ข้ามไปเนื้อหา

จังหวัดเชียงราย

พิกัด: 19°55′N 99°50′E / 19.91°N 99.83°E / 19.91; 99.83
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
จังหวัดเชียงราย
การถอดเสียงอักษรโรมัน
 • อักษรโรมันChangwat Chiang Rai
ตามเข็มนาฬิกาจากด้านบน:
คำขวัญ: 
เหนือสุดในสยาม ชายแดนสามแผ่นดิน ถิ่นวัฒนธรรมล้านนา ล้ำค่าพระธาตุดอยตุง
แผนที่ประเทศไทย จังหวัดเชียงรายเน้นสีแดงประเทศมาเลเซียประเทศพม่าประเทศลาวประเทศเวียดนามประเทศกัมพูชาจังหวัดนราธิวาสจังหวัดยะลาจังหวัดปัตตานีจังหวัดสงขลาจังหวัดสตูลจังหวัดตรังจังหวัดพัทลุงจังหวัดกระบี่จังหวัดภูเก็ตจังหวัดพังงาจังหวัดนครศรีธรรมราชจังหวัดสุราษฎร์ธานีจังหวัดระนองจังหวัดชุมพรจังหวัดประจวบคีรีขันธ์จังหวัดเพชรบุรีจังหวัดราชบุรีจังหวัดสมุทรสงครามจังหวัดสมุทรสาครกรุงเทพมหานครจังหวัดสมุทรปราการจังหวัดฉะเชิงเทราจังหวัดชลบุรีจังหวัดระยองจังหวัดจันทบุรีจังหวัดตราดจังหวัดสระแก้วจังหวัดปราจีนบุรีจังหวัดนครนายกจังหวัดปทุมธานีจังหวัดนนทบุรีจังหวัดนครปฐมจังหวัดกาญจนบุรีจังหวัดสุพรรณบุรีจังหวัดพระนครศรีอยุธยาจังหวัดอ่างทองจังหวัดสิงห์บุรีจังหวัดสระบุรีจังหวัดลพบุรีจังหวัดนครราชสีมาจังหวัดบุรีรัมย์จังหวัดสุรินทร์จังหวัดศรีสะเกษจังหวัดอุบลราชธานีจังหวัดอุทัยธานีจังหวัดชัยนาทจังหวัดอำนาจเจริญจังหวัดยโสธรจังหวัดร้อยเอ็ดจังหวัดมหาสารคามจังหวัดขอนแก่นจังหวัดชัยภูมิจังหวัดเพชรบูรณ์จังหวัดนครสวรรค์จังหวัดพิจิตรจังหวัดกำแพงเพชรจังหวัดตากจังหวัดมุกดาหารจังหวัดกาฬสินธุ์จังหวัดเลยจังหวัดหนองบัวลำภูจังหวัดหนองคายจังหวัดอุดรธานีจังหวัดบึงกาฬจังหวัดสกลนครจังหวัดนครพนมจังหวัดพิษณุโลกจังหวัดอุตรดิตถ์จังหวัดสุโขทัยจังหวัดน่านจังหวัดพะเยาจังหวัดแพร่จังหวัดเชียงรายจังหวัดลำปางจังหวัดลำพูนจังหวัดเชียงใหม่จังหวัดแม่ฮ่องสอน
แผนที่ประเทศไทย จังหวัดเชียงรายเน้นสีแดง
แผนที่ประเทศไทย จังหวัดเชียงรายเน้นสีแดง
ประเทศ ไทย
การปกครอง
 • ผู้ว่าราชการ ชรินทร์ ทองสุข
(ตั้งแต่ พ.ศ. 2567)
พื้นที่[1] [2]
 • ทั้งหมด11,678.4 ตร.กม. (4,509.1 ตร.ไมล์)
อันดับพื้นที่อันดับที่ 12
ประชากร
 (พ.ศ. 2565)[3]
 • ทั้งหมด1,298,977 คน
 • อันดับอันดับที่ 14
 • ความหนาแน่น111.22 คน/ตร.กม. (288.1 คน/ตร.ไมล์)
รหัส ISO 3166TH-57
ชื่อไทยอื่น ๆเวียงไชยนารายณ์ และพันธุมติรัตนอณาเขต
สัญลักษณ์ประจำจังหวัด
 • ต้นไม้กาซะลองคำ
 • ดอกไม้พวงแสด
 • สัตว์น้ำปลาบึก
ศาลากลางจังหวัด
 • ที่ตั้งถนนแม่ฟ้าหลวง ตำบลริมกก อำเภอเมืองเชียงราย จังหวัดเชียงราย 57100
 • โทรศัพท์0 5371 9143
เว็บไซต์www.chiangrai.go.th
สารานุกรมประเทศไทย ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย

เชียงราย (ไทยถิ่นเหนือ: ᨩ᩠ᨿᨦᩁᩣ᩠ᨿ, เจียงฮาย) เป็นจังหวัดที่ตั้งอยู่ในภาคเหนือของประเทศไทย ตั้งอยู่ทางทิศเหนือสุดของประเทศไทยในเชิงภูมิศาสตร์ มีอาณาเขตติดต่อกับประเทศพม่าและประเทศลาวทางทิศเหนือและทิศตะวันออก, จังหวัดพะเยาและจังหวัดลำปางทางทิศใต้ และจังหวัดเชียงใหม่ทางทิศตะวันตก จังหวัดเชียงรายเป็นพื้นที่ดั้งเดิมของชาวไทยวน ประกอบด้วยเมืองที่มีความสำคัญทางประวัติศาสตร์มาตั้งแต่ยุคก่อตั้ง หิรัญนครเงินยางเชียงแสน และ อาณาจักรล้านนา เช่น เมืองเงินยาง เมืองเชียงแสน และ เมืองเชียงราย[4] จังหวัดเชียงรายแบ่งการปกครองออกเป็น 18 อำเภอ มีแม่น้ำกก แม่น้ำอิง แม่น้ำรวก และแม่น้ำโขง เป็นแม่น้ำสายสำคัญ ทำเลที่ตั้งของจังหวัดเชียงรายอยู่บริเวณรอยต่อระหว่าง 3 ประเทศ คือ ประเทศไทย ประเทศพม่า และประเทศลาว หรือรู้จักกันในนามของดินแดนสามเหลี่ยมทองคำ ในอดีตเคยเป็นแหล่งผลิตและขนส่งฝิ่นที่สำคัญของโลก ปัจจุบันจังหวัดเชียงรายเป็นหนึ่งในสถานที่ท่องเที่ยวสำคัญของประเทศไทย โดยในปี พ.ศ. 2561 มีจำนวนนักท่องเที่ยวรวมมากเป็นอันดับสองในภาคเหนือ รองจากจังหวัดเชียงใหม่ จำนวนราว 3,600,000 คน คิดเป็นชาวต่างชาติราว 620,000 คน สร้างรายได้ให้กับจังหวัดราว 28,500 ล้านบาท โดยมีท่าอากาศยานประจำจังหวัดคือท่าอากาศยานนานาชาติแม่ฟ้าหลวง[5] เศรษฐกิจของจังหวัดเชียงรายมาจากเกษตรกรรมเป็นหลัก โดยมาจากการเกษตร การป่าไม้ และประมง ซึ่งมีมูลค่ารวมกว่า 32,500 ล้านบาท[6]

จังหวัดเชียงราย
"เชียงราย" ในภาษาไทย (บน)
และในคำเมืองอักษรธรรมล้านนา (ล่าง)
ชื่อภาษาไทย
อักษรไทยเชียงราย
อักษรโรมันChiang Rai
ชื่อคำเมือง
อักษรธรรมล้านนาᨩ᩠ᨿᨦᩁᩣ᩠ᨿ
อักษรไทยเจียงฮาย

เมืองเชียงรายมีประวัติศาสตร์อันยาวนาน เป็นที่ตั้งของหิรัญนครเงินยางเชียงแสน ซึ่งเป็นนครหลวงก่อนการกำเนิดอาณาจักรล้านนา มี "คำเมือง" เป็นภาษาท้องถิ่น มีเอกลักษณ์เฉพาะตัวทั้งด้านศิลปะ ประเพณีวัฒนธรรมที่มีความหลากหลายทางชาติพันธุ์ในรูปแบบล้านนา ไทใหญ่ ไทเขิน และไทลื้อจากสิบสองปันนาผสมผสานกัน นอกจากนี้จังหวัดเชียงรายยังขึ้นชื่อว่าเป็น "เมืองศิลปะ"[7]และเป็นที่เกิดของศิลปินที่มีอิทธิพลอย่างมากในวงการศิลปะไทย โดยเฉพาะ ถวัลย์ ดัชนี ผู้สร้างสรรค์บ้านดำ และเฉลิมชัย โฆษิตพิพัฒน์ ผู้สร้างสรรค์วัดร่องขุ่นและหอนาฬิกาเมืองเชียงราย สถานที่ท่องเที่ยวสำคัญของเชียงรายที่มีเอกลักษณ์เฉพาะของศิลปิน และเป็นแบบอย่างของวัดร่องเสือเต้นซึ่งเป็นอีกสถานที่ท่องเที่ยวสำคัญ

ประวัติศาสตร์

[แก้]

พงศาวดารโยนกว่า พญามังรายสร้างขึ้น ณ ที่ซึ่งเดิมเป็นเวียงไชยนารายณ์ เมื่อ พ.ศ. 1805 และครองราชสมบัติอยู่ ณ เมืองเชียงรายจนถึง พ.ศ. 1839 จึงไปสร้างเมืองเชียงใหม่ขึ้นในท้องที่ระหว่างดอยสุเทพกับแม่น้ำปิง และครองราชสมบัติอยู่ ณ เมืองเชียงใหม่จนถึง พ.ศ. 1854 ส่วนตำนานพื้นเมืองเชียงใหม่ระบุว่า พญามังรายทรงเสด็จตามช้างมาทางทิศตะวันออกแล้วเห็นชัยภูมิเหมาะแก่การสร้างเมืองริมฝั่งน้ำแม่กก จึงสร้างเป็นเวียงล้อมรอบดอยจอมทองไว้ในปี พ.ศ. 1805 [8]

สำหรับเมืองเชียงรายนั้น เมื่อพญามังรายย้ายไปครองราชสมบัติที่เมืองเชียงใหม่แล้ว พระราชโอรสคือ ขุนครามหรืออีกชื่อหนึ่งว่าพญาไชยสงครามก็ได้ครองราชสมบัติสืบต่อมา นับแต่นั้นเมืองเชียงรายก็ขึ้นต่อเมืองเชียงใหม่

ครั้นต่อมาเมื่อล้านนาตกไปอยู่ในปกครองของพม่า ในปี พ.ศ. 2101 พม่าได้ตั้งขุนนางปกครองเมืองเชียงรายเรื่อยมา หลังจากนั้น พ.ศ. 2317 เจ้ากาวิละแห่งลำปางได้สวามิภักดิ์ต่อกรุงเทพฯ ทำให้หัวเมืองล้านนาฝ่ายใต้ตกเป็นประเทศราชของสยาม ขณะที่เชียงรายและหัวเมืองล้านนาฝ่านเหนืออื่น ๆ ยังคงอยู่ใต้อำนาจพม่า ล้านนากลายเป็นพื้นที่แย่งชิงอำนาจระหว่างสยามกับพม่า ในช่วงเวลาดังกล่าวเมืองเชียงรายเริ่มร้างผู้คน ประชาชนอพยพหนีภัยสงครามไปอยู่เมืองอื่น บ้างก็ถูกกวาดต้อนลงไปทางใต้ พ.ศ. 2247 เมืองเชียงแสนฐานที่มั่นสุดท้ายของพม่า ถูกกองทัพเชียงใหม่ ลำปาง และน่าน ตีแตก เมืองเชียงรายจึงกลายสภาพเป็นเมืองร้างตามเมืองเชียงแสน

สมัยล้านนาภายใต้การปกครองของสยาม

[แก้]

ในปี พ.ศ. 2386 พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวมีพระบรมราชานุญาตให้เจ้าหลวงเชียงใหม่ฟื้นฟูเชียงรายขึ้นใหม่ ภายหลังเมืองเชียงรายได้เป็นส่วนหนึ่งของมณฑลพายัพ กระทั่งปี พ.ศ. 2453 ในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงมีประกาศกระทรวงมหาดไทย ยกฐานะเมืองเชียงรายเป็นเมืองจัตวามณฑลพายัพ ใน พ.ศ. 2453 เมืองเชียงแสน เมืองเชียงราย เมืองฝาง เวียงป่าเป้า เมืองพะเยา อำเภอแม่ใจ อำเภอดอกคำใต้ อำเภอแม่สรวย อำเภอเชียงคำ อำเภอเชียงของ ตั้งเป็นเมืองจัตวาเรียกว่าเมืองเชียงราย อยู่ในมณฑลพายัพ และจัดแบ่งการปกครองออกเป็น 10 อำเภอ คือ อำเภอเมืองเชียงราย อำเภอเมืองเชียงแสน อำเภอเมืองฝาง อำเภอเวียงป่าเป้า อำเภอเมืองพะเยา อำเภอแม่ใจ อำเภอดอกคำใต้ อำเภอแม่สรวย อำเภอเชียงคำ และอำเภอเชียงของ เหมือนอย่างหัวเมืองชั้นในที่ขึ้นกับกรุงเทพมหานครทั้งปวง [9] ภายหลังเมืองเชียงรายได้เปลี่ยนเป็นจังหวัดเชียงราย[10]

การเปลี่ยนแปลงเขตจังหวัด

[แก้]

ตั้งแต่มีการตั้งจังหวัดเชียงราย อาณาเขตของจังหวัดเชียงรายมีการเปลี่ยนแปลงมาเป็นลำดับ โดยมีการโอนพื้นที่บางส่วน ไปขึ้นกับจังหวัดข้างเคียง และโอนพื้นที่จังหวัดข้างเคียง เข้ามารวมกับจังหวัดเชียงราย รวมถึงการแบ่งพื้นที่บางส่วน ตั้งเป็นจังหวัดใหม่ ดังนี้

