อานาปานสติ
ส่วนหนึ่งของชุดบทความ |
ศาสนาพุทธ |
---|
![]() |
อานาปานสติ หมายถึง การมีความระลึกรู้ตัวในลมหายใจเข้าออก (อาน- : ลมหายใจเข้า[1] + อปาน- : ลมหายใจออก[1] + สติ : ความระลึก) อานาปานสติเป็นได้ทั้งสมถกรรมฐานและวิปัสสนากรรมฐาน บางคัมภีร์กล่าวว่าเป็นอารมณ์กรรมฐานของมหาบุรุษทั้งหลาย มีอยู่ 16 คู่ โดยเป็นกายานุปัสสนา 4 คู่ เป็นเวทนานุปัสสนา 4 คู่ เป็นจิตตานุปัสสนา 4 คู่ และเป็นธัมมานุปัสสนา 4 คู่ ซึ่งจะเป็นไปตามลำดับจากหยาบไปหาละเอียด คือ กาย เวทนา จิต ธรรม
เมื่อเจริญอานาปานสติจะมีธรรมที่ปรากฎรวมด้วยได้แก่ สัมปชัญญะ 4 สติปัฏฐาน 4 โพชฌงค์ 7 วิชชาและวิมุตติ
อานาปานสติ มีกิจ 2 อย่าง คือ 1.ปชานาติ การรู้ชัดในลมหายใจออกเข้า 2.สิกขติ การศึกษาในกาย เวทนา จิต ธรรม ตามลำดับ 16 ขั้น
กายานุปัสสนาสติปัฏฐาน
[แก้]การกำหนดรู้ในอานาปานสติ ตั้งแต่ข้อ 1-4 เป็นการกำหนดรู้ภายในกาย จัดเรียกว่ากายานุปัสสนาสติปัฏฐาน
- หายใจออก-เข้ายาวรู้
- หายใจออก-เข้าสั้นรู้
- หายใจออก-เข้า กำหนดกองลมที่กระทบในกายทั้งปวง เกิดขึ้นเมื่อบรรลุปฐมฌาน
- หายใจออก-เข้า เห็นกองลมทั้งปวงสงบก็รู้ เกิดขึ้นเมื่อบรรลุจตุตถฌาน
เมื่อเจริญอานาปานสติ ได้พิจารณาความเป็นไปในกาย ย่อมเห็นชัดในอิริยาบถและการเคลื่อนไหวของกายจนสัมปชัญญะทั้งสี่บริบูรณ์ก็จะเกิดสติสัมโพชฌงค์ขึ้นมา เมื่อศีลวิสุทธิเกิดขึ้นเพราะศรัทธาพละและปัญญาพละสมดุลกันก็จะเกิดธัมมวิจยะสัมโพชฌงค์ขึ้นมา เมื่อจิตตวิสุทธิเกิดขึ้นเพราะวิริยะพละสมดุลกับสมาธิพละก็จะเกิดวิริยะสัมโพชฌงค์ขึ้น
เวทนานุปัสสนาสติปัฏฐาน
[แก้]ตั้งแต่ข้อ 5 - 8 สติเริ่มละเอียดจะจับชัดที่ความรู้สึกคือเวทนาได้ชัดเจน จึงเรียกว่า เวทนานุปัสสนา เพราะสามารถแยกรูปนามออกจากกันได้ชัดเจน ได้บรรลุญาณที่เรียกว่า นามรูปปริทเฉทญาณ
5.หายใจออก-เข้า กำหนดรู้ในความรู้สึกปีติ เกิดขึ้นเมื่อบรรลุทุติยฌาน
6.หายใจออก-เข้า กำหนดรู้ในความรู้สึกสุข เกิดขึ้นเมื่อบรรลุตติยฌาน
7.หายใจออก-เข้า กำหนดรู้ในจิตสังขารทั้งปวง (จิตสังขารได้แก่สิ่งที่ปรุงแต่งจิตคือเจตสิก)
8.หายใจออก-เข้า กำหนดระงับจิตสังขารทั้งปวง (เพราะจำแนกแจกแจงรูปนามจนเห็นว่ารูปนามทั้งหลายสักว่าเป็นธาตุตามธรรมชาติเท่านั้น)
ในการเจริญอานาปานสติแบบวิปัสสนากรรมฐาน จะไม่เข้าสู่จตุตถฌาน เนื่องจากการกำหนดวิปัสสนากรรมฐานต้องใช้ลมหายใจเป็นตัวแทนของรูปขันธ์อยู่ การเข้าจตุตถฌานจะทำให้ลมหายใจเข้าออกจะหายไปจนรับรู้ไม่ได้ ( ตามหลักในอนุปุพพนิโรธ9 ) เมื่อถึงตติยฌานจึงให้เริ่มหันมากำหนดรู้ในจิตสังขารทั้งปวงแทน และกำหนดศึกษาต่อไปตามลำดับ หรือข้ามข้อ 3-6 ซึ่งเป็นสมถะฌาน กำหนดข้อ1-2 และข้ามมาข้อ 7 ต่อไปเลย ในกรณีที่เจริญวิปัสสนากรรมฐานโดยใช้เพียงแค่ขณิกสมาธิเท่านั้น
จิตตานุปัสสนาสติปัฏฐาน
