ่นในจีนได้ยิงปะทะกันที่สะพานมาร์โก โปโล ใกล้กับป้อมหว่านผิง ทางตะวันตกเฉียงใต้ของปักกิ่ง เหตุการณ์สะพานมาร์โก โปโลนี้กระตุ้นให้เกิดสงครามจีน–ญี่ปุ่นครั้งที่สอง และสงครามโลกครั้งที่สองตามที่รับรู้ในประเทศจีน[40] ระหว่างสงคราม ปักกิ่งพ่ายแพ้ต่อญี่ปุ่นเมื่อวันที่ 29 กรกฎาคม ค.ศ. 1937[42] และปักกิ่งก็กลายเป็นฐานที่ตั้งของรัฐบาลชั่วคราวแห่งสาธารณรัฐจีน ซึ่งเป็นรัฐหุ่นเชิดของจักรวรรดิญี่ปุ่นที่ปกครองพื้นที่ทางตอนเหนือของจีน[43] ต่อมารัฐบาลนี้ก็ถูกรวมเข้ากับรัฐบาลวาง จิงเว่ย์ที่ใหญ่กว่าซึ่งมีฐานที่ตั้งอยู่ในหนานจิง[44]

สาธารณรัฐประชาชนจีน

[แก้]
เทียนอันเหมินในสมัยสาธารณรัฐประชาชนจีน

ในช่วงสุดท้ายของสงครามกลางเมืองจีน กองทัพปลดปล่อยประชาชนเข้ายึดควบคุมเมืองอย่างสันติเมื่อวันที่ 31 มกราคม ค.ศ. 1949 ซึ่งเป็นวันสุดท้ายของยุทธการผิงจิน ในวันที่ 1 ตุลาคม ปีเดียวกัน เหมา เจ๋อตงได้ประกาศสถาปนาสาธารณรัฐประชาชนจีนบนเทียนอันเหมิน เขาได้เปลี่ยนชื่อเมืองซึ่งเป็นเมืองหลวงใหม่ของจีนให้กลับมาชื่อปักกิ่งดังเดิม[45] ซึ่งเป็นการตัดสินใจของสภาที่ปรึกษาทางการเมืองประชาชนจีนเมื่อไม่กี่วันก่อนหน้านี้

ในช่วงคริสต์ทศวรรษที่ 1950 ตัวเมืองเริ่มขยายตัวเกินกว่าเมืองที่มีกำแพงล้อมรอบเก่าและบริเวณใกล้เคียง โดยมีอุตสาหกรรมหนักทางตะวันตกและย่านที่อยู่อาศัยทางตอนเหนือ กำแพงเมืองปักกิ่งหลายแห่งถูกทำลายลงในช่วงคริสต์ทศวรรษ 1960 เพื่อเปิดทางให้มีการก่อสร้างรถไฟใต้ดินปักกิ่งและถนนวงแหวนรอบที่ 2

ในช่วงการปฏิวัติทางวัฒนธรรมระหว่าง ค.ศ. 1966 ถึง 1976 ขบวนการยุวชนแดงได้เริ่มขึ้นในปักกิ่ง และรัฐบาลของเมืองตกเป็นเหยื่อของการกวาดล้างครั้งแรก เมื่อถึงฤดูใบไม้ร่วง ค.ศ. 1966 โรงเรียนในเมืองทั้งหมดถูกปิดลง และยุวชนแดงกว่าล้านคนจากทั่วประเทศมารวมตัวกันในปักกิ่งเพื่อชุมนุมแปดครั้งในจัตุรัสเทียนอันเหมินกับเหมา[46] ในเดือนเมษายน ค.ศ. 1976 มีการปราบปรามอย่างรุนแรงต่อประชาชนปักกิ่งที่รวมตัวกันครั้งใหญ่เพื่อต่อต้านแก๊งสี่คนและการปฏิวัติทางวัฒนธรรมในจัตุรัสเทียนอันเหมิน ในเดือนตุลาคม ค.ศ. 1976 แก๊งสี่คนถูกจับกุมในจงหนานไห่ และการปฏิวัติทางวัฒนธรรมก็ได้สิ้นสุดลง ในเดือนธันวาคม ค.ศ. 1978 ที่ประชุมเต็มคณะครั้งที่ 3 แห่งคณะกรรมการกลางพรรรคอมมิวนิสต์จีนชุดที่ 11 ในปักกิ่งภายใต้การนำของเติ้ง เสี่ยวผิง ได้กลับคำตัดสินต่อผู้ที่ตกเป็นเหยื่อของการปฏิวัติวัฒนธรรม และเริ่มต้น "นโยบายปฏิรูปและเปิดกว้าง"