การโอนอำเภอเมืองฝาง ไปขึ้นกับจังหวัดเชียงใหม่

มีประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง โอนอำเภอเมืองฝาง จังหวัดเชียงรายไปขึ้นจังหวัดเชียงใหม่[11] ในปี พ.ศ. 2468 เนื่องจากความลำบากในการเดินทางติดต่อราชการ ปัจจุบันคือ อำเภอฝาง อำเภอแม่อาย และอำเภอไชยปราการ จังหวัดเชียงใหม่

การโอนหมู่ 7 ตำบลป่าตึง อำเภอเชียงแสน ไปขึ้นกับจังหวัดเชียงใหม่

พระราชบัญญัติเปลี่ยนแปลงเขตจังหวัด พุทธศักราช 2479 ได้มีการโอนพื้นที่เหนือลำน้ำแม่งามในเขตตำบลป่าตึง อำเภอเชียงแสนในขณะนั้น (อำเภอแม่จันในปัจจุบัน)ไปขึ้นตำบลแม่อาย อำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่ ปัจจุบันอยู่ในเขต ตำบลท่าตอน อำเภอแม่อาย จังหวัดเชียงใหม่[12]

การโอนอำเภอปง จังหวัดน่าน มาขึ้นกับจังหวัดเชียงราย

ตามพระราชบัญญัติเปลี่ยนแปลงเขตจังหวัดน่าน จังหวัดเชียงราย และจังหวัดแพร่ พ.ศ. 2495 ได้มีการโอนอำเภอปง จังหวัดน่าน ยกเว้น ตำบลสวด ซึ่งขึ้นกับอำเภอเมืองน่านในขณะนั้น (ปัจจุบันคืออำเภอบ้านหลวง จังหวัดน่าน) มาขึ้นกับจังหวัดเชียงราย (สีเขียว) และโอนตำบลสะเอียบ (สีส้ม) อำเภอปง ไปขึ้นกับอำเภอสอง จังหวัดแพร่[13]

การโอนหมู่บ้านหมู่ที่ 10 ตำบลควน อำเภอปง จังหวัดเชียงราย ไปขึ้นตำบลป่าคา อำเภอท่าวังผา จังหวัดน่าน และโอนตำบลยอด อำเภอปง จังหวัดเชียงราย ไปขึ้นอำเภอเชียงกลาง จังหวัดน่าน

ตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 137 ซึ่งมีสถานะเทียบเท่าพระราชบัญญัติ แก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติซึ่งออกตามความในมาตรา 32 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2495 กำหนดให้เปลี่ยนแปลงเขตจังหวัดเชียงรายและจังหวัดน่าน โดยโอนหมู่บ้านหมู่ที่ 10 ตำบลควน อำเภอปง จังหวัดเชียงราย ไปขึ้นตำบลป่าคา อำเภอท่าวังผา จังหวัดน่าน และโอนตำบลยอด อำเภอปง จังหวัดเชียงราย ไปขึ้นอำเภอเชียงกลาง จังหวัดน่าน (ปัจจุบันอยู่ในเขต อำเภอสองแคว จังหวัดน่าน) [14]

การแบ่งพื้นที่บางส่วนตั้งเป็นจังหวัดพะเยา

เมื่อวันที่ 28 สิงหาคม พ.ศ. 2520 ได้แบ่งแยกพื้นที่บางส่วนทางตอนใต้ของจังหวัดจัดตั้งขึ้นเป็นจังหวัดพะเยา[15]

แผนที่ ปีที่เปลี่ยนแปลง (พ.ศ.) การเปลี่ยนแปลง
2453-2468 แผนที่จังหวัดเชียงราย พ.ศ. 2453-2468
2468 การโอนพื้นที่อำเภอเมืองฝาง (สีแดง) จังหวัดเชียงราย ไปขึ้นกับจังหวัดเชียงใหม่
2479 การโอนพื้นที่หมู่ที่ 7 ตำบลป่าตึง อำเภอเชียงแสน จังหวัดเชียงราย ในขณะนั้น (สีแดง) ไปขึ้นกับจังหวัดเชียงใหม่
2495 การโอนพื้นที่อำเภอปง จังหวัดน่าน ยกเว้น ตำบลสวด(สีเขียว) มาขึ้นกับจังหวัดเชียงราย และโอนตำบลสะเอียบ (สีส้ม) ไปขึ้นกับอำเภอสอง จังหวัดแพร่
2515 โอนหมู่บ้านหมู่ที่ 10 ตำบลควน อำเภอปง (สีฟ้า) จังหวัดเชียงราย ไปขึ้นตำบลป่าคา อำเภอท่าวังผา จังหวัดน่าน และโอนตำบลยอด (สีแดง) อำเภอปง จังหวัดเชียงราย ไปขึ้นอำเภอเชียงกลาง จังหวัดน่าน
2520 การแบ่งพื้นที่ 7 อำเภอ ได้แก่ อำเภอพะเยา อำเภอแม่ใจ อำเภอดอกคำใต้ อำเภอจุน อำเภอปง อำเภอเชียงม่วน และอำเภอเชียงคำ ไปตั้งเป็นจังหวัดพะเยา

ภูมิศาสตร์

[แก้]

ที่ตั้งและอาณาเขต

[แก้]

จังหวัดเชียงรายตั้งอยู่ตอนเหนือสุดของประเทศไทย อยู่ระหว่างเส้นรุ้งที่ 19 องศาเหนือ ถึง 20 องศา 30 ลิปดาเหนือ และเส้นแวงที่ 99 องศา 15 ลิปดา ถึง 100 องศา 45 ลิปดาตะวันออก

จังหวัดเชียงรายมีชายแดนติดกับประเทศพม่าประมาณ 130 กิโลเมตร และมีชายแดนติดต่อกับประเทศลาวประมาณ 180 กิโลเมตร เป็นเพียงหนึ่งในสองจังหวัดของประเทศไทยที่มีอาณาเขตชายแดนติดต่อกับประเทศเพื่อนบ้านด้วยกันถึงสองประเทศในจังหวัดเดียว

ภูมิประเทศ

[แก้]
อุทยานแห่งชาติถ้ำหลวง-ขุนน้ำนางนอน ภูเขาหินปูนในเขตอำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย

จังหวัดเชียงราย มีพื้นที่ 11,678.369 ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ 7,290,000 ไร่ มีภูมิประเทศเป็นเทือกเขาสูงในทวีปตอนเหนือ (North Continental Highland) มีพื้นที่ราบสูงเป็นหย่อม ๆ ในเขตอำเภอแม่สรวย อำเภอเวียงป่าเป้า และอำเภอเชียงของ บริเวณเทือกเขาจะมีความสูงประมาณ 1,500-2,000 เมตรจากระดับน้ำทะเล โดยมีดอยลังกาหลวง เป็นยอดเขาที่สูงที่สุดในจังหวัด มีความสูง 2,031 เมตร[16]บริเวณส่วนที่ราบตามลุ่มแม่น้ำสำคัญในตอนกลางของพื้นที่ ได้แก่ อำเภอพาน อำเภอเมืองเชียงราย อำเภอแม่จัน อำเภอแม่สาย อำเภอเชียงแสน และอำเภอเชียงของ มีความสูงประมาณ 410-580 เมตร จากระดับน้ำทะเล ลักษณะพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นภูเขาสูง มีป่าไม้ปกคลุม บริเวณเทือกเขามีชั้นความสูง 1,500-2,000 เมตร จากระดับน้ำทะเล มีที่ราบเป็นหย่อม ๆ ในระหว่างหุบเขา และตามลุ่มน้ำสำคัญ จังหวัดเชียงรายมีภูเขาล้อมรอบโดยเฉพาะทางทิศตะวันตกเป็นแนวเทือกเขาผีปันน้ำ ติดต่อกันไปเป็นพืดตลอดเขตจังหวัด

ภูมิอากาศ

[แก้]

จังหวัดเชียงรายมีอุณหภูมิเฉลี่ยตลอดปีประมาณ 24 องศาเซลเซียส ฤดูร้อน เริ่มจากกลางเดือนกุมภาพันธ์–กลางเดือนพฤษภาคม มีอุณหภูมิเฉลียประมาณ 32 องศาเซลเซียส ฤดูฝน เริ่มจากกลางเดือนพฤษภาคม–กลางเดือนตุลาคม มีอุณหภูมิเฉลี่ยประมาณ 27 องศาเซลเซียส ปริมาณน้ำฝนเฉลี่ยปีละ 1,768 มิลลิเมตร มากที่สุดในปี 2544 จำนวน 2,287.60 มิลลิเมตรน้อยที่สุดในปี 2546 จำนวน 1,404.10 มิลลิเมตร จำนวนวันที่มีฝนตกเฉลี่ย 143 วันต่อปี ฤดูหนาว เริ่มจากพฤศจิกายน–กุมภาพันธ์ จังหวัดเชียงรายมีอุณหภูมิเฉลี่ยประมาณ 15.0 องศาเซลเซียส อุณหภูมิต่ำสุด 0.9 - 1.0 องศาเซลเซียส 2542 สภาพอากาศของจังหวัดเชียงราย ถือว่าหนาวจัดในพื้นที่ราบ อุณหภูมิจะอยู่ที่ 7-9 องศาเซลเซียส ส่วนบนยอดดอย อุณหภูมิต่ำสุดจะอยู่ที่ 0-5 องศาเซลเซียส อุณหภูมิ -1.5 องศาที่ภูชี้ฟ้า ปลายปี 2556 จึงทำให้อากาศที่เชียงรายในช่วงฤดูหนาว เป็นพื้นที่ที่นักท่องเที่ยวอยากมาเป็นอย่างมาก

ข้อมูลภูมิอากาศของจังหวัดเชียงราย
เดือน ม.ค. ก.พ. มี.ค. เม.ย. พ.ค. มิ.ย. ก.ค. ส.ค. ก.ย. ต.ค. พ.ย. ธ.ค. ทั้งปี
อุณหภูมิสูงสุดเฉลี่ย °C (°F) 27.6
(81.7)
30.9
(87.6)
33.5
(92.3)
34.9
(94.8)
33.2
(91.8)
31.7
(89.1)
30.9
(87.6)
30.6
(87.1)
30.6
(87.1)
29.8
(85.6)
28.2
(82.8)
26.5
(79.7)
30.7
(87.3)
อุณหภูมิเฉลี่ยแต่ละวัน °C (°F) 18.9
(66)
21.1
(70)
24.1
(75.4)
26.8
(80.2)
27.0
(80.6)
26.8
(80.2)
26.4
(79.5)
26.1
(79)
25.8
(78.4)
24.5
(76.1)
22.0
(71.6)
18.8
(65.8)
24.0
(75.2)
อุณหภูมิต่ำสุดเฉลี่ย °C (°F) 11.9
(53.4)
12.9
(55.2)
15.9
(60.6)
19.7
(67.5)
22.0
(71.6)
22.9
(73.2)
22.8
(73)
22.6
(72.7)
22.0
(71.6)
20.3
(68.5)
17.0
(62.6)
12.8
(55)
18.6
(65.5)
หยาดน้ำฟ้า มม (นิ้ว) 12.2
(0.48)
7.8
(0.307)
19.1
(0.752)
89.8
(3.535)
203.9
(8.028)
211.2
(8.315)
308.2
(12.134)
385.4
(15.173)
268.4
(10.567)
142.4
(5.606)
60.5
(2.382)
24.6
(0.969)
1,733.5
(68.248)
วันที่มีฝนตกโดยเฉลี่ย 2 1 3 10 17 19 22 24 18 12 6 3 137
แหล่งที่มา 1: Thai Meteorological Department[17]
แหล่งที่มา 2: Hong Kong Observatory [18]

ทรัพยากรป่าไม้

[แก้]

พื้นที่จังหวัดเชียงรายมีทั้งสิ้น 11.678.369 ตารางกิโลเมตร หรือ 7,298,981 ไร่ ในปี 2542 มีพื้นที่ป่าไม้จำนวน 2,365,967 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 32.42 ของพื้นที่ทั้งหมด พื้นที่ป่าไม้แบ่งออกเป็นประเภทต่าง ๆ ดังนี้

อุทยานแห่งชาติภูชี้ฟ้า แหล่งท่องเที่ยวที่มีชื่อเสียงในเขตอำเภอเทิง จังหวัดเชียงราย

อุทยานแห่งชาติ

[แก้]

วนอุทยาน

[แก้]

จังหวัดเชียงราย มีวนอุทยาน (Forest Park) ซึ่งเป็นแหล่งธรรมชาติที่รัฐจัดไว้ ให้เป็นสถานที่พักผ่อนหย่อนใจของประชาชน และสามารถพัฒนาเป็นแหล่งท่องเที่ยวของจังหวัด จำนวน 27 แห่ง ดังนี้

