เดอะวอยซ์ไทยแลนด์
เดอะวอยซ์ไทยแลนด์ | |
---|---|
ประเภท | การแข่งขันเรียลลิตีโชว์ |
สร้างโดย |
|
เค้าโครงจาก | เดอะวอยซ์ โดย ไอทีวีสตูดิโอส์ |
พัฒนาโดย |
|
พิธีกร | |
กรรมการ | |
ผู้ประพันธ์เพลง | Martijn Schimmer |
ประเทศแหล่งกำเนิด | ไทย |
ภาษาต้นฉบับ | ไทย |
จำนวนฤดูกาล | 9+1 |
จำนวนตอน | 148 |
การผลิต | |
ผู้อำนวยการผลิต | John de Mol |
ผู้อำนวยการสร้าง | Stefan Tieleman |
สถานที่ถ่ายทำ |
|
กล้อง | หลายกล้อง |
ความยาวตอน | 105 นาที |
บริษัทผู้ผลิต |
|
ออกอากาศ | |
เครือข่าย | ช่อง 3 |
ออกอากาศ | 9 กันยายน 2555 – 25 กุมภาพันธ์ 2561 |
เครือข่าย | พีพีทีวี |
ออกอากาศ | 19 พฤศจิกายน 2561 – 23 ตุลาคม 2562 |
เครือข่าย | ช่องวัน 31 |
ออกอากาศ | 17 กรกฎาคม 2565 – ปัจจุบัน |
การแสดงที่เกี่ยวข้อง | |
เดอะวอยซ์ไทยแลนด์ เสียงจริง ตัวจริง (อังกฤษ: The Voice Thailand) เป็นรายการประกวดร้องเพลง โดย บริษัท เดอะ วัน เอ็นเตอร์ไพรส์ จำกัด (มหาชน) ซื้อลิขสิทธิ์รายการ เดอะวอยซ์ จากทัลปามีเดียกรุป ประเทศเนเธอร์แลนด์ (ปัจจุบันอยู่ในเครือไอทีวีสตูดิโอส์) มาผลิตในรูปแบบของประเทศไทย ผ่านบริษัท เอ็กซ์ซิท สาม หก ห้า จำกัด ออกอากาศทางช่องวัน 31 (ซีซั่น 9 ได้มีการออกอากาศให้รับชมย้อนหลังบนแพลตฟอร์มเน็ตฟลิกซ์ด้วย) ก่อนหน้านี้รายการถูกซื้อลิขสิทธิ์โดย ทรู มิวสิค และ พีพีทีวี และผลิตรายการโดย โต๊ะกลมโทรทัศน์ และ เอพีแอนด์เจ โปรดักชัน ออกอากาศทางช่อง 3 และพีพีทีวี ตามลำดับ เริ่มออกอากาศครั้งแรกเมื่อวันที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2555 มาจนถึงปัจจุบัน
กติกา
[แก้]การแข่งขันประกอบด้วย 3 รอบ คือ The Blind Audition, Battle Phase และ Live Show และจากฤดูกาลที่ 2 เป็นต้นมาได้เพิ่มรอบ Knockout เข้ามาอีก ทำให้กลายเป็นทั้งหมด 4 รอบ โดยในการ Blind Audition ผู้เข้าประกวดจะถูกคัดเลือกจากเสียงร้องเพียงอย่างเดียว โดยเหล่าโค้ชจะนั่งหันหลังให้กับผู้เข้าแข่งขันและเมื่อได้ยินเสียงร้องที่ถูกใจ โค้ชจะกดปุ่มเพื่อหมุนเก้าอี้หันหน้ากลับมาหาผู้เข้าแข่งขันเพื่อรับเข้าสู่ทีม ในฤดูกาลที่ 7 ของรายการ ได้มีการเพิ่มกติกาพิเศษคือปุ่ม "บล็อก (Block)" ซึ่งจะให้โค้ชทุกคนมีสิทธิ์กีดกันโค้ชคนอื่นในการนำผู้เข้าแข่งขันเข้าทีมตัวเอง ทำให้รายการมีสีสันมากขึ้น
- กรณีโค้ชกดปุ่มหันเก้าอี้มาเพียงคนเดียว ผู้เข้าแข่งขันจะเข้าสู่ทีมของโค้ชคนนั้นทันที