นับตั้งแต่ต้นคริสต์ทศวรรษ 1980 ตัวเมืองปักกิ่งได้ขยายตัวอย่างมาก มีการสร้างถนนวงแหวนรอบที่ 2 แล้วเสร็จใน ค.ศ. 1981 และได้มีการเพิ่มถนนวงแหวนรอบที่ 3, 4, 5 และ 6 ในเวลาต่อมา[47][48] จากหนังสือพิมพ์ฉบับหนึ่งใน ค.ศ. 2005 รายงานว่า ขนาดของปักกิ่งที่พัฒนาใหม่นั้นใหญ่กว่าเมื่อก่อนถึงหนึ่งเท่าครึ่ง[49] ย่านหวางฝูจิ่งและซีตันได้พัฒนาจนกลายเป็นย่านช็อปปิงที่เจริญรุ่งเรือง[50] ในขณะที่ย่านจงกวนชุนกลายเป็นศูนย์กลางอิเล็กทรอนิกส์ที่สำคัญในจีน[51] ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา การขยายตัวของปักกิ่งยังนำมาซึ่งปัญหาบางประการ เช่น การจราจรหนาแน่น คุณภาพอากาศไม่ดี การสูญเสียย่านประวัติศาสตร์ และการหลั่งไหลเข้ามาอย่างมีนัยสำคัญของแรงงานอพยพจากพื้นที่ชนบทของประเทศที่มีการพัฒนาน้อย[52] ปักกิ่งยังเป็นสถานที่ที่เกิดเหตุการณ์สำคัญต่าง ๆ มากมายในประวัติศาสตร์จีนยุคใหม่ โดยเฉพาะเหตุการณ์การประท้วงที่จัตุรัสเทียนอันเหมิน ค.ศ. 1989[53] ปักกิ่งยังเป็นเจ้าภาพจัดงานสำคัญระดับนานาชาติอีกด้วย เช่น โอลิมปิกฤดูร้อน 2008, กรีฑาชิงแชมป์โลก 2015 และโอลิมปิกฤดูหนาว 2022 ทำให้เป็นเมืองแรกที่เคยเป็นเจ้าภาพทั้งโอลิมปิกฤดูหนาวและฤดูร้อน[54]

ภูมิศาสตร์

[แก้]

ปักกิ่งตั้งอยู่ทางตอนเหนือสุดของที่ราบจีนตอนเหนือที่มีลักษณะคล้ายรูปสามเหลี่ยม ซึ่งเปิดโล่งไปทางทิศใต้และทิศตะวันออกของเมือง ภูเขาที่รายล้อมอยู่ทางทิศเหนือ ทิศตะวันตกเฉียงเหนือ และทิศตะวันตก เป็นปราการปกป้องตัวเมืองและพื้นที่เกษตรกรรมทางตอนเหนือของจีนจากการรุกล้ำของทะเลทรายและทุ่งหญ้าสเตปป์ พื้นที่ทางตะวันตกเฉียงเหนือของเมือง โดยเฉพาะเขตหยานชิ่งและเขตหฺวายโหรว เป็นพื้นที่ที่มีเทือกเขาจฺวินตูปกคลุม ในขณะที่ส่วนตะวันตกล้อมรอบด้วยซีชานหรือเนินเขาตะวันตก กำแพงเมืองจีนที่อยู่ทางตอนเหนือของเขตนครปักกิ่งถูกสร้างขึ้นบนภูมิประเทศที่ขรุขระเพื่อป้องกันการรุกรานของกลุ่มชนเร่ร่อนจากพื้นที่ทุ่งหญ้าสเตปป์ จุดที่สูงที่สุดในนครปักกิ่งอยู่ที่เขาตงหลิง ซึ่งอยู่ในพื้นที่เนินเขาตะวันตกและคาบเกี่ยวกับอาณาเขตของมณฑลเหอเป่ย์ โดยมีระดับความสูง 2,303 เมตร (7,556 ฟุต)