นอกจากนี้ ยังมีพื้นที่ป่าไม้รูปแบบอื่นอีก ดังต่อไปนี้

  • สวนรุกขชาติ (Arboretum) - มีเพียงแห่งเดียว คือสวนรุกชาติโป่งสลี เทศบาลตำบลสันทราย อำเภอเมืองเชียงราย มีพื้นที่ 668.75 ไร่ พันธุ์ไม้ส่วนใหญ่เป็นไม้สักขนาดใหญ่ ซึ่งเป็นป่าเดิมที่เหลืออยู่และมีการปลูกต้นไม้อื่น ๆ แทรกบ้าง
  • ป่าสงวนแห่งชาติ (National Reserved Forest) - มีทั้งหมด 30 แห่ง มีพื้นที่รวม 4,485,966 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 61.46 ของพื้นที่จังหวัด แบ่งเป็นพื้นที่เพื่อการอนุรักษ์ จำนวน 3,525,896 ไร่ พื้นที่มอบ สปก. จำนวน 960,070 ไร่ แยกออกเป็นพื้นที่ป่าเศรษฐกิจ 513,683 ไร่ ป่าเพื่อการเกษตร 425,832 ไร่ และพื้นที่กันคืนกรมป่าไม้ 20,555 ไร่
  • ป่าชุมชน (Community Forest) - เป็นป่าธรรมชาติ ที่ชาวบ้านช่วยกันป้องกันรักษาเอาไว้ สำหรับเป็นแหล่งซับน้ำและใช้สอย ปัจจุบันมีการสร้างป่าชุมชนขึ้นในพื้นที่สาธารณะ เพื่อใช้ประโยชน์ของชุมชน
  • เขตห้ามล่าสัตว์ป่า - มีเพียงแห่งเดียวคือ พื้นที่ชุ่มน้ำเขตห้ามล่าสัตว์ป่าหนองบงคาย อำเภอเชียงแสน มีพื้นที่ 2,711 ไร่

ทรัพยากรธรรมชาติ แหล่งแร่

[แก้]

ทรัพยากรน้ำ

[แก้]
แม่น้ำโขงในเขตอำเภอเชียงของ
น้ำแม่กก แม่น้ำสายสำคัญของจังหวัดเชียงราย

จังหวัดเชียงรายเป็นจังหวัดเดียวในภาคเหนือที่มีแม่น้ำสายสำคัญส่วนใหญ่จะไหลไปทางทิศเหนือ โดยจะไปรวมกับแม่น้ำโขงทั้งหมดทั้งสิ้น ซึ่งมีแม่น้ำสายสำคัญดังนี้

  • น้ำแม่กก มีต้นกำเนิดในประเทศพม่า ไหลเข้าสู่ประเทศไทยในเขตจังหวัดเชียงใหม่ ไหลผ่านอำเภอเมืองเชียงราย อำเภอเวียงชัย อำเภอเวียงเชียงรุ้ง อำเภอแม่จัน อำเภอดอยหลวง อำเภอเชียงแสน แล้วไหลไปบรรจบแม่น้ำโขงที่หมู่ที่ 7 บ้านสบกก ตำบลบ้านแซว อำเภอเชียงแสน มีความยาวประมาณ 145 กิโลเมตร
  • น้ำแม่ลาว ต้นกำเนิดจากภูเขาในเขตอำเภอเวียงป่าเป้า แล้วไหลผ่านอำเภอแม่สรวย อำเภอพาน อำเภอแม่ลาว อำเภอเมืองเชียงราย อำเภอเวียงชัย ไปบรรจบกับ น้ำแม่กกที่อำเภอเวียงชัย จังหวัดเชียงราย มีความยาวประมาณ 137 กิโลเมตร
  • น้ำแม่อิง ต้นน้ำเกิดจากหนองเล็งทรายก่อนเข้ากว๊านพะเยา ไหลผ่านอำเภอป่าแดด อำเภอเทิง อำเภอพญาเม็งราย อำเภอขุนตาล แล้วไหลไปบรรจบแม่น้ำโขงที่อำเภอเชียงของ ส่วนที่ไหลผ่าน จังหวัดเชียงราย ยาวประมาณ 136 กิโลเมตร
  • น้ำแม่จัน ต้นน้ำเกิดจากภูเขาสามเส้า ทางด้านทิศตะวันตกของอำเภอแม่จันติดกับรัฐชาน (ประเทศพม่า) แล้วไหลไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ ร่วมกับแม่น้ำคำไหลไปบรรจบแม่น้ำโขง มีความยาวประมาณ 100 กิโลเมตร
  • แม่น้ำโขง มีต้นกำเนิดจากภูเขาหิมาลัย ไหลเข้าสู่ประเทศไทยที่สามเหลี่ยมทองคำ หมู่ที่ 1 บ้านสบรวก ตำบลเวียง อำเภอเชียงแสน จังหวัดเชียงราย แล้วไหลผ่านอำเภอเชียงของ และอำเภอเวียงแก่น รวมความยาวที่ผ่านจังหวัดเชียงราย ประมาณ 94 กิโลเมตร
  • น้ำแม่คำ ต้นน้ำเกิดจากภูเขาในเขตอำเภอแม่ฟ้าหลวง แล้วไหลผ่านอำเภอแม่จัน อำเภอเชียงแสน อำเภอแม่สาย แล้วไหลไปบรรจบแม่น้ำโขงที่หมู่ที่ 5 บ้านสบคำ ตำบลเวียง อำเภอเชียงแสน จังหวัดเชียงราย มีความยาวทั้งสิ้น ประมาณ 85 กิโลเมตร
  • แม่น้ำสาย ใช้เป็นเส้นแบ่งเขตแดนระหว่างประเทศไทยกับประเทศพม่า ในเขตจังหวัดเชียงราย เป็นแม่น้ำสายสั้น ๆ ประมาณ 31 กิโลเมตรมีน้ำไหลตลอดปี ทั้งนี้แม่น้ำสายจะไปรวมกับแม่น้ำรวกที่ตำบลเกาะช้าง อำเภอแม่สายอีกด้วย
  • แม่น้ำรวก ต้นน้ำเกิดในประเทศพม่า ไหลเข้าสู่ประเทศไทยที่ อำเภอแม่สาย และอำเภอเชียงแสน แล้วไหลไปบรรจบแม่น้ำโขงที่หมู่ที่ 1 บ้านสบรวก ตำบลเวียง อำเภอเชียงแสน จังหวัดเชียงราย ใช้เป็นเส้นแบ่งเขตแดน ระหว่างประเทศไทย และประเทศพม่า ในระหว่างนี้แม่น้ำรวกจะไปรวมกับแม่น้ำสายที่ตำบลเกาะช้าง อำเภอแม่สาย อีกด้วย

เศรษฐกิจ

[แก้]
ไร่ชา ในจังหวัดเชียงราย

โครงสร้างเศรษฐกิจของจังหวัดเชียงรายมาจากการเกษตร ป่าไม้ และการประมงเป็นหลัก พืชสำคัญทางเศรษฐกิจของจังหวัดเชียงราย ได้แก่ ข้าวเจ้า ข้าวโพด ชา เลี้ยงสัตว์ สัปปะรด มันสำปะหลัง ส้มโอ ลำไย และลิ้นจี่ ซึ่งทั้งคู่เป็นผลไม้สำคัญที่สามารถปลูกได้ในทุกอำเภอของจังหวัด นอกจากนี้จังหวัดเชียงรายยังขึ้นชื่อสำหรับการเพาะปลูกชา อันเป็นพืชเศรษฐกิจใหม่ของจังหวัดเชียงรายในปี พ.ศ. 2561[6] นอกจากนี้จังหวัดเชียงรายยังเป็นจังหวัดที่มีความสำคัญในเชิงการท่องเที่ยว มีจำนวนผู้เยี่ยมเยียนจังหวัดเชียงรายทั้งหมดราว 3,600,000 คนในปี 2561 มากเป็นอันดับที่สองในภาคเหนือ รองจากจังหวัดเชียงใหม่ การท่องเที่ยวสร้างรายได้ให้กับจังหวัดมากกว่า 28,500 บาท[5]

สัญลักษณ์

[แก้]
ตราประจำจังหวัดเชียงราย

การเมืองการปกครอง

[แก้]

หน่วยการปกครอง

[แก้]

การปกครองส่วนภูมิภาค

[แก้]

การปกครองส่วนภูมิภาคแบ่งออกเป็นระดับอำเภอ จำนวน 18 อำเภอ ระดับตำบล จำนวน 124 ตำบล และระดับหมู่บ้าน จำนวน 1,753 หมู่บ้าน ได้แก่

อำเภอเมืองเชียงรายอำเภอเวียงชัยอำเภอเชียงของอำเภอเทิงอำเภอพานอำเภอป่าแดดอำเภอแม่จันอำเภอเชียงแสนอำเภอแม่สายอำเภอแม่สรวยอำเภอเวียงป่าเป้าอำเภอพญาเม็งรายอำเภอเวียงแก่นอำเภอขุนตาลอำเภอแม่ฟ้าหลวงอำเภอแม่ลาวอำเภอเวียงเชียงรุ้งอำเภอดอยหลวงจังหวัดพะเยาจังหวัดน่านจังหวัดน่านจังหวัดลำปางจังหวัดเชียงใหม่ประเทศลาวประเทศพม่า
แผนที่อำเภอในจังหวัดเชียงราย สามารถคลิกที่ตัวเลขอำเภอ จังหวัดข้างเคียง และประเทศข้างเคียงได้
ที่ ชื่ออำเภอ ตัวเมือง อักษรโรมัน จำนวนตำบล จำนวนประชากร[20] ระยะห่างจาก
ศาลากลางจังหวัด (กม.)
1. เมืองเชียงราย Mueang Chiang Rai 16 223,725 -
2. เวียงชัย Wiang Chai 5 44,036 13
3. เชียงของ Chiang Khong 7 62,328 101
4. เทิง Thoeng 10 84,018 69
5. พาน Phan 15 124,364 45
6. ป่าแดด Pa Daet 5 26,362 56
7. แม่จัน Mae Chan 11 99,273 28
8. เชียงแสน Chiang Saen 6 50,323 61
9. แม่สาย Mae Sai 8 85,266 61
10. แม่สรวย Mae Suai 7 79,938 49
11. เวียงป่าเป้า Wiang Pa Pao 7 67,092 93
12. พญาเม็งราย Phaya Mengrai 5 41,952 46
13. เวียงแก่น Wiang Kaen 4 31,254 116
14. ขุนตาล Khun Tan 3 32,341 59
15. แม่ฟ้าหลวง Mae Fa Luang 4 69,567 50
16. แม่ลาว Mae Lao 5 30,631 23
17. เวียงเชียงรุ้ง Wiang Chiang Rung 3 26,740 31
18. ดอยหลวง Doi Luang 3 19,008 48

การปกครองส่วนท้องถิ่น

[แก้]

องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในพื้นที่จังหวัดเชียงราย รวมทั้งสิ้น 144 แห่งประกอบด้วย 1 เทศบาลนคร 1 เทศบาลเมือง[21] 1 องค์การบริหารส่วนจังหวัด เทศบาลและองค์การบริหารส่วนตำบลจำแนกตามอำเภอ ดังนี้ [22]

ตารางองค์การปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดเชียงราย
ตารางนี้จะปรากฏเฉพาะเทศบาลกับองค์การบริหารส่วนตำบลเท่านั้น ส่วนองค์การบริหารส่วนจังหวัดจะมีอยู่จุดเดียว

อำเภอ เทศบาลนคร เทศบาลเมือง เทศบาลตำบล องค์การบริหารส่วนตำบล รวม
เมืองเชียงราย 1 - 10 5 16
แม่สาย - 1[23] 3 6 10
แม่จัน - - 8 5 13
เชียงแสน - - 5 2 7
เชียงของ - - 7 1 8
เทิง - - 6 6 12
ป่าแดด - - 5 - 5
พาน - - 2 14 16
เวียงชัย - - 5 1 6
แม่สรวย - - 3 6 9
เวียงป่าเป้า - - 4 5 9
พญาเม็งราย - - 3 3 6
แม่ลาว - - 3 4 7
ขุนตาล - - 3 1 4
เวียงเชียงรุ้ง - - 1 3 4
เวียงแก่น - - 3 1 4
แม่ฟ้าหลวง - - - 4 4
ดอยหลวง - - - 3 3
รวมทั้งสิ้น 1 1 71 70 143


รายชื่อองค์การปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดเชียงราย

อำเภอเมืองเชียงราย

อำเภอเวียงชัย

อำเภอเชียงของ

อำเภอเทิง

  • เทศบาลตำบลเวียงเทิง
  • เทศบาลตำบลบ้านปล้อง
  • เทศบาลตำบลงิ้ว
  • เทศบาลตำบลสันทรายงาม
  • เทศบาลตำบลหงาว
  • เทศบาลตำบลเชียงเคี่ยน
  • องค์การบริหารส่วนตำบลเวียง
  • องค์การบริหารส่วนตำบลปล้อง
  • องค์การบริหารส่วนตำบลแม่ลอย
  • องค์การบริหารส่วนตำบลตับเต่า
  • องค์การบริหารส่วนตำบลศรีดอนไชย
  • องค์การบริหารส่วนตำบลหนองแรด

อำเภอพาน

  • เทศบาลตำบลเมืองพาน
  • เทศบาลตำบลสันมะเค็ด
  • องค์การบริหารส่วนตำบลแม่อ้อ
  • องค์การบริหารส่วนตำบลธารทอง
  • องค์การบริหารส่วนตำบลสันติสุข
  • องค์การบริหารส่วนตำบลดอยงาม
  • องค์การบริหารส่วนตำบลหัวง้ม
  • องค์การบริหารส่วนตำบลเจริญเมือง
  • องค์การบริหารส่วนตำบลป่าหุ่ง
  • องค์การบริหารส่วนตำบลม่วงคำ
  • องค์การบริหารส่วนตำบลทรายขาว
  • องค์การบริหารส่วนตำบลสันกลาง
  • องค์การบริหารส่วนตำบลแม่เย็น
  • องค์การบริหารส่วนตำบลเมืองพาน
  • องค์การบริหารส่วนตำบลทานตะวัน
  • องค์การบริหารส่วนตำบลเวียงห้าว

อำเภอป่าแดด

  • เทศบาลตำบลป่าแงะ
  • เทศบาลตำบลป่าแดด
  • เทศบาลตำบลสันมะค่า
  • เทศบาลตำบลศรีโพธิ์เงิน
  • เทศบาลตำบลโรงช้าง

อำเภอแม่จัน

อำเภอเชียงแสน

อำเภอแม่สาย

อำเภอแม่สรวย

อำเภอเวียงป่าเป้า

อำเภอพญาเม็งราย

อำเภอเวียงแก่น

  • เทศบาลตำบลม่วงยาย
  • เทศบาลตำบลหล่ายงาว
  • เทศบาลตำบลท่าข้าม
  • องค์การบริหารส่วนตำบลปอ

อำเภอขุนตาล

อำเภอแม่ฟ้าหลวง

  • องค์การบริหารส่วนตำบลเทอดไทย
  • องค์การบริหารส่วนตำบลแม่สลองใน
  • องค์การบริหารส่วนตำบลแม่สลองนอก
  • องค์การบริหารส่วนตำบลแม่ฟ้าหลวง

อำเภอแม่ลาว

อำเภอเวียงเชียงรุ้ง

  • เทศบาลตำบลบ้านเหล่า
  • องค์การบริหารส่วนตำบลทุ่งก่อ
  • องค์การบริหารส่วนตำบลดงมหาวัน
  • องค์การบริหารส่วนตำบลป่าซาง

อำเภอดอยหลวง

  • องค์การบริหารส่วนตำบลปงน้อย
  • องค์การบริหารส่วนตำบลโชคชัย
  • องค์การบริหารส่วนตำบลหนองป่าก่อ

รายชื่อเจ้าเมืองและผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงราย

[แก้]
รายชื่อเจ้าเมืองและผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงราย
ลำดับ รายชื่อ ระยะเวลาการดำรงตำแหน่ง
1 พระยารัตนอาณาเขต (เจ้าหนานธรรมลังกา) พ.ศ. 2386-2407
2 พระยารัตนอาณาเขต (เจ้าอุ่นเรือน) พ.ศ. 2407-2419
3 พระยารัตนอาณาเขต (เจ้าหนานสุริยะ) พ.ศ. 2419-2433
4 พระยารัตนาณาเขตร์ (เจ้าน้อยเมืองไชย) พ.ศ. 2433-2442
5 พระพลอาษา พ.ศ. 2442-2445
6 หลวงอาษาภูธร พ.ศ. 2445-2446
7 พระยารามราชภักดี พ.ศ. 2447-2450
8 พระยาอุดรกิจพิจารณ์ พ.ศ. 2450-2453
9 พระยารามราชเดช (ศุข ดิษยบุตร) พ.ศ. 2453-2458
10 พระราชโยธา (เจิม ปันยารชุน) พ.ศ. 2458-2460
11 พระยาราชเดชดำรง (ผล ศรุตานนท์) พ.ศ. 2460-2479
12 พระพนมนครานุรักษ์ (ฮกไถ่ พิศาลบุตร) พ.ศ. 2479-2482
13 พันตำรวจเอก พระนรากรบริรักษ์ (เจิม ปิณฑะรุจิ) พ.ศ. 2482-2485
14 หลวงรักษ์นราธร (โชค ชมธวัช) พ.ศ. 2485-2487
15 ขุนไตรกิตยานุกูล (อัมพร กิตยานุกุล) พ.ศ. 2487-2489
16 นายชลอ จารุจินดา พ.ศ. 2489-2490
17 ขุนวิสิฐอุดรการ (กรี วิสิฐอุดรการ) พ.ศ. 2490-2491
18 ขุนสนิทประชาราษฏร์ (สนิท จันทรศัพท์) พ.ศ. 2491-2491
19 นายชลอ จารุจินดา พ.ศ. 2491-2492
20 พันตำรวจโท ขุนวีรเดชกำแหง (ชม จารุสิทธิ์) พ.ศ. 2492-2493
21 พันตรี เล็ก ทองสุนทร พ.ศ. 2493-2497
22 พันเอก จำรูญ จำรูญรณสิทธิ์ พ.ศ. 2497-2498
23 พันตำรวจเอก เลื่อน กฤษณามระ พ.ศ. 2498-2500
24 พันตำรวจเอก เนื่อง รายะนาค พ.ศ. 2500-2501
25 นายเครือ สุวรรณสิงห์ พ.ศ. 2501-2504
26 นายชูสง่า ไชยพันธุ์ (ฤทธิประศาสน์) พ.ศ. 2504-2512
27 นายสิทธิ์ สงวนน้อย 20 พฤษภาคม 2512 - 30 เมษายน 2513
28 นายประหยัด สมานมิตร 1 พฤษภาคม 2513 - 20 กันยายน 2513
29 นายศรศักดิ์ สุวรรณเทศ 1 ตุลาคม 2513 - 30 กันยายน 2514
30 พลตรี วิทย์ นิ่มนวล 1 ตุลาคม 2514 - 30 กันยายน 2516
31 นายชุ่ม บุญเรือง 1 ตุลาคม 2516 - 27 สิงหาคม 2522
32 นายศักดา อ้อพงษ์ 1 ตุลาคม 2522 - 30 กรกฎาคม 2525
33 นายมนตรี ตระหง่าน 1 ตุลาคม 2525 - 30 กันยายน 2528
34 นายอร่าม เอี่ยมอรุณ 1 ตุลาคม 2528 - 30 กันยายน 2531
35 นายบรรณสิทธิ์ สลับแสง 1 ตุลาคม 2531 - 30 เมษายน 2534
36 นายคำรณ บุณเชิด 1 ตุลาคม 2534 - 30 กันยายน 2539
37 นายวิจารณ์ ไชยนันทน์ 1 ตุลาคม 2539 - 30 กันยายน 2542
38 นายสำเริง ปุณโยปกรณ์ 1 ตุลาคม 2542 - 30 กันยายน 2544
39 นายรุ่งฤทธิ์ มกรพงศ์ 1 ตุลาคม 2544 - 27 ตุลาคม 2545
40 นายนรินทร์ พานิชกิจ 28 ตุลาคม 2545 - 30 กันยายน 2547
41 นายวรเกียรติ สมสร้อย 1 ตุลาคม 2547 - 28 กุมภาพันธ์ 2549
42 นายอุดม พัวสกุล 5 มิถุนายน 2549 - 12 พฤศจิกายน 2549
43 นายอมรพันธุ์ นิมานันท์ 13 พฤศจิกายน 2549 - 30 กันยายน 2550
44 นายปรีชา กมลบุตร 1 ตุลาคม 2550 - 5 พฤษภาคม 2551
45 นายไตรสิทธิ์ สินสมบูรณ์ทอง 6 พฤษภาคม 2551 - 15 มีนาคม 2552
46 นายสุเมธ แสงนิ่มนวล 16 มีนาคม 2552 - 30 กันยายน 2553
47 นายสมชัยฐ์ หทยะตันย์ติ 1 ตุลาคม 2553 - 27 พฤศจิกายน 2554
48 นายธานินทร์ สุภาแสน 29 ธันวาคม 2554 - 7 ตุลาคม 2555
49 นายพงษ์ศักดิ์ วังเสมอ 8 ตุลาคม 2555 - 30 กันยายน 2558
50 นายบุญส่ง เตชะมณีสถิตย์ 1 ตุลาคม 2558 - 4 เมษายน 2560
51 นายณรงค์ศักดิ์ โอสถธนากร 4 เมษายน 2560 - 29 มิถุนายน 2561
52 นายประจญ ปรัชญ์สกุล 29 มิถุนายน 2561 - 30 กันยายน 2564
53 นายภาสกร บุญญลักษม์ 1 ตุลาคม 2564 - 2 ธันวาคม 2565
54 นายพุฒิพงศ์ ศิริมาตย์ 2 ธันวาคม 2565 - 30 กันยายน 2567
- นายโชตินรินทร์ เกิดสม (รักษาการ) 2 ตุลาคม 2567 - 17 พฤศจิกายน 2567
55 นายชรินทร์ ทองสุข 17 พฤศจิกายน 2567 - ปัจจุบัน

การเลือกตั้ง

[แก้]

ในการเลือกตั้งทั่วไป พ.ศ. 2566 จังหวัดเชียงรายแบ่งเขตเลือกตั้งออกเป็น 7 เขต มีจำนวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรทั้งสิ้น 7 คน โดยแต่ละเขตแบ่งออกดังนี้

  • เขต 1 ประกอบด้วย อำเภอเมืองเชียงราย (เฉพาะตำบลเวียง ตำบลรอบเวียง ตำบลสันทราย ตำบลท่าสาย ตำบลป่าอ้อดอนชัย ตำบลแม่กรณ์ ตำบลห้วยชมภู ตำบลดอยฮาง ตำบลแม่ยาว ตำบลบ้านดู่ และตำบลริมกก)
  • เขต 2 ประกอบด้วย อำเภอเวียงชัย อำเภอเวียงเชียงรุ้ง อำเภอเมืองเชียงราย (เฉพาะตำบลแม่ข้าวต้ม ตำบลนางแล และตำบลท่าสุด) และอำเภอแม่จัน (เฉพาะตำบลแม่จัน ตำบลป่าตึง ตำบลป่าซาง ตำบลสันทราย และตำบลท่าข้าวเปลือก)
  • เขต 3 ประกอบด้วย อำเภอแม่ลาว อำเภอแม่สรวย และอำเภอเวียงป่าเป้า
  • เขต 4 ประกอบด้วย อำเภอพาน อำเภอป่าแดด และอำเภอเมืองเชียงราย (เฉพาะตำบลดอยลานและตำบลห้วยสัก)
  • เขต 5 ประกอบด้วย อำเภอเทิง อำเภอพญาเม็งราย อำเภอขุนตาลและอำเภอเชียงของ(เฉพาะตำบลบุญเรือง)
  • เขต 6 ประกอบด้วย อำเภอแม่สาย อำเภอแม่ฟ้าหลวง อำเภอแม่จัน ( เฉพาะตำบลแม่ไร่ ตำบลแม่คำ ตำบลศรีค้ำ และตำบลจอมสวรรค์)
  • เขต 7 ประกอบด้วย อำเภอเชียงแสน อำเภอดอยหลวง อำเภอเวียงแก่น อำเภอเชียงของ (ยกเว้นตำบลบุญเรือง) และอำเภอแม่จัน (เฉพาะตำบลจันจว้าและตำบลจันจว้าใต้)

ประชากร

[แก้]
สถิติประชากรตามทะเบียนราษฎรจังหวัดเชียงราย
ปีประชากร±%
2522[25] 922,850—    
2525[26] 946,188+2.5%
2528[27] 981,124+3.7%
2531[28] 1,009,608+2.9%
2534[29] 1,048,299+3.8%
2537[30] 1,251,581+19.4%
2540 1,261,138+0.8%
2543 1,259,988−0.1%
2546 1,214,981−3.6%
2549 1,225,713+0.9%
2552 1,194,933−2.5%
2555 1,200,423+0.5%
2558 1,277,950+6.5%
2561 1,292,130+1.1%
2564 1,298,425+0.5%
ที่มา: กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย[3]
วัดพระธาตุดอยตุง
บ้านของชาวอาข่าในจังหวัดเชียงราย

จังหวัดเชียงรายมีประชากรหลายเชื้อชาติ ทั้งชาวไทยพื้นราบ ชาวไทยภูเขา และชาวจีนฮ่อที่อพยพเข้ามาอาศัยอยู่บนดอยสูง แต่ละชนชาติจะมีประเพณี วัฒนธรรม และวิถีชีวิตที่มีเอกลักษณ์ เป็นเสน่ห์ห์อีกอย่างที่ทำให้เชียงรายได้รับความสนใจจากนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศ[31] ประชากรในเขตจังหวัดเชียงราย แบ่งออกได้เป็นหลายกลุ่ม อาทิ

  • คนไทยพื้นราบ ประกอบด้วยชาวไทยวน ไทลื้อ ไทเขิน ไทใหญ่ ดังนี้
  • ชาวไทยภูเขา ประกอบด้วย อาข่า มูเซอ เย้า กะเหรี่ยง ลีซอ ม้ง ลั๊วะ โดยส่วนมากอาศัยอยู่ตามภูเขาและพื้นราบ
  • ชาวไทยเชื้อสายจีน โดยส่วนใหญ่แล้วเป็นอดีตทหาร พรรคก๊กมินตั๋ง ได้เข้ามาตั้งรกราก ได้แก่ หมู่บ้านสันติคีรี นอกจากนี้ยังชาวจีนอื่น ๆ อีก เช่น จีนแต้จิ๋ว มีอยู่ในแทบทุกอำเภอโดยเฉพาะในอำเภอเมือง อำเภอแม่จัน อำเภอแม่สาย, ชาวจีนแคะ ในอำเภอเมือง อำเภอพาน อำเภอป่าแดด อำเภอเทิง อำเภอเชียงของ, ชาวจีนมณฑลยูนนานหรือฮ่อ ในอำเภอเมือง อำเภอแม่สาย อำเภอแม่จัน อำเภอเชียงแสน อำเภอเชียงของ อำเภอเวียงแก่น อำเภอแม่สรวย อำเภอแม่ฟ้าหลวง เป็นต้น
    ภาษาจีนเป็นหนึ่งในภาษาที่มีอิทธิพลในจังหวัดเชียงราย
  • ผู้พลัดถิ่นสัญชาติพม่า บุคคลหลายสัญชาติที่อพยพมาจากพม่าเข้าอยู่ในประเทศไทยก่อนวันที่ 9 มีนาคม 2519 การออกนอกเขตจังหวัดที่อยู่อาศัยต้องขออนุญาตจากปลัดกระทรวงมหาดไทย
  • ชาวไทยภาคอีสานอพยพ เป็นประชากรที่อพยพมาจากภาคอีสานเพื่อมาตั้งถิ่นฐานในเชียงรายโดยส่วนมากอาศัยอยู่เขตชานเมืองในอำเภอเมืองจังหวัดเชียงรายและอำเภออื่นๆ เช่น อำเภอเวียงเชียงรุ้ง อำเภอเวียงชัย อำเภอเทิง(อยู่ตามแม่น้ำอิง) อำเภอเชียงของ อำเภอเชียงแสน อำเภอพาน เป็นต้น
  • ชาวลาวอพยพ คนลาวที่อาศัยอยู่กับญาติพี่น้องตามแนวชายแดนของประเทศไทย เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงการปกครองของลาวในปี พ.ศ. 2517 ขณะนี้ทางการของไทยยังไม่อนุญาตให้เดินทางออกนอกเขตจังหวัดที่อยู่อาศัย
  • ชาวไทยภาคกลางอพยพ

