ข้ามไปเนื้อหา

พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว

หน้าถูกกึ่งป้องกัน
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก รัชกาลที่ ๓)

พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว
พระมหาเจษฎาราชเจ้า
พระบรมสาทิสลักษณ์ประดิษฐาน ณ พระที่นั่งจักรีมหาปราสาท
พระเจ้ากรุงศรีอยุธยา[1]
ครองราชย์21 กรกฎาคม พ.ศ. 2367 - 2 เมษายน พ.ศ. 2394
(26 ปี 255 วัน)
ราชาภิเษก1 สิงหาคม พ.ศ. 2367
ก่อนหน้าพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย
ถัดไปพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
พระมหาอุปราชสมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาศักดิพลเสพ
ผู้สำเร็จราชการเจ้าพระยาพระคลัง
สมุหนายก
สมุหพระกลาโหม
พระราชสมภพ31 มีนาคม พ.ศ. 2331
พระราชวังเดิม เมืองธนบุรี อาณาจักรรัตนโกสินทร์
สวรรคต2 เมษายน พ.ศ. 2394 (63 พรรษา)
พระราชวังหลวง กรุงเทพพระมหานคร อาณาจักรรัตนโกสินทร์
ถวายพระเพลิงพ.ศ. 2395
พระเมรุมาศ ทุ่งพระเมรุ
บรรจุพระอัฐิหอพระธาตุมณเฑียร
ภรรยา58 ท่าน
พระราชบุตร51 พระองค์
วัดประจำรัชกาล
วัดราชโอรสารามราชวรวิหาร
ราชวงศ์จักรี
พระราชบิดาพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย
พระราชมารดาสมเด็จพระศรีสุลาลัย
ศาสนาเถรวาท
พระราชลัญจกร

พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว (31 มีนาคม พ.ศ. 2331 – 2 เมษายน พ.ศ. 2394) เป็นพระมหากษัตริย์ไทย รัชกาลที่ 3 แห่งราชวงศ์จักรีและเป็นพระมหากษัตริย์รัชกาลที่ 47 ตามประวัติศาสตร์ไทย ครองราชย์ตั้งแต่วันที่ 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2367 ถึง 2 เมษายน พ.ศ. 2394

พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวเป็นพระราชโอรสพระองค์ใหญ่ในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย และพระองค์แรกที่พระราชสมภพแต่เจ้าจอมมารดาเรียม (ภายหลังได้รับสถาปนาเป็นสมเด็จพระศรีสุลาลัย) เสด็จพระราชสมภพเมื่อวันจันทร์ แรม 10 ค่ำ เดือน 4 ปีมะแม นพศก จ.ศ. 1149 เวลาค่ำ 10.30 น. (สี่ทุ่มครึ่ง) ตรงกับวันที่ 31 มีนาคม พ.ศ. พ.ศ. 2331 (เมื่อเทียบปฏิทินสุริยคติแล้ว) เสวยราชสมบัติเมื่อวันพุธ แรม 11 ค่ำ เดือน 8 ปีวอก ฉศก จ.ศ. 1186 ซึ่งตรงกับวันที่ 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2367 สิริดำรงราชสมบัติได้ 26 ปี 255 วัน

พระองค์ทรงมีบาทบริจาริกา 56 ท่าน มีพระราชโอรสธิดาทั้งสิ้น 51 พระองค์ เสด็จสวรรคตเมื่อวันพุธ ขึ้น 1 ค่ำ เดือน 5 ปีกุน โทศก จ.ศ. 1212 เวลา 7 ทุ่ม 5 บาท ตรงกับวันที่ 2 เมษายน พ.ศ. 2394 สิริพระชนมพรรษา 64 ปี 2 วัน

พระราชประวัติ

ตราพระราชลัญจกรประจำรัชกาลที่ 3 รูปปราสาท สอดคล้องกับพระนามเดิม "ทับ" ผูกตรานี้ขึ้นในวโรกาสกรุงรัตนโกสินทร์ครบ 100 ปี

พระราชสมภพ

พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวเป็นพระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย พระราชสมภพแต่สมเด็จพระศรีสุลาลัย เสด็จพระราชสมภพเมื่อวันจันทร์ที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2331 ณ พระราชวังเดิม ตรงกับรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ในขณะที่พระองค์ประสูตินั้นพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยดำรงพระอิสริยยศที่สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้ากรมหลวงอิศรสุนทร พระองค์จึงมีสกุลยศชั้นหม่อมเจ้าพระนามว่า หม่อมเจ้าชายทับ จนกระทั่ง สมเด็จพระบรมชนกนาถได้รับอุปราชาภิเษกขึ้นเป็นกรมพระราชวังบวรสถานมงคล ในปี พ.ศ. 2349 พระองค์จึงมีพระอิสริยยศเป็น พระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าชายทับ