แม่น้ำสายสำคัญที่ไหลผ่านเขตนครปักกิ่ง ได้แก่ แม่น้ำเฉาไป๋ แม่น้ำหย่งติ้ง แม่น้ำจฺวี้หม่า ล้วนเป็นแม่น้ำสาขาในระบบแม่น้ำไห่ และไหลไปทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ อ่างเก็บน้ำมี่ยฺหวินที่อยู่บริเวณต้นน้ำของแม่น้ำเฉาไป๋เป็นอ่างเก็บน้ำที่ใหญ่ที่สุดในเขตนครปักกิ่ง ปักกิ่งยังเป็นที่ตั้งของจุดเริ่มต้นทางทิศเหนือของคลองใหญ่ (ต้า-ยฺวิ่นเหอ) ที่ทอดยาวไปถึงหางโจว ซึ่งสร้างขึ้นเมื่อ 1,400 ปีก่อนเพื่อใช้เป็นเส้นทางคมนาคม และโครงการผันน้ำใต้–เหนือ ซึ่งสร้างขึ้นในทศวรรษที่ผ่านมาเพื่อผันน้ำจากลุ่มแม่น้ำแยงซี

พื้นที่ตัวเมืองของปักกิ่งตั้งอยู่บนที่ราบทางตอนใต้ของเขตนครปักกิ่ง มีระดับความสูง 40 ถึง 60 เมตร (130 ถึง 200 ฟุต) ครอบครองพื้นที่ค่อนข้างเล็กเมื่อเทียบกับพื้นที่ทั้งหมดเขตนครปักกิ่งที่มีพื้นที่โดยรอบไว้เพื่อรองรับขยายตัวของเมือง ตัวเมืองแผ่กระจายออกไปตามถนนวงแหวนที่ล้อมรอบศูนย์กลางเมือง ถนนวงแหวนรอบที่สองมีเส้นทางไปตามกำแพงเมืองเก่า และถนนวงแหวนรอบที่หกเป็นเส้นทางเชื่อมต่อเมืองบริวารในแถบชานเมืองโดยรอบ ที่ใจกลางปักกิ่งเป็นที่ตั้งของเทียนอันเหมินและจัตุรัสเทียนอันเหมิน อยู่ทางทิศใต้ของพระราชวังต้องห้าม ซึ่งเป็นที่ประทับเดิมของจักรพรรดิจีน และทางทิศตะวันตกของเทียนอันเหมินคือจงหนานไห่ ซึ่งเป็นที่พำนักของผู้นำคนปัจจุบันของจีน มีถนนฉางอาน ซึ่งตัดคั่นกลางระหว่างเทียนอันเหมินกับจัตุรัสเทียนอันเหมิน เป็นแนวถนนที่ทำให้เกิดแกนหลักในแนวตะวันออก–ตะวันตกหลักของเมือง

รูปแบบการพัฒนาของปักกิ่งจากเมืองเก่าชั้นในไปจนถึงชายขอบเมืองมักถูกเรียกว่า "แพร่กระจายเหมือนแพนเค้ก" (tan da bing)[55]: 135  รูปแบบของการพัฒนาแบบนี้มักถูกอ้างถึงว่าเป็นสาเหตุของปัญหาในเมืองปักกิ่ง[55]: 135 

อาณาเขตติดต่อ

[แก้]

นครปักกิ่งมีอาณาเขตติดต่อดังนี้

ภูมิอากาศ

[แก้]
ข้อมูลภูมิอากาศของปักกิ่ง
เดือน ม.ค. ก.พ. มี.ค. เม.ย. พ.ค. มิ.ย. ก.ค. ส.ค. ก.ย. ต.ค. พ.ย. ธ.ค. ทั้งปี
อุณหภูมิสูงสุดที่เคยบันทึก °C (°F) 12.9
(55.2)
19.8
(67.6)
26.4
(79.5)
33.0
(91.4)
38.3
(100.9)
40.6
(105.1)
41.9
(107.4)
36.1
(97)
34.4
(93.9)
29.8
(85.6)
22.0
(71.6)
19.5
(67.1)
42.6
(108.7)
อุณหภูมิสูงสุดเฉลี่ย °C (°F) 1.8
(35.2)
5.0
(41)
11.6
(52.9)
20.3
(68.5)
26.0
(78.8)
30.2
(86.4)
30.9
(87.6)
29.7
(85.5)
25.8
(78.4)
19.1
(66.4)
10.1
(50.2)
3.7
(38.7)
17.9
(64.2)
อุณหภูมิต่ำสุดเฉลี่ย °C (°F) −8.4
(16.9)
−5.6
(21.9)
0.4
(32.7)
7.9
(46.2)
13.6
(56.5)
18.8
(65.8)
22.0
(71.6)
20.8
(69.4)
14.8
(58.6)
7.9
(46.2)
0.0
(32)
−5.8
(21.6)
7.2
(45)
อุณหภูมิต่ำสุดที่เคยบันทึก °C (°F) −18.3
(-0.9)
−27.4
(-17.3)
−15.0
(5)
−3.2
(26.2)
2.5
(36.5)
9.8
(49.6)
15.3
(59.5)
11.4
(52.5)
3.7
(38.7)
-3.5
(25.7)
-12.5
(9.5)
-18.5
(-1.3)
−27.4
(−17.3)
หยาดน้ำฟ้า มม (นิ้ว) 2.7
(0.106)
4.9
(0.193)
8.3
(0.327)
21.2
(0.835)
34.2
(1.346)
78.1
(3.075)
185.2
(7.291)
159.7
(6.287)
45.5
(1.791)
21.8
(0.858)
7.4
(0.291)
2.8
(0.11)
571.8
(22.512)
ความชื้นร้อยละ 44 44 46 46 53 61 75 77 68 61 57 49 56.8
วันที่มีหยาดน้ำฟ้าโดยเฉลี่ย (≥ 0.1 mm) 1.8 2.3 3.3 4.3 5.8 9.7 13.6 12.0 7.6 5.0 3.5 1.7 70.6
จำนวนชั่วโมงที่มีแดด 194.1 194.7 231.8 251.9 283.4 261.4 212.4 220.9 232.1 222.1 185.3 180.7 2,670.8
แหล่งที่มา: China Meteorological Administration [56], all-time extreme temperature[57]

การเมืองการปกครอง

[แก้]

องค์การที่บริหารนครปักกิ่งอยู่ภายใต้การควบคุมของคณะกรรมการพรรคคอมมิวนิสต์จีนประจำนครปักกิ่ง ซึ่งนำโดยเลขาธิการพรรคประจำนครปักกิ่ง คณะกรรมการพรรคประจำนครจะออกคำสั่งการบริหาร เก็บภาษี จัดการเศรษฐกิจ และกำกับดูแลคณะกรรมาธิการสามัญของสภาประชาชนประจำนครในการตัดสินใจเชิงนโยบายและกำกับดูแลหน่วยงานในท้องถิ่น โดยตั้งแต่ ค.ศ. 1987 เลขาธิการพรรคประจำนครปักกิ่งทั้งหมดต่างเป็นสมาชิกกรมการเมืองพรรคคอมมิวนิสต์จีนอีกด้วย

เจ้าหน้าที่ของรัฐ ได้แก่ นายกเทศมนตรี และรองนายกเทศมนตรี มีหลายหน่วยงานที่ทำหน้าที่ในด้านต่าง ๆ ทั้งด้านกฎหมาย ความมั่นคงสาธารณะ และกิจการอื่น ๆ นอกจากนี้ ในฐานะเมืองหลวงของประเทศจีน ปักกิ่งยังเป็นที่ตั้งของสถาบันทางการเมืองและการปกครองระดับชาติที่สำคัญ รวมถึงสภาประชาชนแห่งชาติด้วย[58]

เขตการปกครอง

[แก้]

นครปักกิ่งปัจจุบันประกอบด้วยเขตการปกครองระดับอำเภอ 16 แห่ง ทั้งหมดมีสถานะเป็นเขต โดยก่อนหน้านี้ เมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม ค.ศ. 2010 เขตฉงเหวินและเขตเซฺวียนอู่ได้รวมเข้ากับเขตตงเฉิงและเขตซีเฉิงตามลำดับ และเมื่อวันที่ 13 พฤศจิกายน ค.ศ. 2015 อำเภอมี่ยฺหวินและอำเภอหยานชิ่งได้รับการยกฐานะเป็นเขต

เขตการปกครองของปักกิ่ง
รหัสเขตการปกครอง[59] ชื่อเขต พื้นที่ (ตร.กม.)[60] ประชากรทั้งหมด ค.ศ. 2020[61] ประชากร
พื้นที่เมือง ค.ศ. 2020[61]
ที่ตั้งที่ทำการ รหัสไปรษณีย์ เขตการปกครองย่อย[62]
แขวง เมือง ตำบล
[n 1]
ชุมชน หมู่บ้าน
110000 นครปักกิ่ง 16406.16 21,893,095 19,166,433 เขตตงเฉิง / เขตทงโจว 100000 149 143 38 2538 3857
110101 ตงเฉิง 41.82 708,829 แขวงจิ่งชาน 100000 17     216  
110102 ซีเฉิง 50.33 1,106,214 แขวงจินหรงเจีย 100000 15     259  
110105 เฉาหยาง 454.78 3,452,460 แขวงเฉาไว่ 100000 24   19 358 5
110106 เฟิงไถ 305.53 2,019,764 2,003,652 แขวงเฟิงไถ 100000 16 2 3 254 73
110107 ฉือจิ่งชาน 84.38 567,851 แขวงหลูกู่ 100000 9     130  
110108 ไห่เตี้ยน 430.77 3,133,469 3,058,731 แขวงไห่เตี้ยน 100000 22 7   603 84
110109 เหมินโถวโกว 1447.85 392,606 358,945 แขวงต้ายฺวี่ 102300 4 9   124 179
110111 ฝางชาน 1994.73 1,312,778 1,025,320 แขวงก่งเฉิน 102400 8 14 6 108 462
110112 ทงโจว 905.79 1,840,295 1,361,403 แขวงเป่ย์เยฺวี่ยน 101100 6 10 1 40 480
110113 ชุ่นอี้ 1019.51 1,324,044 875,261 แขวงเชิ่งลี่ 101300 6 19   61 449
110114 ชางผิง 1342.47 2,269,487 1,856,115 แขวงเฉิงเป่ย์ 102200 8 14   180 303
110115 ต้าซิง 1036.34 1,993,591 1,622,382 แขวงซิ่งเฟิง 102600 5 14   64 547
110116 หฺวายโหรว 2122.82 441,040 334,682 แขวงหลงชาน 101400 2 12 2 27 286
110117 ผิงกู่ 948.24 457,313 278,501 แขวงปินเหอ 101200 2 14 2 23 275
110118 มี่ยฺหวิน 2225.92 527,683 350,398 แขวงกู่โหลว 101500 2 17 1 57 338
110119 หยานชิ่ง 1994.89 345,671 205,689 แขวงหรูหลิน 102100 3 11 4 34 376
  1. รวมถึงตำบลชาติพันธุ์และเขตการปกครองประเภทอื่นที่อยู่ในระดับตำบล

ประชากรศาสตร์

[แก้]
ประวัติจำนวนประชากร
ปีประชากร±% p.a.
19532,768,149—    
19647,568,495+9.57%
19829,230,687+1.11%
199010,819,407+2.00%
200013,569,194+2.29%
201019,612,368+3.75%
2020[63]21,893,095+1.11%
ขนาดประชากรอาจได้รับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงเขตการปกครอง

ใน ค.ศ. 2021 ปักกิ่งมีประชากรในเขตนครทั้งหมด 21.89 ล้านคน โดยอาศัยอยู่ในเขตในเมืองหรือเขตชานเมือง 19.16 ล้านคน (ร้อยละ 87.5) และอาศัยอยู่ในเขตชนบท 2.73 ล้านคน (ร้อยละ 12.5)[64] OECD (องค์การเพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนา) ประเมินว่าใน ค.ศ. 2010 เขตมหานครที่ครอบคลุมทั้งปักกิ่งและปริมณฑลมีจำนวนประชากร 24.9 ล้านคน[65][66]

ภายในประเทศจีน ปักกิ่งมีจำนวนประชากรเฉพาะพื้นที่เมืองมากเป็นอันดับที่สองรองจากเซี่ยงไฮ้ และมีจำนวนประชากรทั้งหมดในเขตนครมากเป็นอันดับที่สามรองจากเซี่ยงไฮ้และฉงชิ่ง ปักกิ่งยังติดอันดับเมืองที่มีประชากรมากที่สุดในโลก ซึ่งถือเป็นเมืองที่โดดเด่นตลอด 800 ปีที่ผ่านมา โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงศตวรรษที่ 15 ถึงต้นศตวรรษที่ 19

ใน ค.ศ. 2013 ผู้อยู่อาศัยในเมืองประมาณ 13 ล้านคนได้รับใบอนุญาตในท้องถิ่นที่เรียกว่า ฮู่โข่ว ซึ่งให้สิทธิแก่พลเมืองในการพำนักในปักกิ่งอย่างถาวร[67] ผู้อยู่อาศัยที่เหลืออีก 8 ล้านคนได้รับใบอนุญาตฮู่โข่วในท้องที่อื่น ซึ่งจะไม่มีสิทธิได้รับผลประโยชน์ทางสังคมบางอย่างที่ทางการนครปักกิ่งมอบให้[67]

ประชากรใน ค.ศ. 2013 ได้เพิ่มขึ้นจำนวน 455,000 คนหรือประมาณร้อยละ 7 จากปีก่อนหน้า และยังคงมีแนวโน้มที่จะเติบโตอย่างรวดเร็วต่อเนื่อง[67] การเพิ่มขึ้นของประชากรเป็นผลมาจากการย้ายถิ่นเป็นส่วนใหญ่ อัตราการเพิ่มตามธรรมชาติของประชากรใน ค.ศ. 2013 อยู่ที่เพียงร้อยละ 0.441 โดยอิงจากอัตราเกิดที่ 8.93 และอัตราตายที่ 4.52[67] อัตราส่วนเพศแบ่งเป็นชายร้อยละ 51.6 และหญิงร้อยละ 48.4[67]

การขนส่ง

[แก้]
รถไฟใต้ดินปักกิ่ง

กรุงปักกิ่ง มีการจัดการขนส่งมวลชน เช่น รถไฟใต้ดินปักกิ่ง เริ่มก่อสร้างทางรถไฟใต้ดินเมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม ค.ศ. 1965 แล้วเสร็จเมื่อวันที่ 1 ตุลาคม ค.ศ. 1969 และเปิดบริการครั้งแรกเมื่อวันที่ 15 มกราคม ค.ศ. 1971 โดยมีสถานีรถไฟทั้งหมด 370 แห่งและมีระยะทางทั้งหมด 608 กิโลเมตร (ข้อมูลจนถึงวันที่ 31 ธันวาคม ค.ศ.2017 )

การศึกษา

[แก้]

ปักกิ่ง ถือว่าเป็นศูนย์กลางการศึกษาของประเทศจีน โดยมีสถาบันการศึกษาชั้นนำกว่า 70 แห่ง และสถาบันวิจัยทางวิทยาศาสตร์กว่า 4,000 แห่ง[68]

ห้องแสดงภาพ

[แก้]

หมายเหตุ

[แก้]
  1. ยืมจากภาษาฝรั่งเศส "Pékin"
  2. เมื่อชาวยุโรปเข้ามาติดต่อกับจีนอย่างต่อเนื่องเป็นครั้งแรก "Pekin" และ "Peking" เป็นวิธีการถอดเป็นอักษรโรมันที่นิยมใช้มากที่สุด[34][35]

อ้างอิง

[แก้]
  1. "Doing Business in China – Survey". Ministry of Commerce of the People's Republic of China. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 26 May 2014. สืบค้นเมื่อ 5 August 2013.
  2. "Communiqué of the Seventh National Population Census (No. 3)". National Bureau of Statistics of China. 11 May 2021. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 11 May 2021. สืบค้นเมื่อ 11 May 2021.
  3. "政府工作报告-2022年1月6日在北京市第十五届人民代表大会第五次会议上-政府工作报告解读-北京市发展和改革委员会". เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 23 January 2022. สืบค้นเมื่อ 23 January 2022.
  4. 4.0 4.1 "CN¥6.3527 per dollar (according to International Monetary Fund on January 2022 publication)". IMF. สืบค้นเมื่อ 20 January 2022.
  5. "World Economic Outlook (WEO) database". International Monetary Fund. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 26 November 2020. สืบค้นเมื่อ 2 April 2022.
  6. "CN¥4.173 per Int'l. dollar (according to International Monetary Fund in October 2021 publication)". IMF. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 26 November 2020. สืบค้นเมื่อ 20 January 2022.
  7. "Subnational Human Development Index". Global Data Lab China. 2020. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 23 September 2018. สืบค้นเมื่อ 9 April 2020.
  8. "中经数据". wap.ceidata.cei.cn. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 13 March 2024. สืบค้นเมื่อ 13 March 2024.
  9. "China: Provinces and Major Cities – Population Statistics, Maps, Charts, Weather and Web Information". City Population. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 11 February 2019. สืบค้นเมื่อ 15 August 2023.
  10. Figures based on 2006 statistics published in 2007 National Statistical Yearbook of China and available online at 2006年中国乡村人口数 中国人口与发展研究中心 (archive). Retrieved 21 April 2009.
  11. "Knight Frank: City Wealth Index". en.ac-mos.ru.
  12. Team, MorTraveling: Budget Travel,Tips and Destination Insights. "The Asian Cities You Should Spend Some Time In". MorTraveling: Budget Travel,Tips and Destination Insights (ภาษาอังกฤษ).
  13. "Peking (Beijing)". Encyclopædia Britannica. Vol. 25 (Macropædia, 15th ed.). p. 468.
  14. "Top Ten Cities Through History". www.thingsmadethinkable.com.
  15. "Top 100 Banks in the World". www.relbanks.com.
  16. "Inside China's mega-airport". BBC News (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). สืบค้นเมื่อ 2024-10-23.
  17. Taylor, Alan. "Photos: The World's Largest Airport-Terminal Building - The Atlantic". www.theatlantic.com (ภาษาอังกฤษ).
  18. "World University Rankings 2024: China creeps closer to top 10". Times Higher Education (THE) (ภาษาอังกฤษ). 2023-09-27.
  19. "ShanghaiRanking's Academic Ranking of World Universities". www.shanghairanking.com.
  20. "World University Rankings". Times Higher Education (THE) (ภาษาอังกฤษ). 2023-09-25.
  21. "Emerging Economies". Times Higher Education (THE) (ภาษาอังกฤษ). 2020-01-22.
  22. "University Results | Rankings". research.unsw.edu.au.
  23. jknotts (2020-09-25). "Beijing Defends its Title as World's Top City for Scientific Research". www.thebeijinger.com (ภาษาอังกฤษ).
  24. News, Focus on Travel (2018-10-22). "WTTC reveals the world's best performing tourism cities - Focus on Travel News" (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). {{cite web}}: |last= มีชื่อเรียกทั่วไป (help)
  25. "Beijing MICHELIN Restaurants - The MICHELIN Guide China Mainland". MICHELIN Guide (ภาษาอังกฤษ).
  26. Hucker, Charles O. (1958). "Governmental Organization of the Ming Dynasty". Harvard Journal of Asiatic Studies. 21: 1–66. doi:10.2307/2718619. ISSN 0073-0548. JSTOR 2718619.
  27. Martini, Martino, De bello Tartarico historia, 1654.
    • Martini, Martino (1655), Novus Atlas Sinensis, "Prima Provencia Peking Sive Pecheli", p. 17.
  28. Standardization Administration of China (SAC). "GB/T-2260: Codes for the administrative divisions of the People's Republic of China" (Microsoft Word). เก็บถาวร 5 มีนาคม 2004 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน.
  29. "The Peking Man World Heritage Site at Zhoukoudian". เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 9 March 2013. สืบค้นเมื่อ 7 April 2008.
  30. "Beijing's History". China Internet Information Center. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 1 May 2008. สืบค้นเมื่อ 1 May 2008.
  31. Haw, Stephen. Beijing: A Concise History. Routledge, 2007. p. 136.
  32. "Beijing – History – The Ming and Qing Dynasties". Britannica Online Encyclopedia. 2008. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 12 May 2008. สืบค้นเมื่อ 16 June 2008.
  33. Elliott 2001, p. 98
  34. Anville, Jean Baptiste Bourguignon, Atlas général de la Chine, de la Tartarie chinoise, et du Tibet : pour servir aux différentes descriptions et histoires de cet empire เก็บถาวร 31 มีนาคม 2024 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน (1790). This is an expanded edition of an atlas first published in 1737.
  35. Lane Harris, "A 'Lasting Boon to All': A Note on the Postal Romanization of Place Names, 1896–1949 เก็บถาวร 2015-10-05 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน". Twentieth Century China 34.1 (2008): 99.
  36. Li, Dray-Novey & Kong 2007, pp. 119–120
  37. Preston, p. 310–311
  38. Preston, pp. 312–315
  39. Li, Dray-Novey & Kong 2007, pp. 133–134
  40. 40.0 40.1 "Beijing". The Columbia Encyclopedia (6th ed.). 2008. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 12 February 2010. สืบค้นเมื่อ 22 July 2009.
  41. MacKerras & Yorke 1991, p. 8
  42. "Incident on 7 July 1937". Xinhua News Agency. 27 June 2005. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 16 December 2008. สืบค้นเมื่อ 20 June 2008.
  43. Li, Dray-Novey & Kong 2007, p. 166
  44. Cheung, Andrew (1995). "Slogans, Symbols, and Legitimacy: The Case of Wang Jingwei's Nanjing Regime". Indiana University. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 23 October 2007. สืบค้นเมื่อ 20 June 2008.
  45. Li, Dray-Novey & Kong 2007, p. 168
  46. 毛主席八次接见红卫兵的组织工作. 中国共产党新闻网 (ภาษาจีน). 7 April 2011. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 6 July 2017. สืบค้นเมื่อ 27 December 2011.
  47. Li, Dray-Novey & Kong 2007, p. 217
  48. Li, Dray-Novey & Kong 2007, p. 255
  49. Li, Dray-Novey & Kong 2007, p. 252
  50. Li, Dray-Novey & Kong 2007, p. 149
  51. Li, Dray-Novey & Kong 2007, pp. 249–250
  52. Li, Dray-Novey & Kong 2007, pp. 255–256
  53. Picture Power:Tiananmen Standoff เก็บถาวร 17 กุมภาพันธ์ 2009 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน BBC News.
  54. "IOC: Beijing To Host 2022 Winter Olympics". The Huffington Post. Associated Press. 31 July 2015. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 10 August 2015. สืบค้นเมื่อ 11 August 2015.
  55. 55.0 55.1 Hu, Richard (2023). Reinventing the Chinese City. New York: Columbia University Press. ISBN 978-0-231-21101-7.
  56. "中国地面国际交换站气候标准值月值数据集(1971-2000年)" (ภาษาจีน). China Meteorological Administration. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-10-16. สืบค้นเมื่อ 2010-05-04.
  57. "Extreme Temperatures Around the World". สืบค้นเมื่อ 2013-02-21.
  58. "Beijing – Administration and society – Government". Britannica Online Encyclopedia. 2008. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 9 June 2008. สืบค้นเมื่อ 16 June 2008.
  59. 国家统计局统计用区划代码. National Bureau of Statistics of the People's Republic of China. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 5 April 2013. สืบค้นเมื่อ 24 November 2015.
  60. 2017年度北京市土地利用现状汇总表. ghgtw.beijing.gov.cn. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 13 January 2019. สืบค้นเมื่อ 13 January 2019.
  61. 61.0 61.1 国务院人口普查办公室、国家统计局人口和社会科技统计司编 (2022). 中国2020年人口普查分县资料. Beijing: China Statistics Print. ISBN 978-7-5037-9772-9.
  62. 《中国民政统计年鉴2012》
  63. "北京统计年鉴2022". nj.tjj.beijing.gov.cn. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 27 June 2023. สืบค้นเมื่อ 15 August 2023.
  64. "National Data". National Bureau of Statistics of China. 1 March 2022. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 9 January 2020. สืบค้นเมื่อ 23 March 2022.
  65. Justina, Crabtree (20 September 2016). "A tale of megacities: China's largest metropolises". CNBC. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 9 December 2017. สืบค้นเมื่อ 8 December 2017. slide 4
  66. OECD Urban Policy Reviews: China 2015, OECD READ edition (ภาษาอังกฤษ). OECD. 2015. p. 37. doi:10.1787/9789264230040-en. ISBN 978-92-64-23003-3. ISSN 2306-9341. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 27 March 2017. สืบค้นเมื่อ 8 December 2017.Linked from the OECD here เก็บถาวร 9 ธันวาคม 2017 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  67. 67.0 67.1 67.2 67.3 67.4 NBS Beijing investigatory team (国家统计局北京调查总队) (13 February 2014). 北京市2013年国民经济和社会发展统计公报 (ภาษาChinese (China)). Beijing Bureau of Statistics. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 10 March 2014.
  68. อักษรศรี (อติสุธาโภชน์) พานิชสาส์น ,เศรษฐกิจจีน หน้า 291

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]