ข้ามไปเนื้อหา

จู เต๋อ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก จูเต๋อ)
จู เต๋อ
朱德
จอมพล จู เต๋อ ใน ค.ศ. 1955
ประธานคณะกรรมาธิการสามัญประจำสภาประชาชนแห่งชาติ คนที่ 2
ดำรงตำแหน่ง
28 เมษายน ค.ศ. 1959 – 6 กรกฎาคม ค.ศ. 1976
ประธานาธิบดีหลิว เช่าฉี
ไม่มี (ตำแหน่งถูกยกเลิกในปี 1975)
ก่อนหน้าหลิว เช่าฉี
ถัดไปซ่ง ชิ่งหลิง (รักษาการ)
รองประธานสาธารณรัฐประชาชนจีน คนที่ 1
ดำรงตำแหน่ง
27 กันยายน ค.ศ. 1954 – 27 เมษายน ค.ศ. 1959
ประธานเหมา เจ๋อตง
ถัดไปซ่ง ชิ่งหลิง และต่ง ปี้อู่
รองประธานพรรคคอมมิวนิสต์จีน
ดำรงตำแหน่ง
28 กันยายน ค.ศ. 1956 – 1 สิงหาคม ค.ศ. 1966
ประธานเหมา เจ๋อตง
เลขาธิการคณะกรรมการสอบวินัยส่วนกลาง
ดำรงตำแหน่ง
9 กันยายน ค.ศ. 1949 – 31 มีนาคม ค.ศ. 1955
ก่อนหน้าหลี่ เหวย์ฮั่น
ถัดไปต่ง ปี้อู่
ผู้บัญชาการทหารสูงสุดกองทัพปลดปล่อยประชาชน
ดำรงตำแหน่ง
28 กันยายน ค.ศ. 1946 – 27 กันยายน ค.ศ. 1954
ก่อนหน้าสถาปนาตำแหน่ง
ถัดไปยกเลิกตำแหน่ง
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด1 ธันวาคม ค.ศ. 1886(1886-12-01)
อำเภออี๋หล่ง เสฉวน จักรวรรดิชิง
เสียชีวิต6 กรกฎาคม ค.ศ. 1976(1976-07-06) (89 ปี)
ปักกิ่ง สาธารณรัฐประชาชนจีน
พรรคการเมืองพรรคคอมมิวนิสต์จีน (1925–1976)
คู่สมรส
  • เซียว จฺวี๋ฟาง (สมรส 1912; เสียชีวิต 1916)
  • เฉิน ยฺวี่เจิน (สมรส 1916; เสียชีวิต 1935)
  • อู่ รั่วหลาน (สมรส 1928; เสียชีวิต 1929)
  • คัง เค่อชิง (สมรส 1929)
บุตร
ศิษย์เก่าโรงเรียนการทหารยูนนาน
ชื่อเล่น
  • "หัวหน้าเก่าจู"
  • "บิดาแห่งกองทัพแดง"
ยศที่ได้รับการแต่งตั้ง
รับใช้
สังกัด
ประจำการ1927–1976
ยศ
ผ่านศึก
ชื่อภาษาจีน
ภาษาจีน
ชื่อรอง: Yujie
อักษรจีนตัวย่อ朱玉阶
อักษรจีนตัวเต็ม朱玉階

จู เต๋อ หรือ จู เต้ (จีน: 朱德; พินอิน: Zhū Dé; เวด-ไจลส์: Chu Teh; 1 ธันวาคม ค.ศ. 1886 – 6 กรกฎาคม ค.ศ. 1976) เป็นนายพล นักยุทธศาสตร์การทหาร นักการเมือง และนักปฏิวัติชาวจีนในพรรคคอมมิวนิสต์จีน

จูเกิดในครอบครัวยากจนเมื่อ ค.ศ. 1886 ในเสฉวน เขาถูกรับเลี้ยงโดยลุงผู้ร่ำรวยเมื่ออายุได้ 9 ปีและได้รับการศึกษาขั้นสูงในช่วงปฐมวัยที่นำไปสู่การเข้าศึกษาในโรงเรียนการทหาร หลังเรียนจบ เขาเข้าร่วมกองทัพกบฏและกลายเป็นขุนศึก หลังจากนั้นเขาได้เข้าร่วมพรรคคอมมิวนิสต์จีน เขาเป็นผู้บังคับบัญชากองทัพลู่ที่แปดในช่วงสงครามจีน–ญี่ปุ่นครั้งที่สองและสงครามกลางเมืองจีน เมื่อสิ้นสุดสงครามกลางเมือง เขายังเป็นเจ้าหน้าที่พรรคระดับสูงอีกด้วย

จูถือเป็นผู้ก่อตั้งคนหนึ่งของสาธารณรัฐประชาชนจีน และเป็นบุคคลทางการเมืองที่มีชื่อเสียงกระทั่งเสียชีวิตใน ค.ศ. 1976 ใน ค.ศ. 1955 เขาได้รับยศเป็น 1 ใน 10 จอมพล เขาเป็นประธานคณะกรรมธิการสามัญประจำสภาประชาชนแห่งชาติตั้งแต่ ค.ศ. 1959 ถึง 1976

ประวัติ

[แก้]

ชีวิตช่วงต้น

[แก้]

