ถนนพม่า
ถนนพม่า (Burma Road; ภาษาจีน: 滇缅公路) เป็นถนนที่เชื่อมระหว่างพม่ากับภาคตะวันตกเฉียงใต้ของจีน โดยเริ่มจากเมืองล่าเสี้ยวในพม่าไปจนถึงเมืองคุนหมิงในยูนนาน สร้างขึ้นเมื่อพม่าเป็นอาณานิคมของอังกฤษเพื่อส่งความช่วยเหลือให้จีนระหว่างสงครามจีน-ญี่ปุ่นครั้งที่ 2 การป้องกันการลำเลียงผ่านถนนสายนี้ทำให้ญี่ปุ่นต้องเข้าไปยึดครองพม่าใน พ.ศ. 2485 การใช้ถนนนี้ถูกฟื้นฟูโดยฝ่ายสัมพันธมิตรโดยการสร้างถนนเลโดใน พ.ศ. 2488 บางส่วนของถนนนี้ยังคงอยู่จนถึงปัจจุบัน[1]
ประวัติศาสตร์
[แก้]ถนนนี้มีความยาว 1,154 กิโลเมตร ทอดยาวไปตามเขตภูเขา ส่วนของถนนที่สร้างจากคุนหมิงไปยังชายแดนพม่าใช้แรงงานชาวจีนและชาวพม่าประมาณ 200,000 คนระหว่างสงครามจีน-ญี่ปุ่นครั้งที่ 2 ใน พ.ศ. 2480 และเสร็จสิ้นใน พ.ศ. 2481 ถนนนี้มีบทบาทสำคัญในสงครามโลกครั้งที่ 2 เมื่ออังกฤษใช้ถนนพม่าเป็นเส้นทางขนส่งยุทธปัจจัยไปยังจีน ก่อนที่ญี่ปุ่นจะรุกรานอาณานิคมของอังกฤษ ยุทธปัจจัยถูกนำขึ้นบกที่ย่างกุ้ง และขนส่งทางรถไฟไปยังเมืองลาชิโอ ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของถนนในพม่า หลังจากที่ญี่ปุ่นยึดพม่าได้ใน พ.ศ. 2485 ฝ่ายสัมพันธมิตรต้องส่งยุทธปัจจัยให้ฝ่ายจีนคณะชาติของนายพลเจียง ไคเช็กทางอากาศ โดยผ่านทางรัฐอัสสัม ประเทศอินเดีย ข้ามปลายด้านตะวันออกของเทือกเขาหิมาลัย
เป้าหมายของอังกฤษคือต้องกำจัดญี่ปุ่นออกจากพม่าเพื่อเปิดเส้นทางติดต่อทางภาคพื้นดินกับจีนอีกครั้ง ในที่สุด กองทัพผสมระหว่างอินเดีย อังกฤษ จีน และสหรัฐได้เข้ายึดรัฐอัสสัมของอินเดียและทางเหนือของพม่าได้ และเปิดเส้นทางการติดต่อใหม่เรียกถนนเลโด ที่เริ่มต้นจากเมืองเลโดในรัฐอัสสัม ผ่านมิตจีนา และเชื่อมต่อกับถนนพม่าเดิมที่วานติงเจิน ในยูนนาน รถบรรทุกคันแรกที่ใช้ถนนสายใหม่นี้ได้ไปถึงชายแดนจีนในวันที่ 28 มกราคม พ.ศ. 2488
อ้างอิง
[แก้]- ↑ "Burma Road". Wikivoyage.
ดูเพิ่ม
[แก้]- C. T. Chang: Burma Road, Malaysia Publications, Singapore 1964.
- Forbes, Andrew ; Henley, David (2011). China's Ancient Tea Horse Road. Chiang Mai: Cognoscenti Books. ASIN: B005DQV7Q2
- Jon Latimer: Burma:The Forgotten War. John Murray, London 2004, ISBN 0-7195-6576-6.
- Donovan Webster: The Burma Road: The Epic Story of the China-Burma-India Theater in World War II. Farrar Straus & Giroux, New York City, NY 2003, ISBN 0-374-11740-3.
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- Merrill's Marauders: Protecting The Burma Road
- Burma Road photos เก็บถาวร 2008-11-10 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- WW2 - Campaigns in Burma World War II Burma Road video
- WWII - Why We Fight - The Battle of China 1943 video 1
- WWII - Why We Fight - The Battle of China 1943 video 2
- Life-line to China Re-Opened, 1945/02/12 (1945) Universal Newsreel
- The Ghost Road Mark Jenkins, Outside (magazine), October 2003
- Blood, Sweat and Toil along the Burma Road เก็บถาวร 2008-01-06 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน Donovan Webster, National Geographic Magazine, November 2003
- China to Europe via a new Burma road เก็บถาวร 2009-08-22 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน David Fullbrook, Asia Times, September 23, 2004
- On the way to MandalayThe Sydney Morning Herald, August 16, 2008
- Los Angeles Times, "Burma's Stilwell Road: A backbreaking WWII project is revived", December 30, 2008.
- Transcribed copies of Joseph Warren Stilwell's World War II diaries เก็บถาวร 2014-06-03 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน are available on the Hoover Institution Archives website, with the original diaries among the Joseph Warren Stilwell papers at the Hoover Institution Archives.
- Transcribed copies of the World War II diaries of Ernest F. Easterbrook เก็บถาวร 2011-10-28 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, Stilwell's executive assistant in Burma (as of 1944) and son-in-law, are available on the Hoover Institution Archives website, with the original diaries among the Ernest Fred Easterbrook papers at the Hoover Institution Archives.
- For tours along the Burma Road. เก็บถาวร 2014-11-29 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน