จินตามณี
จินตามณี หรือ จินดามณี (สันสกฤต; เทวนาครี: चिंतामणि; จีน: 如意寶珠; พินอิน: Rúyì bǎozhū; โรมาจิ: Nyoihōju) หมายถึงรัตนชาติที่สามารถประทานพรให้สมหวังได้ ปรากฏในธรรมเนียมต่าง ๆ ของทั้งศาสนาพุทธและศาสนาฮินดู บ้างเปรียบจินตามณีกับหินนักปราชญ์ในวิชาเล่นแร่แปรธาตุของตะวันตก[1]
ในคติศาสนาพุทธเชื่อว่าผู้ครอบครองจินตามณีคือพระโพธิสัตว์สององค์ พระอวโลกิเตศวร และ พระกษิติครรภะ ในจารีตทิเบตปรากฏจินตามณีอยู่บนหลังของม้าวายุในธงสวดมนต์ของทิเบต และปรากฏอยู่ในครอบครองของพระพุทธเจ้าองค์ต่าง ๆ[2]
ในศาสนาฮินดูมักปรากฏเชื่อมโยงกับพระวิษณุและพระคเณศ หากปรากฏในครอบครองของพระวิษณุจะเรียกว่ากาวสตูภมณี (Kaustubha Mani) หรือหากปรากฏบนหน้าผากของนาคจะเรียก นาคมณี (Naga Mani) ใน โยควสิสถะ ซึ่งเขียนขึ้นในราวคริสต์ศตวรรษที่ 10 มีบรรยายถึงเรื่องราวของจินตามณี[3] ส่วน วิษณุปุราณะ มีการเอ่ยถึง "สยมันตกามณี" ซึ่งเป็นมณีที่จะนำความรุ่งโรจน์มาแก่ผู้ถือครอง[4]
คิชโชเต็งหรือพระลักษมีในคติญี่ปุ่นและชินโตมักปรากฏถือจินตามณีในมือเช่นกัน
อ้างอิง
[แก้]- ↑ Guénon, René (2004) [1962]. Symbols of Sacred Science. Sophia Perennis, USA. ISBN 0-900588-78-0. p. 277
- ↑ R. A. Donkin, Beyond price: pearls and pearl-fishing : origins to the Age of Discoveries, American Philosophical Society, 1998. ISBN 978-0-87169-224-5. p. 170
- ↑ Venkatesananda, Swami (1984). The Concise Yoga Vāsiṣṭha. Albany: State University of New York Press. pp. 346–353. ISBN 0-87395-955-8. OCLC 11044869.
- ↑ The Past before us: Historical traditions of early North India, Romila Thapar, Harvard, 2013
บรรณานุกรม
[แก้]- Beer, Robert (1999). The Encyclopedia of Tibetan Symbols and Motifs (Hardcover). Shambhala. ISBN 1-57062-416-X, ISBN 978-1-57062-416-2
- Buswell, Robert Jr; Lopez, Donald S. Jr., บ.ก. (2013). "Cintamani", in Princeton Dictionary of Buddhism. Princeton, NJ: Princeton University Press. ISBN 9780691157863.