จูเกิดเมื่อวันที่ 1 ธันวาคม ค.ศ. 1886 ในครอบครัวผู้เช่าไร่นาที่ยากจนในเมืองหุ่ง ในอำเภออี๋หล่ง จังหวัดหนานชง พื้นที่เนินเขาที่อยู่ห่างไกลทางตอนเหนือของมณฑลเสฉวน[1] จากลูก ๆ 15 คนที่เกิดในครอบครัวมีเพียง 8 คนเท่านั้นที่รอดชีวิต ครอบครัวของเขาย้ายไปยังเสฉวนระหว่างการอพยพจากมณฑลหูหนานและมณฑลกวางตุ้ง[2][3] บ่อยครั้งที่กล่าวกันว่าเขาสืบเชื้อสายจากชาวแคะ แต่ในชีวประวัติที่เขียนโดยแอกเนส สเมดลีย์ กล่าวว่าบรรพบุรุษของเขามาจากกวางตุ้งและพูดถึงชาวแคะเพียงแค่ว่าเป็นผู้ร่วมงานของเขา[4] เธอยังเล่าอีกว่ารุ่นปู่ย่าตายายของเขาเคยพูดภาษา "กวางตุ้ง" (ซึ่งใกล้เคียงแต่อาจต่างจากภาษากวางตุ้งมาตรฐานในปัจจุบัน) และรุ่นของเขาพูดภาษาเสฉวน ภาษาถิ่นที่มาจากกลุ่มภาษาจีนกลางตะวันตกเฉียงใต้ที่ผู้พูดภาษาจีนมาตรฐานคนอื่น ๆ ไม่สามารถเข้าใจได้ [5]

แม้ครอบครัวของเขาจะมีฐานะยากจน แต่ด้วยการรวมทรัพย์สินที่มีอยู่ ทำให้จูได้รับเลือกให้ส่งไปเรียนที่โรงเรียนเอกชนระดับภูมิภาคใน ค.ศ. 1892 เมื่ออายุได้ 9 ปี เขาได้รับการรับเลี้ยงโดยลุงผู้มีฐานะมั่งคั่ง ซึ่งอิทธิพลทางการเมืองของลุงทำให้เขาสามารถเข้าเรียนที่โรงเรียนการทหารยูนนานได้[6] เขาเข้าเรียนที่โรงเรียนมัธยมเสฉวนราว ค.ศ. 1907 และสำเร็จการศึกษาใน ค.ศ. 1908 ต่อมาเขากลับไปที่โรงเรียนประถมของอี๋หล่งในฐานะครูสอนพละ ในฐานะผู้สนับสนุนวิทยาศาสตร์สมัยใหม่และการสอนการเมืองมากกว่าการศึกษาแบบเคร่งครัดตามแบบฉบับดั้งเดิมที่โรงเรียนจัดให้ เขาถูกไล่ออกจากตำแหน่ง[3] และเข้าเรียนที่โรงเรียนการทหารยูนนานในคุนหมิง[7]: 151  ที่นั่นเขาเข้าร่วมกองทัพเป่ย์หยางและสมาคมการเมืองลับถงเหมิงฮุ่ย (ต้นแบบของก๊กมินตั๋ง)[8]

ชาตินิยมและลัทธิขุนศึก

[แก้]
จู เต๋อใน ค.ศ. 1916

ที่โรงเรียนการทหารยูนนานในคุนหมิง เขาพบกับไช่ เอ้อเป็นครั้งแรก[9] เขาสอนหนังสือที่นั่นหลังสำเร็จการศึกษาในเดือนกรกฎาคม ค.ศ. 1911[10] หลังการปฏิวัติจีน เขาเข้าร่วมกับพลจัตวาไช่ เอ้อในกองกำลังรบนอกประเทศในเดือนตุลาคม ค.ศ. 1911 ที่เดินทัพโจมตีกองกำลังราชวงศ์ชิงในเสฉวน เขาทำหน้าที่เป็นผู้บัญชาการกรมทหารในการทัพโค่นยฺเหวียน ชื่อไข่ในช่วง ค.ศ. 1915–16 เมื่อไช่ได้รับแต่งตั้งให้เป็นผู้ว่าการเสฉวนหลังจากยฺเหวียนเสียชีวิตในเดือนมิถุนายน ค.ศ. 1916 จูก็ได้รับแต่งตั้งเป็นผู้บัญชาการกองพลน้อย[11]

หลังการเสียชีวิตของไช่ เอ้อ อาจารย์ของเขา และเซียว จฺวี๋ฟาง ภรรยาคนแรกใน ค.ศ. 1916 จูก็เริ่มติดฝิ่นอย่างหนักซึ่งเป็นปัญหารบกวนเขาหลายปีกระทั่งใน ค.ศ. 1922 เขาเข้ารับการบำบัดในเซี่ยงไฮ้[12] กองทหารของเขายังคงสนับสนุนเขา และด้วยเหตุนี้เขาจึงรวบรวมกำลังทหารของตนจนกลายเป็นขุนศึก ใน ค.ศ. 1920 หลังกองทหารของเขาถูกขับไล่จากเสฉวนไปยังชายแดนทิเบต เขากลับมายังยูนนานในฐานะกรรมาธิการความมั่นคงมหาชนของรัฐบาลมณฑล ในช่วงเวลานี้เขาตัดสินใจออกจากจีนเพื่อไปเรียนที่ยุโรป[13] เขาเดินทางไปเซี่ยงไฮ้เป็นครั้งแรก ที่ซึ่งเขาเลิกเสพฝิ่น และพบปะกับซุน ยัตเซ็น ตามคำบอกเล่าของนักประวัติศาสตร์ก๊กมินตั๋ง เขาพยายามเข้าร่วมพรรคคอมมิวนิสต์จีนในช่วงต้นปี ค.ศ. 1922 แต่ถูกปฏิเสธเนื่องจากเป็นขุนศึก[14]

การเปลี่ยนไปเป็นคอมมิวนิสต์ 

[แก้]
จูในเบอร์ลิน (ค.ศ. 1922)

ในช่วงปลายปี ค.ศ. 1922 จูเดินทางไปเบอร์ลินพร้อมกับเหอ จื้อหฺวา คู่หูของเขา เขาอาศัยอยู่ในเยอรมนีจนถึง ค.ศ. 1925 และศึกษาที่มหาวิทยาลัยเกิททิงเงินอยู่ช่วงหนึ่ง[15] ที่นี่เขาพบกับโจว เอินไหลและถูกไล่ออกจากเยอรมนีเพราะมีส่วนร่วมในการประท้วงนักศึกษาหลายครั้ง[16] ในช่วงเวลานี้ เขาเข้าร่วมพรรคคอมมิวนิสต์จีน โดยมีโจว เอินไหลเป็นหนึ่งในผู้สนับสนุนของเขา (การมีผู้สนับสนุนถือเป็นเงื่อนไขในการเป็นสมาชิกทดลองงาน ซึ่งเป็นขั้นตอนก่อนจะเป็นสมาชิกจริง)[17] ในเดือนกรกฎาคม ค.ศ. 1925 หลังถูกขับไล่ออกจากเยอรมนี เขาเดินทางไปยังสหภาพโซเวียตเพื่อศึกษาเรื่องการทหารและลัทธิมากซ์ที่มหาวิทยาลัยคอมมิวนิสต์แห่งกรรมกรตะวันออก ขณะอยู่ในมอสโก เหอ จื้อหฺวาได้ให้กำเนิดลูกสาวคนเดียวของเขาชื่อจู หมิ่น จูเดินทางกลับจีนในเดือนกรกฎาคม ค.ศ. 1926 เพื่อโน้มน้าวขุนศึกหยาง เซินแห่งเสฉวนให้สนับสนุนการกรีธาทัพขึ้นเหนือ แต่ไม่สำเร็จ[15]

ใน ค.ศ. 1927 หลังแนวร่วมที่หนึ่งล่มสลาย ทางการก๊กมินตั๋งสั่งให้จูเป็นหัวหน้ากองกำลังต่อต้านการก่อการกำเริบหนานชางของโจว เอินไหลและหลิว ปั๋วเฉิง[15] หลังช่วยวางแผนการก่อการกำเริบแล้ว จูและกองทัพของเขาจึงตัดสินใจออกจากก๊กมินตั๋ง[18] อย่างไรก็ตาม การก่อการกำเริบไม่สามารถรวบรวมการสนับสนุนได้ และจูถูกบังคับให้หนีออกจากหนานชางพร้อมกับกองทัพของเขา ภายใต้ชื่อปลอมของหวัง ไข่ จูสามารถหาที่พักพิงให้กองกำลังที่เหลือของเขาได้โดยการเข้าร่วมกับขุนศึก ฟาน ฉือเชิง[19]

จูเหมา

[แก้]
จู (ที่สองจากขวา) ถ่ายภาพร่วมกับเหมา เจ๋อตง, โจว เอินไหล (ที่สองจากซ้าย) และปั๋ว กู่ (ซ้าย) ใน ค.ศ. 1937

ความสัมพันธ์อันใกล้ชิดระหว่างจูกับเหมา เจ๋อตงเริ่มต้นขึ้นใน ค.ศ. 1928 เมื่อจูแปรพักตร์จากการปกป้องของฟ่าน ฉือเชิงด้วยความช่วยเหลือของเฉิน อี้และหลิน เปียว และยกกองทัพจำนวน 10,000 นายไปยังเจียงซีและเทือกเขาจิ่งกัง[20] ที่นี่ เหมาได้ก่อตั้งโซเวียตขึ้นใน ค.ศ. 1927 และจูเริ่มสร้างกองทัพของเขาขึ้นเป็นกองทัพแดง รวบรวมและขยายพื้นที่ควบคุมของโซเวียต[21] การประชุมซึ่งเกิดขึ้นบนสะพานหลงเจียงในวันที่ 28 เมษายน ค.ศ. 1928 ได้รับการสนับสนุนจากเหมา เจ๋อถาน น้องชายของเหมาที่รับใช้ภายใต้การนำของจู[22] เขานำจดหมายไปหาเหมา เจ๋อตง พี่ชายของเขา โดยจูกล่าวว่า "พวกเราต้องรวมพลังกันและดำเนินนโยบายการทหารและเกษตรกรรมที่กำหนดไว้อย่างชัดเจน"[22] การพัฒนาครั้งนี้กลายเป็นจุดเปลี่ยน เมื่อกองกำลังรวมตัวจัดตั้งเป็น "กองทัพแดงที่สี่" โดยมีจูเป็นผู้บัญชาการทหารและเหมาเป็นผู้แทนของพรรค[23]