เมื่อสมเด็จพระราชชนกได้เสด็จขึ้นครองราชย์เป็นรัชกาลที่ 2 ใน พ.ศ. 2352 พระองค์จึงได้เลื่อนฐานันดรศักดิ์ขึ้นเป็นพระองค์เจ้าชั้นเอก ออกพระนามว่า พระเจ้าลูกยาเธอ พระองค์เจ้าชายทับ จนปี พ.ศ. 2356 ได้รับพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ทรงกรม เป็น พระเจ้าลูกยาเธอ กรมหมื่นเจษฎาบดินทร์

ครองราชย์

เมื่อกรมหมื่นเจษฎาบดินทร์เสด็จเถลิงถวัลย์ครองราชสมบัติแล้ว ทรงออกพระนามเต็มตามพระสุพรรณบัฏว่า "พระบาทสมเด็จพระบรมราชาธิราชรามาธิบดี ศรีสินทรบรมมหาจักรพรรดิราชาธิบดินทร์ ธรณินทราธิราช รัตนากาศภาสกรวงศ์ องค์ปรมาธิเบศร์ ตรีภูวเนตรวรนายก ดิลกรัตนราชชาติอาชาวไสย สมุทัยดโรมน สากลจักรวาลาธิเบนทร์ สุริเยนทราธิบดินทร์ หริหรินทราธาธิบดี ศรีสุวิบูลย คุณอถพิษฐ ฤทธิราเมศวร ธรรมิกราชาธิราช เดโชชัย พรหมเทพาดิเทพนฤบดินทร์ ภูมินทรปรมาธิเบศร โลกเชษฐวิสุทธิ มงกุฏประเทศคตา มหาพุทธางกูร บรมบพิตร พระพุทธเจ้าอยู่หัว" นับเป็น "สมเด็จพระรามาธิบดีที่ 6"

ต่อมาพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้เฉลิมพระปรมาภิไธยใหม่ เป็น "พระบาทสมเด็จพระปรมาธิวรเสรฐ มหาเจษฎาบดินทร สยามินทรวิโรดม บรมธรรมิกมหาราชาธิราช บรมนารถบพิตร พระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว" ออกพระนามโดยย่อว่า "พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว"

ในวันที่ 11 พฤศจิกายน 2459 พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวมีพระบรมราชโองการให้เฉลิมพระปรมาภิไธยอย่างสังเขปว่า "พระบาทสมเด็จพระรามาธิบดีศรีสินทรมหาเจษฎาธิบดินทร์ พระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว" หรือ "พระบาทสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 3"[2]

พระมหากษัตริย์ราชวงศ์จักรี
พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช
พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย
พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว
พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว
พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว
พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล
พระอัฐมรามาธิบดินทร
พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช
บรมนาถบพิตร
พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว

เมื่อครั้งที่ทรงกำกับราชการกรมท่า (ในสมัยรัชกาลที่ 2) ได้ทรงแต่งสำเภาบรรทุกสินค้าออกไปค้าขายในต่างประเทศมีรายได้เพิ่มขึ้นในท้องพระคลังเป็นอันมาก พระราชบิดาทรงเรียกพระองค์ว่า "เจ้าสัว" เมื่อรัชกาลที่ 2 เสด็จสวรรคต มิได้ตรัสมอบราชสมบัติแก่ผู้ใด ขุนนางและพระราชวงศ์ต่างมีความเห็นว่าพระองค์ (ขณะทรงดำรงพระราชอิสริยยศเป็นกรมหมื่นเจษฏาบดินทร์) ขณะนั้นมีพระชนมายุ 37 พรรษา ทรงรอบรู้กิจการบ้านเมืองดี ทรงปราดเปรื่องในทางกฎหมาย การค้าและการปกครอง จึงพร้อมใจกันอัญเชิญครองราชย์เป็นรัชกาลที่ 3