[แก้]ตั้งแต่ข้อ 9 - 12 สติเริ่มละเอียดจนสามารถกำหนดชัดที่จิตและสิ่งที่เนื่องด้วยจิตคือเจตสิก จึงเรียกว่า จิตตานุปัสสนา เพราะรู้เท่าทันในกระบวนการทำงานตามลำดับของจิต จนสามารถเห็นเหตุปัจจัยของรูปนามทั้งหลายที่เป็นไปตามหลักปฏิจจสมุปบาท ได้บรรลุญาณที่เรียกว่า นามรูปปัจจยปริคคหญาณ
9.หายใจออก-เข้า พิจารณาจิต (เพราะจิตสังขารสงบระงับ จิตจึงปรากฎขึ้นมาให้ศึกษาได้อย่างชัดเจน)
10.หายใจออก-เข้า จิตบันเทิงร่าเริงก็รู้ (จิตปราโมทย์เกิดขึ้นเพราะมีมนสิการในการพิจารณาจิตเมื่อจิตปราโมทย์จึงเกิดปีติสัมโพชฌงค์เพราะปีติสัมโพชฌงค์ระงับกายสงบใจสงบจึงเกิดปัสสัทธิสัมโพชฌงค์) [2]
11.หายใจออก-เข้า จิตตั้งมั่นก็รู้ (สมาธิสัมโพชฌงค์)(เมื่อจิตตั้งมั่นจึงได้รู้ตามความเป็นจริงในเหตุปัจจัยแห่งปฏิจจสมุปบาท)
12.หายใจออก-เข้า จักเปลื้องจิตก็รู้ (อุเบกขาสัมโพชฌงค์)(เมื่อเข้าใจในปฏิจจสมุปบาทจึงละความยินดีไม่ยินดีและไม่ยึดมั่นถือมั่นในอารมณ์ทั้งปวง)
ธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน
[แก้]ตั้งแต่ข้อ 13 - 16 สติละเอียดมากขึ้นจนสามารถพิจารณาเห็นว่ารูปนามทั้งหลายเป็นไปตามกฎไตรลักษณ์ จึงเรียกว่า ธัมมานุปัสสนา
13.หายใจออก - เข้า พิจารณาเห็นความไม่เที่ยง (อนิจจัง) ในขันธ์ทั้ง 5 มีลมหายใจเป็นตัวแทนรูปขันธ์ จะพบเห็นสังขตลักษณะ (ความเกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป) ในขันธ์ทั้งห้า (สมมสนญาณ อุทธยัพพยญาณ ภังคญาณ)
14.หายใจออก - เข้า พิจารณาโดยความคลายกำหนัดในรูปนาม เห็นรูปนามเป็นสิ่งไร้ค่า (ภยญาณ อาทีนวญาณ นิพพิทาญาณ)
15.หายใจออก - เข้า พิจารณาโดยไม่ยึดติดถือมั่นในรูปนามขันธ์ห้าว่าไม่ใช่ตัวตน เพราะเห็นความดับไปแห่งปฏิจจสมุปบาท (มุญจิตุกัมยตาญาณ ปฏิสังขาญาณ สังขารุเปกขาญาณ)
16.หายใจออก - เข้า พิจารณาสละคืนขันธ์ (สัจจานุโลมมิกญาณ โคตรภูญาณ (หรือวิทานะญาณ) มัคคญาณ ผลญาณ ปัจจเวกขณญาณ)
ศึกษาคำอธิบายอานาปานสติ 16 ฐานอย่างละเอียดจากพระไตรปิฎกโดยตรงที่พระไตรปิฎก เล่มที่ ๓๑ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๒๓ ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค มหาวรรค อานาปาณกถา [๔๐๑]- [๔๒๒]
อ้างอิง
[แก้]- สติปัฏฐานสูตร พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๒ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๔ มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์
- สติปัฏฐานสูตร พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๒ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๔ อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต
- สติปัฏฐานสูตร สังยุตตนิกาย
- อรรถกถา ทีฆนิกาย มหาวรรค มหาสติปัฏฐานสูตร. อรถกถาพระไตรปิฎก.