วัฒนธรรมและประเพณี

[แก้]
  • แห่พระแวดเวียง ประเพณีอัญเชิญพระพุทธรูปแวดเวียงเชียงราย ซึ่งมีพื้นฐานความคิดมาจากตำนานพระเจ้าเลียบโลก ด้วยมีจุดมุ่งหมาย ให้ประชาชนได้มีโอกาสสักการบูชาพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์คู่บ้านคู่เมือง ซึ่งประดิษฐานอยู่ตามวัดวาอารามต่าง ๆ ในตัวเมืองเชียงราย เพื่อเป็นสิริมงคลแก่ชีวิตในวาระของการส่งท้ายปีเก่า ต้อนรับปีใหม่ โดยการอัญเชิญพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์คู่บ้านคู่เมืองเชียงราย มาประดิษฐานบนบุษบกที่ได้สร้างขึ้นโดยช่างศิลปินที่มีชื่อเสียงของจังหวัดเชียงราย จัดตั้งเป็นขบวนอัญเชิญไปรอบเมืองเชียงราย ให้พุทธศาสนิกชนได้มีโอกาสกราบไหว้สักการบูชาด้วย ข้าวตอก ดอกไม้ เป็นการเริ่มต้นปีใหม่ที่เป็นสิริมงคลยิ่งนัก
  • ปอยหลวง งานบุญปอยหลวงเป็นเอกลักษณ์ของชาวล้านนาซึ่งเป็นผลดีต่อสภาพทางสังคมหลายประการ นับตั้งแต่ชาวบ้านได้มาทำบุญร่วมกัน ร่วมกันจัดงานทำให้เกิดความสามัคคีในการทำงาน งานทำบุญปอยหลวงยังเป็นการรวมญาติพี่น้องที่อยู่ต่างถิ่นได้มีโอกาสทำบุญร่วมกัน และมีการสืบทอดประเพณีที่เคยปฏิบัติกันมาครั้งแต่บรรพชนไม่ให้สูญหายไปจากสังคม ช่วงเวลา จากเดือน 5 จนถึงเดือน 7 เหนือ (ตรงกับเดือนกุมภาพันธ์ ถึงเดือนเมษายนหรือเดือนพฤษภาคมของทุกปี) ระยะเวลาประมาณ 3-7 วัน
  • ป๋าเวณี ปี๋ใหม่เมือง งานประเพณีสงกรานต์ จัดขึ้นประมาณกลางเดือนเมษายน ในงานมีขบวนแห่และสรงน้ำพระเจ้าล้านทอง การแข่งเรือ และการละเล่นพื้นเมืองและมหรสพ จัดบริเวณตัวเมืองเชียงราย และอำเภอเชียงแสน
  • ป๋าเวณียี่เป็ง งานลอยกระทง จัดขึ้นในช่วงเดือนตุลาคมถึงพฤศจิกายน ทั้งนี้จะมีการจัดในตัวเมืองเชียงรายที่บริเวณริมแม่น้ำกก แต่ในบางพื้นที่นั้นอาจจะมีการตานต้นเกี๊ยะหลวง หรือบางครั้งอาจจะมีการลอยประทีปด้วย หากถ้าเป็นชาติพันธุ์ไทเขินและไทลื้อมักจะเรียกเทศกาลนี้ว่าเกี๋ยงเป็งด้วย
  • งานเทศกาลลิ้นจี่และของดีเมืองเชียงราย เทศกาลที่ชาวเกษตรกรต่างนำผลผลิตทางการเกษตรของตนมาออกร้าน โดยเฉพาะลิ้นจี่ที่มีชื่อเสียงมากของเชียงราย จัดขึ้นประมาณกลางเดือนพฤษภาคมของทุกปี ภายในงานมีการประกวดขบวนรถและธิดาลิ้นจี่ และการออกร้าน บริเวณสนามกีฬากลางจังหวัดเชียงราย
  • งานไหว้สาพญามังราย จัดให้มีพิธีบวงสรวงพญามังราย มีการออกร้าน จัดนิทรรศการของส่วนราชการและเอกชน และงานรื่นเริงอื่น ๆ จัดวันที่ 23 มกราคม-1 กุมภาพันธ์
  • เป็งปุ๊ด หรือ เพ็ญพุธ เป็นประเพณีตักบาตรเที่ยงคืนค่อนรุ่งเข้าสู่วันเพ็ญขึ้น 15 ค่ำที่ตรงกับวันพุธ ตามวัฒนธรรมและความเชื่อของบรรพบุรุษล้านนาไทย ที่เชื่อกันว่าพระอุปคุตซึ่งพระอรหันต์องค์หนึ่งแปลงกายเป็นสามเณรน้อยมาบิณฑบาตโปรดสัตว์โลกในยามเที่ยงคืน และชาวล้านนาในอดีตเชื่อว่าการทำบุญตักบาตรถวายพระอุปคุตในวันเป็งปุ๊ดก็จะได้ชื่อว่าเป็นผู้มีบุญ มีโชคลาภและร่ำรวย บังเกิดความเป็นสิริมงคลแก่ชีวิต โดยบรรพบุรุษชาวล้านนาเชื่อว่า ทุกคืนที่ย่างเข้าสู่วันพุธขึ้น 15 ค่ำ เป็นวันเป็งปุ๊ด และจะมีประชาชนชาวล้านนาจำนวนมากมารอเพื่อประกอบพิธีทำบุญตักบาตรพระภิกษุสามเณร
  • งานอนุรักษ์มรดกไทยล้านนา จัดในเดือนเมษายน มีการจัดนิทรรศการและการแสดงแบบไทยล้านนา มีการสาธิตงานศิลปะ บริเวณหอวัฒนธรรมนิทัศน์ อำเภอเมือง
  • งานประเพณีขึ้นพระธาตุดอยตุง จัดขึ้นในวันขึ้น 14-15 ค่ำ เดือนหกเหนือ หรือเดือนมีนาคม เป็นประเพณีของชาว ล้านนา รวมทั้งชาวไทยใหญ่ในพม่าที่ปฏิบัติสืบต่อกันมา โดยชาวบ้านและพระสงฆ์ จะเดินขึ้นพระธาตุในตอนกลางคืน เมื่อมาถึงก็จะพากันนมัสการองค์พระธาตุก่อน จากนั้นจึงหาพื้นที่ประกอบอาหารเพื่อตักบาตรในตอนเช้า หลังจากตักบาตรแล้วจะ ช่วยกันบูรณะบริเวณองค์พระธาตุ เมื่อถึงยามค่ำคืนก็มารวมกันที่ปะรำพิธีเพื่อฟังเทศน์
    กะเหรี่ยงคอยาว
  • ประเพณีบวงสรวงเจ้าพ่อปลาบึก เป็นประเพณีเกี่ยวกับความเชื่อของผู้คนที่อยู่ริมแม่น้ำโขง โดยเฉพาะชาวประมง ในเขตบ้านหาดไคร้ ตำบลเวียง อำเภอเชียงของ เกี่ยวกับปลาบึกซึ่งเป็นปลาขนาด ใหญ่อาศัยอยู่ในแม่น้ำโขงว่า เป็นปลาศักดิ์สิทธิ์ มีเทพเจ้าคุ้มครอง ก่อนที่ชาวประมง จะจับปลาบึกต้องมีการบวงสรวงก่อน ฤดูกาลจับปลาบึกระหว่างเดือนเมษายน-พฤษภาคม
  • ประเพณีโล้ชิงช้าของชาวอีก้อ หรือที่เรียกตนเองว่า "อาข่า" มีเชื้อสายจากจีน-ทิเบต เดินทางอพยพมาอยู่บริเวณ ชายแดนไทย-พม่า แถบตอนเหนือของลำน้ำกก โดยเฉพาะอำเภอแม่จัน และแม่สาย การโล้ชิงช้าเป็นการขึ้นไปขอพรและแสดงความรำลึกถึงพระคุณของเทพธิดาแห่ง สรวงสวรรค์ ผู้ประทานความชุ่มชื่นอุดมสมบูรณ์ให้กับพืชพันธุ์ธัญญาหารและ ยังเป็นการเซ่นไหว้บรรพบุรุษอีกด้วย จัดในช่วงเดือนสิงหาคม
  • ประเพณีปีใหม่ม้ง (น่อเป๊เจ่า) จัดขึ้นทุกปี ในวันขึ้น 1 ค่ำเดือน 1 หรือขึ้น 1 ค่ำเดือน 2 (ช่วงเดือน พฤศจิกายน-มกราคม) ตามปฏิทินจันทรคติ ของทุกปี มีการละเล่น การแข่งขัน และการแสดงมากมาย เช่น การโยนลูกช่วง (ป๋อป๊อ) ของวัยรุ่นหนุ่มสาวที่ยังโสด การแข่งขันยิงหน้าไม้ การแข่งขันตีลูกข่าง การแข่งรถฟอร์มูล่าม้ง ฯลฯ

ภาษา

[แก้]
  • ภาษาพูด ใช้พูดจากันเรียกว่า คำเมือง เนื่องจากเชียงรายเคยเป็นเมืองร้างผู้คนนานเกือบร้อยปี ได้มีการฟื้นฟูบ้านเมืองขึ้นมาใหม่เมื่อประมาณ ปี พ.ศ. 2384 โดยได้เกณฑ์ราษฎรจากเชียงใหม่ ลำพูน ลำปาง ตาก แพร่ น่าน อุตรดิตถ์ และชนเผ่าไตใหญ่ ไตลื้อ ไตยอง และไตขืน (เขิน) ซึ่งอพยพจากเชียงตุง และสิบสองปันนา รวมทั้งชาวลาวจากประเทศลาว ได้เข้ามาอาศัยอยู่รวมกัน ดังนั้นสำเนียงพูดของชาวเชียงรายจึงมีความหลากหลายทางสำเนียงในพื้นที่ต่าง ๆ
  • ภาษาเขียน เชียงรายก็เช่นเดียวกันกับจังหวัดทางภาคเหนืออื่น ๆ คือมีภาษาเขียนที่เรียกว่าอักขระล้านนา หรือตัวเมือง อักษรล้านนามีวิวัฒนาการมาจากอักษรพราหมีของอินเดีย มีการจัดระบบของหลักภาษาคล้ายกับภาษาบาลี อักษรล้านนามีรูปทรงกลมป้อมคล้ายอักษรพม่าและมอญ แต่หลักการทางภาษาไม่เหมือนกัน

การจัดตั้งอำเภอและจังหวัด

[แก้]

การแบ่งพื้นที่บางอำเภอในอดีต เพื่อตั้งเป็นกิ่งอำเภอ และอำเภอต่าง ๆ

[แก้]
แผนที่จังหวัดเชียงราย แสดงสีตาม 7 อำเภอเดิม

แบ่งพื้นที่อำเภอแม่จันตั้งเป็นอำเภอเชียงแสน อำเภอแม่สาย อำเภอแม่ฟ้าหลวง และอำเภอดอยหลวง

อำเภอแม่จัน เดิมชื่อว่าอำเภอเชียงแสน[32] มีพื้นที่อยู่ทางตอนเหนือของจังหวัดเชียงราย (พื้นที่สีเขียวในแผนที่ ในรูป 2) ต่อมาถูกแบ่งพื้นที่บางส่วนเพื่อตั้งเป็นกิ่งอำเภอและอำเภอต่าง ๆ ได้แก่ อำเภอเชียงแสน อำเภอแม่สาย อำเภอแม่ฟ้าหลวง และอำเภอดอยหลวง ตามลำดับ

  • เดิมมีการแยกพื้นที่ตำบลในเวียง ตำบลบ้านแซว และตำบลป่าสัก อำเภอเชียงแสน (หมายเลข 1 ในรูป 2) [33] เพื่อตั้งเป็น กิ่งเชียงแสน เนื่องจากการคมนาคมระหว่างพื้นที่ดังกล่าวกับตัวอำเภอยากลำบาก แต่ภายหลัง เมื่อการคมนาคมสะดวกมากขึ้นกิ่งเชียงแสนจึงถูกยุบรวมเข้ากับอำเภอเชียงแสนตามเดิมในปี พ.ศ. 2468 [34] แต่ต่อมาในปี พ.ศ. 2470 เมื่อประชากรมากขึ้นเพื่อเป็นการสะดวกแก่การติดต่อราชการจึงมีการประกาศตั้งกิ่งอำเภออีกครั้ง โดยชื่อว่า กิ่งอำเภอเชียงแสนหลวง ในปี พ.ศ. 2470 [35] ต่อมามีการเปลี่ยนชื่อ กิ่งอำเภอเชียงแสนหลวง เป็นกิ่งอำเภอเชียงแสน พร้อมกับเปลี่ยนชื่ออำเภอเชียงแสน เป็นอำเภอแม่จัน เพื่อให้สอดคลองกับที่ตั้งทางภูมิศาสตร์ ในปี พ.ศ. 2480 [36] และอีก 30 ปีต่อมา กิ่งอำเภอเชียงแสนได้ยกฐานะเป็นอำเภอเชียงแสน ในปี พ.ศ. 2500
  • ในปี พ.ศ. 2481 มีการแยกตำบลแม่สายและตำบลโป่งผา เพื่อตั้งเป็นกิ่งอำเภอแม่สาย (หมายเลข 2 ในรูป 2)[37] เนื่องจากมีประชากรหนาแน่นและเป็นทำเลค้าขาย ต่อมาได้ยกฐานะขึ้นเป็นอำเภอแม่สายในปี พ.ศ. 2493[38]
  • ในปี พ.ศ. 2535 ได้มีการแยกตำบลเทอดไทย ตำบลแม่สลองนอก และตำบลแม่สลองใน เพื่อตั้งเป็นกิ่งอำเภอแม่ฟ้าหลวง (หมายเลข 7 ในรูป 2)[39] เนื่องจากเป็นพื้นที่ห่างไกลและเพื่อเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี จึงตั้งชื่ออำเภอว่า แม่ฟ้าหลวง ตามพระสมัญญานาม ต่อมาได้ยกฐานะเป็นอำเภอแม่ฟ้าหลวง ในปี พ.ศ. 2539[40]
  • ในปี พ.ศ. 2539 ได้แยกตำบลปงน้อย ตำบลโชคชัย และตำบลหนองป่าก่อ เพื่อตั้งเป็นกิ่งอำเภอดอยหลวง (หมายเลข 11 ในรูป 2)[41]และต่อมาได้ยกฐานะเป็นอำเภอดอยหลวงในปี พ.ศ. 2550[42]

