จักรพรรดินีโกะ-ซากูรามาจิ
จักรพรรดินีโกะ-ซากูรามาจิ 後桜町天皇 | |||||
---|---|---|---|---|---|
จักรพรรดินีนาถเเห่งญี่ปุ่น | |||||
ครองราชย์ | 15 กันยายน ค.ศ. 1762 – 9 มกราคม ค.ศ. 1771 | ||||
ราชาภิเษก | 31 ธันวาคม ค.ศ. 1763 | ||||
ก่อนหน้า | โมโมโซโนะ | ||||
ถัดไป | โกะ-โมโมโซโนะ | ||||
โชกุน | โทกูงาวะ อิเอฮารุ (1762–1771) | ||||
พระราชสมภพ | 23 กันยายน ค.ศ. 1740 รัฐโชกุนโทกูงาวะ โทชิโกะ (ญี่ปุ่น: 智子; โรมาจิ: Toshiko) | ||||
สวรรคต | 24 ธันวาคม ค.ศ. 1813 เกียวโต รัฐโชกุนโทกูงาวะ | (73 ปี)||||
ฝังพระศพ | สึกิ โนะ วะ โนะ มิซาซางิ เกียวโต | ||||
พระราชบุตร | จักรพรรดิโคกากุ (พระราชโอรสบุญธรรม) | ||||
| |||||
ราชสกุล | ราชวงศ์ญี่ปุ่น | ||||
พระราชบิดา | จักรพรรดิซากูรามาจิ | ||||
พระราชมารดา | นิโจ อิเอโกะ | ||||
ลายพระอภิไธย |
จักรพรรดินีโกะ-ซากูรามาจิ (ญี่ปุ่น: 後桜町天皇; โรมาจิ: Go-Sakuramachi-tennō; ทับศัพท์: โกะ-ซากูรามาจิ-เท็นโน; 23 กันยายน ค.ศ. 1740 – 24 ธันวาคม ค.ศ. 1813) ทรงเป็นสมเด็จพระจักรพรรดินีญี่ปุ่นองค์ที่ 117 อันเนื่องมาจากการสืบราชสันตติวงศ์ตามโบราณราชประเพณี[1][2] พระนางได้รับการตั้งพระนามตามจักรพรรดิซากูรามาจิ พระราชบิดา กับคำว่า โกะ (後) ข้างหน้าพระนามที่มีความหมายว่า "หลังจาก" หรือ "ถัดมา" รัชสมัยของพระนางในยุคเอโดะกินระยะเวลาจาก ค.ศ. 1762 จนกระทั่งสละราชสมบัติใน ค.ศ. 1771[3]
ในประวัติศาสตร์ญี่ปุ่น จักรพรรดินีโกะ-ซากูรามาจิเป็นสมเด็จพระจักรพรรดินีนาถพระองค์สุดท้ายจากพระจักรพรรดินีนาถทั้ง 8 พระองค์
เหตุการณ์ในพระชนม์ชีพ
[แก้]พระชนม์ชีพช่วงต้น
[แก้]ก่อนที่โกะ-ซากูรามาจิขึ้นครองราชบัลลังก์ดอกเบญจมาศ พระนามเดิมของพระนาง (อิมินะ) คือ โทชิโกะ (ญี่ปุ่น: 智子; โรมาจิ: Toshiko)[4] โทชิโกะเสด็จพระราชสมภพเมื่อวันที่ 23 กันยายน ค.ศ. 1740 โดยเป็นพระราชธิดาองค์ที่ 2 ในจักรพรรดิซากูรามาจิกับพระราชมารดานาม นิโจ อิเอโกะ (二条 舎子)[5] โทชิโกะมีพระเชษฐภคินีที่สิ้นพระชนม์เมื่อทรงพระเยาว์ และพระอนุชานามโทฮิโตะ ผู้ภายหลังเป็นจักรพรรดิโมโมโซโนะหลังพระราชบิดาสวรรคตใน ค.ศ. 1747 องค์จักรพรรดินีนาถและพระจักรพรรดิพระอนุชาของพระนางทรงเป็นสายสุดท้ายในการสืบราชสันตติวงศ์สายตรงจากจักรพรรดินากามิกาโดะ[6] พระราชวงศ์ของโทชิโกะประทับกับพระนางที่ ไดริ แห่งพระราชวังหลวงเฮอัง พระอิศริยยศก่อนที่จะสืบราชบัลลังก์ของพระนางคือ อิซะ-โนะ-มิยะ (ญี่ปุ่น: 以茶宮; โรมาจิ: Isa-no-miya) และภายหลังคืิอ อาเกะ-โนะ-มิยะ (ญี่ปุ่น: 緋宮; โรมาจิ: Ake-no-miya)