- กรณีมีโค้ชกดปุ่มหันเก้าอี้มามากกว่า 1 คน สิทธิในการเลือกร่วมทีมจะเป็นของผู้เข้าแข่งขัน
- กรณีผู้เข้าแข่งขันร้องเพลงจบ โดยที่ไม่มีโค้ชคนใดหันมา ผู้เข้าแข่งขันจะตกรอบ Blind Audition
- กรณีมีโค้ชกดปุ่มหันเก้าอี้มาแต่ถูกโค้ชคนที่หันก่อนหน้าใช้สิทธิ์บล็อกไว้ ผู้เข้าแข่งขันจะไม่มีสิทธิ์เลือกไปอยู่ทีมโค้ชคนนั้น และกรณีที่หันมาแค่สองคนแต่คนที่สองถูกบล็อก ผู้เข้าแข่งขันจะเข้าสู่ทีมของโค้ชที่ใช้สิทธิ์บล็อกโดยอัตโนมัติ โค้ชแต่ละท่านจะใช้สิทธิ์บล็อกได้ 3 ครั้ง (2 ครั้ง ในฤดูกาลที่ 7) ตลอดการคัดเลือกรอบ Blind Audition
- ตั้งแต่ฤดูกาลที่ 9 ปุ่มบล็อกถูกปรับเปลี่ยนเป็นปุ่ม "ซูเปอร์บล็อก" โดยโค้ชสามารถใช้สิทธิ์บล็อกได้หลังจบการร้องเพลงเท่านั้น และบล็อกเฉพาะโค้ชที่หันมาแล้วได้เพียง 1 ครั้ง โดยเก้าอี้ของโค้ชที่ถูกบล็อกจะหมุนกลับหลังหันและถูกตัดเสียงพูดออก
เมื่อเหล่าโค้ชได้รวบรวมสมาชิกในทีมแล้ว โค้ชจะคอยเป็นผู้ให้คำปรึกษาด้านการขับร้องแก่ผู้เข้าแข่งขันเพื่อเข้าสู่รอบ Battle Phase ซึ่งในรอบนี้โค้ชจะทำการจับลูกทีมมาประชันในการร้องเพลงเดียวกันและโค้ชจะเป็นผู้ตัดสินเข้ารอบ Live Show โดยในรอบ Live Show ผู้เข้าแข่งขันของแต่ละทีมจะประชันกับผู้เข้าแข่งขันจากทีมอื่นๆ ในการแสดงถ่ายทอดสด โดยผู้ชมทางบ้านจะลงคะแนนโหวตเพื่อเลือกผู้เข้าแข่งขันที่ชื่นชอบให้ผ่านเข้ารอบ และโค้ชเองจะเลือกผู้ที่ผ่านเข้ารอบต่อไปเช่นกัน จนรอบสุดท้ายโค้ชแต่ละคนจะเหลือผู้เข้าแข่งขันเพียงคนเดียว และผลตัดสินสุดท้ายจากการโหวตหลังการแสดงถ่ายทอดสดจะเป็นกำหนดว่าใครคือผู้ชนะ
ในฤดูกาลที่ 2 ได้เพิ่มรอบ Knockout ซึ่งสืบเนื่องมาจากรอบ Battle Phase ได้มีกติกาเพิ่มให้โค้ชสามารถช่วยลูกทีมจากทีมอื่นที่ต้องตกรอบ ให้สามารถเข้ารอบได้แล้วย้ายมาอยู่ทีมของตนเอง จึงทำให้เกิด Knockout Round ขึ้น ซึ่งจะทำการจับคู่ 2 คนบนเวทีเดียวกันโดยร้องคนละเพลงกันแล้วตัดเชือกคัดออกกัน ณ จุดนั้นเลย ต่างจาก Battle Phase ที่จะสลับกันร้องในเพลงเดียวกัน และในรอบนี้ผู้เข้าแข่งขันจะต้องเป็นคนเลือกเพลงเองซึ่งก็ต่างกับรอบ Battle Phase อีกเช่นกันที่โค้ชจะเลือกเพลงให้[1] ในฤดูกาลที่ 3 รอบ Knockout เปลี่ยนกติกาจากจับคู่มาสองคนเป็นจับกลุ่มสี่คนบนเวทีเดียวกันร้องคนละเพลงแล้วโค้ชจะเลือกคนที่เข้ารอบสองคนจากกลุ่มเข้ารอบต่อไป ในฤดูกาลที่ 6 รอบ Knockout สลับมาแข่งก่อนหน้ารอบ Battle และมีการแบ่งกลุ่มในการแข่งขันรอบ Final รอบแรก และในฤดูกาลที่ 7 รอบการแสดงสดรอบแรกเป็นการจับคู่ข้ามทีม
พิธีกรและโค้ช
[แก้]ใน3 ฤดูกาลแรกมีการเปิดตัวโค้ช 4 คนได้แก่ โค้ชก้อง - สหรัถ สังคปรีชา, โค้ชคิ้ม - เจนนิเฟอร์ คิ้ม, โค้ชโจอี้ บอย - อภิสิทธิ์ โอภาสเอี่ยมลิขิต และ โค้ชสแตมป์ - อภิวัชร์ เอื้อถาวรสุข
ต่อมาในฤดูกาลที่ 4 ได้มีการเปลี่ยนตัวโค้ชเป็นครั้งแรกจากโค้ชสแตมป์ เป็น โค้ชสิงโต - สิงโต นำโชค
ในฤดูกาลที่ 5 โค้ชดา เอ็นโดรฟิน - ธนิดา ธรรมวิมล ได้เข้ามาทำหน้าที่แทนโค้ชคิ้ม
ในฤดูกาลที่ 7 โค้ชคิ้มได้กลับมาทำหน้าที่โค้ชอีกครั้งแทนโค้ชดา อีกทั้งยังมี โค้ชป๊อป - ปองกูล สืบซึ้ง มาทำหน้าที่แทนโค้ชสิงโต
ต่อมาในฤดูกาลที่ 9 โค้ชจ๋าย ไททศมิตร - อิชณน์กร พึ่งเกียรติรัศมี ได้เข้ามาทำหน้าที่แทนโค้ชโจอี้ บอย และ โค้ชโอ๊ต - ปราโมทย์ ปาทาน ได้เข้ามาทำหน้าที่แทนโค้ชป๊อบ และได้เปิดตัวโค้ชคนที่ 5 ครั้งแรกของรายการกับโค้ชโบกี้ไลอ้อน - ณิชชาฎา วีระสุทธิมาศ[2]
ในฤดูกาลแรกมีพิธีกรเพียงคนเดียวคือ กบ - ทรงสิทธิ์ รุ่งนพคุณศรี ซึ่งได้ปฏิบัติหน้าที่มาอย่างต่อเนื่องจนถึงฤดูกาลปัจจุบัน ในฤดูกาลที่ 2-6 ได้มีการเพิ่มบทบาทพิธีกรหญิงขึ้นมาคือ จอย - รินลณี ศรีเพ็ญ ตั้งแต่ในฤดูกาลที่ 7 เป็นต้นมา บทบาทของพิธีกรหญิงก็ได้ถูกยุติลง
โค้ช | ฤดูกาล | |||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
1 | 2 | 3 | 4 | 5 | 6 | 7 | 8 | A | 9 | |
สหรัถ สังคปรีชา | ✔ | |||||||||
อภิสิทธิ์ โอภาสเอี่ยมลิขิต | ✔ | |||||||||
เจนนิเฟอร์ คิ้ม | ✔ | ✔ | ||||||||
อภิวัชร์ เอื้อถาวรสุข | ✔ | |||||||||
สิงโต นำโชค | ✔ | |||||||||
ดา เอ็นโดรฟิน | ✔ | |||||||||
ปองกูล สืบซึ้ง | ✔ | |||||||||
ปราโมทย์ ปาทาน | ✔ | |||||||||
อิชณน์กร พึ่งเกียรติรัศมี | ✔ | |||||||||
ณิชชาฎา วีระสุทธิมาศ | ✔ | |||||||||
พิธีกร | ฤดูกาล | |||||||||
1 | 2 | 3 | 4 | 5 | 6 | 7 | 8 | A | 9 | |
ทรงสิทธิ์ รุ่งนพคุณศรี | ✔ | |||||||||
รินลณี ศรีเพ็ญ | ✔ |
ฤดูกาล
[แก้]ฤดูกาล | เริ่มออกอากาศ | รอบชิงชนะเลิศ |
---|---|---|
1 | 9 กันยายน พ.ศ. 2555 | 15 ธันวาคม พ.ศ. 2555 |
2 | 8 กันยายน พ.ศ. 2556 | 15 ธันวาคม พ.ศ. 2556 |
3 | 7 กันยายน พ.ศ. 2557 | 14 ธันวาคม พ.ศ. 2557 |
4 | 6 กันยายน พ.ศ. 2558 | 13 ธันวาคม พ.ศ. 2558 |
