เบ็นไซเต็ง
บทความนี้ไม่มีการอ้างอิงจากแหล่งที่มาใด |
เบ็นไซเต็ง ปลายคริสต์ศตวรรษที่ 13 | |
ตำแหน่ง | เทพีแห่งความรู้, ความงาม และศิลปะ |
---|---|
จำพวก | เจ็ดเทพเจ้าโชคลาภ |
อาวุธ | บิวะ |
ศาสนา/ลัทธิ | ลัทธิชินโต, พุทธแบบญี่ปุ่น |
เบ็นไซเต็ง (ญี่ปุ่น: 弁才天, 弁財天; โรมาจิ: Benzaiten) หรือที่เรียกอย่างสั้นว่า เบ็นเต็ง (ญี่ปุ่น: 弁天; โรมาจิ: Benten) เป็นเทพีองค์หนึ่งตามคติพุทธศาสนาแบบญี่ปุ่น เป็นเทพีองค์เดียวกับพระสรัสวดีของคติศาสนาพราหมณ์-ฮินดู[1][2]
คติการนับถือเบ็นไซเต็ง เกิดขึ้นในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 6-8 ผ่านการแปล สุวรรณประภาสสูตร (Suvarṇa-prabhāsa Sūtra; 金光明経) จากภาษาจีนสู่ญี่ปุ่น โดยเนื้อหาให้พระคัมภีร์ดังกล่าวมีเนื้อหาเกี่ยวกับเบ็นไซเต็ง และยังปรากฏใน สัทธรรมปุณฑรีกสูตร (Saddharma Puṇḍarīka Sūtra; 妙法蓮華経) ที่ปรากฏองค์พร้อมกับเครื่องดนตรีญี่ปุ่นดั้งเดิมที่เรียกว่า บิวะ (琵琶) ต่างกับพระสรัสวดีที่ถือ วีณา
เบ็นไซเต็ง เป็นหนึ่งในเทพแห่งโชคลาภทั้งเจ็ด และเป็นเทพีแห่งกวี อักษรศาสตร์ นาฏกรรม และดนตรี เชื่อกันว่าผู้ใดนับถือเทวีพระองค์นี้ก็จะพบแสงสว่างแห่งปัญญา ในอดีตเกชะนิยมบูชาเบ็นไซเต็งเพราะเชื่อว่าจะทำให้มีความสามารถเชิงระบำรำฟ้อน ส่วนพวกตีนแมวและพวกย่องเบาเองก็นิยมบูชาเทวีพระองค์นี้เช่นกัน เพราะเชื่อว่าเบ็นไซเต็งจะดลบันดาลให้ภารกิจลุล่วงไปด้วยดี
ดูเพิ่ม
[แก้]อ้างอิง
[แก้]- ↑ Catherine Ludvik (2001), From Sarasvati to Benzaiten, Ph.D. Thesis, University of Toronto, National Library of Canada; PDF Download
- ↑ Ian Reader and George J. Tanabe, Practically Religious: Worldly Benefits and the Common Religion of Japan, Univ of Hawaii Press, ISBN 978-0824820909
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อเกี่ยวกับ เบ็นไซเต็ง