จักรพรรดิโกะ-คาเมยามะ
จักรพรรดิโกะ-คาเมยามะ 後亀山天皇 | |||||
---|---|---|---|---|---|
![]() | |||||
จักรพรรดิญี่ปุ่น | |||||
ครองราชย์ | ค.ศ. 1383 – 19 พฤศจิกายน ค.ศ. 1392 | ||||
ก่อนหน้า | โชเก | ||||
ถัดไป | โกะ-โคมัตสึ | ||||
โชกุน | อาชิกางะ โยชิมิตสึ | ||||
ประสูติ | ค.ศ. 1347 ฮิโรนาริ (ญี่ปุ่น: 熙成; โรมาจิ: Hironari) | ||||
สวรรคต | 10 พฤษภาคม ค.ศ. 1424 | (76–77 ปี)||||
ฝังพระศพ | ซางะ โนะ โองูระ โนะ มิซาซางิ (嵯峨小倉陵; ยามาชิโระ) | ||||
คู่อภิเษก | คิตาบาตาเกะ โนบูโกะ | ||||
พระราชบุตร | ดูข้างล่าง | ||||
| |||||
ราชสกุล | ราชวงศ์ญี่ปุ่น | ||||
พระราชบิดา | จักรพรรดิโกะ-มูรากามิ | ||||
พระราชมารดา | คากิมง-อิง |
จักรพรรดิโกะ-คาเมยามะ (ญี่ปุ่น: 後亀山天皇; โรมาจิ: Go-Kameyama Tennō; ป. ค.ศ. 1347 – 10 พฤษภาคม ค.ศ. 1424) เป็นจักรพรรดิแห่งญี่ปุ่นองค์ที่ 99 ตามประเพณีสืบราชสันตติวงศ์ พระองค์ปกครองตั้งแต่ ค.ศ. 1383 ถึง 21 ตุลาคม ค.ศ. 1392 พระองค์กลายเป็นจักรพรรดิองค์สุดท้ายของราชสำนักใต้ พระนามเดิมของพระองค์คือ เจ้าชายฮิโรนาริ (煕成親王)
พระนามของพระองค์นั้นนำมาจากพระนามของ จักรพรรดิคะเมะยะมะ จักรพรรดิในช่วง คริสต์ศตวรรษที่ 13 ผู้เป็นต้นราชสกุล ไดกะกุจิ ที่ปกครอง ราชสำนักใต้ เมื่อใส่คำว่า โกะ (後) เข้าไปพระนามของพระองค์จึงมีความหมายว่า จักรพรรดิคะเมะยะมะยุคหลัง หรือ จักรพรรดิคะเมะยะมะที่ 2
ราชตระกูล
[แก้]พระองค์เป็นพระราชโอรสองค์ที่สองของจักรพรรดิโกะ-มูรากามิ จักรพรรดิองค์ที่ 97 พระมารดาของพระองค์คือ ฟูจิวาระ โนะ คัตสึโกะ (藤原勝子) หรือที่รู้จักกันดีในนาม คากิมง-อิง (嘉喜門院)[1]
โดยไม่ค่อยรู้เกี่ยวกับจักรพรรดินีหรือพระสนมของพระองค์ ส่วนเจ้าชายสึเนอัตสึ (恒敦親王) เชื่อว่าเป็นพระราชโอรสของพระองค์
- จักรพรรดินี: มินาโมโตะ (คิตาบาตาเกะ) โนบูโกะ, ธิดาในคิตาบาตาเกะ อากิโนบุ
- พระราชโอรสองค์ที่ 3: เจ้าชายโยชิยาซุ (良泰親王; 1370–1443)
- เจ้าชายนักบวชเกียวโงะ (行悟法親王; 1377–1406)
- พระราชธิดาองค์แรก: เจ้าหญิงยาซูโกะ (泰子内親王) สมรสกับนิโจ ฟูยูซาเนะ
- พระมเหสี: ฟูจิวาระ (นิโจ) โนริโกะ, ธิดาในนิโจ โนริโมโตะ
- พระราชโอรสองค์แรก: เจ้าชายโทกิยาซุ (世泰親王, 1360–1377)
- นางสนองพระโอษฐ์: ฟูจิวาระ (ฮิโนะ) คูนิโกะ, ธิดาในฮิโนะ คูนิมิตสึ
- พระราชโอรสองค์ที่ 2: เจ้าชายโมโรยาซุ (師泰親王; 1362–1423)
- ชิโนะ (真阿, 1374–1440)
- ไม่ทราบพระราชมารดา
- เจ้าชายสึเนอัตสึ (恒敦, สวรรคต ค.ศ. 1422) หัวหน้าตระกูลโองาวะคนแรก