5 | 11 กันยายน พ.ศ. 2559 | 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560 |
6 | 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2560 | 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561 |
7 | 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561 | 4 มีนาคม พ.ศ. 2562 |
8 | 16 กันยายน พ.ศ. 2562 | 23 ธันวาคม พ.ศ. 2562 |
ออล สตาร์ส | 17 กรกฎาคม พ.ศ. 2565 | 16 ตุลาคม พ.ศ. 2565 |
9 | 8 กันยายน พ.ศ. 2567 | 15 ธันวาคม พ.ศ. 2567 |
ทีมที่ได้อันดับที่ 1 และลูกทีมในรอบการแสดงสด |
ทีมที่ได้อันดับที่ 3 และลูกทีมในรอบการแสดงสด |
ฤดูกาล | ||||
---|---|---|---|---|
ก้อง สหรัถ | เจนนิเฟอร์ คิ้ม | โจอี้ บอย | แสตมป์ | |
1 | ||||
2 | ||||
3 | ||||
4 | ก้อง สหรัถ | เจนนิเฟอร์ คิ้ม | โจอี้ บอย | สิงโต นำโชค |
|
||||
5 | ก้อง สหรัถ | ดา เอ็นโดรฟิน | โจอี้ บอย | สิงโต นำโชค |
|
|
|
| |
6 | |
|
| |
7 | ก้อง สหรัถ | เจนนิเฟอร์ คิ้ม | โจอี้ บอย | ป็อป ปองกูล |
|
|
|
| |
8 | ||||
ออล สตาร์ส |
ป็อป ปองกูล | ก้อง สหรัถ | เจนนิเฟอร์ คิ้ม | โจอี้ บอย |
9 | เจนนิเฟอร์ คิ้ม | จ๋าย ไททศมิตร | ก้อง สหรัถ | โอ๊ต ปราโมทย์ |
ภาพรวมของรายการ
[แก้]สัญลักษณ์สี
|
|
|
ฤดูกาล | ผู้ชนะ | รองชนะเลิศอันดับ 1 | รองชนะเลิศอันดับ 2 | รองชนะเลิศอันดับ 3 | โค้ชที่ชนะ | ตำแหน่งโค้ช | |||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
1 | 2 | 3 | 4 | ||||||
1 | ธนนท์ จำเริญ | ธชย ประทุมวรรณ | ตระการ ศรีแสงจันทร์ | สหรัถ สังคปรีชา | ก้อง | คิ้ม | โจอี้ | แสตมป์ | |
พิเชษฐ์ บัวขำ | |||||||||
2 | รังสรรค์ ปัญญาเรือน | วัลย์ลิกา เกศวพิทักษ์ | กิตตินันท์ ชินสำราญ | แสตมป์ | |||||
กฤษดา พิทักษ์พัฒนกุล | |||||||||
3 | สมศักดิ์ รินนายรักษ์ | สุธิตา ชนะชัยสุวรรณ | จรูญวิทย์ พัวพันวัฒนะ | ปัญจพล ธรรมสอน | เจนนิเฟอร์ คิ้ม | ||||
4 | ทิฏฐินันท์ อ้นปาน | อัญชุลีอร บัวแก้ว | สมัชญ์ เนียมสอาด | พงศ์ธร ปทุมานนท์ | โจอี้ บอย | สิงโต | |||
5 | ศิร์ภูมิ เบญจรัส | ณัฐพงศ์ ทองเมือง | อานนท์ วัชรีวงศ์ ณ อยุธยา | ดา | |||||
ภัชรพงษ์ บุญชู | |||||||||
6 | วชิรวิทย์ จีนเกิด | เบนจามิน เจมส์ ดูลลี่ | สุภัคชญา รัตนใหม่ | สิงโต นำโชค | |||||
ปทิตตา โสมขันเงิน & ศรัณย์ สุยะราช | |||||||||