แบ่งพื้นที่อำเภอเมืองเชียงรายเพื่อตั้งเป็นอำเภอเวียงชัยและอำเภอแม่ลาว

อำเภอเมืองเชียงรายเป็นที่ตั้งของศูนย์ราชการของจังหวัดเดิมมีพื้นที่ครอบคลุมลุ่มน้ำแม่กกส่วนใหญ่ (พื้นที่สีส้มในแผนที่ ในรูป 2) ต่อมาแยกเป็น อำเภอเวียงชัย และอำเภอแม่ลาว และต่อมาอำเภอเวียงชัยได้แยกพื้นที่บางส่วนเพื่อตั้งเป็นอำเภอเวียงเชียงรุ้งตามลำดับ

  • ในปี พ.ศ. 2517 ได้มีการแบ่งพื้นที่ตำบลเวียงชัย ตำบลทุ่งก่อ และตำบลผางาม ออกจากอำเภอเมืองเชียงราย เพื่อตั้งเป็นกิ่งอำเภอเวียงชัย (หมายเลข 3 และ 10 ในรูป 2)[43] และต่อมายกฐานะเป็นอำเภอเวียงชัยในปี พ.ศ. 2522[44]
  • ในปี พ.ศ. 2536 มีการแบ่งพื้นที่ตำบลดงมะดะ ตำบลจอมหมอกแก้ว ตำบลโป่งแพร่ ตำบลป่าก่อดำ และตำบลบัวสลี ออกจากอำเภอเมืองเชียงรายเพื่อตั้งเป็นกิ่งอำเภอแม่ลาว (หมายเลข 9 ในรูป 2)[45] และยกฐานะเป็นอำเภอแม่ลาวในปี พ.ศ. 2539[46]

แบ่งพื้นที่อำเภอเวียงชัยเพื่อตั้งเป็นอำเภอเวียงเชียงรุ้ง

  • ในปี พ.ศ. 2538 มีการแบ่งพื้นที่ตำบลป่าซาง ตำบลดงมหาวัณ และตำบลทุ่งก่อ ออกจากอำเภอเวียงชัยเพื่อตั้งเป็นกิ่งอำเภอเชียงรุ้ง (หมายเลข 10 ในรูป 2)[47] แต่ต่อมาได้มีการเปลี่ยนชื่อเป็นกิ่งอำเภอเวียงเชียงรุ้ง เพื่อให้สอดคล้องกับประวัติศาสตร์ท้องถิ่น และยกฐานะเป็นอำเภอเวียงเชียงรุ้งในปี พ.ศ. 2550[48]

แบ่งพื้นที่อำเภอพานเพื่อตั้งอำเภอป่าแดด

อำเภอพาน ตั้งอยู่ทางตอนใต้ของจังหวัดเขียงราย (พื้นที่สีฟ้าในแผนที่ ในรูป 2) ต่อมาได้แยกพื้นที่ตำบลป่าแดดเพื่อตั้งเป็นกิ่งอำเภอป่าแดด (หมายเลข 4 ในรูป 2)ในปี พ.ศ. 2512[49] และยกฐานะเป็นอำเภอป่าแดดในปี พ.ศ. 2518[50]

แบ่งพื้นที่อำเภอเชียงของเพื่อตั้งอำเภอเวียงแก่น

อำเภอเชียงของ ตั้งอยู่ทางตะวันออกเฉียงเหนือของจังหวัดเชียงราย (พื้นที่สีม่วงอ่อนในแผนที่ ในรูป 2) ต่อมาได้แยกตำบลปอ ตำบลหล่ายงาว และตำบลม่วงยายเพื่อตั้งเป็นกิ่งอำเภอเวียงแก่น(หมายเลข 6) ในปี พ.ศ. 2530[51] และยกฐานะเป็นอำเภอเวียงแก่นในปี พ.ศ. 2538[52]

แบ่งพื้นที่อำเภอเทิงเพื่อตั้งอำเภอพญาเม็งรายและอำเภอขุนตาล

อำเภอเทิงเป็นอำเภอที่มีพื้นที่กว้างขวางตั้งอยู่ทิศตะวัตออกเฉียงใต้ของตัวจังหวัด (สีแดง ในรูป 2) ต่อมาได้แบ่งพื้นที่บางส่วนตั้งเป็นอำเภอพญาเม็งราย และอำเภอขุนตาล ตามลำดับ

  • ในปี พ.ศ. 2524 ได้แยกตำบลแม่เปา ตำบลแม่ต๋ำ และตำบลไม้ยา ออกจากอำเภอเทิงเพื่อตั้งเป็นกิ่งอำเภอพญาเม็งราย (หมายเลข 5 ในรูป 2)[53] และยกฐานะเป็นอำเภอพญาเม็งรายในปี พ.ศ. 2530 [54]
  • ในปี พ.ศ. 2524 ได้แยกตำบลป่าตาล ตำบลต้า และตำบลยางฮอม ออกจากอำเภอเทิง เพื่อตั้งเป็นกิ่งอำเภอขุนตาล (หมายเลข 8 ในรูป 2)[55] และยกฐานะขึ้นเป็นอำเภอขุนตาลในปี พ.ศ. 2539[56]

การเสนอโครงการจัดตั้งกิ่งอำเภอต่าง ๆ ในช่วงปี พ.ศ. 2539-ปัจจุบัน

[แก้]
แผนที่จังหวัดเชียงราย แสดงพื้นที่ซึ่งเคยมีการเสนอ ให้มีการจัดตั้งกิ่งอำเภอขึ้น ดังนี้ 1.กิ่งอำเภอแม่เจดีย์ 2.กิ่งอำเภอวาวี 3.กิ่งอำเภอดอยสัก 4.กิ่งอำเภอปล้อง 5.กิ่งอำเภอแม่อ้อ หรือ กิ่งอำเภอพัชรกิติยาภา 6.กิ่งอำเภอเรืองนคร

เนื่องจากบางอำเภอของจังหวัดเชียงรายมีพื้นที่กว้างใหญ่ แม้ว่าการคมนาคมจะสะดวกง่ายดายแต่ก็ใช้เวลานานในการเดินทางติดต่อราชการ รวมถึงบางพื้นที่ได้มีมีประชากรหนาแน่นขึ้นและมีความเจริญมากขึ้นเป็นลำดับ จึงมีการเสนอโครงการจัดตั้งกิ่งอำเภอต่าง ๆ ในหลายพื้นที่ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2539 (ดังรูป 3) ดังนี้

  • เสนอให้แยกตำบลแม่เจดีย์ ตำบลแม่เจดีย์ใหม่ และตำบลเวียงกาหลง ออกจากอำเภอเวียงป่าเป้าในปี พ.ศ. 2539 เพื่อตั้งเป็น กิ่งอำเภอแม่ขะจาน อำเภอเวียงป่าเป้า เนื่องจากแม่ขะจานไกลจากตัวเมืองเวียงป่าเป้าแต่มีความเจริญและประชากรเริ่มหนาแน่นกว่า อย่างไรก็ตาม ชื่อกิ่งอำเภอแม่ขะจานยังปรากฏตามเว็บไซต์ต่าง ๆ อย่างไม่เป็นทางการอาจสร้างความสับสนกับผู้อ่านได้ [57] [58]
  • เสนอให้แยกตำบลวาวี ออกจากอำเภอแม่สรวยในปี พ.ศ. 2539 เพื่อตั้งเป็นกิ่งอำเภอวาวี แต่โครงการได้ถูกระงับเนื่องจากขาดแคลนงบประมาณ อย่างไรก็ตาม ได้มีการรื้นฟื้นอีกครั้งหลังจากมีการเสนอร่างพระราชบัญญัติจัดตั้งจังหวัดฝางขึ้นโดยมีการอ้างว่าเป็นความต้องการของประชาชนในตำบลวาวีเนื่องจากเดินทางติดต่อกับตัวอำเภอฝางสะดวกมากกว่าติดต่อกับจังหวัดเชียงราย [59][60]
  • เสนอให้แยกตำบลห้วยสักและตำบลดอยลานออกจากอำเภอเมืองเชียงรายเพื่อตั้งกิ่งอำเภอดอยสัก ในปี พ.ศ. 2539 แต่โครงการได้ถูกระงับเนื่องจากขาดแคลนงบประมาณเช่นกัน แต่เนื่องจากมีการเตรียมสถานที่สำหรับเป็นที่ว่าการกิ่งอำเภอชั่วคราวและมีการขึ้นป้ายแล้ว จึงทำให้เกิดข้อสงสัยสำหรับผู้ที่พบเห็นป้ายในสมัยหลัง[61]
  • เสนอให้แยกตำบลปล้อง ตำบลแม่ลอย ตำบลศรีดอนชัย และตำบลเชียงเคี่ยน ออกจากอำเภอเทิง เพื่อตั้งเป็นกิ่งอำเภอปล้อง
  • เสนอให้แยกตำบลแม่อ้อและตำบลสันมะเค็ด ออกจากอำเภอพาน เพื่อตั้งเป็นกิ่งอำเภอแม่อ้อ ในปี พ.ศ. 2539 แต่ก็ได้ถูกระงับไปเช่นกัน จนกระทั่งในเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2556 ก็ได้มีข่าวการทำประชาคมเพื่อเสนอโครงการจัดตั้งกิ่งอำเภออีกครั้งโดยใช้ชื่อกิ่งอำเภอพัชรกิติยาภา โดยพบว่าเกิดความขัดแย้งระหว่าง 2 ตำบลในการเสนอพื้นที่ที่เหมาะสมในการตั้งศูนย์ราชการของอำเภอใหม่[62] ทั้งยังก่อให้เกิดข้อถกเถียงเกี่ยวกับความเหมาะสมของชื่ออำเภอว่าจะเป็นชื่อท้องถิ่นหรือเป็นชื่อพระราชทานอีกด้วย [63]
  • เสนอให้แยกตำบลครึ่ง ตำบลห้วยซ้อ และตำบลบุญเรือง ออกจากอำเภอเชียงของเพื่อตั้งเป็นกิ่งอำเภอเรืองนคร แต่โครงการนี้ได้ถูกระงับไปเช่นกัน

การเสนอโครงการจัดตั้งจังหวัดเทิงนคร

[แก้]

ในช่วงปี พ.ศ. 2540-2545 หลังจากได้มีการจัดตั้งหน่วยงานราชการระดับจังหวัด เช่น เรือนจำจังหวัดเทิง [64] ศาลจังหวัดเทิง[65] สำนักงานอัยการจังหวัดเทิง สำนักงานขนส่งจังหวัดเชียงราย สาขาเทิง จึงได้มีกระแสการเสนอรณรงค์เพื่อเสนอโครงการจัดตั้งจังหวัดเทิงขึ้นโดยนักการเมืองในเขตอำเภอเทิง โดยใช้ชื่อที่ใช้ในการรณรงค์ในขณะนั้นว่า จังหวัดเทิงนคร โดยเสนอที่จะแยก อำเภอเทิง อำเภอเชียงของ อำเภอป่าแดด อำเภอพญาเม็งราย อำเภอขุนตาล และอำเภอเวียงแก่น จังหวัดเชียงราย ขึ้นเป็นจังหวัดใหม่ แต่โครงการนี้ได้เงียบไปและเป็นที่กล่าวถึงใหม่เป็นระยะ ๆ บนกระดานสนทนาต่าง ๆ บนอินเทอร์เน็ต[66]

การเสนอโครงการจัดตั้งจังหวัดเชียงของ

[แก้]

หลังจากมีการก่อสร้าง สะพานข้ามแม่น้ำโขงแห่งที่ 4 (เชียงของ-ห้วยทราย) ขึ้นที่อำเภอเชียงของ [67] ในปี พ.ศ. 2554 และมีโครงการเชียงของเมืองใหม่ขึ้นมารับการพัฒนาที่จะตามมาตามทางหลวงเอเชียสาย 3 (AH3) หรือเส้นทาง R3A [68] [69] [70] จึงมีแนวคิดที่จะเสนอโครงการจัดตั้งจังหวัดเชียงของ โดยแยกอำเภอเชียงแสน อำเภอดอยหลวง อำเภอเทิง อำเภอเชียงของ อำเภอป่าแดด อำเภอพญาเม็งราย อำเภอขุนตาล และอำเภอเวียงแก่น จังหวัดเชียงราย ขึ้นเป็นจังหวัดใหม่ [71] และก่อให้เกิดข้อถกเถียงบนกระดานข่าวในอินเทอร์เน็ตอยู่ระยะหนึ่งหลังจากมีข่าวลงในหนังสือพิมพ์ท้องถิ่นในปี พ.ศ. 2554 อย่างไรก็ตามโครงการดังกล่าวได้เงียบไปหลังจากนั้นไม่นาน