รัชสมัย
[แก้]เมื่อวันที่ 15 กันยายน ค.ศ. 1762 เจ้าหญิงโทชิโกะเสด็จขึ้นครองราชย์เป็นจักรพรรดินีเมื่อจักรพรรดิโมโมโซโนะ พระอนุชา สละราชสมบัติให้แก่พระนาง[4][7] เจ้าชายฮิเดฮิโตะ พระราชโอรสในโมโมโซโนะ (ภายหลังรู้จักในพระนามจักรพรรดิโกะ-โมโมโซโนะ) ในขณะนั้นมีพระชนมายุเพียง 4 พรรษา องค์จักรพรรดินีนาถผู้เป็นพระปิตุจฉาของเจ้าชายฮิเดฮิโตะทรงเห็นว่าพระนางควรจะยึดราชบัลลังก์ไว้จนกว่าพระนัดดาพระองค์นี้จะมีวุฒิภาวะและความรับผิดชอบเพียงพอจะบริหารราชการแผ่นดินได้ ในขณะที่พระนางถือครองพระอิสริยยศ จักรพรรดินี แต่นั่นเป็นเพียงในนามเท่านั้น เนื่องจากอำนาจจริงอยู่ที่โชกุนจากตระกูลโทกูงาวะผู้ปกครองญี่ปุ่น ในรัชสมัยของพระนางเกิดเหตุการณ์ครั้งใหญ่ครั้งเดียวใน ค.ศ. 1766 ที่เกี่ยวข้องกับแผนการแทนที่รัฐบาลโชกุนด้วยการฟื้นฟูพระราชอำนาจจักรพรรดิที่ไม่ประสบความสำเร็จ[8] ในขณะที่ความพยายามนั้นถูกขัดขวาง การท้าทายต่ออำนาจของโชกุนเพิ่มเติมจะเกิดขึ้นประมาณหนึ่งทศวรรษต่อมาในรัชสมัยจักรพรรดิโคกากุ เหตุการณ์อื่น ๆ ในรัชสมัยโกะ-ซากูรามาจิ ได้แก่ การสถาปนาสมาคมพ่อค้าผู้นำเข้าโสมเกาหลีในเขตคันดะของเอโดะ[9] ใน ค.ศ. 1770 พบดาวหางขนาดใหญ่ (ดาวหางเลกเซลล์) ที่มีหางยาวมากส่องขึ้นสู่ท้องฟ้ายามค่ำคืนตลอดช่วงฤดูร้อนและฤดูใบไม้ร่วง[10] ในช่วงปีเดียวกันเกิดภัยพิบัติขนาดหญ่สองครั้ง ได้แก่ ไต้ฝุ่นที่ทำลายพระราชวังที่พึ่งสร้างเสร็จในเกียวโต และจุดเริ่มต้นภัยแล้งที่กินระยะเวลาต่อเนื่อง 15 ปี[10] โกะ-ซากูรามาจิสละราชสมบัติให้แก่ฮิเดฮิโตะ พระราชนัดดา เมื่อวันที่ 9 มกราคม ค.ศ. 1771[5]
ไดโจเท็นโน
[แก้]หลังสละราชสมบัติ โกะ-ซากูรามาจิกลายเป็นไดโจเท็นโน (จักรพรรดินีผู้สละราชสมบัติ) แต่รัชสมัยของพระราชนัดดาในฐานะจักรพรรดิกลับอยู่ได้ไม่นาน จักรพรรดิโกะ-โมโมโซโนะทรงพระประชวรอย่างหนักจนสวรรคตใน ค.ศ. 1779 และปราศจากรัชทายาท ทำให้เกิดความเป็นไปได้ที่จะเกิดวิกฤติผู้สืบทอด โกะ-ซากูรามาจิทรงปรึกษากับข้าราชการผู้อาวุโสและราชองครักษ์ในราชสำนัก และทรงวางแผนที่จะรับเจ้าชายซาดาโยชิแห่งฟูชิมิ-โนะ-มิยะเป็นพระราชโอรสบุญธรรม แต่ในที่สุดมีการตัดสินใจเลือกเจ้าชายโมโรฮิโตะแทน พระองค์เป็นสมาชิกราชวงศ์ญี่ปุ่นสาขคันอิง โดยเป็นพระโอรสองค์ที่ 6 ในเจ้าชายคันอิง-โนะ-มิยะ ซูเกฮิโตะ (閑院宮典仁) และได้ร้ับการสนับสนุนจากหัวหน้าคณะที่ปรึกษาองค์จักรพรรดิ (หรือ คัมปากุ) โกะ-โมโมโซโนะรีบรับเจ้าชายโมโรฮิโตะเป็นพระราชโอรสบุญธรรม (ภายหลังกลายเป็นจักรพรรดิโคกากุ) ก่อนสวรรคตในวันที่ 6 ธันวาคม ค.