- มหาสติปัฏฐานสูตร พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๐ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๒ ทีฆนิกาย มหาวรรค
- สูตรที่ ๔ ผลสูตรที่ ๑ พระไตรปิฎกเล่ม ๑๙ พระสุตตันตปิฎก เล่ม ๑๑ สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค อานาปานสังยุต
- อวิชชาสูตร ๑๙/๑
- คิริมานนทสูตร
- พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๔ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๖ มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์๘. อานาปานสติสูตร (๑๑๘)
- อานาปานสติสูตร ที่ ๘ อานาปานสติสูตร พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๔ (ม.อุ.)
- มหาราหุโลวาทสูตร ที่ ๒.
- ทีปสูตร พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๙ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๑ สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค
- มหาวรรค อานาปาณกถา พระไตรปิฎก เล่มที่ ๓๑ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๒๓ ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๓๖๒] -[๔๒๑]
- ปฏิสัมภิทามัคค์ (ขุ.ปฏิ.31/362/244: 387/260)
- คัมภีร์ ปรมัตถมัญชุสา มหาฎีกาแห่งวิสุทธิมัคคฺ (วิสุทฺธิ.ฏีกา 2/34)
- วิสุทธิมัคค์ (วิสุทฺธิ. 25/52-82)
- พระไตรปิฎก เล่มที่ ๓๑ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๒๓ ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค
- อานาปาณกถา พระสุตตันตปิฎก เล่ม ๒๓ ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค มหาวรรค
- พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ หน้าที่ 85 - 196
ดูเพิ่ม
[แก้]หนังสืออ่านเพิ่ม
[แก้]- Mindfulness with Breathing by Buddhadāsa Bhikkhu. Wisdom Publications, Boston, 1996. ISBN 0-86171-111-4.
- Breath by Breath by Larry Rosenberg. Shambhala Classics, Boston, 1998. ISBN 1-59030-136-6.
- Tranquillity and Insight by Amadeo Sole-Leris. Shambhala, 1986. ISBN 0-87773-385-6.
อ้างอิง
[แก้]แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- Ānāpānasati Sutta เก็บถาวร 2005-08-16 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- Analysis of the Ānāpānasati Sutta
- Ānāpānasati, a free e-book by Buddhadasa Bhikkhu
- Ānāpānasati – Mindfulness with Breathing: Unveiling the Secrets of Life เก็บถาวร 2011-03-18 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน by Buddhadasa Bhikkhu
- Ānāpānasati instructions เก็บถาวร 2009-08-28 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน from Ajahn Pasanno of Abhayagiri Buddhist Monastery
- Ānāpānasati: 35 Talks เก็บถาวร 2011-01-22 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน by Ajahn Pasanno
- Ānāpānasati instructions เก็บถาวร 2015-09-24 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน from Bhante Vimalaramsi
- Ānāpānasati: A concise instruction เก็บถาวร 2011-07-21 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน by Pa Auk Sayadaw
- Basic Breath Meditation Instructions by Thanissaro Bhikkhu
- The Basic Method of Meditation เก็บถาวร 2010-09-07 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน by Ajahn Brahm