แผนที่ โครงการจัดตั้งจังหวัดใหม่
แผนที่แสดง 6 อำเภอ ได้แก่ อำเภอป่าแดด อำเภอเทิง อำเภอพญาเม็งราย อำเภอขุนตาล อำเภอเวียงแก่น และ อำเภอเชียงของ ที่มีการเสนอโครงการจัดตั้งจังหวัดเทิงนคร
แผนที่แสดง 8 อำเภอ ได้แก่ อำเภอป่าแดด อำเภอเทิง อำเภอพญาเม็งราย อำเภอขุนตาล อำเภอเวียงแก่น อำเภอดอยหลวง อำเภอเชียงแสน และ อำเภอเชียงของที่มีการเสนอโครงการจัดตั้งจังหวัดเชียงของแผนที่แสดง 8 อำเภอ ที่มีการเสนอโครงการจัดตั้งจังหวัดเชียงของ

การศึกษา

[แก้]

จังหวัดเชียงรายรับรองระบบการศึกษาตั้งแต่ระดับอนุบาลจนถึงระดับอุดมศึกษา มีจำนวนสถานศึกษาทั้งสิ้น 916 แห่ง ส่วนใหญ่เป็นสถาบันการศึกษาขั้นพื้นฐาน 590 แห่ง ตามมาด้วยสถาบันการศึกษาเอกชน 201 แห่ง และมีสถาบันอุดมศึกษา 8 แห่ง มีครู/อาจารย์ 18,178 คน และนักเรียน นักศึกษา 259,571 คน ซึ่งอัตราส่วนครู/อาจารย์ ต่อนักเรียน นักศึกษาเป็น 1:21 นักเรียนในสังกัดส่วนใหญ่อยู่ในระดับประถมศึกษา 90,007 คน รองลงมาคือ ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น 45,221 คน[72]

โรงเรียนสามัคคีวิทยาคม

โรงเรียนระดับมัธยมศึกษา

[แก้]

สถาบันอุดมศึกษา

[แก้]
มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง

สถาบันอุดมศึกษาเอกชน

[แก้]

สาธารณสุข

[แก้]

จังหวัดเชียงรายมีโรงพยาบาลแผนปัจจุบัน 26 แห่ง มีเตียงจำนวนทั้งหมด 2,614 เตียง มีบุคลากรแพทย์ 521 คน (อัตราส่วนต่อประชากรเป็น 4.44) พยาบาล 2,729 คน (อัตราส่วนต่อประชากรเป็น 2.33) ทันตแพทย์ 141 คน (อัตราส่วนต่อประชากรเป็น 1.20) และเภสัชกร 141 คน (อัตราส่วนต่อประชากรเป็น 2.08)[73]

โรงพยาบาลของรัฐ

[แก้]

โรงพยาบาลเอกชน

[แก้]

การขนส่ง

[แก้]
แผนที่โครงข่ายเส้นทางหลักในจังหวัดเชียงราย

จังหวัดเชียงรายมีระบบขนส่งที่หลากหลายทั้งทางบก ทางอากาศ และทางรถไฟในอนาคต โดยเชียงรายเป็นจุดหมายปลายทางการบินที่สำคัญแห่งหนึ่งของประเทศ เป็นที่ตั้งของท่าอากาศยานแม่ฟ้าหลวง เชียงราย และจังหวัดเชียงรายมีสถานีรถโดยสารประจำทาง 2 แห่ง สำหรับการขนส่งผู้โดยสารไปยังต่างอำเภอ และจังหวัดอื่น ๆ

ทางด้านระบบขนส่งมวลชน มี รถสองแถว ตุ๊กตุ๊ก รถเมล์ แท็กซี่มิเตอร์ ให้บริการในพื้นที่เทศบาลนครเชียงราย และอำเภอใกล้เคียง

สาธารณูปโภค

[แก้]
  • ไฟฟ้า การไฟฟ้าของจังหวัดอยู่ในความรับผิดชอบของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค เขต 1 ภาคเหนือ จังหวัดเชียงใหม่ รับซื้อกระแสไฟฟ้าจากการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย ณ แหล่งผลิตแม่เมาะ จังหวัดลำปาง สามารถให้บริการไฟฟ้าได้ครอบคลุม 18 อำเภอ สำหรับหมู่บ้าน ที่ไม่สามารถขยายเขตระบบจำหน่ายได้เนื่องจากสาเหตุหลายประการ ได้แก่ เป็นหมู่บ้าน ที่อยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติ แหล่งต้นน้ำลำธาร ลุ่มน้ำ เขตป่าอนุรักษ์ อุทยานแห่งชาติ เป็นต้น ซึ่งหลายแห่งมีการติดตั้งเครื่องผลิตไฟฟ้าด้วยพลังงานแสงอาทิตย์
  • ประปา การประปาในจังหวัดเชียงราย มีจำนวน 5 แห่ง ได้แก่ การประปาเชียงราย การประปาพาน การประปาเทิง การประปาเวียงเชียงของ และการประปาแม่สาย
  • โทรศัพท์ จังหวัดเชียงรายมีชุมสายโทรศัพท์
  • ไปรษณีย์ มีสำนักงานไปรษณีย์ จำนวน 22 แห่ง

กีฬา

[แก้]

จังหวัดเชียงรายมีการจัดการแข่งขันกีฬาในระดับประเทศหลายครั้ง ได้แก่ การแข่งขันกีฬาแห่งชาติ 2 ครั้ง กีฬาเยาวชนแห่งชาติ 1 ครั้ง และกีฬานักเรียนนักศึกษาแห่งประเทศไทย 2 ครั้ง

เชียงรายมีสโมสรฟุตบอลอาชีพ 3 สโมสร ได้แก่

สถานที่ท่องเที่ยว

[แก้]

สถานที่ท่องเที่ยวทางธรรมชาติ

[แก้]

สถานที่ท่องเที่ยวทั่วไป

[แก้]
อำเภอเมืองเชียงราย
วัดร่องขุ่น อำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย
อำเภออื่น ๆ
ไร่ชาฉุยฟง อำเภอแม่จัน จังหวัดเชียงราย

บุคคลที่มีชื่อเสียง

[แก้]