ศ. 1779 หลังจากพระราชบัลลังก์ได้ถูกเปลี่ยนสายสืบราชสันตติวงศ์ อดีตจักรพรรดินีโกะ-ซากูรามาจิทรงดำรงพระอิสริยยศเป็นอดีตจักรพรรดินีนาถ ซึ่งทรงมีฐานะเป็นผู้คุ้มครองพระประมุขซึ่งยังทรงพระเยาว์ เหตุการณ์ใหญ่ที่สุดก่อนที่พระนางสวรรคตเกิดขึ้นใน ค.ศ. 1789 เมื่อพระนางทรงตำหนิโคกาคุเกี่ยวกับบทบาทของพระองค์ในเรื่องอื้อฉาวที่เกี่ยวข้องกับตำแหน่งกิตติมศักดิ์ของพระราชบิดาของพระองค์ อดีตจักรพรรดินีโกะ-ซากูรามาจิสวรรคตในวันที่ 24 ธันวาคม ค.ศ. 1813 สิริพระชนมายุ 73 พรรษา[5]
คามิของโกะ-ซากูรามาจิได้รับการประดิษฐานในสุสานหลวง (มิซาซางิ) สึกิ โนะ วะ โนะ มิซาซางิ ที่เซ็นนีว-จิ บริเวณเขตฮิงาชิยามะ เกียวโต ซึ่งเป็นที่ฝังพระบรมศพและพระวิญญาณขององค์จักรพรรดิหลายพระองค์ตั้งแต่สมัยจักรพรรดิโกะ-มิซูโน ได้แก่ จักรพรรดินีเมโช, โกะ-โคเมียว, โกะ-ไซ, เรเง็ง, ฮิงาชิยามะ, นากามิกาโดะ, ซากูรามาจิ และโมโมโซโนะ และจักรพรรดิอีกสี่พระองค์หลังรัชสมัยของพระนางได้แก่ จักรพรรดิโกะ-โมโมโซโนะ, โคกากุ, นินโก และจักรพรรดิโคเม[11]
สิ่งตกทอด
[แก้]ในประวัติศาสตร์ญี่ปุ่น โกะ-ซากูรามาจิเป็นสตรีคนสุดท้ายที่ดำรงตำแหน่งสมเด็จพระจักรพรรดินีนาถ พระนางได้รับการยกย่องให้เป็นผู้พระราชนิพนธ์หนังสือชื่อ สถานการณ์รายปีในราชสำนัก (ญี่ปุ่น: 禁中年中の事; โรมาจิ: Kinchū-nenjū no koto) ซึ่งประกอบด้วยบทกวี จดหมายเหตุหลวง และพระราชพงศาวดาร ถึงแม้ว่าจะมีสมเด็จพระจักรพรรดินีนาถถึง 7 พระองค์ รัชทายาทส่วนใหญ่มักได้รับเลือกจากทางบุรุษและสายวงศ์บุรุษ ด้วยเหตุผลนี้ ทำให้นักวิชาการบางส่วนเสนอแนะว่ารัชสมัยเหล่านี้ดำรงเพียงชั่วคราว และโต้แย้งว่าต้องใช้ธรรมเนียมการสืบราชสันตติวงศ์โดยบุรุษเพียงเท่านั้นในคริสต์ศตวรรษที่ 21[12] บุคคลเดียวที่ได้รับการยกเว้นในกรณีนี้คือจักรพรรดินีเก็มเม ทรงให้พระราชธิดาสามารถสืบราชสมบัติต่อจากพระนางได้เป็นจักรพรรดินีเก็นโช สตรีอีก 5 พระองค์ที่ครองราชย์เป็นจักรพรรดินีโดยมีรัชทายาทเป็นบุรุษได้แก่: ซูอิโกะ, โคเงียวกุ (ไซเม), จิโต, โคเก็ง (โชโตกุ) และเมโช หลังการฟื้นฟูเมจิ (1868) ญี่ปุ่นนำเข้ารูปแบบการสืบราชบัลลังก์ของปรัสเซียที่เจ้าหญิงถูกยกเว้นจากการสืบราชสมบัติโดยชัดเจน
พระราชพงศาวลี
[แก้]พงศาวลีของจักรพรรดินีโกะ-ซากูรามาจิ[13] | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
|
ดูเพิ่ม
[แก้]- จักรพรรดินีญี่ปุ่น
- จักรพรรดิญี่ปุ่น
- รายพระนามสมเด็จพระจักรพรรดินีแห่งญี่ปุ่น
- รายพระนามจักรพรรดิญี่ปุ่น
อ้างอิง
