สังขาร
หน้าตา
ส่วนหนึ่งของชุดบทความ |
ศาสนาพุทธ |
---|
![]() |
สังขาร แปลว่า การปรุงแต่ง สิ่งที่ถูกปรุงแต่ง มีความหมาย 3 ประการ คือ 1. เป็นสิ่งที่ถูกเหตุปัจจัยปรุงแต่งมา 2. เป็นเหตุปัจจัยที่ไปปรุงแต่งสิ่งอื่น 3. เป็นเหตุปัจจัยที่ปรุงแต่งตนเอง
สังขารในไตรลักษณ์
[แก้]ในไตรลักษณ์ สังขาร คือ ธรรมที่ถูกปรุงแต่ง ได้แก่ ปรมัตถธรรม คือ จิต เจตสิก และรูป ทั้งหมด ยกเว้นนิพพาน ที่เป็นอสังขาร คือ ไม่ใช่สังขาร
สังขารในขันธ์ 5
[แก้]ในขันธ์ 5 สังขารขันธ์ คือ สภาพที่ปรุงแต่งจิต เป็นคุณสมบัติต่าง ๆ ของจิต ได้แก่ เจตสิก เว้นเวทนาและสัญญา
สังขารในปฏิจจสมุปบาท
[แก้]ในปฏิจจสมุปบาท สังขาร 3 คือ
- กายสังขาร เจตนาทางกาย
- วจีสังขาร เจตนาทางวาจา
- มโนสังขาร เจตนาทางใจ
หมายถึง กระบวนการของทุกเหตุปัจจัยที่ทำให้เกิดการปรุงแต่งทางกาย( กายสังขาร ) วาจา( วจีสังขาร) และใจ( มโนสังขาร)
หรือ อภิสังขาร 3 ได้แก่
- ปุญญาภิสังขาร สภาพที่ปรุงแต่งกรรมฝ่ายดี
- อปุญญาภิสังขาร สภาพที่ปรุงแต่กรรมฝ่ายชั่ว
- อาเนญชาภิสังขาร สภาพที่ปรุงแต่งภพอันมั่นคง ไม่หวั่นไหว
อ้างอิง
[แก้]- พระธรรมกิตติวงศ์ (ทองดี สุรเตโช), พจนานุกรมเพื่อการศึกษาพุทธศาสน์ ชุด คำวัด, วัดราชโอรสาราม กรุงเทพฯ พ.ศ. 2548