7 | พงศธร กำบัง | อรรัศมิ์ดา โรจนเตชสิริ | สยาภา สิงห์ชู | โจอี้ บอย | คิ้ม | ป๊อป | |||
ภูวศิษฐ์ อนันต์พรสิริ | |||||||||
8 | เอกกมล บุญโพธิ์ทอง | สกุณชัย เปลี่ยนรัมย์ | ญาณวรรธน์ เจริญอธิพัฒน์ | กุลจิรา ทองคำ | สหรัถ สังคปรีชา | ||||
ออล สตาร์ส | เอกพันธ์ วรรณสุทธิ์ | ธชย ประทุมวรรณ | ปรางทิพย์ แถลง | วรายุภัสร์ เกศวพิทักษ์ | เจนนิเฟอร์ คิ้ม | ป๊อบ | ก้อง | คิ้ม | โจอี้ |
9 | ธีรพงษ์ วรรณลักษณ์ | สุทธิเทพ สัตนาโค | ชลชญา เกษียรรัตนกุล | พัทฑรียา พยอม | คิ้ม | จ๋าย | ก้อง | โอ๊ต |
The Voice Hall of Fame
[แก้]ปี พ.ศ. | ศิลปิน |
---|---|
พ.ศ. 2556 | อัญชลี จงคดีกิจ |
ขวัญจิต ศรีประจันต์ | |
พ.ศ. 2557 | วง นูโว |
โมเดิร์นด็อก | |
พ.ศ. 2558 | ชาย เมืองสิงห์ |
ปาล์มมี่ | |
พ.ศ. 2559 | บอย โกสิยพงษ์ |
พงษ์สิทธิ์ คำภีร์ | |
พ.ศ. 2560 | สุชาติ แซ่เห้ง (ชาติ สุชาติ) |
รังสรรค์ ปัญญาเรือน | |
ธชย ประทุมวรรณ |
เกียรติประวัติ
[แก้]- รางวัลนาฏราช
- รางวัลวาไรตี้ยอดเยี่ยม ประจำปี 2556[3]
ดูเพิ่ม
[แก้]อ้างอิง
[แก้]- ↑ "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-06-21. สืบค้นเมื่อ 2014-06-08.
- ↑ "เซอร์ไพรส์เปิดตัวโค้ชคนที่ 5 "โบกี้ไลอ้อน" พร้อมเผยกติกาใหม่". ดาราเดลี่. 24 กันยายน 2024. สืบค้นเมื่อ 30 กันยายน 2024.
{{cite news}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ รางวัลวาไรตี้ยอดเยี่ยม - ผลรางวัลนาฏราช ครั้งที่ 5 ประจำปี 2556
- เดอะวอยซ์ไทยแลนด์
- รายการประกวดร้องเพลง
- รายการโทรทัศน์ไทยที่สร้างจากรายการโทรทัศน์ดัตช์
- รายการโทรทัศน์ช่อง 3
- รายการโทรทัศน์โดยโต๊ะกลมโทรทัศน์
- รายการโทรทัศน์ไทยที่เริ่มออกอากาศตั้งแต่ พ.ศ. 2555
- รายการเรียลลิตีโชว์ไทยในคริสต์ทศวรรษ 2010
- รายการเพลงทางโทรทัศน์ไทยในคริสต์ทศวรรษ 2010
- รายการประกวดร้องเพลงในคริสต์ทศวรรษ 2010
- รายการโทรทัศน์โดยเอพีแอนด์เจ-เอ็กซ์ซิทสามหกห้า
- รายการโทรทัศน์ช่องพีพีทีวี
- รายการโทรทัศน์ไทยที่ยุติการออกอากาศในปี พ.ศ. 2562
- รายการโทรทัศน์ไทยที่ถูกนำกลับคืนมาหลังจากถูกยกเลิก
- รายการโทรทัศน์ช่องวัน 31
- รายการโทรทัศน์ไทยที่เริ่มออกอากาศตั้งแต่ พ.ศ. 2565
- รายการเรียลลิตีโชว์ไทยในคริสต์ทศวรรษ 2020
- รายการเพลงทางโทรทัศน์ไทยในคริสต์ทศวรรษ 2020
- รายการประกวดร้องเพลงในคริสต์ทศวรรษ 2020