ความเป็นผู้นำของจูทำให้เขาเป็นบุคคลที่มีเกียรติอย่างยิ่ง ชาวบ้านยังยกย่องเขาว่ามีความสามารถเหนือธรรมชาติอีกด้วย[24] ในช่วงเวลานี้ เหมาและจูมีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกันมากจนชาวบ้านในท้องถิ่นเรียกพวกเขาโดยรวมว่า "จูเหมา"[25][26] ใน ค.ศ. 1929 จูกับเหมาถูกบังคับให้หนีจากจิ่งกังชานไปยังรุ่ยจินภายหลังแรงกดดันทางทหารจากเจียง ไคเชก[27] ที่นี่พวกเขาก่อตั้งโซเวียตเจียงซีขึ้น[ต้องการอ้างอิง] ใน ค.ศ. 1931 จูได้รับการแต่งตั้งเป็นผู้นำกองทัพแดงในรุ่ยจินโดยผู้นำพรรคคอมมิวนิสต์จีน[28] เขาประสบความสำเร็จในการนำกองกำลังทหารแบบธรรมดาเข้าต่อสู้กับก๊กมินตั๋งในช่วงนำไปสู่การทัพต่อต้านการโอบล้อมครั้งที่สี่[29] อย่างไรก็ตาม เขาไม่สามารถทำได้เช่นเดียวกันในช่วงการทัพต่อต้านการโอบล้อมครั้งที่ห้าและพรรคคอมมิวนิสต์จีนจึงหลบหนีไป[30] จู ช่วยในการหลบหนีครั้งใหญ่ใน ค.ศ. 1934 อันเป็นจุดเริ่มต้นของการเดินทัพทางไกล[31]

ผู้นำกองทัพแดง

[แก้]

ระหว่างการเดินทัพทางไกล จูและโจว เอินไหลได้จัดการสู้รบบางอย่างร่วมกัน มีผลดีน้อยมากเนื่องจากอำนาจที่แท้จริงอยู่ในมือของปั๋ว กู่และอ็อทโท เบราน์ ในการประชุมจุนอี้ จูสนับสนุนการวิพากษ์วิจารณ์ปั๋วและเบราน์ของเหมา เจ๋อตง[32] หลังการประชุม จูร่วมมือกับเหมาและโจวในด้านกิจการทหาร ในเดือนกรกฎาคม ค.ศ. 1935 จูและหลิว ปั๋วเฉิงอยู่ร่วมกับกองทัพแดงที่สี่ ขณะที่เหมา เจ๋อตงและโจว เอินไหลอยู่ร่วมกับกองทัพแดงที่หนึ่ง[33] เมื่อมีการแยกเป็นสองฝ่าย จูถูกจาง กั๋วเทา ผู้นำกองทัพแดงที่สี่บังคับให้ไปทางใต้ [34] กองทัพแดงที่สี่เกือบเอาชีวิตไม่รอดจากการล่าถอยผ่านมณฑลเสฉวน เมื่อมาถึงเหยียนอาน จูได้ดูแลการฟื้นฟูกองทัพแดงภายใต้การชี้นำทางการเมืองของเหมา[35]

ในช่วงสงครามจีน–ญี่ปุ่นครั้งที่สองและสงครามกลางเมืองจีน เขาดำรงตำแหน่งผู้บัญชาการทหารสูงสุดของกองทัพแดง[36] และใน ค.ศ. 1940 จูร่วมกับเผิง เต๋อหวย ได้คิดและจัดระเบียบการรุกร้อยกรม ในช่วงแรก เหมาสนับสนุนการรุกครั้งนี้[37] ขณะที่การทัพประสบความสำเร็จ เหมาในได้ระบุในเวลาต่อมาว่าการทัพดังกล่าวเป็นสาเหตุหลักที่ทำให้เกิดนโยบาย Three Alls ของญี่ปุ่นที่เลวร้ายในเวลาต่อมา และใช้เรื่องนี้เพื่อวิพากษ์วิจารณ์เผิงที่การประชุมหลูชาน[38]

ชีวิตช่วงหลัง

[แก้]
จูและเผิง เต๋อหวย (ซ้าย) ในพิธีมอบยศจอมพลแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน

ใน ค.ศ. 1949 จูได้รับการแต่งตั้งให้เป็นผู้บัญชาการทหารสูงสุดของกองทัพปลดปล่อยประชาชน[39] ตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน ค.ศ. 1949 ถึงเดือนพฤษภาคม ค.ศ. 1950 เขาทำหน้าที่เป็นเลขาธิการคณะกรรมการสอบวินัยส่วนกลางคนที่ 1[40] จูยังเคยดำรงตำแหน่งรองประธานพรรคคอมมิวนิสต์ (1956–1966) และรองประธานสาธารณรัฐประชาชนจีน (1954‐1959) อีกด้วย[41] จูดูแลกองทัพปลดปล่อยประชาชนในช่วงสงครามเกาหลีภายใต้อำนาจของเขาในฐานะผู้บัญชาการทหารสูงสุด[ต้องการอ้างอิง] ใน ค.ศ. 1955 เขาได้รับบรรดาศักดิ์เป็นจอมพล[42] ในการประชุมหลูชาน เขาพยายามปกป้องเผิง เต๋อหวย ด้วยการวิพากษ์วิจารณ์เผิงเล็กน้อย แทนที่จะกล่าวประณามเขา เขากลับตำหนิสหายที่เป็นเป้าหมายของเหมาอย่างอ่อนโยน เหมาไม่พอใจกับพฤติกรรมของจู[43] หลังการประชุม จูถูกปลดจากตำแหน่งรองประธานคณะกรรมการการทหารส่วนกลาง ส่วนหนึ่งไม่ใช่เพราะความภักดีที่มีต่อเผิง[36]

