ข้ามไปเนื้อหา

ไตรโลกยวิชยะ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ไตรโลกยวิชยะ วิทยาราชประจำทิศตะวันออก

ไตรโลกยวิชยะ (สันสกฤต: त्रैलोक्यविजय ไตรโลกฺยวิชย, ญี่ปุ่น: 降三世明王โรมาจิgōzanze myō-ōทับศัพท์: โกซันเซเมียวโอ, จีน: 降三世明王 เซี่ยงซานซื่อหมิงหวัง) เป็นหนึ่งในวิทยาราชทั้งห้าตามความเชื่อของศาสนาพุทธนิกายวัชรยาน (ในญี่ปุ่นเป็นที่นับถือในนิกายชินงน ซึ่งเป็นแขนงย่อยหนึ่งของวัชรยาน) สถิดอยู่ ณ ทิศตะวันออกของครรภโกษธาตุ ทำหน้าที่เป็นผู้คุ้มครองของพระอักโษภยพุทธะ พระธยานิพุทธะแห่งทิศตะวันออก บางตำราถือว่าเป็นพระโพธิสัตว์องค์หนึ่ง โดยเป็นพระโพธิสัตว์เอกเทศมิได้จัดอยู่ในสกุลของพระธยานิพุทธะองค์ใด

นามของไตรโลกยวิชยะ มีความหมายโดยศัพท์ว่า "ผู้ชนะโลกทั้งสาม"

รูปลักษณ์

[แก้]
วัดโท

ไตรโลกยวิชยะมี 4 เศียร 8 กร แต่ละเศียรแต่ละหน้าแสดงอารมณ์ต่างกันคือ เศียรด้านหน้าแสดงอารมณ์เกรี้ยวกราด เศียรด้านขวาแสดงอารมณ์โกรธ เศียรด้านซ้ายแสดงอารมณ์เกลียดชัง เศียรด้านหลังแสดงอารมณ์กล้าหาญ พระหัตถ์ถือกระดิ่ง วัชระ ดาบ ขอสับช้าง ลูกศร คันศร บ่วงและจาน ประทับยืนท่าปรัตยสีฒะ เป็นที่นิยมนับถือในทิเบตและญี่ปุ่น ในประเทศไทยพบภาพสลักของวิทยราช/พระโพธิสัตว์องค์นี้ที่ปราสาทหินพิมาย

อ้างอิง

[แก้]
  • ผาสุข อินทราวุธ. พุทธปฏิมาฝ่ายมหายาน. กทม. โรงพิมพ์อักษรสมัย. 2543. หน้า 75-76