บ้านพี่เมืองน้อง

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. ศูนย์สารสนเทศเพื่อการบริหารและงานปกครอง. กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "ข้อมูลการปกครอง." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://www.dopa.go.th/padmic/jungwad76/jungwad76.htm เก็บถาวร 2016-03-10 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน [ม.ป.ป.]. สืบค้น 18 เมษายน 2553.
  2. https://e-report.energy.go.th/area/Chiangrai.htm
  3. 3.0 3.1 สำนักบริหารการทะเบียน. กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "จำนวนประชากรและบ้าน." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: [http://stat.bora.dopa.go.th/stat/statnew/statTDD/views/showDistrictData.php?rcode=57&statType=1&year=61 รายงานสถิติจำนวนประชากรและบ้าน ประจำปี พ.ศ. 2561 - จังหวัดเชียงราย] สืบค้น 4 มกราคม 2562.
  4. ตำนานพื้นเมืองเชียงใหม่ ฉบับเชียงใหม่ ๗๐๐ ปี.[ระบุข้อมูลทางบรรณานุกรมไม่ครบ]
  5. 5.0 5.1 กองเศรษฐกิจการท่องเที่ยวและกีฬา กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา "สรุปสถานการณ์พักแรม จำนวนผู้เยี่ยมเยือน และรายได้จากผู้เยี่ยมเยือน ม.ค.-ธ.ค. 2561" (15 มี.ค. 2562) https://www.mots.go.th/ewt_dl_link.php?nid=11431 เก็บถาวร 2021-12-03 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  6. 6.0 6.1 สำนักงานสถิติจังหวัดเชียงราย "รายงานสถิติจังหวัดเชียงราย พ.ศ. 2561" https://drive.google.com/file/d/1Jxg3adeLJ6cqyQx_5XIvDW7FLzGK1M6Y/view
  7. http://www.museumthailand.com/th/1063/storytelling/%E0%B9%80%E0%B8%8A%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%87%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B9%80%E0%B8%A1%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%A8%E0%B8%B4%E0%B8%A5%E0%B8%9B%E0%B8%B4%E0%B8%99/
  8. ตำนานพื้นเมืองเชียงใหม่ ฉบับเชียงใหม่ ๗๐๐ ปี, หน้า 13.[ระบุข้อมูลทางบรรณานุกรมไม่ครบ]
  9. ประกาศกระทรวงมหาดไทย ประกาศยกเมืองเชียงรายเป็นเมืองจัตวามณฑลพายัพ, ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 27 หน้า 426.http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2453/D/426_2.PDF
  10. ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้เปลี่ยนคำว่าเมืองเรียกว่าจังหวัด, ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 33 หน้า 51.http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2459/A/51.PDF
  11. ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง โอนอำเภอเมืองฝาง จังหวัดเชียงรายไปขึ้นจังหวัดเชียงใหม่, ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 42 หน้า 203. http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2468/D/203.PDF
  12. พระราชบัญญัติเปลี่ยนแปลงเขตจังหวัด พุทธศักราช ๒๔๗๙, ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 45 หน้า 40.http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2480/A/40.PDF
  13. พระราชบัญญัติเปลี่ยนแปลงเขตจังหวัดน่าน จังหวัดเชียงราย และจังหวัดแพร่ พ.ศ. ๒๔๙๕, ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 96 หน้า 1440.http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2495/A/077/1440.PDF
  14. ตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ ๑๓๗ ซึ่งมีสถานะเทียบเท่าพระราชบัญญัติ แก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติซึ่งออกตามความในมาตรา ๓๒ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. ๒๔๙๕ กำหนดให้เปลี่ยนแปลงเขตจังหวัดเชียงรายและจังหวัดน่าน โดยโอนหมู่บ้านหมู่ที่ ๑๐ ตำบลควน อำเภอปง จังหวัดเชียงราย ไปขึ้นตำบลป่าคา อำเภอท่าวังผา จังหวัดน่าน และโอนตำบลยอด อำเภอปง จังหวัดเชียงราย ไปขึ้นอำเภอเชียงกลาง จังหวัดน่าน , ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 89 ตอน70 ก.พิเศษ หน้า 8 .http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2515/A/070/8.PDF
  15. พระราชบัญญัติตั้งจังหวัดพะเยา พ.ศ. 2520, ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 93 หน้า 1.http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2520/A/069/1.PDF
  16. ""สัมผัสสายหมอกที่ ดอยลังกาหลวง"". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-01-17. สืบค้นเมื่อ 2013-01-12.
  17. "30 year Average (1961-1990) - CHIANG RAI". Thai Meteorological Department. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-03-20. สืบค้นเมื่อ 2010-04-20.
  18. "Climatological Normals of Chiang Rai". Hong Kong Observatory. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-11-02. สืบค้นเมื่อ 2011-11-13.
  19. 19.0 19.1 จังหวัดเชียงราย. (ม.ป.ป.). สัญลักษณ์ประจำจังหวัด. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://www.chiangrai.net/CPOC/2009/Articles/viewArticle.aspx?A=2[ลิงก์เสีย]. (เข้าถึงเมื่อ: 26 กันยายน 2551).
  20. จำนวนประชากรและบ้าน จำแนกเป็นรายอำเภอ และรายตำบล จังหวัดเชียงราย ณ เดือนธันวาคม พ.ศ. 2553, สำนักบริหารทะเบียน กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย
  21. มีคำสั่งเปลี่ยนแปลงเทศบาลตำบลแม่สายเพื่อเป็นเทศบาลเมืองหรือเทศบาลนคร แต่ยังไม่ระบุได้ชัดเจนว่าจะได้รับการยกฐานะเมื่อไร ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับพระราชกฤษฎีกายกฐานะเป็นเทศบาลเมือง ซึ่งมีคำสั่งตามนี้ [1]
  22. สำนักงานส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นจังหวัดเชียงราย
  23. มีคำสั่งเปลี่ยนแปลงเทศบาลตำบลแม่สายเพื่อเป็นเทศบาลเมืองหรือเทศบาลนคร แต่ยังไม่ระบุได้ชัดเจนว่าจะได้รับการยกฐานะเมื่อไร ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับพระราชกฤษฎีกายกฐานะเป็นเทศบาลเมือง ซึ่งมีคำสั่งตามนี้ [2]
  24. มีคำสั่งเปลี่ยนแปลงเทศบาลตำบลแม่สายเพื่อเป็นเทศบาลเมืองหรือเทศบาลนคร แต่ยังไม่ระบุได้ชัดเจนว่าจะได้รับการยกฐานะเมื่อไร ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับพระราชกฤษฎีกายกฐานะเป็นเทศบาลเมือง ซึ่งมีคำสั่งตามนี้ [3]
  25. ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง จำนวนราษฎรรายจังหวัดตามหลักฐานทางทะเบียนราษฎร เมื่อวันที่ 31 ธันวาคม 2522 ราชกิจจานุเบกษา. 05 กุมภาพันธ์ 2523.
  26. ประกาศสำนักงานกลางทะเบียนราษฎร กรมการปกครอง เรื่อง จำนวนราษฎรรายจังหวัดตามหลักฐานทางทะเบียนราษฎร เมื่อวันที่ 31 ธันวาคม 2525 ราชกิจจานุเบกษา. 08 กุมภาพันธ์ 2526.
  27. ประกาศสำนักงานกลางทะเบียนราษฎร กรมการปกครอง เรื่อง จำนวนราษฎรรายจังหวัดตามหลักฐานทางทะเบียนราษฎร เมื่อวันที่ 31 ธันวาคม 2528 ราชกิจจานุเบกษา. 31 มีนาคม 2529.
  28. ประกาศสำนักงานกลางทะเบียนราษฎร กรมการปกครอง เรื่อง จำนวนราษฎรรายจังหวัดตามหลักฐานทางทะเบียนราษฎร เมื่อวันที่ 31 ธันวาคม 2531 ราชกิจจานุเบกษา. 30 มีนาคม 2532
  29. ประกาศสำนักงานกลางทะเบียนราษฎร กรมการปกครอง เรื่อง จำนวนราษฎรรายจังหวัดตามหลักฐานทางทะเบียนราษฎร เมื่อวันที่ 31 ธันวาคม 2534 ราชกิจจานุเบกษา. 02 มกราคม 2535.
  30. ประกาศสำนักทะเบียนกลาง กรมการปกครอง เรื่อง จำนวนราษฎรทั่วราชอาณาจักร แยกรายจังหวัด ตามหลักฐานการทะเบียนราษฎร เมื่อวันที่ 31 ธันวาคม 2537 ราชกิจจานุเบกษา. 28 กุมภาพันธ์ 2538.
  31. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-08-03. สืบค้นเมื่อ 2011-08-04.
  32. พระราชกฤษฎีกาเปลี่ยนนามอำเภอ กิ่งอำเภอ และตำบลบางแห่ง พุทธศักราช ๒๔๘๒", ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 56 0ก หน้า 1939.http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2482/A/354.PDF
  33. อำเภอเชียงแสน ในที่นี้หมายถึงพื้นที่ อำเภอแม่จัน อำเภอแม่สาย อำเภอเชียงแสน อำเภอแม่ฟ้าหลวง และอำเภอดอยหลวง จังหวัดเชียงรายในปัจจุบัน; พื้นที่สีเขียวในแผนที่
  34. แจ้งความกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ยุบกิ่งเชียงแสนเข้ารวมกับอำเภอเชียงแสนจังหวัดเชียงราย, ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 42 0ง หน้า 2159.http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2468/D/2159.PDF
  35. แจ้งความกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งกิ่งอำเภอเชียงแสนหลวง, ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 44 0ง หน้า 1232.http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2470/D/1232.PDF
  36. พระราชกฤษฎีกาเปลี่ยนนามอำเภอ กิ่งอำเภอ และตำบลบางแห่ง พุทธศักราช ๒๔๘๒", ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 56 0ก หน้า 1939.http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2482/A/354.PDF
  37. ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งกิ่งอำเภอแม่สาย ขึ้นอำเภอเชียงแสน จังหวัดเชียงราย, ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 55 0ง หน้า 3873.http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2481/D/3873.PDF
  38. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง ยกฐานะกิ่งอำเภอแม่สาย อำเภอแม่จัน จังหวัดเชียงราย ขึ้นเป็นอำเภอ, ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 67 20ง หน้า 1433.http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2493/D/020/1433.PDF
  39. ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง แบ่งเขตท้องที่อำเภอแม่จัน จังหวัดเชียงราย ตั้งเป็นกิ่งอำเภอแม่ฟ้าหลวง, ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 109 53ง ฉบับพิเศษ หน้า 5. http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2535/D/053/5.PDF เก็บถาวร 2012-04-06 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  40. พระราชกฤษฎีกาตั้งอำเภอเหนือคลอง อำเภอนายายอาม อำเภอท่าตะเกียบ อำเภอขุนตาล อำเภอแม่ฟ้าหลวง อำเภอแม่ลาว อำเภอรัษฎา อำเภอพุทธมณฑล อำเภอวังน้ำเขียว อำเภอเจาะไอร้อง อำเภอชำนิ อำเภอโนนดินแดง อำเภอปางมะผ้า อำเภอสนธิ อำเภอหนองม่วง อำเภอเบญจลักษ์ อำเภอโพนนาแก้ว อำเภอบุ่งคล้า อำเภอดอนมดแดง และอำเภอลืออำนาจ พ.ศ. ๒๕๓๙, ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 113 62 ก ฉบับพิเศษ หน้า 5.http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2539/A/062/5.PDF
  41. ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง แบ่งเขตท้องที่อำเภอแม่จัน จังหวัดเชียงราย ตั้งเป็นกิ่งอำเภอดอยหลวง,ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 113 18ง ฉบับพิเศษ หน้า 26.
  42. พระราชกฤษฎีกาตั้งอำเภอฆ้องชัย...และอำเภอเหล่าเสือโก้ก พ.ศ. ๒๕๕๐,ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 124 46ก หน้า 14.
  43. ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง แบ่งท้องที่อำเภอเชียงราย จังหวัดเชียงราย ตั้งเป็นกิ่งอำเภอเวียงชัย,ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 91 100 หน้า 2589. http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2517/D/100/2589.PDF เก็บถาวร 2012-04-06 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  44. พระราชกฤษฎีกาตั้งอำเภอหนองกุงศรี อำเภอไทรงาม อำเภอบ้านฝาง อำเภออุบลรัตน์ อำเภอเวียงชัย อำเภอดอยเต่า อำเภอนิคมคำสร้อย อำเภอนาหว้า อำเภอเสิงสาง อำเภอศรีสาคร อำเภอบึงสามพัน อำเภอนาดูน อำเภอค้อวัง อำเภอโพธิ์ชัย อำเภอเมืองสรวง อำเภอปลวกแดง อำเภอยางชุมน้อย อำเภอกาบเชิง อำเภอสุวรรณคูหา และอำเภอกุดข้าวปุ้น พ.ศ. ๒๕๒๒,ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 96 42ก ฉบับพิเศษ หน้า 19. http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2522/A/042/19.PDF เก็บถาวร 2007-09-30 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  45. ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง แบ่งเขตท้องที่อำเภอเมืองเชียงราย จังหวัดเชียงราย ตั้งเป็นกิ่งอำเภอแม่ลาว,ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 110 74 หน้า 19.http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2536/D/074/19.PDF
  46. พระราชกฤษฎีกาตั้งอำเภอเหนือคลอง อำเภอนายายอาม อำเภอท่าตะเกียบ อำเภอขุนตาล อำเภอแม่ฟ้าหลวง อำเภอแม่ลาว อำเภอรัษฎา อำเภอพุทธมณฑล อำเภอวังน้ำเขียว อำเภอเจาะไอร้อง อำเภอชำนิ อำเภอโนนดินแดง อำเภอปางมะผ้า อำเภอสนธิ อำเภอหนองม่วง อำเภอเบญจลักษ์ อำเภอโพนนาแก้ว อำเภอบุ่งคล้า อำเภอดอนมดแดง และอำเภอลืออำนาจ พ.ศ. ๒๕๓๙ว,ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 113 62ก หน้า 5.http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2539/A/062/5.PDF
  47. ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง แบ่งเขตท้องที่อำเภอเวียงชัย จังหวัดเชียงราย ตั้งเป็นกิ่งอำเภอเชียงรุ้ง,ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 112 9ง ฉบับพิเศษ หน้า 67.http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2538/E/009/67.PDF
  48. พระราชกฤษฎีกาตั้งอำเภอฆ้องชัย...และอำเภอเหล่าเสือโก้ก พ.ศ. ๒๕๕๐,ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 124 46ก หน้า 14.http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2550/A/046/14.PDF
  49. ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง แบ่งท้องที่ตั้งเป็นกิ่งอำเภอ,ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 86 49 หน้า 1863.http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2512/D/049/1863.PDF
  50. พระราชกฤษฎีกาตั้งอำเภอแวงน้อย อำเภอป่าแดด อำเภอเรณูนคร อำเภอคูเมือง อำเภอคุระบุรี อำเภอแม่ลาน้อย อำเภอเสริมงาม อำเภอไพรบึง และอำเภอหนองโดน พ.ศ. ๒๕๑๘,ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 92 166 ฉบับพิเศษ หน้า 1.http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2518/A/166/1.PDF
  51. ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง แบ่งเขตท้องที่อำเภอเชียงของ จังหวัดเชียงราย ตั้งเป็นกิ่งอำเภอเวียงแก่น,ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 104 67ง หน้า 2484.http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2530/D/067/2484.PDF
  52. พระราชกฤษฎีกาตั้งอำเภอด่านมะขามเตี้ย อำเภอแก่งหางแมว อำเภอภักดีชุมพล อำเภอเวียงแก่น อำเภอแม่วาง อำเภอถ้ำพรรณรา อำเภอบ่อเกลือ อำเภอโนนสุวรรณ อำเภอห้วยราช อำเภอแม่ลาน อำเภอบางแก้ว อำเภอป่าพะยอม อำเภอหนองม่วงไข่ อำเภอยางสีสุราช อำเภอจังหาร อำเภอบ้านธิ อำเภอภูสิงห์ อำเภอบางกล่ำ อำเภอวังม่วง และอำเภอนายูง พ.ศ. ๒๕๓๘,ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 112 32ก หน้า 1.http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2538/A/032/1.PDF
  53. ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง แบ่งท้องที่อำเภอเทิง จังหวัดเชียงราย ตั้งเป็นกิ่งอำเภอพญาเม็งราย,ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 98 68 หน้า 1283.http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2524/D/068/1283.PDF
  54. พระราชกฤษฎีกาจัดตั้งอำเภอพญาเม็งราย อำเภอพบพระ อำเภอทับคล้อ อำเภอบ้านโคก และอำเภอโพธิ์ไทร พ.ศ. ๒๕๓๐,ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 104 156 หน้า 26.http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2530/A/156/26.PDF
  55. ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง แบ่งเขตท้องที่อำเภอเทิง จังหวัดเชียงราย ตั้งเป็นกิ่งอำเภอขุนตาล,ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 119 53 ฉบับพิเศษ หน้า 1.http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2535/D/053/6.PDF
  56. พระราชกฤษฎีกาตั้งอำเภอเหนือคลอง อำเภอนายายอาม อำเภอท่าตะเกียบ อำเภอขุนตาล อำเภอแม่ฟ้าหลวง อำเภอแม่ลาว อำเภอรัษฎา อำเภอพุทธมณฑล อำเภอวังน้ำเขียว อำเภอเจาะไอร้อง อำเภอชำนิ อำเภอโนนดินแดง อำเภอปางมะผ้า อำเภอสนธิ อำเภอหนองม่วง อำเภอเบญจลักษ์ อำเภอโพนนาแก้ว อำเภอบุ่งคล้า อำเภอดอนมดแดง และอำเภอลืออำนาจ พ.ศ. ๒๕๓๙, ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 113 62 ก ฉบับพิเศษ หน้า 5.http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2539/A/062/5.PDF
  57. โป่งน้ำร้อน, http://kanchanapisek.or.th/oncc-cgi/text.cgi?no=12393[ลิงก์เสีย]
  58. เจ้าแม่นางแก้ว, http://horoscope.thaiza.com/เจ้าแม่นางแก้ว/196642/ เก็บถาวร 2014-04-05 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  59. ส.ส.เชียงใหม่ พท.หนุนตั้ง "ฝาง" เป็นจังหวัดใหม่ อ้าง ศก.เจ๋ง ทั้งท่องเที่ยว-การค้ากับเพื่อนบ้าน, http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1291029954&grpid=&catid=19&subcatid=1906 เก็บถาวร 2014-04-05 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  60. ร่างพระราชบัญญัติจัดตั้งจังหวัดฝาง พ.ศ. .., http://www.parliament.g[ลิงก์เสีย] o.th/ewtadmin/ewt/parliament_parcy/download/article/article_20110905142727.pdf
  61. กิ่งอำเภอดอยสัก, http://www.chiangraifocus.com/forums/index.php?action=printpage;topic=81368.0
  62. ประชาคม อปท. แย่งชิงพื้นที่สร้างอำเภอ, http://www.thaipost.net/x-cite/230713/76767[ลิงก์เสีย]
  63. กิ่งอำเภอใหม่, http://www.chiangraifocus.com/forums/index.php?topic=453247.40
  64. คำสั่งกระทรวงมหาดไทย ที่ ๒๙๗/๒๕๔๐ เรื่อง กำหนดอาณาเขตเรือนจำจังหวัดเทิง, ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 11ภ 49 ง ฉบับพิเศษ หน้า 33.http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2540/E/049/33.PDF
  65. พระราชกฤษฎีกากำหนดวันเปิดศาลศาลจังหวัดเทิงและศาลจังหวัดเดชอุดม พ.ศ. ๒๕๔๕, ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 119 97 ก หน้า 8 .http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/00103045.PDF
  66. จังหวัดเทิงนคร จะเป็นไปได้หรือ ? แยกจาก จ.เชียงราย, http://www.chiangraifocus.com/forums/index.php?topic=28180.msg263503;topicseen
  67. ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การเปิดจุดผ่านแดนชั่วคราวเพื่อก่อสร้างสะพานมิตรภาพแห่งที่ ๔ (เชียงของ - ห้วยทราย, ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 128 41 ง หน้า 14, http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2554/E/041/24.PDF )
  68. กลุ่มทุนธุรกิจแห่บุก "เชียงของ" รับสะพานแม่น้ำโขง 4 - อาเซียน, http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1372923087
  69. เชียงของ 1 เมือง 2 แบบ, http://www.bangkokbiznews.com/home/detail/life-style/lifestyle/20130306/493270/เชียงของ-1-เมือง-2-แบบ.html เก็บถาวร 2014-04-05 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  70. โครงการศูนย์การค้าชายแดนเชียงของเมืองใหม่ ทีตั้งอำเภอเชียงของ จังหวัดเชียงราย, http://www.chiangraifocus.com/forums/index.php?topic=410390.0
  71. จัดตั้งจังหวัดใหม่ที่ 78 คือ จ.เชียงของ, http://www.chiangraifocus.com/forums/index.php?topic=89508.0
  72. สำนักงานศึกษาธิการจังหวัดเชียงราย, ข้อมูลสารสนเทศทางการศึกษาจังหวัดเชียงราย ปีการศึกษา 2563
  73. ทรัพยากรสุขภาพ, ระบบสารสนเทศทรัพยากรสุขภาพ เก็บถาวร 2022-01-18 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน

ดูเพิ่ม

[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]

19°55′N 99°50′E / 19.91°N 99.83°E / 19.91; 99.83