ในเดือนเมษายน ค.ศ. 1969 ระหว่างการประชุมสุดยอดของการปฏิวัติทางวัฒนธรรม จูถูกปลดจากตำแหน่งในคณะกรรมาธิการสามัญประจำกรมการเมืองพรรคคอมมิวนิสต์จีน และกิจกรรมของสภาประชาชนแห่งชาติถูกระงับ[44] ในเดือนตุลาคม ค.ศ. 1969 หลิน เปียวได้ออกคำสั่งที่มีชื่อว่า "คำสั่งหมายเลขหนึ่ง" ที่อพยพบุคลากรทางทหารที่สำคัญไปยังพื้นที่ห่างไกลเนื่องจากความตึงเครียดระหว่างจีนกับสหภาพโซเวียต และจูก็ถูกนำตัวไปที่กวางตุ้ง[45][46] ใน ค.ศ. 1973 จูได้รับแต่งตั้งเป็นคณะกรรมาธิการสามัญกรมการเมืองอีกครั้ง[47]

เขาทำงานในฐานะนักการเมืองกระทั่งเสียชีวิตเมื่อวันที่ 6 กรกฎาคม ค.ศ. 1976[48] การเสียชีวิตของเขาเกิดขึ้นหกเดือนหลังการเสียชีวิตของโจว เอินไหล[49] และเพียงสองเดือนก่อนการถึงแก่อสัญกรรมของเหมา เจ๋อตง[50] จูถูกฌาปนกิจและได้รับการฝังศพในอีกไม่กี่วันต่อมา[51][52]

ชีวิตส่วนตัว

[แก้]

การแต่งงาน

[แก้]

จูแต่งงานสี่ครั้ง ตามชีวประวัติที่ยังเขียนไม่เสร็จของแอกเนส สเมดลีย์ อย่างไรก็ตาม ไม่มีหลักฐานว่าเขาแต่งงานกับแม่ของลูกสาวคนเดียวของเขา ความสัมพันธ์ที่ทราบของเขาได้แก่:

