ข้ามไปเนื้อหา

ชูสง่า ฤทธิประศาสน์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก ชูสง่า ไชยพันธุ์)
ชูสง่า ฤทธิประศาสน์
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย
ดำรงตำแหน่ง
20 เมษายน – 23 กันยายน พ.ศ. 2519
นายกรัฐมนตรีหม่อมราชวงศ์เสนีย์ ปราโมช
ดำรงตำแหน่ง
25 กันยายน – 6 ตุลาคม พ.ศ. 2519
นายกรัฐมนตรีหม่อมราชวงศ์เสนีย์ ปราโมช
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด11 ตุลาคม พ.ศ. 2457
อำเภอบางคล้า จังหวัดฉะเชิงเทรา
เสียชีวิต1 มกราคม พ.ศ. 2530 (72 ปี)
คู่สมรสนงนุช ฤทธิประศาสน์

นายชูสง่า ฤทธิประศาสน์ (ชูสง่า ไชยพันธ์) เป็นอดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย และอดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ในรัฐบาลหม่อมราชวงศ์เสนีย์ ปราโมช และเป็นอดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดเชียงราย 2 สมัย สังกัดพรรคชาติไทย อดีตอธิบดีกรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย

ประวัติ

[แก้]

เกิดเมื่อวันที่ 11 ตุลาคม พ.ศ. 2457[1] ที่อำเภอบางคล้า จังหวัดฉะเชิงเทรา เรียนชั้นประถมที่ โรงเรียนอำเภอบ้านโพธิ์ มัธยม โรงเรียนวัดเทพศิรินทร์ สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี ธรรมศาสตร์บัณฑิต จากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์และการเมือง สมรสกับนางนงนุช ฤทธิประศาสน์ พี่สาวของนายเอนก สิทธิประศาสน์ อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย ปลัดกระทรวงมหาดไทย มีบุตร 5 คน ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ณัฐนิภา คุปรัตน์ นาย ชิดพงษ์ ฤทธิประศาสน์ อดีตผู้ว่าราชการจังหวัดนครปฐม นายเชิดวิทย์ ฤทธิประศาสน์ อดีตผู้ว่าราชการจังหวัดนนทบุรี นางจุฑามาศ ประทีปะวณิช ผู้ว่าราชการจังหวัดสิงห์บุรี นางสาวจันทรนิภา ฤทธิประศาสน์

การทำงาน

[แก้]

ชูสง่า รับราชการในสังกัดกระทรวงมหาดไทย เคยดำรงตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัดพัทลุง ในระหว่างปี พ.ศ. 2497 ถึงปี พ.ศ. 2498[2] ผู้ว่าราชการจังหวัดนครนายก ในระหว่างปี พ.ศ. 2498 ถึงปี พ.ศ. 2502[3] และผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงราย ในระหว่างปี พ.ศ. 2504 ถึงปี พ.ศ. 2512[4] และได้รับแต่งตั้งสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ในปี พ.ศ. 2516[5]

หลังเกษียณอายุราชการ ชูสง่า ได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดเชียงราย ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2519 และการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2522 สังกัดพรรคชาติไทย และเขาได้รับแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย ในรัฐบาลหม่อมราชวงศ์เสนีย์ ปราโมช (ครม.37)[6] จนกระทั่งพ้นจากตำแหน่งเนื่องจากนายกรัฐมนตรีลาออก และได้รับแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ[7] แต่ดำรงตำแหน่งเพียง 12 วัน และได้เข้าเฝ้าถวายสัตย์ปฏิญาณเพียงวันเดียวก็ต้องพ้นจากตำแหน่ง เนื่องจากการรัฐประหารของพลเรือเอก สงัด ชลออยู่

สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร

[แก้]

ชูสง่า ได้รับการเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรมาแล้ว 2 สมัย คือ

  1. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2519 จังหวัดเชียงราย สังกัดพรรคชาติไทย
  2. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2522 จังหวัดเชียงราย สังกัดพรรคชาติไทย

สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ

[แก้]

ชูสง่า ได้รับแต่งตั้งเป็นสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ 2 สมัย คือ

  1. สภานิติบัญญัติแห่งชาติ (ประเทศไทย) พ.ศ. 2516
  2. สภานิติบัญญัติแห่งชาติ (ประเทศไทย) พ.ศ. 2520

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. รัฐสภาสาร (ฉบับพิเศษ) พ.ศ. 2522. สำนักงานเลขารัฐสภา. 2522
  2. ทำเนียบผู้ว่าราชการจังหวัดพัทลุง
  3. "ทำเนียบเจ้าเมืองนครนายก". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-04. สืบค้นเมื่อ 2015-09-06.
  4. "ทำเนียบผู้บริหารจังหวัดเชียงราย". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-10-04. สืบค้นเมื่อ 2015-09-06.
  5. "พระบรมราชโองการ แต่งตั้งสมาชิกสภานิติบัญญํติแห่งชาติ" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2015-09-27. สืบค้นเมื่อ 2015-09-06.
  6. "พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งรัฐมนตรี (จำนวน 35 ราย)" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2015-09-27. สืบค้นเมื่อ 2015-09-06.
  7. "พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งรัฐมนตรี (จำนวน ๓๓ ราย)" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2015-09-27. สืบค้นเมื่อ 2015-09-06.
  8. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๙๕ ตอนที่ ๓๔ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๓๔, ๒๗ มีนาคม ๒๕๒๑
  9. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๘๙ ตอนที่ ๒๐๒ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๓๕, ๓๑ ธันวาคม ๒๕๑๕
  10. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า, เล่ม ๘๕ ตอนที่ ๔๔ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๒๖, ๑๕ พฤษภาคม ๒๕๑๑
  11. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญพิทักษ์เสรีชน, เล่ม ๙๑ ตอนที่ ๒๑๓ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๒๓, ๑๖ ธันวาคม ๒๕๑๗
  12. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่องพระราชทานเหรียญช่วยราชการเขตภายใน, เล่ม ๖๐ ตอนที่ ๔๒ ง หน้า ๒๕๓๔, ๑๐ สิงหาคม ๒๔๘๖
  13. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญราชการชายแดน, เล่ม ๘๑ ตอนที่ ๙๔ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๗๐, ๓ ตุลาคม ๒๕๐๗
  14. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่องพระราชทานเหรียญจักรมาลาและเหรียญจักรพรรดิมาลา, เล่ม ๗๖ ตอนที่ ๑๑๕ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๒๓๗, ๑๖ ธันวาคม ๒๕๐๒
  15. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง พระราชทานเหรียญลูกเสือสดุดี, เล่ม ๘๒ ตอนที่ ๕๗ ง หน้า ๑๙๑๗, ๒๐ กรกฎาคม ๒๕๐๘
  16. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักคณะรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์, เล่ม ๗๒ ตอนที่ ๘๕ ง หน้า ๒๖๕๕, ๑ พฤศจิกายน ๒๔๙๘