[แก้]- ↑ Imperial Household Agency (Kunaichō): 後桜町天皇 (120)
- ↑ Ponsonby-Fane, Richard. (1959). The Imperial House of Japan, p. 120.
- ↑ Titsingh, Isaac. (1834). Annales des empereurs du Japon, pp. 419–420.
- ↑ 4.0 4.1 Titsingh, p. 419.
- ↑ 5.0 5.1 5.2 Meyer, Eva-Maria. (1999). Japans Kaiserhof in der Edo-Zeit, p. 186.
- ↑ Brinkley, Frank. (1907). A History of the Japanese People, p. 621.
- ↑ Meyer, p. 186; Titsingh, p. 419.
- ↑ Screech, T. Secret Memoirs of the Shoguns, pp. 139–145.
- ↑ Hall, John. (1988). The Cambridge History of Japan, p. xxiii.
- ↑ 10.0 10.1 Hall, John. (1955). Tanuma Okitsugu, 1719–1788, p. 120.
- ↑ Ponsonby-Fane, Richard. (1959). Imperial House, p. 423.
- ↑ "Life in the Cloudy Imperial Fishbowl," Japan Times. 27 March 2007.
- ↑ "Genealogy". Reichsarchiv (ภาษาญี่ปุ่น). 30 April 2010. สืบค้นเมื่อ 20 January 2018.
ข้อมูล
[แก้]- Brinkley, Frank. (1907). A History of the Japanese People from the Earliest Times to the End of the Meiji Era. New York: Encyclopædia Britannica. OCLC 413099
- Hall, John Whitney. (1988). The Cambridge History of Japan, Vol. 4. Early Modern Japan. Cambridge: Cambridge University Press. ISBN 978-0-521-22355-3; OCLC 489633115
- Meyer, Eva-Maria. (1999). Japans Kaiserhof in der Edo-Zeit: unter besonderer Berücksichtigung der Jahre 1846 bis 1867. Münster: LIT Verlag. ISBN 978-3-8258-3939-0; OCLC 42041594
- Ponsonby-Fane, Richard. (1956). Kyoto: The Old Capital of Japan, 794–1869. Kyoto: Ponsonby Memorial Society. OCLC 182637732
- __________. (1959). The Imperial House of Japan. Kyoto: Ponsonby Memorial Society. OCLC 194887
- Screech, Timon. (2006). Secret Memoirs of the Shoguns: Isaac Titsingh and Japan, 1779–1822. London: RoutledgeCurzon. ISBN 978-0-203-09985-8; OCLC 65177072
- Titsingh, Isaac. (1834). Annales des empereurs du Japon (Nihon Ōdai Ichiran). Paris: Royal Asiatic Society, Oriental Translation Fund of Great Britain and Ireland. OCLC 5850691
ก่อนหน้า | จักรพรรดินีโกะ-ซากูรามาจิ | ถัดไป | ||
---|---|---|---|---|
จักรพรรดิโมะโมะโซะโนะ | จักรพรรดินีแห่งญี่ปุ่น (15 กันยายน ค.ศ. 1762 - 23 พฤษภาคม ค.ศ. 1771) |
จักรพรรดิโกะ-โมะโมะโซะโนะ |