  • เซียน จฺวี๋ฟาง (จีน: 萧菊芳) เป็นเพื่อนร่วมชั้นเรียนของจูที่สถาบันครูคุนหมิง (昆明师范学院)[53] ทั้งคู่แต่งงานกันใน ค.ศ. 1912 เซียวเสียชีวิตด้วยอาการไข้ใน ค.ศ. 1916 หลังให้กำเนิดจู เป่า ลูกชายคนเดียวของจู[54][53]
  • เฉิน ยฺวี่เจิน (陈玉珍) หลังจากการเสียชีวิตของเซียว จฺวี๋ฟาง จูได้รับคำแนะนำให้หาแม่ให้กับลูกชายวัยทารกของเขา เขาได้รับการแนะนำให้รู้จักเฉินโดยเพื่อนในกองทัพ เฉินได้มีส่วนร่วมในกิจกรรมปฏิวัติใน ค.ศ. 1911 เช่นเดียวกับใน ค.ศ. 1916 มีรายงานว่าเฉินตั้งเงื่อนไขว่าเธอจะไม่แต่งงานเว้นแต่ว่าสามีในอนาคตของเธอจะขอเธอแต่งงานเป็นการส่วนตัว ซึ่งจูก็ทำเช่นนั้น ทั้งสองแต่งงานกันใน ค.ศ. 1916 เฉินดูแลบ้านแม้กระทั่งสร้างห้องทำงานเพื่อให้จูและเพื่อนนักวิชาการของเขาได้พบกัน โดยเธอจัดเตรียมเอกสาร แผ่นพับ หนังสือ และแถลงการณ์เกี่ยวกับการปฏิวัติเดือนตุลาคมของรัสเซียให้ ในฤดูใบไม้ผลิ ค.ศ. 1922 จูออกจากบ้านเพื่อไปเยี่ยมหยาง เซิน ขุนศึกแห่งเสฉวน[53] ตามชีวประวัติของแอกเนส สเมดลีย์ จูคิดว่าตนเองแยกทางกับเฉินแล้วหลังจากทิ้งเธอและรู้สึกอิสระที่จะแต่งงานอีกครั้ง แม้จะไม่มีการหย่าอย่างเป็นทางการก็ตาม เฉินถูกก๊กมินตั๋งสังหารใน ค.ศ. 1935[55]
  • เฮ่อ จื้อหฺวา (贺治华) เธอพบกับจูในเซี่ยงไฮ้และติดตามเขาไปเยอรมนีในปลายปี ค.ศ. 1922 เมื่อจูถูกเนรเทศออกจากเยอรมนีใน ค.ศ. 1925 เธอกำลังตั้งครรภ์และต่อมาได้ให้กำเนิดลูหในหมู่บ้านหนึ่งนอกเขตชานเมืองมอสโก จูตั้งชื่อลูกสาวว่าซื่อสฺวิน (四旬) แต่ความสัมพันธ์ระหว่างทั้งสองก็ลดลง และเฮ่อปฏิเสธทางเลือกของเขา โดยตั้งชื่อทารกว่าเฟย์เฟย์ (菲菲) แทน เฮ่อส่งลูกสาวของเธอไปอาศัยอยู่กับน้องสาวของเธอที่เฉิงตูไม่นานหลังจากคลอด จากนั้นเธอก็แต่งงานกับฮั่ว เจียซิน (霍家新) ในปีเดียวกัน เขากลับมาเซี่ยงไฮ้ใน ค.ศ. 1928 มีรายงานว่าเธอทรยศต่อก๊กมินตั๋งที่ต้องการตัวคอมมิวนิสต์ ก่อนถูกทหารกองทัพแดงยิงจนตาบอดและสามีของเธอเสียชีวิต หลังจากนั้นเธอเดินทางกลับมายังเสฉวนและเสียชีวิตด้วยโรคร้ายก่อน ค.ศ. 1949[ต้องการอ้างอิง]
  • อู่ รั่วหลาน (伍若兰) เป็นลูกสาวของปัญญาชนจากจิ๋วเหยี่ยนถาง (九眼塘) ในหูหนาน จูพบกับเธอหลังจากโจมตีเหล่ย์หยางด้วยกองทัพชาวนาและกรรมกร ทั้งสองแต่งงานกันใน ค.ศ. 1928[56] ในเดือนมกราคม ค.ศ. 1929 จูและอู่ถูกกองกำลังก๊กมินตั๋งล้อมรอบที่วัดแห่งหนึ่งในเทือกเขาจิ่งกัง จูหลบหนีไปได้ แต่อู่ถูกจับตัวไป เธอถูกประหารชีวิตโดยการตัดศีรษะและศีรษะของเธอถูกส่งไปที่ฉางชาเพื่อประจาน[57]
  • คัง เค่อชิง (康克清) จูแต่งงานกับคังใน ค.ศ. 1929 เมื่อเขาอายุ 43 ปี[57] เธอเป็นสมาชิกกองทัพแดงและเป็นผู้นำชาวนาด้วย คังเป็นคนขยันเรียนมากและจูก็สอนให้เธออ่านและเขียนก่อนที่พวกเขาจะแต่งงาน คังมีชีวิตอยู่นานกว่าเขา[58] ต่างจากผู้หญิงส่วนใหญ่ที่เข้าร่วมการเดินทัพทางไกล เธอไม่ได้เป็นส่วนหนึ่งของหน่วยโฆษณาชวนเชื่อที่เดินขบวนอยู่ด้านหลัง คังต่อสู้เคียงข้างสามีของเธอ โดยโดดเด่นทั้งในฐานะทหารรบ นักแม่นปืน และผู้นำหน่วย[59]

ลูก

[แก้]
  • จู เป่าจู้ (朱保柱) เกิด ในค.ศ. 1916 และต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็น จู ฉี (朱琦) เสียชีวิตจากอาการป่วยใน ค.ศ. 1974
  • จู หมิ่น (朱敏) เกิดที่มอสโกในเดือนเมษายน ค.ศ. 1926 เป็นลูกของเฮ่อ จื้อหฺวา (贺治华) จูเต๋อตั้งชื่อให้เธอว่าซื่อสฺวิน (四旬) แต่เธอปฏิเสธและเลือกชื่อเฟย์เฟย์ (菲菲) แทน เฮ่อ จื้อหฺวาส่งลูกสาวของเธอไปหาพี่สาวของเธอที่เฉิงตูไม่นานหลังจากเธอเกิด ซึ่งเธอใช้ชื่อว่าเฮ่อ เฟย์เฟย? (贺飞飞) เธอศึกษาต่อในระดับอุดมศึกษาที่มอสโกระหว่าง ค.ศ. 1949 ถึง 1953 ก่อนที่จะสอนหนังสือที่มหาวิทยาลัยครูปักกิ่ง เธอเสียชีวิตด้วยโรคภัยไข้เจ็บใน ค.ศ. 2009[60]

รางวัลและเกียรติยศ

[แก้]
 กัมพูชา
เครื่องอิสริยยศพระราชาณาจักรกัมพูชา (ชั้นมหาเสรีวัฒน์) (ค.ศ. 1964)[61]
 อินโดนีเซีย
เครื่องอิสริยาภรณ์ดาราแห่งสาธารณรัฐอินโดนีเซีย (ชั้นอธิประธานา) (ค.ศ. 1961)[62]

ผลงาน

[แก้]
  • จู เต๋อ (1986). สรรนิพนธ์ของจู เต๋อ (1st ed.). ปักกิ่ง: สำนักพิมพ์ภาษาต่างประเทศ. ISBN 0-8351-1573-9. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 25 กุมภาพันธ์ 2020. สืบค้นเมื่อ 7 พฤษภาคม 2020.