สวรรคต

พ.ศ. 2393 พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระประชวรด้วยพระโรคมะเร็งกระดูก[ต้องการอ้างอิง] พระอาการทรุดหนักลงตามลำดับ จนกระทั่งเสด็จสวรรคตเมื่อวันที่ 2 เมษายน พ.ศ. 2394[ต้องการอ้างอิง] หลังวันเฉลิมพระชนมพรรษาของพระองค์เพียง 2 วัน สิริพระชนมพรรษา 64 พรรษา ทรงครองราชย์รวม 27 ปี ได้อัญเชิญพระบรมศพไปประดิษฐาน ณ พระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท[ต้องการอ้างอิง] ต่อมาได้จัดพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพเมื่อ พ.ศ. 2396 ณ พระเมรุมาศ ท้องสนามหลวง[ต้องการอ้างอิง] หลังจากนั้นได้อัญเชิญพระบรมอัฐิไปประดิษฐาน ณ หอพระธาตุมณเฑียร และอัญเชิญพระบรมราชสรีรางคาร ไปประดิษฐานในพระอุโบสถ วัดราชโอรสารามราชวรวิหาร[ต้องการอ้างอิง]

พระมเหสี เจ้าจอม พระราชโอรส และพระราชธิดา

พระราชกรณียกิจ

พระบรมราชานุสาวรีย์พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ณ ที่วัดราชนัดดารามวรวิหาร

พระองค์ทรงปกครองประเทศด้วยพระปรีชาสามารถ ทรงเสริมสร้างกำลังป้องกันราชอาณาจักร โปรดให้สร้างป้อมปราการตามปากแม่น้ำสำคัญ และหัวเมืองชายทะเล

ด้านความมั่นคง

พระองค์ได้ทรงป้องกันราชอาณาจักรด้วยการส่งกองทัพไปสกัดทัพของเจ้าอนุวงศ์แห่งเวียงจันทน์ ไม่ให้ยกทัพเข้ามาถึงชานพระนครและขัดขวางไม่ให้เวียงจันทน์เข้าครอบครองหัวเมืองอีสานของสยาม นอกจากนี้ พระองค์ทรงประสบความสำเร็จในการทำให้สยามกับญวนยุติการสู้รบระหว่างกันเกี่ยวกับเรื่องเขมรโดยที่สยามไม่ได้เสียเปรียบญวนแต่อย่างใด

ด้านการคมนาคม

ในรัชสมัยของพระองค์ใช้ทางน้ำเป็นสำคัญ ทั้งในการสงครามและการค้าขาย คลองจึงมีความสำคัญ มากในการย่นระยะทางจากเมืองหนึ่งไปอีกเมืองหนึ่ง จึงโปรดฯให้มีการขุดคลองขึ้น เช่น คลองบางขุนเทียน คลองบางขนาก และ คลองหมาหอน

ด้านการทำนุบำรุงพระพุทธศาสนา

วัดยานนาวาได้รับการอุปถัมภ์โดย พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งทรงสั่งให้ขยายวัดและสร้างโครงสร้างใหม่มากมายภายใน วัดมีรูปร่างเหมือนเรือสำเภาจีนเพื่อรำลึกถึงความสำคัญของการค้าขายและอิทธิพลแนวคิดของจีน ในรัชสมัยของ พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว

พระองค์ทรงเลื่อมใสในพระพุทธศาสนามาก และได้ทรงสร้างพระพุทธรูปมากมายเช่น พระประธานในอุโบสถวัดสุทัศนเทพวรารามราชวรมหาวิหาร วัดเฉลิมพระเกียรติ วัดปรินายก และวัดนางนอง ทรงสร้างวัดใหม่ขึ้น 3 วัด คือ วัดบวรนิเวศราชวรวิหาร วัดเทพธิดารามวรวิหารและวัดราชนัดดารามวรวิหาร ทรงบูรณปฏิสังขรณ์ วัดเก่าอีก 35 วัด เช่น วัดพระศรีรัตนศาสดาราม ซึ่งสร้างมาแต่รัชกาลที่ 1 วัดอรุณราชวรารามราชวรมหาวิหาร วัดราชโอรสารามราชวรวิหาร เป็นต้น

ด้านการศึกษา

ทรงทำนุบำรุงและสนับสนุนการศึกษา โปรดเกล้าฯ ให้พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงวงศาธิราชสนิท แต่งตำราเรียนภาษาไทยขึ้นเล่มหนึ่งคือ หนังสือจินดามณี โปรดเกล้าฯ ให้ผู้รู้นำตำราต่าง ๆ มาจารึกลงในศิลาตามศาลารอบพุทธาวาสวัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามราชวรมหาวิหาร ปั้นตั้งไว้ตามเขามอและเขียนไว้ตามฝาผนังต่าง ๆ มีทั้งอักษรศาสตร์ แพทยศาสตร์ พุทธศาสนศึกษา โบราณคดี ฯลฯ เพื่อเป็นการเผยแพร่วิชาการสาขาต่าง ๆ จึงอาจกล่าวได้ว่า วัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามเป็นมหาวิทยาลัยแห่งแรกของกรุงสยาม