- ซนโกกุ (琮頊, สวรรคต ค.ศ. 1448)
พระราชประวัติ
[แก้]จักรพรรดิโกะ-คาเมยามะสืบราชบัลลังก์ในยุคราชสำนักเหนือ-ใต้ที่วุ่นวาย ซึ่งผู้อ้างสิทธิ์ในราชบัลลังก์ดอกเบญจมาศได้รวบรวมผู้สนับสนุนโดยรู้จักกันในชื่อราชสำนักเหนือและราชสำนักใต้ จักรพรรดิโกะ-คาเมยามะกลายเป็นจักรพรรดิองค์ใหม่ของราชสำนักใต้เมื่อจักรพรรดิโชเกซึ่งเป็นพระเชษฐาสละราชบัลลังก์ในปี ค.ศ. 1383 เมื่อวันที่ 15 ตุลาคม ค.ศ. 1392 ในการเจรจาสันติภาพระหว่างราชสำนักเหนือกับราชสำนักใต้ พระองค์ได้ร้องขอสันติภาพจากอาชิกางะ โยชิมิตสึ; และต่อมาพระองค์ก็เสด็จกลับไปยังเมืองหลวงซึ่งพระองค์ได้ส่งมอบไตรราชกกุธภัณฑ์ให้แก่ราชสำนักเหนือซึ่งเป็นคู่แข่งของพระองค์[2]
ตามเงื่อนไขของสนธิสัญญาราชสำนักเหนือและราชสำนักใต้ควรจะสลับกันสืบราชสันตติวงศ์ อย่างไรก็ตาม สนธิสัญญาฉบับนี้ถูกยกเลิกในปี ค.ศ. 1412 เมื่อจักรพรรดิโกะ-โคมัตสึซึ่งเป็นจักรพรรดิองค์ที่ 100 จากราชสำนักเหนือได้ทรยศต่อสนธิสัญญาดังกล่าวโดยสละราชสมบัติให้กับพระราชโอรสองค์โปรดของพระองค์ ต่อจากนั้นจึงไม่มีผู้อ้างสิทธิ์ในราชบัลลังก์จากราชสำนักใต้ได้ประทับบนราชบัลลังก์ดอกเบญจมาศอีกเลย จนถึงปี ค.ศ. 1911 รัฐบาลญี่ปุ่นในรัชสมัยของจักรพรรดิเมจิได้ประกาศว่าจักรพรรดิผู้อ้างสิทธิ์จากราชสำนักใต้เป็นจักรพรรดิโดยชอบธรรม แม้ว่าจักรพรรดิหลังจากนั้นรวมถึงจักรพรรดิเมจิจะสืบเชื้อสายมาจากราชสำนักเหนือก็ตาม ด้วยเหตุผลที่ว่าราชสำนักใต้ยังครอบครองไตรราชกกุธภัณฑ์อันศักดิ์สิทธิ์อยู่ ดังนั้นจึงเปลี่ยนจักรพรรดิจากอดีตราชสำนักเหนือให้กลายเป็นเพียงผู้อ้างสิทธิ์
ดูเพิ่ม
[แก้]อ้างอิง
[แก้]- ↑ Hamaguchi 1983, p. 588.
- ↑ Sansom, George (1961). A History of Japan, 1334–1615. Stanford University Press. pp. 117–118. ISBN 0804705259.
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- Hamaguchi, Hiroaki (1983). "Kaki Mon'in". Nihon Koten Bungaku Daijiten 日本古典文学大辞典 (ภาษาญี่ปุ่น). Vol. 1. Tokyo: Iwanami Shoten. p. 588. OCLC 11917421.
- Ponsonby-Fane, Richard Arthur Brabazon. (1959). The Imperial House of Japan. Kyoto: Ponsonby Memorial Society. OCLC 194887
- Titsingh, Isaac, ed. (1834). [Siyun-sai Rin-siyo/Hayashi Gahō, 1652], Nipon o daï itsi ran; ou, Annales des empereurs du Japon. Paris: Oriental Translation Fund of Great Britain and Ireland.