ดูเพิ่ม

[แก้]

หมายเหตุ

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. KleinClark (1971), p. 245.
  2. 朱德的祖籍家世. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 9 ตุลาคม 2014.
  3. 3.0 3.1 朱德《母亲的回忆》英译. 4 มิถุนายน 2010. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 26 ตุลาคม 2018. สืบค้นเมื่อ 1 ตุลาคม 2014.
  4. Smedley, The Great Road, p. 14 and 23.
  5. Smedley, The Great Road, p. 14
  6. Pantsov, Alexander V.; Levine, Steven I. (2 ตุลาคม 2012). Mao. Simon and Schuster. ISBN 9781451654493.
  7. Hammond, Ken (2023). China's Revolution and the Quest for a Socialist Future. New York, NY: 1804 Books. ISBN 9781736850084.
  8. "The Manchu Qing Dynasty (1644–1911), Internal Threats". Countries Quest. สืบค้นเมื่อ 26 กันยายน 2011. Tongmenghui
  9. Platt, Stephen R. (2007). Provincial Patriots. Harvard University Press. ISBN 9780674026650.
  10. "V26N2 - Personality Profile: Zhu De [Chu Teh]". mindef.gov.sg. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 25 กุมภาพันธ์ 2014. สืบค้นเมื่อ 20 กุมภาพันธ์ 2014.
  11. Shum Kui-kwong, Zhu-De (Chu Teh), University of Queensland Press (St. Lucia: 1982), p. 3-4.
  12. Wortzel, Larry M.; Wortzel, Larry; Higham, Robin (1999). Dictionary of Contemporary Chinese Military History. Bloomsbury Academic. ISBN 9780313293375.
  13. Zhu De and his Marriages
  14. Shum Kui-kwong, Zhu-De (Chu Teh), University of Queensland Press (St. Lucia: 1982), p. 4-5.
  15. 15.0 15.1 15.2 William W. Whitson, Huang Chen-hsia, The Chinese High Command: A History of Communist Military Politics, 1927–1971, Praeger Publishers: New York, 1973, p. 30f.
  16. Wortzel, Larry M.; Wortzel, Larry; Higham, Robin (1999). Dictionary of Contemporary Chinese Military History. Bloomsbury Academic. ISBN 9780313293375.
  17. 马玉佳. "The legacy of overseas study for China's early leaders: Zhu De". china.org.cn.
  18. "Zhu De". www.chinadaily.com.cn. สืบค้นเมื่อ 16 มิถุนายน 2021.
  19. "Zhu De". Spartacus Educational. สืบค้นเมื่อ 16 มิถุนายน 2021.
  20. Mao, Zedong (1992). Mao's Road to Power: From the Jinggangshan to the establishment of the ... M.E. Sharpe. ISBN 9781563244391.
  21. Daniel Morley (9 พฤศจิกายน 2012). "The Chinese Communist Party 1927–37 – The development of Maoism – Part Six". In Defence of Marxism.
  22. 22.0 22.1 Pantsov, Alexander; Levine, Steven (2013). Mao: The Real Story. New York: Simon and Schuster. p. 208. ISBN 9781451654479.
  23. Lawrance, Alan (2004). China Since 1919: Revolution and Reform : a Sourcebook. London: Routledge. p. 39. ISBN 0415251419.
  24. Zhu De Early History Profile
  25. Bianco, Lucien (1957). Origins of the Chinese Revolution, 1915–1949. Stanford Press. p. 64, note 10.
  26. http://chineseposters.net/themes/zhude.php Zhu De Biography
  27. "Ruijin Revolutionary Memorial". chinaculture.org. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 4 ธันวาคม 2005.
  28. Mao, Zedong; Schram, Stuart R. (1992). Mao's Road to Power – Revolutionary Writings, 1912–1949. M.E. Sharpe. ISBN 9781563244575.
  29. Wortzel, Larry M.; Higham, Robin (1999). Dictionary of Contemporary Chinese Military History. Bloomsbury Academic. ISBN 9780313293375.
  30. Short, Philip (กุมภาพันธ์ 2001). Mao. Macmillan. ISBN 9780805066388.
  31. "The Long March 1934 to 1935". historylearningsite.co.uk.
  32. Kampen, Thomas (2000). Mao Zedong, Zhou Enlai and the Evolution of the Chinese Communist Leadership. ISBN 9788787062763.
  33. Benton, Gregor (1999). New Fourth Army. ISBN 9780520219922.
  34. Battle of Baizhangguan Pass
  35. CCTV Eyewitnesses to history: Yan'an
  36. 36.0 36.1 "Zhu De". Encyclopædia Britannica.
  37. Song, Yuwu (10 มกราคม 2014). Biographical Dictionary of the People's Republic of China. ISBN 9781476602981.
  38. Zhang, Chunhou; Edwin Vaughan, C. (2002). Mao Zedong as Poet and Revolutionary Leader. ISBN 9780739104064.
  39. Gray, Bruce (2012). Distant Water. ISBN 9781936909353.
  40. "朱德:中央纪委第一任书记" [Zhu De: First Secretary of the Central Commission for Discipline Inspection]. People's Daily. 30 พฤศจิกายน 2016. สืบค้นเมื่อ 2 สิงหาคม 2024.
  41. Zhu De Concurrent Positions
  42. "Marshal of People's Liberation Army: Zhu De". China Daily.
  43. Wortzel, Larry M.; Wortzel, Larry; Higham, Robin (1999). Dictionary of Contemporary Chinese Military History. p. 201. ISBN 9780313293375.
  44. 共产党新闻网—资料中心—历次党代会. People's Daily.
  45. Angang, Hu (2017). Mao and the Cultural Revolution (Volume 2) (ภาษาอังกฤษ). Enrich Professional Publishing Limited. p. 189. ISBN 978-1-62320-154-8.
  46. Zweig, David (1989). Agrarian Radicalism in China, 1968-1981 (ภาษาอังกฤษ). Harvard University Press. ISBN 978-0-674-01175-5.
  47. 陈霞. "The Tenth National Congress (Aug. 1973)". China Internet Information Center.
  48. "Zhu De Death". China Daily.
  49. Keyser, Catherine H. "Three Chinese Leaders: Mao Zedong, Zhou Enlai, and Deng Xiaoping – Asia for Educators". Columbia University.
  50. "BBC ON THIS DAY – 9 – 1976: Chairman Mao Zedong dies". BBC News. 9 กันยายน 1976.
  51. Davies, Douglas J. (ตุลาคม 2010). Encyclopedia of Cremation. ISBN 9781409423171.
  52. http://politics.ntu.edu.tw/RAEC/comm2/InterviewItaly%20Sauro%20Angelini%20English.pdf Sauro Angelini Interview
  53. 53.0 53.1 53.2 Chang 常, Xuemei 雪梅, บ.ก. (14 กรกฎาคม 2006). 朱德与四位女性的感情经历 [The relationship experience of Zhu De with four women]. People's Daily. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 19 กรกฎาคม 2006. สืบค้นเมื่อ 22 มกราคม 2017.
  54. Smedley, The Great Road, p. 106
  55. Smedley, The Great Road, p. 122 and 314
  56. Smedley, The Great Road, p. 223-4
  57. 57.0 57.1 Chang 常, Xuemei 雪梅, บ.ก. (14 กรกฎาคม 2006). 朱德与四位女性的感情经历(2) [The relationship experience of Zhu De with four women, part 2]. People's Daily. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2 กุมภาพันธ์ 2017. สืบค้นเมื่อ 22 มกราคม 2017.
  58. Smedley, The Great Road, p. 272-3
  59. Ho, Alfred (2004). China's Reforms and Reformers. Westport, CT: Praeger. p. 15. ISBN 0275960803.
  60. "Late Chinese marshal Zhu De's daughter dies at 83". China Daily. 20 เมษายน 2009. สืบค้นเมื่อ 22 มกราคม 2017.
  61. "中柬两国联合公报在京签字". People's Daily (zhouenlai.info). 6 ตุลาคม 1964. สืบค้นเมื่อ 17 มกราคม 2023.
  62. "1961年6月15日人民日报 第1版". People's Daily (govopendata). 15 มิถุนายน 1961. สืบค้นเมื่อ 17 มกราคม 2023.