ด้านสังคมสงเคราะห์

ความเป็นอยู่ของชาวต่างชาติ ในจิตรกรรมฝาผนังวัดบรมนิวาสราชวรวิหาร ฝีมือขรัวอินโข่ง

พระองค์ทรงเอาพระทัยใส่ดูแลทุกข์สุขของราษฎร ด้วยมีพระบรมราชวินิจฉัยว่า ไม่ทรงสามารถจะบำบัดทุกข์ให้ราษฎรได้ หากไม่เสด็จออกนอกพระราชวัง เพราะราษฎรจะร้องถวายฏีกาได้ต่อเมื่อพระคลังเวลาเสด็จออกนอกพระราชวังเท่านั้น จึงโปรดให้นำกลองวินิจฉัยเภรีออกตั้ง ณ ทิมดาบกรมวัง ในพระบรมมหาราชวัง เพื่อราษฎรผู้มีทุกข์จะได้ตีกลองร้องถวายฎีกาไปทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวาย เพื่อให้มีการชำระความกันต่อไป โดยพระองค์จะคอยซักถามอยู่เนื่อง ๆ ทำให้ตุลาการ ผู้ทำการพิพากษาไม่อาจพลิกแพลงคดีเป็นอื่นได้

ในรัชสมัยของพระองค์ได้มีมิชชันนารีชาวอเมริกันและชาวอังกฤษเดินทางเข้ามาเผยแพร่ศาสนาคริสต์เพิ่มมากขึ้น หนึ่งในจำนวนนี้คือศาสนาจารย์ นายแพทย์แดน บีช บรัดเลย์ หรือที่คนไทยรู้จักกันดีในนาม "หมอบรัดเลย์" ได้เป็นผู้ริเริ่มให้มีการปลูกฝีป้องกันไข้ทรพิษ และการฉีดวัคซีนป้องกันอหิวาตกโรคและการทำผ่าตัดขึ้นเป็นครั้งแรกในกรุงรัตนโกสินทร์ นอกจากนี้หมอบรัดเลย์ยังได้คิดตัวพิมพ์อักษรไทยขึ้น (ปี พ.ศ. 2379) ทำให้มีการพิมพ์หนังสือภาษาไทยเป็นครั้งแรกโดยพิมพ์คำสอนศาสนาคริสต์เป็นภาษาไทย เมื่อวันที่ 26 ตุลาคม พ.ศ. 2379 ต่อมาปี พ.ศ. 2385 หมอบรัดเลย์พิมพ์ปฏิทินภาษาไทยขึ้นเป็นครั้งแรก

ในด้านการหนังสือพิมพ์ฉบับแรกในสมัยรัชกาลที่ 3 หมอบรัดเลย์ได้ออกหนังสือพิมพ์แถลงข่าวรายปักษ์เป็นภาษาไทย ชื่อ บางกอกรีคอร์เดอร์ (Bangkok Recorder) มีเรื่องสารคดี ข่าวราชการ ข่าวการค้า ข่าวเบ็ดเตล็ด ฉบับแรกออกเมื่อวันที่ 4 กรกฎาคม พ.ศ. 2387

หนังสือบทกลอนเล่มแรกที่พิมพ์ขายและผู้เขียนได้รับค่าลิขสิทธิ์คือ นิราศลอนดอน ของหม่อมราโชทัย (หม่อมราชวงศ์กระต่าย อิศรางกูร) โดย หมอบรัดเลย์ ซื้อกรรมสิทธิ์ไปพิมพ์ในราคา 400 บาท เมื่อวันที่ 15 มิถุนายน พ.ศ. 2404 และตีพิมพ์จำหน่ายครั้งแรกเมื่อวันที่ 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2404

ด้านการค้ากับต่างประเทศ

สงครามอังกฤษ-พม่าครั้งที่หนึ่ง พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงช่วยเหลืออังกฤษในช่วงสงคราม

พระองค์ทรงสนับสนุนส่งเสริมการค้าขายกับต่างประเทศ ทั้งกับชาวเอเชียและชาวยุโรป โดยเฉพาะอย่างยิ่งการค้ากับจีนมาตั้งแต่เมื่อครั้งพระองค์ทรงดำรงพระอิสสริยศเป็นกรมหมื่นเจษฎาบดินทร์ ส่งผลให้พระคลังสินค้ามีรายได้เพิ่มมากขึ้น นอกจากนี้ มีการแต่งสำเภาทั้งของราชการ เจ้านาย ขุนนางชั้นผู้ใหญ่ และพ่อค้าชาวจีนไปค้าขายยังเมืองจีนและประเทศใกล้เคียง รวมถึงการเปิดค้าขายกับมหาอำนาจตะวันตกจนมีการลงนามในสนธิสัญญาระหว่างกันคือ สนธิสัญญาเบอร์นี พ.ศ. 2369 และ 6 ปีต่อมาก็ได้เปิดสัมพันธไมตรีกับสหรัฐอเมริกาและมีการทำสนธิสัญญาต่อกันใน พ.ศ. 2375 นับเป็นสนธิสัญญาฉบับแรกที่สหรัฐอเมริกาทำกับประเทศทางตะวันออก ส่งผลให้ไทยได้ผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจอย่างมาก

ด้านศิลปกรรม

วัดราชโอรสาราม ต้นเเบบของวัดที่เป็นศิลปะเเบบพระราชนิยม

ในสมัยทรงพระอิสริยยศพระเจ้าลูกยาเธอ กรมหมื่นเจษฎาบดินทร์ ทรงบูรณะวัดจอมทองหลังพระองค์ได้มาทำพิธีเบิกโขลนทวารที่วัดเเห่งนี้ในคราวที่ที่มีข่าวว่าพม่าเตรียมจะยกทัพมาตีกรุงรัตนโกสินทร์ พระองค์ได้ทรงอธิษฐานขอให้การศึกประสบความสำเร็จ ปรากฏว่ากองทัพพม่าไม่ได้ยกทัพมาจึงได้กลับมาบูรณะปฏิสังขรณ์วัดจอมทองใหม่ทั้งอารามโดยทรงมาตรวจตราเเละคุมการก่อสร้างด้วยพระองค์เองเมื่อการก่อสร้างเสร็จสิ้นจึงทรงน้อมเกล้าฯ ถวายเป็นพระอารามหลวง พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยโปรดเกล้าฯพระราชทานนามใหม่ว่า "วัดราชโอรส" หมายถึงวัดที่พระราชโอรสทรงสถาปนาขึ้น โดยศิลปกรรมในวัดราชโอรสเป็นศิลปกรรมแบบไทยผสมจีนจึงเป็นแบบของศิลปกรรมรูปแบบใหม่ที่เรียกว่า แบบพระราชนิยม[3] ซึ่งเป็นรูปแบบศิลปกรรมที่จะนำมาใช้ในหลายวัดตลอดรัชกาล เช่น วัดเทพธิดาราม วัดเศวตฉัตร วัดนางนอง นอกจากนั้นทรงโปรดเกล้าฯ ให้บูรณะปฏิสงขรณ์พระปรางค์วัดอรุณราชวรารามจนแล้วเสร็จ และทรงมีรับสั่งให้สร้างเรือสำเภาก่อด้วยอิฐในวัดยานนาวา เพื่อให้ประชาชนได้รู้ว่าเรือสำเภานั้นมีรูปร่างลักษณะอย่างไร เพราะทรงเล็งเห็นว่าภายหน้าจะไม่มีการสร้างเรือสำเภาอีกแล้ว

เรือสำเภาจีนที่วัดยานนาวา

สำหรับวรรณกรรม พระองค์โปรดเกล้าฯ ให้นักปราชญ์ราชบัณฑิตจารึกวรรณคดีที่สำคัญ ๆ และวิชาแพทย์แผนโบราณลงบนแผ่นศิลา แล้วติดไว้ตามศาลารายรอบพระอุโบสถ รอบพระมหาเจดีย์บริเวณวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม เพื่อให้ประชาชนได้ศึกษาหาความรู้

เหตุการณ์สำคัญ

  • พ.ศ. 2367 มีเหตุการณ์สำคัญดังนี้
    • พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย เสด็จสวรรคต ขณะมีพระชนมพรรษาได้ 57 พรรษา ครองราชย์ได้ 15 ปี
    • พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวขึ้นครองราชสมบัติเป็นพระมหากษัตริย์องค์ที่ 3 แห่งราชวงศ์จักรี
    • โปรดเกล้าโปรดกระหม่อมจัดพิธีให้อุปราชาภิเษกพระองค์เจ้าอรุโณทัยขึ้นเป็นที่ "กรมพระราชวังบวรสถานมงคล"
    • โปรดเกล้าฯ ให้ส่งกองทัพไทยไปช่วยอังกฤษรบพม่า
  • พ.ศ. 2371 ร้อยเอกเจมส์โลว์ จัดพิมพ์หนังสือภาษาไทยเป็นครั้งแรก มิชชันนารีอเมริกันเดินทางมาเผยแพร่ศาสนาในเมืองไทย
  • พ.ศ. 2372 เจ้าพระยาราชสุภาวดี (สิงห์ สิงหเสนี) จับเจ้าอนุวงศ์ จัดส่งลงมากรุงเทพฯ ได้โปรดเกล้าฯ ให้สถาปนาเป็น เจ้าพระยาบดินทรเดชา ที่สมุหนายก
    • กำเนิดสงฆ์ธรรมยุติกนิกาย
    • โปรดเกล้าให้ทำการสังคายนาเป็นภาษาไทย
    • ทรงบูรณปฏิสังขรณ์วัดวาอารามหลายแห่ง และสร้างวัดใหม่ คือวัดเทพธิดาราม วัดราชนัดดา วัดเฉลิมพระเกียรติ และวัดพระเชตุพนฯลฯได้ตั้งโรงเรียนหลวง (วัดพระเชตุพน) ขึ้นเป็นครั้งแรก เพื่อสอนหนังสือไทยแก่เด็กในสมัยนี้ และได้ถือกำเนิดนิกายธรรมยุติขึ้น โดยพระวชิรญาณเถระ (เจ้าฟ้ามงกุฏ) ขณะที่ผนวชอยู่ได้ทรงศรัทธาเลื่อมใสในจริยาวัตรของพระมอญ ชื่อ ซาย ฉายา พุทฺธวํโส จึงได้ทรงอุปสมบทใหม่ เมื่อ พ.ศ. 2372 ได้ตั้งคณะธรรมยุตขึ้นในปี พ.ศ. 2376 แล้วเสด็จมาประทับที่วัดบวรนิเวศวิหาร และตั้งเป็นศูนย์กลางของคณะธรรมยุติ
  • พ.ศ. 2374
    • ทำการบูรณะวัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามราชวรมหาวิหาร ใช้เวลา 16 ปีในการสร้าง
    • เกิดน้ำท่วมใหญ่ในพระราชอาณาจักร
  • พ.ศ. 2377
    • ออกหวย ก.ข. เป็นครั้งแรก
    • ญวนได้ส่งพระอุไทยราชามาปกครองเขมร
  • พ.ศ. 2378 เกิดภาวะเงินฝืดเคือง
  • พ.ศ. 2380 หมอบรัดเลย์ คิดตัวพิมพ์อักษรไทยขึ้นใหม่ โปรดเกล้าฯ ให้หมอหลวงไปหัดปลูกฝีกับหมอบรัดเลย์
  • พ.ศ. 2382 ทรงประกาศห้ามสูบฝิ่น เพื่อส่งเสริมศีลธรรมในบ้านเมือง และ มีการเผาฝิ่น และ โรงยาฝิ่น พร้อม มีการปราบอั้งอั้งยี่ซึ่งค้าฝิ่น เหล่านั้น
  • พ.ศ. 2392 มีเหตุการณ์สำคัญดังนี้
    • กองทัพเจ้าพระยาบดินทรเดชา (สิงห์ สิงหเสนี) และ เจ้าพระยาพระคลัง (ดิศ บุนนาค) ปราบอั้งยี่ ที่ ฉะเชิงเทรา
    • เกิดอหิวาตกโรคระบาด มีคนตายมากกว่า 30,000 คน ซึ่งรวมถึงเจ้าพระยาบดินทรเดชา (สิงห์ สิงหเสนี)
  • พ.ศ. 2393 อังกฤษ และสหรัฐฯ ขอแก้สนธิสัญญา
  • พ.ศ. 2394 เสด็จสวรรคต เมื่อวันที่ 2 เมษายน พ.ศ. 2394 รวมพระชนมพรรษาได้ 64 พรรษา ดำรงอยู่ในราชสมบัติ 27 ปี

วันระลึกพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว พระมหาเจษฎาราชเจ้า

คณะรัฐมนตรีมีมติให้วันที่ 31 มีนาคมของทุกปีเป็น วันระลึกพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว พระมหาเจษฎาราชเจ้า หรือ วันเจษฎาบดินทร์ เป็นวันสำคัญของชาติ แต่ไม่ถือเป็นวันหยุดราชการ และเห็นชอบให้ให้ถวายพระราชสมัญญาว่า “พระมหาเจษฎาราชเจ้า” แปลว่า “พระเจ้าแผ่นดินผู้เป็นใหญ่”[4]

พระบรมราชอิสริยยศและพระเกียรติยศ

ธรรมเนียมพระยศของ
พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว
พระราชลัญจกร
การทูลใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาท
การแทนตนข้าพระพุทธเจ้า
การขานรับพระพุทธเจ้าข้าขอรับ/เพคะ

พระบรมราชอิสริยยศ

  • หม่อมเจ้าชายทับ (31 มีนาคม พ.ศ. 2330 - พ.ศ. 2349)
  • พระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าทับ (พ.ศ. 2349 - 7 กันยายน พ.ศ. 2352)
  • พระเจ้าลูกยาเธอ พระองค์เจ้าทับ (7 กันยายน พ.ศ. 2352 - พ.ศ. 2356)
  • พระเจ้าลูกยาเธอ กรมหมื่นเจษฎาบดินทร์ (พ.ศ. 2356 - 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2367)
  • พระบาทสมเด็จพระบรมราชาธิราชรามาธิบดี ศรีสินทรบรมมหาจักรพรรดิราชาธิบดินทร์ ธรณินทราธิราช รัตนากาศภาสกรวงศ์ องค์ปรมาธิเบศร์ ตรีภูวเนตรวรนายก ดิลกรัตนราชชาติอาชาวไสย สมุทัยดโรมน สากลจักรวาลาธิเบนทร์ สุริเยนทราธิบดินทร์ หริหรินทราธาธิบดี ศรีสุวิบูลย คุณอถพิษฐ ฤทธิราเมศวร ธรรมิกราชาธิราช เดโชชัย พรหมเทพาดิเทพนฤบดินทร์ ภูมินทรปรมาธิเบศร โลกเชษฐวิสุทธิ มงกุฏประเทศคตา มหาพุทธางกูร บรมบพิตร พระพุทธเจ้าอยู่หัว (21 กรกฎาคม พ.ศ.2367-2 เมษายน พ.ศ.2394)
ภายหลังการสวรรคต;
ในรัชกาลที่ 4;
  • พระบาทสมเด็จพระปรมาธิวรเสรฐมหาเจษฎาบดินทร สยามินทรวิโรดม บรมธรรมิกมหาราชาธิราช บรมนารถบพิตร พระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว (สมัยรัชกาลที่ 4 - 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2459)
ในรัชกาลที่ 6;
  • พระบาทสมเด็จพระรามาธิบดีศรีสินทรมหาเจษฎาธิบดินทร พระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว[2] (11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2459 - สมัยรัชกาลที่ 7)
ในรัชกาลที่ 7;
  • พระบาทสมเด็จพระปรมาธิวรเสรฐมหาเจษฎาบดินทร สยามินทรวิโรดม บรมธรรมิกมหาราชาธิราช บรมนารถบพิตร พระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว พระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว (สมัยรัชกาลที่ 7 - พ.ศ. 2540)
ในรัชกาลที่ 9;
  • พระบาทสมเด็จพระปรมาธิวรเสรฐมหาเจษฎาบดินทร สยามินทรวิโรดม บรมธรรมิกมหาราชาธิราช บรมนารถบพิตร พระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว พระมหาเจษฎาราชเจ้า (พ.ศ. 2540 - ปัจจุบัน)

พระราชสมัญญา

พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงได้รับการถวายพระราชสมัญญาต่าง ๆ เช่น ในปี พ.ศ. 2541 พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตรได้ถวายพระราชสมัญญาว่าพระมหาเจษฎาราชเจ้า และได้ใช้เป็นสร้อยพระนามสืบมาจนปัจจุบัน[5] ต่อมา พ.ศ. 2551 คณะรัฐมนตรีมีมติถวายพระราชสมัญญาว่าพระบิดาแห่งการค้าไทย[6][7], พระบิดาแห่งการพาณิชย์นาวีไทย[8] และในปี พ.ศ. 2558 ถวายพระราชสมัญญาว่าพระบิดาแห่งการแพทย์แผนไทย (ตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 16 มิถุนายน 2558) [9][10]

พงศาวลี

แผนผัง

สมเด็จพระปฐมบรมมหาชนก
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
Monarch (1)
พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช
 
สมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาสุรสิงหนาท
 
สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้ากรมหลวงจักรเจษฎา
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
Monarch(2)
พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย
 
สมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาเสนานุรักษ์
 
สมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาศักดิพลเสพ
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
Monarch(3)
พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว
 
Monarch(4)
พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว
 
สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าอาภรณ์
 
สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ามหามาลา กรมพระยาบำราบปรปักษ์
 
สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าปิ๋ว
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าโสมนัส
 
Monarch(5)
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
 
สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าจาตุรนต์รัศมี กรมพระจักรพรรดิพงษ์
 
สมเด็จพระราชปิตุลา บรมพงศาภิมุข เจ้าฟ้าภาณุรังษีสว่างวงศ์ กรมพระยาภาณุพันธุวงศ์วรเดช
 
สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์
 
กรมพระราชวังบวรวิไชยชาญ
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ สยามมกุฎราชกุมาร
 
สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าอิศริยาลงกรณ์
 
Monarch(6)
พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว
 
สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธุ์ กรมพระนครสวรรค์วรพินิต
 
สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าตรีเพ็ชรุตม์ธำรง
 
สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าสมมติวงศ์วโรทัย กรมขุนศรีธรรมราชธำรงฤทธิ์
 
สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าจักรพงษ์ภูวนาถ กรมหลวงพิษณุโลกประชานาถ
 
สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ายุคลทิฆัมพร กรมหลวงลพบุรีราเมศวร์
 
สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าศิริราชกกุธภัณฑ์
 
สมเด็จพระอนุชาธิราช เจ้าฟ้าอัษฎางค์เดชาวุธ กรมหลวงนครราชสีมา
 
สมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก
 
สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าจุฑาธุชธราดิลก กรมขุนเพ็ชรบูรณ์อินทราไชย
 
Monarch(7)
พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
Monarch(8)
พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทร
 
Monarch(9)
พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
(10)
พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว

อ้างอิง

  1. ""สยาม" ถูกใช้เรียกชื่อประเทศเป็นทางการสมัยรัชกาลที่ 4". ศิลปวัฒนธรรม. 6 กรกฎาคม 2560. สืบค้นเมื่อ 10 สิงหาคม 2560. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  2. 2.0 2.1 ราชกิจจานุเบกษา, พระบรมราชโองการ ประกาศ เฉลิมพระปรมาภิไธย, เล่ม 33, ตอน 0ก, 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2459, หน้า 212
  3. ศักดิ์ชัย สายสิงห์, ๓๓ คู่มือนำชมพระอารามหลวงแห่งกรุงรัตนโกสินทร์, (กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์เมืองโบราณ, 2566), 219-223
  4. วันเจษฎาบดินทร์ เก็บถาวร 2016-03-05 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. สำนักงานพระพุทธศาสนาจังหวัดอุดรธานี อ้างจากบทความโดย เยาวนิศ เต็งไตรรัตน์ สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ กระทรวงวัฒนธรรม. สืบค้น 31-3-2555
  5. หมายกำหนดการทรงบำเพ็ญพระราชกุศลเนื่องในการถวายพระราชสมัญญา พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว พระมหาเจษฎาราชเจ้า. เล่ม 115, ตอนพิเศษ 25ง, 31 มีนาคม 2541, หน้า19
  6. "พระบิดาแห่งการค้าไทย". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-05-20. สืบค้นเมื่อ 2018-01-12.
  7. พระบิดาแห่งการค้าไทย
  8. "พระบิดาแห่งการพาณิชย์นาวีไทย". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-11-25. สืบค้นเมื่อ 2018-01-12.
  9. พระบิดาแห่งการแพทย์แผนไทย
  10. ตามมติคณะรัฐมนตรี
  11. 11.0 11.1 11.2 ลำดับราชินิกูลบางช้าง. พระนคร: ห้างหุ้นส่วนจำกัด ศิวพร. 2501.
  12. พงษาวดารราชินิกูลบางช้าง (PDF). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ไทย สพานยศเส. 2457.
  • อ. วิโรจน์ ไตรเพียร, 9 รัชกาลแห่งราชวงศ์จักรี, สำนักพิมพ์ คลังศึกษา, 2543, หน้า 30-36

ดูเพิ่ม

แหล่งข้อมูลอื่น

ก่อนหน้า พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ถัดไป
พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย
พระเจ้ากรุงศรีอยุธยา
(กรุงรัตนโกสินทร์)

(21 กรกฎาคม พ.ศ. 2367 - 2 เมษายน พ.ศ. 2394)
พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
(พระเจ้ากรุงสยาม)