ทางกา
ทังกา, ทางกา หรือ ธง (อักษรโรมัน: thangka, thanka, tangka, tanka; เสียงอ่านภาษาเนปาล: [ˈt̪ʰaŋka]; ทิเบต: ཐང་ཀ་; เนปาล: पौभा) เป็นคำเรียกจิตรกรรมพุทธทิเบตที่ทำลงบนผ้าฝ้าย ผ้าไหม หรือ ผ้าเย็บประดับ โดยทั่วไปแสดงภาพทางพระพุทธศาสนาหรือภาพมณฑล โดยธรรมเนียมแล้วเก็บรักษาโดยการม้วนเก็บหากไม่ได้นำมาจัดแสดง ทังกามักใช้ในการประกอบพิธีหรือทำสมาธิ และทังกามีส่วนสำคัญมากต่อการใช้เพื่อสอนพุทธประวัติ, ชีวประวัติของลามะองค์สำคัญ, เทพเจ้า และพระโพธิสัตว์ หนึ่งในประเด็นที่นำมาเขียนภาพทังกาคือ ภาวจักร ซึ่งแทนคำสอนอภิธรรม ในปัจจุบันมีการผลิตทังกาจำนวนมากเพื่อใช้ประโยชน์ในทางการค้าขายและประดับตกแต่ง
ทังกาน่าจะพัฒนาขึ้นมาพร้อมกับจิตรกรรมฝาผนังในวัดทิเบต ซึ่งมีแนวโน้มที่จะอยู่รอดเป็นระยะเวลานานมากกว่า[1] งานเขียนทิเบตบนผ้าที่เก่าแก่ที่สุดที่ค้นพบอยู่ที่ถ้ำโม่กาวในตุนหวง ในถ้ำที่เรียกว่า "ถ้ำพระสมุด" (Library Cave) เขียนด้วยรูปแบบศิลปะอย่างทิเบต บางส่วนมีอิทธิพลอย่างอินเดียปรากฏ และเป็นลักษณะที่ไม่ใช่แบบจีนฮั่น[2] ถึงแม้จะไม่ทราบอายุชัดเจน แต่มีการปะมาณอายุชิ้นงานอยู่ที่ราว ค.ศ. 781–848 ตรงกับสมัยราชวงศ์ถัง[3]
ทังกาบางชิ้นมีจารึกเขียนอยู่ด้านหลัง ระบุว่าเป็นภาพสำหรับทำสมาธิส่วนตัว (thugs dam; ทุกส์ดาม) ของพระเถระรูปสำคัญ[4] ผู้สร้างสรรค์ทังกาส่วนใหญ่น่าจะเป็นพระสงฆ์ แต่ก็มีพบศิลปินที่เป็นฆราวาสเช่นกัน ตามธรรมเนียมแล้ว ผู้จ้างวานให้สร้างทังกาจะไม่จ่ายค่าจ้าง แต่จะตอบแทนด้วยลักษณะของ "ของขวัญ" มากกว่า[5] ทังกา หรือ ธง แปลว่า "สิ่งที่สามารถม้วนออกมาได้" ใน ภาษาทิเบตแบบคลาสสิก[6] ทังกาส่วนใหญ่มีมีลงชื่อผู้สร้าง และงานส่วนใหญ่ไม่เป็นที่ทราบว่าเป็นผลงานของใคร ในวงการสงฆ์ถือว่าการวาดทังกาเป็นความสำเร็จที่สำคัญสำหรับพระสงฆ์รูปหนึ่ง ๆ[7]
อ้างอิง
[แก้]บรรณานุกรม
[แก้]- Kossak, Steven M., Singer, Jane Casey, (eds.), Sacred Visions: Early Paintings from Central Tibet (exhibition catalogue), Metropolitan Museum of Art, 1998 (fully available online as PDF).
- Lipton, Barbara and Ragnubs, Nima Dorjee. Treasures of Tibetan Art: Collections of the Jacques Marchais Museum of Tibetan Art. Oxford University Press, New York. 1996.
- Rhie, Marylin and Thurman, Robert (eds.):Wisdom And Compassion: The Sacred Art of Tibet, 1991, Harry N. Abrams, New York (with three institutions), ISBN 0810925265.
อ่านเพิ่ม
[แก้]- Giuseppe Tucci, Tibetan Painted Scrolls. 3 volumes, Rome, 1949
- Hugo E. Kreijer, Tibetan Paintings. The Jucker Collection. 2001, ISBN 978-1570628658
- Huntington, John C., Bangdel, Dina, The Circle of Bliss: Buddhist Meditational Art, 2003, Serindia Publications, ISBN 1932476016, 9781932476019
- Per Kværne, The Bon Religion of Tibet: The Iconography of a Living Tradition. Serindia, London 1995. ISBN 0-906026-35-0
- David P. Jackson, History of Tibetan Painting; The Great Tibetan Painters and Their Traditions, 1995, ISBN 3700122241
- Martin Willson, Martin Brauen, Deities of Tibetan Buddhism: The Zurich Paintings of the "Icons Worthwhile to See". Wisdom Pubn. 2000, ISBN 9780861710980
- Robert N. Linrothe, Paradise and Plumage: Chinese Connections in Tibetan Arhat Painting. Serindia Publications 2004, ISBN 978-1932476071
- David P. Jackson, Patron and Painter: Situ Panchen and the Revival of the Encampment Style. Rubin Museum of Art 2009, ISBN 978-0977213146
- Jacinta Boon Nee Loh, Decision From Indecision: Conservation of Thangka Significance, Perspectives and Approaches เก็บถาวร 2016-08-26 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, in Journal of Conservation and Museum Studies, Institute of Archaeology, University College London, vol. 8, 2002-11-01
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- "Tibetan Art Forms: Menluk, Khyenluk and Gardri". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-11-06. สืบค้นเมื่อ 2022-11-06.
- Thangka Painting School in Nepal Collective of thangka artists of the Kathmandu Valley.
- Dharmapala Thangka Centre: more than 1000 pages of sacred Tibetan art and more than fully described more than different 600 Thangkas
- 'Norbulingka thangka's Norbulingka Institute - Tibetan Thangka Paintings from the Tibetan Government's Institute under the Chairmanship of the Dalai Lama.
- Movie about Newari Thangka painting in Nepal
- Mongolian Tangkas
- The Huge Thangka of Amdo เก็บถาวร 2011-07-19 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- Nick Dudka's art of Thangka site - Nick Dudka is an internationally well-known Thangka artist, who has been studying ancient Tibetan art Menry style. He is exhibiting his works all over the world to spread the unique necessity of the holy art to the modern world.