บรรณานุกรม

[แก้]
ภาษาอังกฤษ
  • Pozhilov, I. "Zhu De: The Early Days of a Commander". Far Eastern Affairs (1987), Issue 1, pp. 91–99. Covers Zhu from 1905 to 1925.
  • Boorman, Howard L. (1967). "Chu Teh". Biographical Dictionary of Republican China Volume I. New York: Columbia University Press. pp. 459–465. ISBN 0231089589.
  • Klein, Donald W.; Clark, Anne B. (1971). "Chu Te". Biographic Dictionary of Chinese Communism, 1921-1965. Cambridge, Mass.: Harvard University Press. pp. 245–254. ISBN 0674074106.
  • Agnes Smedley, The Great Road: The Life and Times of Chu Teh (Monthly Review Press, New York and London, 1956)
  • Nym Wales (Helen Foster Snow), Inside Red China (New York: Doubleday, Doran & Company, Inc., 1939)
  • William W. Whitson, The Chinese High Command: A History of Communist Military Politics, 1927–71 (New York: Praeger Publishers, 1973)
ภาษาจีน
  • Liu Xuemin, Hong jun zhi fu: Zhu De zhuan (Father of the Red Army: Biography of Zhu De) (Beijing: Jiefangjun Chubanshe, 2000)
  • Zhonggong zhongyang wenxian yanjiu shibian, Zhu De Zhuan (Biography of Zhu De) (Beijing: Zhongyang wenxian chubanshe, 2000)
  • Liu Xuemin, Wang Fa’an, and Xiao Sike, Zhu De Yuanshi (Marshal Zhu De) (Beijing: Jiefangjun wenshu chubanshe, 2006)
  • Zhu De guju jinianguan, Renmin de guangrong Zhu De (Glory of the People: Zhu De) (Chengdu: Sichuan renmin chubanshe, 2006).

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]
ก่อนหน้า จู เต๋อ ถัดไป
ตำแหน่งทางการเมือง
New title รองประธานาธิบดีสาธารณรัฐประชาชนจีน
ค.ศ. 1954–1959
สมัยต่อมา
ต่ง ปี้อู่ และซ่ง ชิ่งหลิง
ตำแหน่งทางทหาร
New title ผู้บัญชาการทหารสูงสุดกองทัพปลดปล่อยประชาชน
ค.ศ. 1949–1954
สมัยต่อมา
จอมพล เผิง เต๋อหวย
as รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม